ข้ามไปเนื้อหา

ไรอันแอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไรอันแอร์โฮลดิ้ง)
ไรอันแอร์ ดีเอซี
IATA ICAO รหัสเรียก
FR RYR RYANAIR
ก่อตั้ง28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1984 (40 ปี)[1]
เริ่มดำเนินงาน8 พฤษภาคม ค.ศ. 1985 (39 ปี)
ขนาดฝูงบิน305
บริษัทแม่บริษัท ไรอันแอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
สำนักงานใหญ่สาธารณรัฐไอร์แลนด์ สวอร์ดส ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์
บุคลากรหลักเอ็ดดี วิลสัน (ซีอีโอไรอันแอร์ ดีเอซี)
ผู้ก่อตั้งคริสโตเฟอร์ ไรอัน | โทนี ไรอัน | เลียม โลเนอร์แกน
บริษัท ไรอันแอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
ฐานการบิน
รายชื่อฐานการบิน
บริษัทลูก
ขนาดฝูงบิน599[11]
จุดหมาย235[11]
การซื้อขาย
สำนักงานใหญ่สาธารณรัฐไอร์แลนด์ สวอร์ดส ดับลิน ประเทศไอร์แลนด์
บุคลากรหลัก
รายได้เพิ่มขึ้น 13.44 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2024)[11]
รายได้จากการดำเนินงาน
เพิ่มขึ้น 2.061 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2024)[11]
รายได้สุทธิ
เพิ่มขึ้น 1.917 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2024)[11]
สินทรัพย์เพิ่มขึ้น 17.18 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2024)[11]
ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 7.614 พันล้านยูโร (ค.ศ. 2024)[11]
พนักงาน
27,076 คน (ค.ศ. 2024)[11]
เว็บไซต์www.ryanair.com

ไรอันแอร์ (ไอริช: Ryanair) เป็นกลุ่มสายการบินราคาประหยัดพิเศษสัญชาติไอริช ที่สำนักงานใหญ่ในซอร์ดส ดับลิน[12] โดยบริษัทแม่ บริษัท ไรอันแอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ประกอบด้วยสายการบินลูก ไรอันแอร์ ดีเอซี[13] มอลตาแอร์ บัซซ์ เลาดายุโรป และไรอันแอร์ ยูเค โดยไรอันแอร์ ดีเอซี สายการบินที่เก่าแก่ที่สุดในกลุ่ม ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1984[1] และได้มีการก่อตั้งไรอันแอร์โฮลดิ้งในปี 1996 เป็นบริษัทผู้ถือหุ้นของไรอันแอร์ที่มีผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการบริหารเดียวกัน[14] ในปี 2019 ได้มีการแปรสภาพไรอันแอร์และสายการบินลูกอื่นเป็นๆ เป็นบริษัทลูกของไรอันแอร์โฮลดิ้ง[15] ต่อมามอลตาแอร์ได้เข้าเป็นบริษัทลูกของไรอันแอร์โฮลดิ้งในปีเดียวกัน[16]

ไรอันแอร์ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในสายการบินที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่การยกเลิกกฎระเบียบในอุตสาหกรรมการบินในยุโรปเมื่อปี 1997 และความสำเร็จในรูปแบบธุรกิจของสายการบินราคาประหยัด กลุ่มสายการบินมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินกว่า 500 ลำ[17] และให้บริการเที่ยวบินสู่ 36 ประเทศในยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกา และตะวันออกกลาง[18] โดยมีฐานการบินหลักในดับลิน ลอนดอน–สแตนสเต็ด และมิลาน–แบร์กาโม[19] ไรอันแอร์เป็นส��ยการบินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไอร์แลนด์[20] และในปี 2016 เป็นสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกตามจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ[21]

บ่อยครั้งสายการบินถูกวิพากษ์วิจารณ์ในสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจำนวนมาก การบริการลูกค้าที่ไม่ดี[22] และแนวโน้มที่จะเจตนาสร้างความขัดแย้งเพื่อการประชาสัมพันธ์[23]

กิจการองค์กร

[แก้]

ผลประกอบการ

[แก้]

