ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Arabic language)
อาหรับ
العربية อะรอบียะฮฺ
ภาษาอาหรับ ที่เขียนด้วยอักษรอาหรับ (แบบอักษรนัสค์)
ออกเสียง/alˌʕa.raˈbij.ja/
ประเทศที่มีการพูดแอลจีเรีย บาห์เรน อียิปต์ อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ลิเบีย มอริเตเนีย โมร็อกโก โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย ซูดาน ซีเรีย ตูนิเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน; เป็นภาษากลุ่มน้อยในประเทศอื่น ๆ มากมาย
ภูมิภาคโลกอาหรับ
จำนวนผู้พูด310 ล้านคนในหลายแบบ  (2011–2016)[1]
270 ล้านคน ผู้พูดภาษาที่สอง ที่พูดภาษาอาหรับมาตรฐาน (สมัยใหม่)[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
รูปแบบมาตรฐาน
ระบบการเขียนอักษรอาหรับ
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่เป็นภาษาทางการใน 26 รัฐ และ 1 ดินแดนพิพาท เป็นอันดับสามรองจากภาษาอังกฤษกับฝรั่งเศส[2]
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน
ผู้วางระเบียบ
รหัสภาษา
ISO 639-1ar
ISO 639-2ara
ISO 639-3araรหัสรวม
รหัสเอกเทศ:
arq – ภาษาอาหรับแอลจีเรีย
aao – ภาษาอาหรับแอลจีเรียแถบซะฮารา
bbz – ภาษาอาหรับบาบาเลียครีโอล
abv – ภาษาอาหรับบาห์เรน
shu – ภาษาอาหรับชาด
acy – ภาษาอาหรับมาโรไนต์
adf – ภาษาอาหรับโดฟารี
avl – ภาษาอาหรับอาระเบียตะวันตกเฉียงเหนือ
arz – ภาษาอาหรับอียิปต์
afb – ภาษาอาหรับอ่าว
ayh – ภาษาอาหรับฮัฎเราะมี
acw – ภาษาอาหรับฮิญาซ
ayl – ภาษาอาหรับลิเบีย
acm – ภาษาอาหรับเมโสโปเตเมีย
ary – ภาษาอาหรับโมร็อกโก
ars – ภาษาอาหรับนัจญ์ดี
apc – ภาษาอาหรับลิแวนต์เหนือ
ayp – ภาษาอาหรับเมโสโปเตเมียเหนือ
acx – ภาษาอาหรับโอมาน
aec – ภาษาอาหรับเซาะอีดี
ayn – ภาษาอาหรับศ็อนอา
ssh – ภาษาอาหรับชิฮฮี
ajp – ภาษาอาหรับลิแวนต์ใต้
arb – ภาษาอาหรับมาตรฐาน
apd – ภาษาอาหรับซูดาน
pga – ภาษาอาหรับซูดานครีโอล
acq – ภาษาอาหรับตาอิซซี-อะเดนี
abh – ภาษาอาหรับทาจิกิสถาน
aeb – ภาษาอาหรับตูนิเซีย
auz – ภาษาอาหรับอุซเบกิสถาน
Linguasphere12-AAC
บริเวณที่ภาษาอาหรับที่ภาษาท้องถิ่นของชนส่วนใหญ่ (สีเขียวเข้ม) หรือส่วนน้อย (สีเขียวอ่อน)
ประเทศที่ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาประจำชาติ (เขียว), โดยเป็นภาษาราชการ (น้ำเงินเข้ม), และภูมิภาค/ภาษารอง (น้ำเงินอ่อน)
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาอาหรับ (อาหรับ: العربية; อังกฤษ: Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ

ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรีย

ภาษาอาหรับทางศาสนาและสมัยใหม่

[แก้]

