ข้ามไปเนื้อหา

CYP3A5

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
CYP3A5
Identifiers
AliasesCYP3A5, CP35, CYPIIIA5, P450PCN3, PCN3, cytochrome P450 family 3 subfamily A member 5
External IDsOMIM: 605325 MGI: 106099 HomoloGene: 133568 GeneCards: CYP3A5
Orthologs
SpeciesHumanMouse
Entrez
Ensembl
UniProt
RefSeq (mRNA)

NM_000777
NM_001190484
NM_001291829
NM_001291830

NM_007820

RefSeq (protein)

NP_000768
NP_001177413
NP_001278758
NP_001278759

NP_031846

Location (UCSC)Chr 7: 99.65 – 99.68 MbChr 5: 145.37 – 145.41 Mb
PubMed search[3][4]
Wikidata
View/Edit HumanView/Edit Mouse

ไซโทโครม P450 3A5 (อังกฤษ: Cytochrome P450 3A5; ชื่อย่อ: CYP3A5; EC 1.14.14.1) เป็นเอนไซม์ชนิดหนึ่งในกลุ่มออกซิไดซิงเอนไซม์ตระกูลไซโตโครม P450 ที่มีความสำคัญยิ่งต่อร่างกายมนุษย์ โดยโปรตีน CYP3A5 ในมนุษย์จะถูกเข้ารหัสโดยยีน CYP3A5 ซึ่งยีนนี้เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มยีน cytochrome P450 บน โครโมโซมคู่ที่ 7 โลคัส 7q22.1[5][6] CYP3A5 เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย ส่วนมากมักอยู่ที่เนื้อเยื่อของเซลล์ตับ ต่อมลูกหมาก ทางเดินอาหาร ไต ต่อมหมวกไต[7] อย่างไรก็ตาม CYP3A5 ที่อยู่ในเนื้อเยื่ออื่นที่นอกเหนือจากเซลล์ตับจะสามารถแสดงออกได้โดดเด่นมากกว่า[8]

หน้าที่หลักของ CYP3A5 คือ การเมแทบอไลซ์ยาและสารประกอบไขมันต่างๆ ในร่างกาย เช่น เทสโทสเทอโรน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรสตีนีไดโอน[6] อย่างไรก็ตาม การทำงานของ CYP3A5 นั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยชาติพันธ์ที่มีอัลลีลของ CYP3A5 เป็น CYP3A5*1 จ���มีการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นปกติ แต่ในบางกลุ่มชาติพันธ์ที่มีอัลลีลเป็น CYP3A5*3 อย่างประชากรในแถบยุโรป เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง จะมีการทำงานของเอนไซม์นี้ลดลง และในบางกลุ่มประชากรอาจเกิดการกลายพันธุ์จากอัลลีล CYP3A5*1 มาเป็น CYP3A5*3 ได้[9][10]

การกระจายในเนื้อเยื่อ

[แก้]

CYP3A5 เป็นเอนไซม์ในมหาสกุลไซโทโครม P450 ส่วนใหญ่จะพบเอนไซม์นี้ได้บริเวณเนื้อเยื่อตับและต่อมลูกหมาก[7] นอกจากนี้ยังพบการแสดงออกของเอนไซม์นี้ในเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ และพบปริมาณเล็กน้อยในท่อน้ำดี ไต ต่อมหมวกไตส่วนนอก, เซลล์เยื่อบุผนังกระเพาะอาหารที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดที่ของเซลล์ในลำไส้แทนที่เซลล์ของกระเพาะอาหาร (intestinal metaplasia) ถุงน้ำดี ท่อ intercalated duct ของตับอ่อน ชีฟเซลล์ของต่อมพาราไทรอยด์ และคอร์ปัสลูเทียมของรังไข่ (ในระดับโปรตีน)[7]

ความมีนัยสำคัญทางคลินิก

[แก้]