ผลประกอบการของกลุ่มสายการบินไรอันแอร์ระหว่างปี ค.ศ. 2010-2023 มีดังนี้ (สำหรับปีงบประมาณสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม):

2010 2011 2012 2013 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023
มูลค่ากาซื้อขาย (ล้นยูโร) 2,988 3,629 4,390 4,884 5,037 5,654 6,536 6,648 7,151 7,697 8,495 1,636 4,801 10,780
กำไร (ล้นยูโร) 305 375 560 569 523 867 1,559 1,316 1,450 885 649 −1,015 −241 1,314
จำนวนพนักงาน (คน) 7,032 8,063 8,438 9,059 9,501 9,586 10,926 12,438 13,803 15,938 17,268 15,016 19,116 22,261
จำนวนผู้โดยสาร (ล้านคน) 67 72 76 79 82 91 106 120 130 142 148 28 97 169
อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (%) 82 83 82 82 83 88 93 94 95 96 95 71 82 93
จำนวนจุดหมายปลายทาง 153 158 159 167 186 190 200 207 216 219 242 225 223 222
จำนวนประเทศที่ให้บริการ 27 27 28 28 30 30 33 34 37 37 40 37 36 36
ฝูงบิน (ณ สิ้นปี) 232 272 294 305 297 308 341 383 431 471 466 451 500 537
หมายเหตุ/อ้างอิง [24]
[25]
[24]
[26]
[24]
[27]
[28]
[29]
[28] [30] [31] [32] [32] [32]
[33]
[34]
[35]
[36] [37]
[38]
[39]
[40]

ณ เดือนมกราคม ค.ศ. 2024 กลุ่มสายการบินคาดการณ์รายได้ของปีถึง 1.85–1.95 พันล้านยูโร[41]

จุดหมายปลายทาง

[แก้]
แผนที่จุดหมายปลายทางของไรอันแอร์ (ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024)[42][43]

ฐานการบินที่ใหญ่ที่สุดของไรอันแอร์อยู่ที่ท่าอากาศยานลอนดอนสแตนสเต็ด และตามมาด้วยฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานดับลิน[44] ไรอันแอร์มีฐานการบินทั่วทวีปยุโรป และบางส่วนของตะวันออกกลางและแอฟริกาตอนเหนือ[45]

โดยส่วนมากไรอันแอร์จะให้บริการสู่ท่าอากาศยานขนาดเล็กหรือท่าอากาศยานรอง เช่น ลอนดอน–สแตนสเต็ด หรือปารีส–โบเวส์ ซึ่งตั้งอยู่นอกตัวเมือง ทั้งนี้เป็นมาตรการในการลดต้นทุน โดยเป็นการลดค่าธรรมเนียมท่าอากาศยานและลดเวลาการดำเนินการภาคพื้นดิน ไรอันแอร์ถึงกับได้ระบุว่าท่าอากาศยานบราติสลาวาในสโลวาเกียเป็น "เวียนนา–บราติสลาวา" ถึงแม้จะอยู่ห่างจากกรุงเวียนนาถึง 80 กิโลเมตร (50 ไมล์) ในอีกประเทศหนึ่ง ในบางกรณี ท่าอากาศยานรองไม่ได้ตั้งห่างจากตัวเมืองนั้นมากนัก และอาจตั้งอยู่ใกล้กับท่าอากาศยานหลักเลยก็ได้ เช่น ท่าอากาศยานโรมคัมปิโน

นอกจานี้แล้วไรอันแอร์ยังให้บริการสู่ท่าอากาศยานหลักหลายแห่ง เช่น อัมสเตอร์ดัม–สคิปโฮล สต็อกโฮล์ม–ออลันดา เอเธนส์ บาร์เซโลนา–อัลปรัต บูคาเรสต์ออโตเปนี บูดาเปสต์ โคเปนเฮเกน ดับลิน ลิสบอน ลอนดอนแกตวิก มาดริดบาราฆัส มาร์แซย์ ออสโลการ์เดอร์มอน และโรมฟีอูมีชีโน โดยบายเมืองที่กล่าวมานี้ไม่มีท่าอากาศยานรองที่ไรอันแอร์สามารถใช้งานได้ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ไรอันแอร์ได้ขยายอิทธิพลไปยังท่าอากาศยานหลักเพื่อหวังจะดึงดูดผู้โดยสารมากขึ้นในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2014 สายการบินเปิดฐานการบินในเอเธนส์ ลิสบอน และท่าอากาศยานหลักของบรัสเซลส์และโรมเป็นครั้งแรก