ชาวอาหรับถือว่าภาษาอาหรับที่ใช้ในทางศาสนาเป็นภาษามาตรฐานและรูปแบบอื่นๆถือเป็นสำเนียง ภาษาอาหรับทางศาสนาในปัจจุบันรวมทั้งภาษาที่ใช้ในสื่อปัจจุบันตลอดแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางและภาษาในอัลกุรอ่าน ส่วนสำเนียงของภาษาอาหรับหมายถึงภาษาอาหรับที่ต่างจากภาษาอาหรับคลาสสิกและใช้พูดกันในบริเวณต่าง ๆ ของแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง และใช้เป็นภาษาพูดในปัจจุบัน บางครั้งมีความแตกต่างกันมากพอที่ทำให้ไม่เข้าใจกันได้ สำเนียงเหล่านี้ไม่มีภาษาเขียน มีการใช้บ้างในสื่อแบบไม่เป็นทางการ เช่นละครหรือทอล์กโชว์ ภาษาอาหรับมาตรฐานหรือภาษาอาหรับทางศาสนาเป็นภาษาราชการของประเทศกลุ่มอาหรับทุกประเทศ และเป็นรูปแบบเดียวที่ใช้สอนในโรงเรียน ทำให้ภาษาอาหรับเป็นตัวอย่างหนึ่งของภาษาที่มีรูปแบบสองชนิดและใช้ในสภาพสังคมที่ต่างกัน ชาวอาหรับที่มีการศึกษาในทุกประเทศ จะใช้ได้ทั้งภาษาอาหรับที่ใช้พูดในท้องถิ่นและภาษาอาหรับที่ใช้ในการศึกษา ดังนั้นชาวอาหรับที่มีการศึกษาและมาจากคนละประเทศ เช่น ชาวโมร็อกโกและชาวเลบานอน จะใช้ภาษาอาหรับมาตรฐานในการติดต่อสื่อสาร

เช่นเดียวกับภาษาอื่น ๆ ภาษาอาหรับทางศาสนายังคงมีพัฒนาการ ภาษาอาหรับคลาสสิกอาจแยกได้จากภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ที่ใช้ในปัจจุบัน ภาษาอาหรับคลาสสิกเรียงประโยคตามไวยากรณ์แบบคลาสสิกและใช้ศัพท์จากพจนานุกรมยุคคลาสสิก ในภาษาอาหรับสมัยใหม่ มีโครงสร้างที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาอื่น เช่นการพูดถึงของหลายสิ่ง ภาษาอาหรับมาตรฐานใช้ ก ข ค และ ง ในขณะที่ภาษาอาหรับคลาสสิกใช้ ก และ ข และ ค และ ง มากกว่า ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยประธานถือว่าปกติในภาษาอาหรับมาตรฐานมากกว่าภาษาอาหรับคลาสสิก

อิทธิพลของภาษาอาหรับต่อภาษาอื่น

[แก้]

ภาษาอาหรับมีอิทธิพลมากในโลกอิสลามและเป็นแหล่งของคำศัพท์ ที่ใช้ในภาษาเบอร์เบอร์ ภาษาเคิร์ด ภาษาเปอร์เซีย ภาษาสวาฮีลี ภาษาอูรดู ภาษาฮินดี ภาษามลายู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาตุรกี เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น คำว่ากิตาบ ซึ่งแปลว่าหนังสือในภาษาอาหรับ มีใช้ในทุกภาษาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยกเว้นภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซียที่ใช้หมายถึงหนังสือทางศาสนา ภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสมีคำยืมจากภาษาอาหรับมาก และมีในภาษาอังกฤษเล็กน้อย ภาษาอื่นๆเช่น ภาษามอลตา ภาษากินูบี ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับทั้งทางด้านคำศัพท์และไวยากรณ์

คำยืมจากภาษาอาหรับมีกว้างขวางทั้งคำจากศาสนา (เช่น ภาษาเบอร์เบอร์ tazallit = ละหมาด) ศัพท์ทางวิชาการ (เช่น ภาษาอุยกูร์ mentiq = วิชา) ศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ (เช่น ภาษาอังกฤษ sugar = น้ำตาล) จนถึงคำสันธานที่ใช้ในการพูดประจำวัน (เช่น ภาษาอูรดู lekin = แต่) ภาษาเบอร์เบอร์ส่วนใหญ่และภาษาสวาฮีลียืมตัวเลขจากภาษาอาหรับ ศัพท์ทางศาสนาอิสลามส่วนใหญ่เป็นคำยืมโดยตรงจากภาษาอาหรับ เช่น salat (ละหมาด) และอิหม่าม ในภาษาที่ไม่ได้ติดต่อกับโลกอาหรับโดยตรง คำยืมจากภาษาอาหรับจะถูกยืมผ่านภาษาอื่น ไม่ได้มาจากภาษาอาหรับโดยตรง เช่น คำยืมจากภาษาอาหรับในภาษาอูรดูส่วนใหญ่ รับผ่านทางภาษาเปอร์เซีย และคำยืมจากภาษาอาหรับส่วนใหญ่ในภาษาฮัวซาได้รับมาจากภาษากานูรี