โปรตีนในไซโทโครม P450 นั้นจัดเป็นโปรตีนที่เป็นมอนอออกซีจีเนสซึ่งจะเร่งการเกิดปฏิกิริยาต่างๆของร่างกายได้อย่างหลากหลาย ซึ่งรวมไปถึง การเกิดเมแทบอลิซึมของยา การสังเคราะห์คอเลสเตอรอล สเตอรอยด์ และไขมันชนิดอื่นๆ โดยโปรตีนเหล่านี้จะอยู่ในร่างแหเอนโดพลาซึมของเซลล์เนื่อเยื่อแล้วถูกระตุ้นด้วยกลูโคคอร์ติคอยด์หรือยาบางชนิด นอกจากเอนไซม์นี้จะทำหน้าที่เมแทบอลิซึมยา เช่น ไนเฟดิปีน และไซโคลสปอรินแล้ว ยังทำหน้าที่ในการเมแทบอไลซ์ฮอร์โมนเพศอย่าง เทสโทสเทอโรน โปรเจสเตอโรน และแอนโดรสตีนีไดโอนอีกด้วย ทั้งนี้ นอกจากยีน CYP3A5 ซึ่งเป็นยีนในกลุ่มยีนไซโทโครม P450 บนโครโมโซม 7q21.1. แล้ว ยังมียีนเทียมชื่อว่า CYP3A5P1 ในกลุ่มยีนดังกล่าว ซึ่งยีนเทียมชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกันกับยีน CYP3A5 เป็นอย่างมาก ซึ่งความคล้ายคลึงกันของทั้งสองยีนนี้ก่อให้เกิดความยากลำบากในการระบุลำดับโคลนบางลำดับว่าเป็นตัวแทนของยีน CYP3A5 หรือยีนเทียม CYP3A5P1[6]

CYP3A4/3A5 ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มเอนไซม์ฮีมไทโอเลท มอนอออกซีจีเนส โดยในไมโครโซมของเนื้อเยื่อตับ เอนไซม์เหล่านี้จะกระตุ้นขั้นตอนการขนส่งอิเล็กตรอนชนิดพึ่งพา NADPH (NADPH-dependent electron transport) อีกทั้งยังทำหน้าที่ออกซิไดซ์สารต่างๆในร่างกายหลายชนิด โดยไม่จำเพาะกับสารประกอบกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งรวมถึงสเตอรอยด์ กรดไขมัน และสารซีโนไบโอติค[7] การวิเคราะห์ไมโครโซมของเนื้อเยื่อตับด้วยวิธีอิมมูโนบล็อทพบว่า CYP3A5 นั้นจะแสดงผลเป็นโปรตีน 52.5-kD ส่วน CYP3A4 นั้นเป็นโปรตีน 52.0-kD[11] โปรตีนในตระกูลย่อย CYP3A ของมนุษย์ ซึ่งรวมถึง CYP3A4 CYP3A5 CYP3A7 และ CYP3A43 ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสารในระบบการเปลี่ยนแปลงยา (biotransformation system) เพื่อกำจัดยาออกจากร่างกายที่มีความเป็นสารอเนกประสงค์มากที่สุด โดยร้อยละ 37 ของยา 200 ลำดับแรกที่มีสั่งจ่ายมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาล้วนถูกเมแทบอไลซ์ด้วยเอนไซม์ในตระกูลย่อยนี้[12]

ทั้งนี้ เมื่อคิดคำนวณรวมปริมาณ CYP3A4 และ CYP3A5 เข้าด้วยกันจะพบว่ามีปริมาณมากถึงร้อยละ 30 ของเอนไซม์ทั้งหมดในมหาสกุลไซโทโครม P450 และยาที่ใช้ในการป้องกันและบำบัดรักษ��โรคในปัจจุบันกว่าร้อยละ 50 นั้นที่เป็นสารซับเสตรตของไซโทโครม P450ล้วนแล้วแต่ต้องถูกเมแทบอไลซ์ด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชันของเอนไซม์ในสกุลย่อย CYP3A[8] โดยทั้ง CYP3A4 และ CYP3A5 นั้นสามารถทำงานได้ทั้งในเนื้อเยื่อตับและทางเดินอาหาร แต่ CYP3A5 จะทำงานได้โดดเด่นกว่าในเนื้อเยื่ออื่นที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อตับ[8]

การกระจายของอัลลีล

[แก้]