ไรอันแอร์ทำการบินในรูปแบบจุดต่อจุด ต่างจากรูปแบบฮับแอนด์สโปค ที่ผู้โดยสารต้องต่อเครื่องที่ท่าอากาศยานหลัก รูปแบบจุดต่อจุดสามารถทำให้ไรอันแอร์ให้บริการเที่ยวบินมากขึ้นได้[46][47] ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017 ไรอันแอร์ได้เพิ่มการต่อเครื่องที่ท่าอากาศยานโรมฟีอูมีชีโน[48] ถึงแม้ไรอันแอร์จะเป็นสายการบินสัญชาติไอริช แต่สายการบินก็ยังมีอิทธิพลในฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ สเปน สหราชอาณาจักร และในหลายๆ ประเทศในยุโรป ในปัจจุบันนี้ตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไรอันแอร์คืออิตาลี โดยมีฐานการบิน 14 แห่งและจุดหมายปลายทางที่ไม่ใช่ฐานการบินอีกเก้าแห่ง

ฝูงบิน

[แก้]

ฝูงบินปัจจุบัน

[แก้]

ณ เดือนสิงหาคม ค.ศ. 2024 กลุ่มสายการบินไรอันแอร์มีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[49][50][51][52][53]

ฝูงบินของไรอันแอร์
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
แอร์บัส เอ320-200 27 180 เลาดายุโรป เช่าจนถึงปี ค.ศ. 2028
โบอิง 737-700 1 148[54] บัซซ์ ให้บริการเที่ยวบินท่องเที่ยวแบบเช่าเหมาลำสำหรับบริษัทท่องเที่ยวในโปแลนด์[55]
โบอิง 737-800 410 205 189[56] ไรอันแอร์ ผู้ใหบริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น
131 มอลตาแอร์
59 บัซซ์
15 ไรอันแอร์ ยูเค
โบอิง 737 แมกซ์ 200 156 105 49[57] 197[58] ไรอันแอร์ ผู้ให้บริการรายใหญ่ที่สุดของรุ่น
ส่งมอบจนถึงปี ค.ศ. 2025[59]
43 มอลตาแอร์
13 บัซซ์
โบอิง 737 แมกซ์ 10 150 228 รอประกาศ สั่งซื้อพร้อม 150 ตัวเลือก
ส่งมอบตั้งแต่ปี ค.ศ. 2027[60]
รวม 599 199

กลุ่มสายการบินไรอันแอร์มีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.7 ปี

ฝูงบินในอดีต

[แก้]

ไรอันแอร์เคยให้บริการเครื่องบินดังต่อไปนี้:

