ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
(Mahasarakham University Demonstration School)
ที่ตั้ง
269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม (ฝ่ายประถม)
41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
ข้อมูล
ชื่ออื่นสาธิต มมส (DMSU)
ประเภทโรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
คำขวัญความพร้อมเต็มที่ มีวิถีสร้างสรรค์
ภูมิพลังเต็มคน (ฝ่ายประถม)
วิชาการที่เต็มที่ อยู่ในคนที่เต็มคน (ฝ่ายมัธยม)
สถาปนา26 มีนาคม พ.ศ. 2547 (20 ปี) (ฝ่ายประถม)
22 มกราคม พ.ศ. 2540 (27 ปี) (ฝ่ายมัธยม)
ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เขตการศึกษามหาสารคาม
ผู้อำนวยการรศ.ดร.สุนันท์ สายกระสุน (ฝ่ายประถม)
รศ.ดร.ชัยสิทธิ สิทธิเวช (ฝ่ายมัธยม)
จำนวนนักเรียน2,880 คน[1] (ปีการศึกษา 2563)
1,023 คน (ฝ่ายประถม)
1,857 คน (ฝ่ายมัธยม)
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ฝรั่งเศส ภาษาฝรั่งเศส
จีน ภาษาจีนกลาง
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สี   สีเหลือง-สีขาว
สาธิตฝ่ายประถม
   สีเหลือง-สีเทา
สาธิตฝ่ายมัธยม
เพลงมาร์ชสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ฉายาทีมกีฬาสาธิตสารคาม
ต้นไม้ประจำโรงเรียนราชพฤกษ์
เว็บไซต์สาธิตฝ่ายประถมศึกษา
สาธิตฝ่ายมัธยมศึกษา

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Mahasarakham University Demonstration School : ส.มมส - DMSU) เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้การดูแลของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ในอดีตเคยเป็นโรงเรียนสาธิตเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่มิได้สังกัดคณะศึกษาศาสตร์) แบ่งออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) โดยจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากร และเป็นโรงเรียนทดลองเพื่อศึกษาวิจัยการเรียนการสอน

ที่ตั้ง

[แก้]

ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่ 2 แห่งภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้แก่

โรงเรียนสาธิตฝ่ายประถม

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) ได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยดำริของ ศ.นพ.อดุลย์ วิริยเวชกุล (ราชบัณฑิต) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) มีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในช่วงแรกของโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) ทางโรงเรียนได้ขออนุมัติจากทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อทำการปรับปรุงอาคารหอประชุมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เขตพื้นที่ในเมือง) และได้ก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

ในระยะแรกเริ่มทางโรงเรียนได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ และครุภัณฑ์ทางการศึกษา เพื่อใช้ในการเรียนการสอนจาก ศ.ทักษิณา สวนานนท์ ซึ่งเป็นส่วนที่สนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) เปิดทำการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2547 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2547 โดยเปิดสอนในระดับชั้นปฐมวัย และระดับชั้นประถมศึกษา โดยมี 2 หลักสูตรคือ หลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรโครงการ English Science Computer Program (ESC)

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2540 โดยได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม โรงเรียนมีเป้าหมายหลักในการให้สวัสดิการทางการศึกษาแก่บุตรของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อนการก่อตั้งโรงเรียนได้มีคณะกรรมการศึกษาถึงวิธีการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนสาธิตตลอดจนความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นเรียกว่า "คณะกรรมการโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ประกอบไปด้วยคณาจารย์จากคณะต่าง ๆ มาร่วมเป็นกรรมการดำเนินงาน ด้วยเหตุที่โรงเรียนก่อตั้งใหม่ นอกจากนี้ยังประสบปัญหา อีกหลายประการ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนงบประมาณ ทำให้ไม่มีสถานที่เรียนที่แน่นอน ต้องย้ายที่ทำการบ่อยครั้ง

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) จัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและระดับชั้นประถมศึกษา ดังนี้

ปฐมวัย

  • เตรียมอนุบาล หลักสูตรภาษาไทย (ปกติ)
  • อนุบาล หลักสูตรภาษาไทย (ปกติ)

ประถมศึกษา

  • หลักสูตรภาษาไทย (ปกติ)
  • หลักสูตร English Science and Communication Program (ESC)

โรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยม

[แก้]

