ข้ามไปเนื้อหา

ไนต์ฮอกส์ (จิตรกรรม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไนต์ฮอกส์
en: 'Nighthawks'
ศิลปินเอ็ดเวิร์ด ฮอปเปอร์
ปี1942
สื่อสีน้ำมันบนผ้าใบ
ขบวนการอเมริกันเรียลลิสม์
มิติ84.1 × 152.4 เซนติเมตร
สถานที่สถาบันศิลปะชิคาโก
การเข้าถึง1942.51

ไนต์ฮอกส์ (อังกฤษ: Nighthawks) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันบนผ้าใบ เขียน���สร็จในปี 1942 ผลงานของเอ็ดเวิร์ด ฮอปเปอร์ แสดงภาพคนสี่คนในไดเนอร์แห่งหนึ่งในย่านดาวน์ทาวน์ในช่วงกลางคืน ท่ามกลางถนนอันเงียบงันของเมือง

ผลงานชิ้นนี้มักได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานชิ้นที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของฮอปเปอร์[1] และเป็นหนึ่งในผลงานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในบรรดาศิลปะของสหรัฐ[2][3] ไม่กี่เดือนหลังผลงานเสร็จสมบูรณ์ งานนี้ถูกขายให้กับสถาบันศิลปะชิคาโกในวันที่ 13 พฤษภาคม 1942 ด้วยมูลค่า $3,000[4]

การเขียนภาพ

[แก้]
"ไนต์ฮอวกส์" จัดแสดงที่สถาบันศิลปะชิคาโก

มีการเสนอว่าฮอปเปอร์ได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนภาพนี้มาจากเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งของเออร์เนสต์ เฮมมิงเวย์ ซึ่งอาจจะเป็น "เดอะคิลเลอส์" ซึ่งฮอปเปอร์ชื่อชมอย่างมาก[5] หรืออาจะเป็น "อะคลีน เวลไลเต็ดเพลซ" ซึ่งมีความเป็นปรัชญามากกว่า[6] ฮอปเปอร์ตอบกลับความรู้สึกของผู้ชมจำนวนมากที่บอกว่าสัมผัสได้ถึงความว่างเปล่าและอ้างว้าง โดดเดี่ยว ว่า "ผมไม่เห็นว่ามันดูโดดเดี่ยวเป็นเฉพาะนะ" เขาระบุว่า "น่าจะจริงที่[ตอนนั้น] ผมกำลังเขียนภาพของความเหงาในเมืองใหญ่โดยไม่รู้ตัว"[7]

ประวัติผู้ถือครอง

[แก้]

ภายหลังฮอปเปอร์เขียนภาพนี้เสร็จในช่วงปลายฤดูหนาวของปี 1941–42 ฮอปเปอร์นำภาพนี้จัดแสดงไว้ที่หอศิลป์เรนส์ (Rehn's) ซึ่งเขามักนำภาพไปจัดแสดงเพื่อจำหน่ายเป็นปกติ ภาพตั้งอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาราวเดือน จนกระทั่งเมื่อวันเซนต์แพทริก ฮอปเปอร์และโจเข้าร่วมงานเปิดนิทรรศการภาพเขียนของอองรี รุสโซ ที่โมมา จัดขึ้นโดย เดเนียล แคททัน ริช ผู้อำนวยการสถาบันศิลปะชิคาโก ในตอนนั้น ริชอยู่ในงานกับแอลเฟรด บาร์ ผู้อำนวยการของโมมา บาร์พูดถึงผลงานของฮอปเปอร์เมื่อปีก่อน แก๊ส อย่างกระตือรือร้น และ "โจบอกเขาว่าเขาแค่ต้องไปที่หอศิลป์เรนส์เพื่อไปดู ไนต์ฮอกส์ ต่อมา เมื่อริชได้เดินทางไปดูภาพเขียน เขาเอ่ยปากชื่นชม ไนต์ฮอกส์ ว่า 'งดงามเทียบเท่ากับ[งานของ] [วินสลาว์] ฮอเมอร์' และจัดการเตรียมซื้อเป็นของสะสมของชิคาโก"[8] ราคาซื้ออยู่ที่ $3,000 (เท่ากับ $55,940 ในปี 2023)[4]

ร้านอาหารในภาพ

[แก้]

เชื่อกันว่าฉากของร้านอาหารได้รับแรงบันดาลใจมาจากไดเนอร์แห่งหนึ่งที่ถูกทุบไปแล้ว ในเกรนิชวิลเลจ ย่านที่อยู่ของฮอปเปอร์ในแมนฮัตตัน แต่เขา "ทำให้ร้านอาหารดูเรียบง่ายและใหญ่ขึ้นมาก ๆ"[9]

ผู้ชื่นชอบฮอปเปอร์ได้ทำการค้นหาร้านอาหารในภาพ หนึ่งในร้านอาหารที่มีการเสนอว่าเป็นต้นแบบในภาพ คือร้านอาหารบิกเฟิร์ดส์ (Bickford's) ไม่ไกลจากถนนเกรนิชวิลเลจ[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ian Chilvers and Harold Osborne (Eds.), The Oxford Dictionary of Art Oxford University Press, 1997 (second edition), p. 273, ISBN 0-19-860084-4 "The central theme of his work is the loneliness of city life, generally expressed through one or two figures in a spare setting - his best-known work, Nighthawks, has an unusually large 'cast' with four."
  2. Hopper's Nighthawks เก็บถาวร 2014-10-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Smarthistory video, accessed April 29, 2013.
  3. Brooks, Katherine (July 22, 2012). "Happy Birthday, Edward Hopper!". The Huffington Post. TheHuffingtonPost.com, Inc. สืบค้นเมื่อ May 5, 2013.
  4. 4.0 4.1 The sale was recorded by Josephine Hopper as follows, in volume II, p. 95 of her and Edward's journal of his art: "May 13, '42: Chicago Art Institute - 3,000 + return of Compartment C in exchange as part payment. 1,000 - 1/3 = 2,000." See Deborah Lyons, Edward Hopper: A Journal of His Work. New York: Whitney Museum of American Art, 1997, p. 63.
  5. Gail Levin in "Interview with Gail Levin เก็บถาวร 2023-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน"
  6. Wagstaff 2004, p. 44
  7. Kuh, Katherine (1962). "The Artist's Voice: Talks With Seventeen Artists". Harper & Row. p. 134. สืบค้นเมื่อ Jan 15, 2021.
  8. Gail Levin, Edward Hopper: An Intimate Biography. New York: Rizzoli, 2007, pp. 351-2, citing Jo Hopper's diary entry for March 17, 1942.
  9. Hopper, interview with Katharine Kuh, in The Artist's Voice: Talks with Seventeen Modern Artists. 1962. Reprinted, New York: Da Capo Press, 2000, p. 134.
  10. Bjorkman, James. "Then and Now: Bickford's at 14th Street and Seventh Avenue, NYC". Filminspector.com. สืบค้นเมื่อ 14 August 2019.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]