ฝูงบินในอดีตของไรอันแอร์
เครื่องบิน จำนวน เริ่มประจำการ ปลดประจำการ หมายเหตุ อ้างอิง
เอทีอาร์ 42-300 ไม่ทราบ 1989 1991 [61]
บีเอซี 1-11 500 ไม่ทราบ 1986 1994 [62]
คอนแวร์ 580 ไม่ทราบ 1988 1988 ให้บริการโดยพาร์ทแนร์ [ต้องการอ้างอิง]
โบอิง 737-200 21 1994 2005 ทดแทนด้วยโบอิง 737-800
20 ลำขายให้กับ บริษัท ออโตไดเรกต์เอวิเอชัน จำกัด เป็นเงิน 8.1 ล้านเหรียญในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเป็นที่ปลดประจำการแล้วหกลำ และที่ดำเนินการอยู่ 14 ลำซึ่งได้โอนย้ายระหว่างปี ค.ศ. 2004 และ 2005
[63][61]
โบอิง 737-300 7 2002 2004 ทดแทนด้วยโบอิง 737-800 [61]
โบอิง 737-400 1 2004 2005 เช่าจากแอร์แอตแลนตาไอซ์แลนดิกและแอร์เอกซ์พลอร์ [64][61]
เอ็มบราเออร์ อีเอ็มบี 110 บาเดรันเต ไม่ทราบ 1985 1989 [62]
ฮ็อคเกอร์-ซิดเดลีย์ เอชเอส 748 ไม่ทราบ 1986 1990 [62]
ชอร์ต เอส-25 ซันเดอร์ลันด์ 5 ไม่ทราบ 1989 1989 [62]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Aldous, Richard (2013). Tony Ryan: Ireland's Aviator. Gill & Macmillan Ltd. p. 80. ISBN 978-0-7171-5781-5.
  2. "Ryanair to relaunch at Billund Airport with 26 destinations". The Local. 5 May 2021.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Ryanair Opens Three New Bases In Greece For Summer '21 | Ryanair's Corporate Website". corporate.ryanair.com. 24 March 2021.
  4. "Ryanair Closes Frankfurt Am Main Base". ryanair.com. 7 January 2022. สืบค้นเมื่อ 7 January 2022.
  5. "Ryanair announces new base in Riga for Winter '21 with two based aircraft and 16 new routes". 28 April 2021.
  6. "Ryanair to start flying from Arlanda this autumn". The Local. 6 May 2021.
  7. "Ryanair Announces New Base At Venice Treviso". ryanair.com. 4 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 December 2020.
  8. "New Ryanair Base At Venice Marco Polo Airport". ryanair.com. 7 October 2021. สืบค้นเมื่อ 7 October 2021.
  9. "Ryanair Opens A New Zadar Base For Summer '21 | Ryanair's Corporate Website". corporate.ryanair.com. 30 March 2021.
  10. "Ryanair Announces New Base In Zagreb | Ryanair's Corporate Website". corporate.ryanair.com. 30 March 2021.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 "FY 2024 Annual Report (Form 20-F)". US Securities and Exchange Commission. June 27, 2024.
  12. "Ryanair Holdings Public Limited Company". lei-ireland.ie. สืบค้นเมื่อ September 17, 2023.
  13. "Registered address and VAT number". ryanair.com. สืบค้นเมื่อ 14 September 2023.
  14. "FORM 20-F" (PDF). Ryanair. p. 61. สืบค้นเมื่อ October 29, 2023.
  15. "Ryanair to transition to group structure in 2019". ch-aviation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
  16. "Malta Air – Ryanair's new Malta-based airline officially established in Malta". gov.mt. June 11, 2019. สืบค้นเมื่อ October 29, 2023.
  17. "Latest Register and Monthly Changes". www.iaa.ie. Irish Aviation Authority. 30 January 2023. สืบค้นเมื่อ 5 April 2023.
  18. "About us". Ryanair.com. สืบค้นเมื่อ 5 April 2023.
  19. Efthymiou, Marina; Christidis, Panayotis (2023-07-01). "Low-Cost Carriers route network development". Annals of Tourism Research. 101: 103608. doi:10.1016/j.annals.2023.103608. ISSN 0160-7383.
  20. "Largest airports and airlines in Ireland". Worlddata.info (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-09-17.
  21. O'Halloran, Barry (25 August 2016). "Ryanair carries more international passengers than any other airline". Irish Times. สืบค้นเมื่อ 2 April 2017.
  22. Topham, Gwyn (5 January 2019). "Ryanair ranked 'worst airline' for sixth year in a row". The Guardian.
  23. Davies, Rob (24 September 2017). "Michael O'Leary: a gift for controversy and an eye on the bottom line". The Observer. สืบค้นเมื่อ 19 September 2019.
  24. 24.0 24.1 24.2 "Annual Report 2012". www.ryanair.com. Ryanair. 27 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2014. สืบค้นเมื่อ 10 November 2014.
  25. "About Us". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2010.
  26. "About Us". Ryanair. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 May 2011.
