โคลชิซีน
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ |
|
ช่องทางการรับยา | ยาเม็ดชนิดรับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหม��ย | |
สถานะตามกฏหมาย |
|
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 9.3–10.6 ชั่วโมง |
การขับออก | ส่วนหลักในอุจจาระ, ปัสสาวะ 10–20% |
ตัวบ่งชี้ | |
| |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
ChemSpider | |
ECHA InfoCard | 100.000.544 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C22H25NO6 |
มวลต่อโมล | 399.437 g·mol−1 |
โคลชิซีน (Colchicine) เป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ พบมากในดองดึง ในทางการแพทย์นำมาใช้รักษาโรคเกาต์ ไขข้ออักเสบ ส่วนในทางด้านพันธุศาสตร์และการปรับปรุงพันธุ์พืช นำมาใช้ในการเพิ่มชุดโครโมโซมของพืชเพราะมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเส้นใยสปินเดิลระหว่างการแบ่งนิวเคลียส ทำให้โครโมโซมไม่แยกตัว[1]
การสังเคราะห์
[แก้]การสังเคราะห์โคลชิซีนเกี่ยวข้องกับกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีนและไทโรซีน การให้ tyrosine-2-C14 ที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตภาพรังสี แก่ Colchicum autumnale จะพบสารกัมมันตภาพรังสีในโครงสร้างที่เป็นวงของโคลชิซีน การให้ฟีนิลอะลานีนที่ติดฉลากด้วยสารกัมมันตภาพรังสีแก่ Colchicum byzantinum จะพบสารกัมมันตภาพรังสีในโคลชิซีนเช่นกัน[2] อย่างไรก็ตาม วงโทรโปโลนของโคลชิซีนมาจากการแผ่ขยายของวงไทโรซีน
การศึกษาทางด้านกัมมันตภาพรังสีต่อมาในต้น Colchicum autumnale แสดงให้เห็นว่า โคลชิซีนสร้างมาจาก (S)-Autumnalineวิถีการสังเคราะห์เกิดขึ้นด้วยปฏิกิริยา para-para phenolic coupling reaction ที่มีเมตาบอไลท์เป็น isoandrocymbine ซึ่งจะเปลี่ยนต่อไปด้วย O-methylation ได้เป็นS-Adenosylmethionine (SAM) ขั้นตอนออกซิเดชันสองขั้นตอนตามมาด้วยการแยกวง cyclopropane ทำให้ได้วงโทรโปโลน จากนั้นเกิด oxidative demethylation ทำให้ได้ deacetylcolchicine โมเลกุลของ colchicine เกิดขึ้นหลังจากการเติม acetyl-Coenzyme A ได้เป็น deacetylcolchicine[3][4]
การใช้งานทางเภสัชวิทยา
[แก้]กลไกการออกฤทธิ์
[แก้]โคลชิซีนยับยั้งการเกิดโพลีเมอร์ของไมโครทูบูล โดยเข้าไปจับกับทูบูลิน ทำให้ไม่เกิดไมโครทูบูล ทำให้สารนี้เป็นพิษต่อกระบวนการแบ่งเซลล์ โดยยับยั้งการทำงานของเส้นใยสปินเดิล[5] ทำให้นำมาใช้งานทางด้านการศึกษาพันธุศาสตร์ของเซลล์ เช่น การศึกษาคาริโอไทป์
การใช้เป็นยา
[แก้]โคลชิซีนสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่และการทำงานของนิวโตรฟิล จึงยับยั้งการอักเสบได้ จึงใช้เป็นยาแก้อักเสบสำหรับการรักษา Behçet's disease ในระยะยาว[6] ใช้รักษา constipation-predominant irritable bowel syndrome ในผู้หญิง[7] และใช้รักษา persistent aphthous stomatitis (canker sores)[8]
ความเป็นพิษ
[แก้]ความเป็นพิษของโคลชิซีนเทียบได้กับความเป็นพิษของสารหนู อาการเกิดขึ้นภายใน 2–5 ชั่วโมงหลังจากที่ยาในปริมาณที่เป็นพิษถูกย่อย มีรอยไหม้ที่ปากและคอหอย อาเจียน ระคายเคือง เป็นไข้ อาการปวดและไตวาย การทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะหลายระบบ เกิดขึ้นภายใน 24–72 ชั่วโมง จนทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ยังไม่มียาต้านฤทธิ์โคลชิซีนโดยตรง แต่มีการรักษาหลายวิธีที่ได้ผล[9]
