ไตรกีฬาชิงแชมป์โลก
กีฬา | ไตรกีฬา |
---|---|
ฤดูกาลแรก | ค.ศ. 2009 |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | คริสเตียน บลัมเมนเฟลต์ (NOR) ฟลอร่า ดัฟฟี่ (BER) |
ทีมชนะเลิศสูงสุด | ฮาเวียร์ โกเมซ (ESP) (5) |
สปอนเซอร์ | NTT |
เว็บไซต์ | wtcs.triathlon.org |
2022 |
ไตรกีฬาชิงแชมป์โลก (อังกฤษ: World Triathlon Championship Series) เป็นการแข่งขันกีฬาไตรกีฬาประจำปีของไตรกีฬาโลก ที่ใช้เพื่อครองตำแหน่งแชมป์โลกประจำปีตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 มีการแข่งขันหลายรอบและสิ้นสุดในการแข่งขันรอบแกรนด์ไฟนอล นักกีฬาแข่งขันกันแบบตัวต่อตัวเพื่อรับคะแนนในการแข่งขันเหล่านี้ ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดแชมป์โลกของไตรกีฬาทั้งหมด การแข่งขันชิงแชมป์ระดับแนวหน้าจะจัดขึ้นโดยใช้เกณฑ์ระยะทาง 1 ใน 2 นี้คือ ระยะทางมาตรฐานหรือ 'โอลิมปิก' (ว่ายน้ำ 1.5 กม. ปั่นจักรยาน 40 กม. วิ่ง 10 กม.) และระยะสปรินต์ (ว่ายน้ำ 750 ม. ปั่นจักรยาน 20 กม. 5 กม. วิ่ง) แชมป์โลกของไอทียู (ชื่อเดิมของไตรกีฬาโลก) ระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง 2008 ได้รับการตัดสินในการแข่งขันชิงแชมป์ประจำปีครั้งเดียว
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 การแข่งขันรายการผลัดผสมได้ดำเนินการแข่งขันควบคู่กันไป โดยที่ทีมชาติจะแข่งขันกันแบบผลัดทีมผสมเพื่อชิงเงินรางวัลและคะแนนคัดเลือกโอลิมปิก[1] จากการแข่งขันเหล่านี้ โดยเรียกการแข่งขันว่า ไตรกีฬาผลัดผสมชิงแชมป์โลก
นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 การแข่งขันรายการผลัดผสมชิงแชมป์โลกได้รวมเข้ากับการแข่งขันไตรกีฬาสปรินท์ชิงแชมป์โลกซึ่งได้รับการกลับมาจัดอีกครั้ง ภายใต้การรวมกันในชื่อ ไตรกีฬาสปรินท์และผลัดชิงแชมป์โลก (อังกฤษ: World Triathlon Sprint & Relay Championships) การแข่งขันสปรินท์แบบแยกการแข่งขันถูกยกเลิกไปก่อนหน้านี้ในปี ค.ศ. 2011 การแข่งขันในประเภทชิงแชมป์โลกสปรินท์ จัดขึ้นในระยะทางแบบซูเปอร์-สปรินท์ (ว่ายน้ำ 300 ม. ปั่นจักรยาน 5 กม. และวิ่ง 2.5 กม.) โดยใช้รูปแบบการคัดแยกหลายการแข่งขันซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละรอบ
ผู้ชนะ
[แก้]ตารางสรุปเหรียญรางวัล
[แก้]ลำดับที่ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | สเปน | 7 | 6 | 4 | 17 |
2 | บริเตนใหญ่ | 7 | 5 | 4 | 16 |
3 | สหรัฐอเมริกา | 3 | 4 | 4 | 11 |
4 | เบอร์มิวดา | 3 | 1 | 0 | 4 |
5 | ฝรั่งเศส | 2 | 1 | 2 | 5 |
ออสเตรเลีย | 2 | 1 | 2 | 5 | |
7 | สวีเดน | 1 | 1 | 1 | 3 |
8 | นอร์เวย์ | 1 | 0 | 1 | 2 |
9 | นิวซีแลนด์ | 0 | 2 | 3 | 5 |
เยอรมนี | 0 | 2 | 3 | 5 | |
11 | สวิตเซอร์แลนด์ | 0 | 1 | 0 | 1 |
เบลเยียม | 0 | 1 | 0 | 1 | |
โปรตุเกส | 0 | 1 | 0 | 1 | |
14 | ญี่ปุ่น | 0 | 0 | 1 | 1 |
รัสเซีย | 0 | 0 | 1 | 1 | |
รวม (15 ประเทศ) | 26 | 26 | 26 | 78 |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "2018-WTS-Media-Guide" (PDF). 23 August 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "ITU Statistics & History". World Triathlon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-30. สืบค้นเมื่อ 2008-11-05.
- "ITU Triathlon World Championship Results". World Triathlon. สืบค้นเมื่อ 2018-08-15.