คำยืมจากภาษาอาหรับในภาษาอังกฤษและภาษาในยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผ่านทางภาษาสเปนและภาษาอิตาลี ตัวอย่างที่มีใช้กันทั่วไป เช่น sugar (มาจาก sukkar) cotton (qutn) และ magazine (mahazin) คำในภาษาอังกฤษที่มีต้นกำเนิดจากภาษาอาหรับ algebra alcohol alchemy alkali และ zenith คำบางคำที่ใช้กันทั่วไปเช่น intention และ information มีต้นกำเนิดมาจากศัพท์ทางปรัชญาของภาษาอาหรับ

ภาษาอาหรับและศาสนาอิสลาม

[แก้]

ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ใช้ในอัลกุรอาน มุสลิมทุกคนต้องเรียนอ่านอัลกุรอานภาษาอาหรับเพื่อรักษาความหมายดั้งเดิมไว้ไม่ให้ผิดพลาดเพราะการแปล อย่างไรก็ตาม ภาษาอาหรับคงมีการใช้ในกลุ่มชาวอาหรับที่นับถือศาสนาคริสต์ ชาวอาหรับดรูซ ชาวยิวมิซราฮี และชาวมันเดียนในอิรัก ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาแม่ แต่สามารถอ่านภาษาอาหรับที่เกี่ยวข้องกับศาสนาได้

ประวัติ

[แก้]

หลายคน เชื่อว่าภาษาอาหรับสมัยใหม่เป็นส่วนหนึ่งของสาขาย่อยอาหรับ-คานาอันไนต์ของภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกกลาง ในขณะที่ภาษาอาหรับไม่ใช่ภาษาเซมิติกที่เก่าสุด จึงมีลักษณะร่วมกับภาษาบรรพบุรุษของภาษากลุ่มเซมิติกในตระกูลแอฟโฟร-เอเชียติกคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม นักภาษาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าภาษาอาหรับเป็นภาษาที่มีความเป็นเซมิติกมากที่สุดในบรรดาภาษากลุ่มเซมิติกสมัยใหม่ด้วยกัน เพราะรักษาลักษณะของภาษาเซมิติกดั้งเดิมไว้ได้มาก

เอกสารของภาษาอาหรับดั้งเดิมหรือภาษาอาหรับเหนือโบราณคือจารึกที่อาซาเอียนที่พบทางตะวันออกของซาอุดีอาระเบียมีอายุราว 257 ปีก่อนพุทธศักราช เขียนด้วยอักษรอาระเบียใต้ ในยุคต่อมาคือเอกสารลิเชียนไนต์ อายุราว 57 ปีก่อนพุทธศักราช พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของซาอุดีอาระเบีย และเอกสารทามุด (ษะมูด) ที่พบตลอดคาบสมุทรอาระเบียและไซนาย หลักฐานในยุคต่อมาคือจารึกซาไฟติกอายุราว 100 ปีก่อนคริสต์ศักราช และชื่อเฉพาะภาษาอาหรับที่พบในจารึกภาษานาบาทาเอียน

เมื่อราว ค.ศ. 400 กษัตริย์ของชาวอาหรับแห่งลักมิดในอิรักภาคใต้ กษัตริย์ฆาสซานัดในซีเรียภาคใต้และราชอาณาจักรกินไดต์ (กินดะฮ์) ได้ก่อตัวขึ้นในคาบสมุทรอาระเบียตอนกลาง ในยุคนั้นพบกวีนิพนธ์ภาษาอาหรับยุคก่อนศาสนาอิสลาม และจารึกภาษาอาหรับยุคก่อนอิสลามเขียนด้วยอักษรอาหรับ

สำเนียงและลูกหลาน

[แก้]