ยีน CYP3A5 มีรูปแบบการทำงานหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับเชื้อชาติของแต่บุคคล โดยอัลลีล CYP3A5*1 นั้นจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดเมแทบอลิซึมของยาแบบปกติทั่วไป ซึ่งพบได้ค่อนข้างมากในชนพื้นเมืองในประเทศแถบแอฟริกาตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา (Sub-Saharan Africa) ถึงแม้ว่าจะพบการกลายพันธุ์ของอัลลีลดังกล่าวในประชากรกลุ่มนี้ได้บ้าง แต่ก็มีความถี่น้อยกว่าในประชากรกลุ่มอื่น ส่วนอัลลีลอีกชนิดหนึ่ง คือ CYP3A5*3 ซึ่งเป็นอัลลีลที่ทำให้การเมแทบอซึมยาที่เป็นซับสเตรตของ CYP3A5 เกิดขึ้นได้น้อยกว่าปกติ ซึ่งเกือบจะเป็นอัลลีลคงสภาพ (fixation) ของชาวยุโรป และในทำนองเดียวกัน ในกลุ่มประชากรเอเชียตะวันตก และเอเชียกลางก็สามารถพบอัลลีลนี้ได้ในความถี่ที่ค่อนข้างสูง รวมไปถึงในกลุ่มประชากรที่ใช้ภาษาตระกูลแอโฟรเอชีแอติก (Hamitic-Semitic) ในแอฟริกาเหนือและจะงอยแอฟริกา นอกจากนี้ยังพบการกลายพันธุ์ของยีน CYP3A5*1 มาเป็น CYP3A5*3 ในระดับความถี่ปานกลางค่อนข้างสูงในกลุ่มประชากรแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก และในระดับความถี่ต่ำในกลุ่มประชากรแถบประเทศแอฟริกาที่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร (Sub-Equatorial Africa)[9][10]

การกระจายของอัลลีล CYP3A5 ในกลุ่มประชากรทั่วโลก ดังแสดงในตารางต่อไปนี้:[10]

แผนผังปฏิสัมพันธ์

[แก้]

คลิกเลือกบนชื่อสีดำของยีน, โปรตีน หรือสารเมแทบอไลต์ด้านล่าง เพื่อเชื่อมต่อไปยังบทความที่เกี่ยวเนื่อง [§ 1]

[[File:
IrinotecanPathway_WP46359go to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to article
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
[[
]]
IrinotecanPathway_WP46359go to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to articlego to article
|alt=แผนภาพแสดงการเมแทบอไลซ์ไอริโนทีแคนด้วยเอนไซม์ชนิดต่างๆ แก้ไข]]
แผนภาพแสดงการเมแทบอไลซ์ไอริโนทีแคนด้วยเอนไซม์ชนิดต่างๆ แก้ไข
  1. สามารถแก้ไขรายละเอียดในแผนภาพปฏิสัมพันธ์นี้ได้ที่ WikiPathways: "IrinotecanPathway_WP46359".

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 GRCh38: Ensembl release 89: ENSG00000106258Ensembl, May 2017
  2. 2.0 2.1 2.2 GRCm38: Ensembl release 89: ENSMUSG00000038656Ensembl, May 2017
  3. "Human PubMed Reference:". National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.
  4. "Mouse PubMed Reference:". National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine.
  5. NCBI (9-Apr-2018). "CYP3A5 cytochrome P450 family 3 subfamily A member 5 [ Homo sapiens (human) ]". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March, 2018. สืบค้นเมื่อ 11 March, 2018. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate=, |date= และ |archivedate= (help)
  6. 6.0 6.1 6.2 "Entrez Gene: CYP3A5 cytochrome P450, family 3, subfamily A, polypeptide 5".
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 "P08684-CP3A4_Human". UniProt. UniProt. สืบค้นเมื่อ November 2014. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 8.2 "CYP3A5". PharmGKB. สืบค้นเมื่อ November 2014. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 Valente C, Alvarez L, Marks SJ, Lopez-Parra AM, Parson W, Oosthuizen O, Oosthuizen E, Amorim A, Capelli C, Arroyo-Pardo E, Gusmão L, Prata MJ (28 May 2015). "Exploring the relationship between lifestyles, diets and genetic adaptations in humans". BMC Genetics. 16 (55): 55. doi:10.1186/s12863-015-0212-1. PMC 4445807. PMID 26018448.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 Bains, Ripudaman Kaur. "Molecular diversity and population structure at the CYP3A5 gene in Africa" (PDF). University College London. สืบค้นเมื่อ 13 June 2016.
  11. "CYTOCHROME P450, SUBFAMILY IIIA, POLYPEPTIDE 5; CYP3A5". OMIM. สืบค้นเมื่อ November 2014. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. Zanger UM, Turpeinen M, Klein K, Schwab M (2008). "Functional pharmacogenetics/genomics of human cytochromes P450 involved in drug biotransformation". Analytical and Bioanalytical Chemistry. 392 (6): 1093–108. doi:10.1007/s00216-008-2291-6. PMID 18695978.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

บทความนี้รวบรวมข้อมูลจากหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน ซึ่งจัดเป็นสาธารณสมบัติ