การใช้งานทางพฤกษศาสตร์
[แก้]การเคลื่อนที่ของโครโมโซมระหว่างการแบ่งเซลล์ถูกควบคุมด้วยไมโครทูบูล ดังนั้น โคลชิซีนจึงเป็นสารที่ใช้เพิ่มชุดโครโมโซมในพืช การให้โคลชิซีนในพืช ทำได้ทั้งนำสารในรูปครีมป้ายที่ยอดพืช หรือแช่เมล็ด[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ บุญยืน กิจวิจารณ์; จารุวรรณ นกไม้; หนูเดือน เมืองแสน (เมษายน–มิถุนายน 2008). "ผลของไทโรซีนและสารเร่งการเจริญเติบโตต่อการเจริญและพัฒนาของเนื้อเยื่อดองดึงในสภาพปลอดเชื้อ". แก่นเกษตร. 36 (2): 144–152. ISSN 0125-0485.
- ↑ Leete, E. (November 1963). "The biosynthesis of the alkaloids of Colchicum. III. The incorporation of phenylalaline-2-C14 into colchicine and demecolcine". Journal of the American Chemical Society. 85 (22): 3666–3669. doi:10.1021/ja00905a030.
- ↑ Dewick, P.M. (9 March 2009). Medicinal Natural Products: A biosynthetic Approach. Wiley. pp. 360–362. ISBN 978-0470741672.
- ↑ Maier, U. H.; Meinhart, H. Z. (20 ตุลาคม 1997). Colchicine is formed by para-para phenol coupling from autumnaline. Tetrahedron Letters. 38 (42): 7357–7360. doi:10.1016/S0040-4039(97)10011-9.
- ↑ "Pharmacology of Colchicine". Cyberbotanica. BioTech Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเ���ื่อ 2012-11-19.
- ↑ Cocco, Giuseppe; Chu, David C.C.; Pandolfi, Stefano (2010). "Colchicine in clinical medicine. A guide for internists". European Journal of Internal Medicine. 21 (6): 503. doi:10.1016/j.ejim.2010.09.010. PMID 21111934.
- ↑ Verne, GN; Davis; และคณะ (May 2003). "Treatment of chronic constipation with colchicine: randomized, double-blind, placebo-controlled, crossover trial". Am J Gastroenterology. 98 (5): 1112–6. doi:10.1111/j.1572-0241.2003.07417.x.
- ↑ Porter, S; Scully (มิถุนายน 2005). "Aphthous Ulcers (recurrent)". Clinical evidence. 13: 1687–1694. eISSN 1752-8526. PMID 16135306.
- ↑ Colchicine. National Institute for Occupational Safety and Health. Emergency Response Safety and Health Database, August 22, 2008. Retrieved December 23, 2008.
- ↑ Deppe, Carol (1993). Breed Your own Vegetable Varieties. Little, Brown & Company. p.150-151. ISBN 0-316-18104-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Feature เก็บถาวร 2006-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on colchicine, by Matthew J. Dowd at vcu.edu
- Colchicine: Biotoxin – NIOSH Emergency Response Database
- Eugene E. Van Tamelen; Thomas A. Spencer Jr.; Duff S. Allen Jr.; Roy L. Orvis (1959). "The Total Synthesis of Colchicine". Journal of the American Chemical Society. 81 (23): 6341–6342. doi:10.1021/ja01532a070.
- Cerquaglia C, Diaco M, Nucera G, La Regina M, Montalto M, Manna R (February 2005). "Pharmacological and clinical basis of treatment of Familial Mediterranean Fever (FMF) with colchicine or analogues: an update". Current drug targets. Inflammation and allergy. 4 (1): 117–24. PMID 15720245. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-11. สืบค้นเมื่อ 2021-10-18.