ภาษาอาหรับสนทนาเป็นคำที่ใช้เรียกภาษาอาหรับสำเนียงต่างๆที่เป็นภาษาพูดตลอดโลกอาหรับ และต่างไปจากภาษาอาหรับที่เป็นภาษาเขียน การแบ่งสำเนียงหลักๆคือการแบ่งระหว่างสำเนียงในแอฟริกาเหนือและสำเนียงในตะวันออกกลาง ตามมาด้วยการแบ่งระหว่างสำเนียงประจำถิ่น และสำเนียงที่อนุรักษ์กว่าของชาวเบดูอิน ผู้พูดบางสำเนียงอาจจะไม่เข้าใจภาษาอาหรับอีกสำเนียงหนึ่งได้ ตัวอย่างเช่น ผู้พูดในตะวันออกกลางอาจจะไม่เข้าใจบางสำเนียงในแอฟริกาเหนือ ความแตกต่างระหว่างสำเนียงได้รับอิทธิพลมาจากภาษาที่ใช้พูดอยู่เดิมในบริเวณนั้น ซึ่งมีอิทธิพลทั้งในด้านคำศัพท์และการเรียงประโยค คำบางคำในแต่ละสำเนียง มีความหมายเหมือนกันแต่มาจากรากศัพท์ในภาษาคลาสสิกที่ต่างกัน เช่นคำว่า “มี” สำเนียงอิรักใช้ aku สำเนียงเลบานอนใช้ fih และแอฟริกาเหนือใช้ kayәn (มาจากภาษาคลาสสิก yakun, fihi และ ka’in ตามลำดับ)

กลุ่มของสำเนียงหลักๆ ได้แก่

สำเนียงอื่นๆ ได้แก่

เสียง

[แก้]

สระ

[แก้]

ภาษาอาหรับมีสระแท้สามเสียง โดยแต่ละเสียงมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาวคือ อะ-อา อิ-อี อุ-อู แต่เมื่อประสมกับพยัญชนะบางตัวจะออกเป็น เอาะ-ออ มีสระประสมสองเสียงคือ ไอ กับ เอา ที่สำคัญในภาษาอาหรับนั้นจะมีแต่เสียงสระเท่านั้นจะไม่ใส่รูปสระ

พยัญชนะ

[แก้]

พยัญชนะมี 28 ตัว เสียงพยัญชนะในภาษาอาหรับมีทั้งเสียงสั้นและเสียงยาว โดยเสียงยาวจะแทนด้วยอักษรละตินสองตัว เช่น bb หรือแสดงด้วยเครื่องหมายชัดดะหฺในอักษรอาหรับ

โครงสร้างพยางค์

[แก้]

พยางค์ในภาษาอาหรับมีสองชนิดคือพยางค์เปิด (CV, CVV) และพยางค์ปิด (CVC, CVVC, CVCC) ทุกพยางค์เริ่มด้วยพยัญชนะ หรือพยัญชนะที่ยืมมาจากคำก่อนหน้า โดยเฉพาะในกรณีของคำนำหน้านามชี้เฉพาะ al เช่น baytu-l mudiir (บ้านของผู้กำกับ) ซึ่งจะเป็น bay-tul-mu-diir ถ้าออกเสียงแยกทีละพยางค์ โดยผู้กำกับจะเป็น al mudiir

การเน้นหนัก

[แก้]

การเน้นหนักในภาษาอาหรับมีความเกี่ยวข้องกับความยาวของเสียงสระและรูปร่างของพยางค์ การเน้นหนักคำที่ถูกต้องช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น กฎพื้นฐานได้แก่

  • เฉพาะพยางค์สุดท้ายของคำที่มีสามพยางค์ที่ถูกเน้นหนัก
  • พยางค์ที่มีสระเสียงยาวหรือพยัญชนะคู่จะถูกเน้นหนัก
  • ถ้าไม่มีพยางค์ดังกล่าว พยางค์ก่อนพยางค์สุดท้ายจะถูกเน้น หรือพยางค์แรกที่ยอมให้เน้นเสียงได้
  • ในภาษาอาหรับมาตรฐาน เสียงสระเสียงยาวเสียงสุดท้ายมักถูกเน้น แต่ไม่ใช้กับสำเนียงที่ใช้พูดซึ่งสระเสียงยาวสุดท้ายดั้งเดิ��ถูกทำให้สั้นและสระเสียงยาวอันที่สองถูกยกเสียงขึ้น