  27. "About Us". Ryanair. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2012.
  28. 28.0 28.1
    "Annual Report 2014". www.ryanair.com. Ryanair. 25 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2014. สืบค้นเมื่อ 10 November 2014.
  29. "About Us". Ryanair. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2013.
  30. "Full Year Results 2015". www.ryanair.com. Ryanair. 26 May 2015. สืบค้นเมื่อ 26 May 2015.
  31. "Ryanair Financial Report 2016" (PDF).
  32. 32.0 32.1 32.2 "Ryanair Holdings plc 2019 Annual Report" (PDF). www.ryanair.com. Ryanair Holdings plc. 26 July 2019. สืบค้นเมื่อ 13 October 2019.
  33. "Ryanair Financial Results 2019" (PDF). Ryanair. สืบค้นเมื่อ October 22, 2023.
  34. O'Leary, Michael (31 March 2020). "Ryanair 2020 Financial report (Year ending 31st March 2020)" (PDF).
  35. "Ryanair Financial Results 2020" (PDF). Ryanair. สืบค้นเมื่อ October 22, 2023.
  36. "Ryanair Holdings Annual Report for 2021 (Year ending March 31st)" (PDF). Ryanair. May 2021.
  37. "Ryanair Group Annual Report 2022" (PDF). Ryanair. July 2022.
  38. "Ryanair Holdings Annual Report for 2022 (Year ending March 31st)" (PDF). Ryanair. July 2022.
  39. "RYANAIR REPORTS FULL YEAR PROFIT OF €1.43BN" (PDF). Ryanair. June 2023.
  40. "Ryanair Annual Report 2023" (PDF). Ryanair. 21 July 2023.
  41. "Ryanair Holdings Q3 F24 Results" (PDF). Ryanair. January 24, 2024. p. 15. สืบค้นเมื่อ March 20, 2024.
  42. "Ryanair Online Booking". Ryanair. 13 June 2023.
  43. "Ryanair Route Map". Ryanair. 13 June 2023.
  44. "Airline In Focus: Ryanair". 13 October 2022.
  45. Page 3 on"FY23 Results – May 2023" (PDF). 16 May 2023.
  46. "The Times | UK News, World News and Opinion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2012. สืบค้นเมื่อ 26 April 2010.
  47. "Ryanair says Air France stifling regional airports – EU Business News". EUbusiness.com. 24 March 2010. สืบค้นเมื่อ 16 May 2010.
  48. "Ryanair will Umsteigeflüge anbieten". สืบค้นเมื่อ 11 April 2017.
  49. "Ryanair Holdings Group". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-07-13.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  50. "Buzz Fleet Details and History". Planespotters.net (ภาษาอังกฤษ). 2024-07-04.
  51. "Lauda Europe Fleet Details and History". www.planespotters.net.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  52. "Malta Air Fleet Details and History". www.planespotters.net. 29 พฤษภาคม 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  53. "Ryanair UK Fleet Details and History". www.planespotters.net. 4 เมษายน 2567.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  54. "Ryanair Corporate Jet – Customised Boeing 737-700 for Private Charter". 7 November 2018. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
  55. "Ryanair's Buzz deploys only B737-700 on leisure charters". ch-aviation.com.
  56. "About Us – Our Fleet". www.ryanair.com. Ryanair. สืบค้นเมื่อ 10 November 2014.
  57. "Ryanair Q1 Results – July 2022 Presentation" (PDF). 26 July 2022. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
  58. Podsada, Janice (26 April 2018). "Ryanair to buy 25 high-capacity 737 MAX 8 airliners". The Herald. สืบค้นเมื่อ 29 June 2018.
  59. "Ryanair Negotiations For A Boeing MAX10 Order End Without Agreement". Ryanair. 6 September 2021. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
  60. Goodbody, Will (2023-05-09). "Ryanair inks $40bn Boeing deal for up to 300 aircraft". RTÉ.ie (ภาษาอังกฤษ).
  61. 61.0 61.1 61.2 61.3 "RyanAir Check In Policy". 2023-07-28. สืบค้นเมื่อ 2023-12-15.
  62. 62.0 62.1 62.2 62.3 Wickstead, Maurice J (2014). Airlines of the British Isles since 1919. Air-Britain. ISBN 978-0-85130-456-4. สืบค้นเมื่อ 2023-12-21.
  63. Keane, Connor (5 October 2004). "Ryanair sells 20 jets for €8.1m". Irish Examiner. สืบค้นเมื่อ 22 June 2020.
  64. "Ryanair to lease B737-400s, −800s from Slovakia's Air Explore". ch-aviation.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]