ในบางสำเนียงจะมีกฎการเน้นเสียงที่ต่างออกไป

ความแตกต่างระหว่างสำเนียง

[แก้]

ในบางสำเนียงมีเสียงพยัญชนะที่ต่างไปจากภาษาอาหรับมาตรฐาน เช่น สำเนียงมักเรบมีเสียง v ซึ่งใช้เขียนชื่อที่ยืมจากภาษาอื่นๆ เสียง p ของภาษากลุ่มเซมิติกกลายเป็นเสียง f ก่อนจะมีการเขียน แต่ในสำเนียงสมัยใหม่ของภาษาอาหรับ เช่น ภาษาอาหรับอิรัก มีการแยกระหว่างเสียง p และ b ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซียและภาษาตุรกี

เสียง /q/ ยังมีการออกเสียงแบบดั้งเดิมในหลายบริเวณ เช่น เยเมน โมร็อกโก และบริเวณมักเรบรอบนอก แต่กลายเป็นเสียงก้อง เกิดที่เพดานอ่อน /g/ ในภาษาอาหรับอ่าว ภาษาอาหรับอิรัก อียิปต์ตอนบน ส่วนใหญ่ของบริเวณมักเรบ และบางส่วนของบริเวณเลอวานต์ (เช่น จอร์แดน) กลายเป็นเสียงก้อง หดตัว เกิดจากลิ้นไก่ /ʁ/ ในภาษาอาหรับซูดาน และกลายเป็นเสียงจากคอหอย /ʔ/ ในสำเนียงที่เป็นที่รู้จักดีหลายสำเนียง เช่น สำเนียงที่ใช้พูดในไคโร เบรุต และดามัสกัส หมู่บ้านชาวคริสต์พื้นเมืองหลายแห่งในบริเวณเลอวานต์ออกเสียงเสียงนี้เป็นเสียง /k/ เช่นเดียวกับชาวชีอะห์ในบาห์เรน สำเนียงบริเวณอ่าวเปอร์เซียบางสำเนียงเปลี่ยนเสียง /q/ เป็นเสียง /d͡ʒ/ หรือ /ʒ/ หลายสำเนียงที่เปลี่ยนเสียง /q/ ไปแล้ว ยังคงเสียง /q/ ไว้เฉพาะในบางคำ (มักเป็นศัพท์ทางศาสนาหรือการศึกษา) ซึ่งยืมมาจากภาษาคลาสสิก

เสียง /d͡ʒ/ ยังคงรักษาการออกเสียงนี้ในอิรักและบริเวณส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอาระเบีย แต่ออกเสียงเป็น /g/ ในไคโรและบางส่วนของเยเมน เป็น /ʒ/ ในโมร็อกโกและบริเวณเลอวานต์ และเป็น /j/ ในบางคำของภาษาอาหรับอ่าว

เสียง /k/ ส่วนใหญ่จะคงการออกเสียงดั้งเดิมไว้ได้ แต่เปลี่ยนเป็นเสียง /t͡ʃ/ ในหลายคำของภาษาอาหรับปาเลสไตน์ อิรัก และส่วนใหญ่ในคาบสมุทรอาระเบีย ความแตกต่างมักเกิดระหว่างปัจจัย /-ak/ และ /-ik/ ที่กลายเป็น /-ak/ และ /-it͡ʃ / ตามลำดับ ในภาษาอาหรับซานา /-ik/ ออกเสียงเป็น /-iʃ/

ระบบการเขียน

[แก้]

อักษรอาหรับพัฒนามาจากอักษรอราเมอิก ผ่านทางอักษรซีเรียคและอักษรนาบาทาเอียน อักษรที่ใช้ในแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมีความแตกต่างกันบ้าง ตัวอย่างเช่น ฟาอุและกอฟที่มีจุดข้างใต้และจุดเดี่ยวข้างบนตามลำดับพบมากในมักเรบและใช้มากในโรงเรียนสอนอัลกุรอานในแอฟริกาตะวันตก อักษรอาหรับเขียนจากขวาไปซ้าย มีรูปแบบของการเขียนหลายแบบ แบบนัสค์ใช้ในการพิมพ์และคอมพิวเตอร์ และรุกอะห์ที่ใช้ในการเขียนด้วยมือ

การคัดลายมือ

[แก้]

หลังจากมีการกำหนดรูปแบบของอักษรอาหรับเมื่อราว พ.ศ. 1329 โดยคอลีล อิบนุอะหมัด อัลฟะรอฮีดีย์ มีการเขียนหลายรูปแบบได้ถูกพัฒนาขึ้นมา ซึ่งใช้ทั้งในการเขียนและการจารึก รวมทั้งนำไปใช้เป็นงานศิลปะ เนื่องจากลักษณะของอักษรที่โค้งตามธรรมชาติ ทำให้ประกอบเป็นรูปต่างๆได้ง่าย

การถอดอักษร

[แก้]

การถอดอักษรอาหรับเป็นอักษรโรมันมีหลายแบบ มีทั้งแบบที่ใช้อักษรคู่แทนเสียงเดี่ยว และระบบที่ใช้อักษรพิเศษแทนเพื่อใช้ 1 อักษรต่อ 1 เสียง ซึ่งเป็นระบบที่นิยมใช้โดยกองทัพสหรัฐ

การถอดอักษรอาหรับเป็นอักษรไทยมีหลายมาตรฐาน แต่ที่มีกำหนดเป็นหลายลักษณ์อักษรคือ มาตรฐานการถอดรูปอักษรอาหรับเป็นอักษรไทยแบบสยามิค นอกจากนี้ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดหลักเกณฑ์ทับศัพท์ภาษาอาหรับของราชบัณฑิตยสถาน

ตัวเลข

[แก้]

ในปัจจุบัน ในแอฟริกาเหนือใช้เลขอาหรับ ส่วนในอียิปต์และตะวันออกกลางใช้เลขอาหรับตะวันออก การเขียนตัวเลขเขียนจากซ้ายไปขวา

องค์กรควบคุมมาตรฐานของภาษา

[แก้]

สถาบันการศึกษาภาษาอาหรับเป็นองค์กรควบคุมภาษาอาหรับที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศอาหรับ มีกิจกรรมส่วนใหญ่ในดามัสกัสและไคโร มีหน้าที่ตรวจสอบพัฒนาการของภาษา ตรว���คำใหม่ เพื่อเพิ่มเข้าไปในพจนานุกรมมาตรฐาน รวมทั้งการตีพิมพ์เอกสารโบราณและเอกสารทางประวัติศาสตร์ด้วยภาษาอาหรับ

ไวยากรณ์

[แก้]

คำนามที่ใช้ในภาษาเขียนมี 3 การก คือประธาน กรรม และความเป็นเจ้าของ มี 3 พจน์ คือ เอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ มี 2 เพศ คือชายกับหญิง และมี 3 สถานะ คือ ทั่วไป ชี้เฉพาะ และผูกประโยค การกของนามเอกพจน์นอกจากที่ลงท้ายด้วย ā แสดงโดยปัจจัยที่เป็นสระเสียงสั้น (/u/ สำหรับประธาน, /a/ สำหรับกรรม และ /i/ สำหรับความเป็นเจ้าของ) นามสตรีเอกพจน์ มักแสดงด้วย /-at/ ซึ่งมักลดรูปเหลือ /-ah/ หรือ /a/ การแสดงพหูพจน์ใช้ได้ทั้งการลงท้ายและการเปลี่ยนแปลงภายในคำ คำนามทุกคำสามารถนำหน้าด้วย /al/ ซึ่งเป็นคำนำหน้านาม นามเอกพจน์รูปชี้เฉพาะนอกจากที่ลงท้ายด้วย ā เติมเสียงตัวสะกด /-n/ เข้าที่สระท้ายการกเป็น /un/ , /an/ และ /in/ ซึ่งเป็นการผันคำนามแบบหนึ่ง มีการเรียงคำแบบ กริยา-ประธาน-กรรม

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Arabic – Ethnologue". Ethnologue. Simons, Gary F. and Charles D. Fennig (eds.). 2018. Ethnologue: Languages of the World, 21st edition. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มกราคม 2016. สืบค้นเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2018.
  2. Wright (2001:492)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]