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) เริ่มเปิดดำเนินการในปีการศึกษา 2540 เป็นปีแรก โดยมี รศ.จตุพร เพ็งชัย เป็นประธานโครงการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำหน้าที่รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) และได้ใช้สถานที่เรียนชั่วคราว คือ บริเวณอาคารเรียนของโรงเรียนเทคโนโลยีคณาสวัสดิ์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง) ซึ่งขณะนั้นคณาจารย์ทุกคนต้องทำงานหนักมาก เพื่อให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี

หลังจากนั้นเมื่อปีการศึกษา 2541 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ได้ย้ายมาใช้สถานที่ใหม่คือคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง) และมี รศ.จตุพร เพ็งชัย เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ซึ่งทำงานภายใต้นโยบายของคณะกรรมการอำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นประธาน

ในปีการศึกษา 2542 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ได้ย้ายสถานที่อีกครั้งโดยย้ายมาอยู่ที่อาคาร 2 (สำนักงานอธิการบดี (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง)) และอาคาร 3 (คณะวิทยาศาสตร์ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง))

ปีแรกของการเปิดทำการนั้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) รับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้องเรียน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน ผู้บริหารและคณาจารย์ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาโรงเรียนให้ก้าวหน้าในด้านวิชาการ ด้านบุคลากร ซึ่งมีทั้งอาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษและอาจารย์ชาวต่างประเทศ โรงเรียนได้รับการสนับสนุนและช่วยเหลือทางด้านงบประมาณ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยท่านอธิการบดี ภก.ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ให้ความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี

ในปี 2561 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2561 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบกับระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการบริหารงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และออกเป็นประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม 2561 สาระสำคัญคือ ให้โรงเรียนสาธิตเป็นหน่วยงานในกำกับคณะศึกษาศาสตร์ โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มศักยภาพทางวิชาการและการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) เปิดดำเนินการสอนระดับช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6) โดยช่วงชั้นที่ 3 เปิดสอน 2 หลักสูตร คือหลักสูตรปกติและหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ในช่วงชั้นที่ 4 เปิดสอน 4 แผนการเรียน 6 หลักสูตร ได้แก่ แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 2 หลักสูตร คือหลักสูตรปกติแบ่งเป็น 3 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ และสาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป กับหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาฝรั่งเศส/ภาษาจีน/ภาษาญี่ปุ่น จำนวน 2 หลักสูตรคือหลักสูตรปกติและหลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ

หลักสูตรที่เปิดสอน

[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีแผนการเรียนแบ่งได้ดังนี้

อาคาร/สถานที่

[แก้]
กลุ่มอาคารมัธยม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อาคารเรียนมัธยม 1
อาคารหอพัก
  • อาคารเรียนมัธยม 1 เป็นอาคาร 2 ชั้น ประกอบด้วยห้องเรียน, ห้องเรียนรวม 1 (IT1), ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1, ห้องประสานงานกรรมการนักเรียน, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระภาษาไทย, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระคณิตศาสตร์, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ, ห้องให้คำปรึกษา, งานประชาสัมพันธ์และงานสื่อสารองค์กรและจัดหารายได้, งานแนะแนวและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและงานลูกเสือ, งานพัฒนานักเรียนและกิจการพิเศษ, ห้องพระพุทธศาสนาและจริยธรรม, งานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์, สนามกีฬาในร่ม, ห้องเก็บพัสดุ
  • อาคารเรียนมัธยม 2 เป็นอาคาร 4 ชั้น ประกอบด้วยห้องเรียน, ห้องปฏิบัติการเคมี, ห้องปฏิบัติการชีววิทยา, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระสังคมศึกษา, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระคณิตศาสตร์, ห้องขงจื่อ, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ญี่ปุ่น), ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) และนักวิทยาศาสตร์ประจำห้องทดลอง, ห้องระบบน้ำ, ห้องระบบไฟ
  • อาคารอำนวยการ เป็นอาคาร 1 ชั้น ประกอบด้วย สำนักงานโรงเรียน, ห้องผู้อำนวยการ, ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร���ละแผนงาน, ห้องรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย, ห้องประชุม, งานทะเบียนและวัดผล, งานวิชาการ, งานประกันคุณภาพและความเสี่ยง, ห้องสมุด, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 2
  • อาคารปฏิบัติการ 1 เป็นอาคาร 1 ชั้น ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ (Fab Lab), ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ทั่วไป, ห้องปฏิบัติการดนตรีไทย-สากล, ห้องปฏิบัติการนาฏศิลป์, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระศิลปะ, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ,ห้องนักวิทยาศาสตร์ประจำห้อง Fab Lab
  • อาคารปฏิบัติการ 2 เป็นอาคาร 1 ชั้น ประกอบด้วย ห้องเรียน, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา, งานพยาบาลและพลานามัย, ห้องปฏิบัติการตัดเย็บ, ห้องปฏิบัติการประดิษฐ์
  • อาคารโรงอาหาร 1 เป็นอาคาร 1 ชั้น ประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการคหกรรม, ห้องประกอบอาหาร, ห้องรับประทานอาหารอาจารย์ , ห้องรับประทานอาหาร, ห้องพักอาจารย์กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
  • อาคารโรงอาหาร 2 เป็นอาคาร 1 ชั้น ประกอบด้วย ศูนย์อาหารและบริการ, ห้องรับประทานอาหาร, ร้านค้าสวัสดิการสมาคมผู้ปกครองและครู
  • อาคารพัสดุ เป็นอาคาร 2 ชั้น ประกอบด้วย ห้องผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการและพัฒนาเขตพิ้นที่, โรงซ่อมอุปกรณ์, โรงจอดรถ, ห้องพักนักการภารโรง
  • อาคารรับรองผู้ปกครอง เป็นอาคาร 1 ชั้น ประกอบด้วย ห้องสมาคมผู้ปกครองและครู เครือข่ายผู้ปกครอง สมาคมศิษย์เก่า, ห้องประชุมสมาคม, ห้องประสานงานสมาคม
  • อาคารหอพักหญิงใน เป็นอาคาร 4 ชั้น ประกอบด้วยห้องพักสำหรับอาจารย์ และนักเรียนหญิง
  • หอพักในกำกับ (หอนาดูนและหอชื่นชม) เป็นอาคาร 4 ชั้นประกอบด้วยห้องพักสำหรับอาจารย์ และนักเรียนชาย (หอนาดูน) และนักเรียนหญิง (หอชื่นชม)

ทรัพยากรที่ใช้ร่วมกับมหาวิทยาลัย

  • ศูนย์บริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศูนย์กีฬา ใช้ร่วมกับศูนย์กีฬากลางของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ห้องสมุด ใช้ทรัพยากรร่วมกับ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]
ราชพฤกษ์
  • ตราประจำโรงเรียน : ได้แก่ ตราสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ "ตราโรจนากร" มีองค์ประกอบเป็นรูปเสมา ภายในมีภาพหม้อน้ำและสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิด ซึ่งอยู่เหนือคำขวัญเป็นภาษาบาลี มีความหมายว่า "ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน" มีวงกลมล้อมรอบสองชั้นภายในช่องว่าง ของวงกลมมีชื่อ "โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" และมีดอกไม้หกกลีบสองดอกอยู่ตรงกันข้ามกัน โดย
    • ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา
    • หม้อน้ำ หมายถึง ความรู้อันเต็มเปี่ยม
    • องค์พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรม ความดี
    • สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
    • ลายขิด หมายถึง เอกลักษณ์ของอีสาน
    • วงกลมล้อมรอบและดอกไม้หกกลีบ หมายถึง โรงเรียนอันเป็นที่ทำให้เยาวชนของชาติ มีความเจริญงอกงาม
  • สีประจำโรงเรียน : โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) ใช้สีเหลือง-ขาว และ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ใช้สีเหลือง-เทา
  • ต้นไม้ประจำโรงเรียน : ได้แก่ ราชพฤกษ์ (ราชพฤกษ์)

การบริหารงาน

[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เคยเป็นหน่วยงานขึ้นตรงต่อ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเคยเป็นโรงเรียนสาธิตเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่ไม่ได้สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งอยู่ 2 แห่งภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งฝ่ายประถมและฝ่ายมัธยม ได้รับการถ่ายโอนไปอยู่ในกำกับของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2561 [2] ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2561 ได้แก่

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

[แก้]
ที่ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 รศ.จตุพร เพ็งชัย ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2540 – 2546 ผู้ก่อตั้ง
2 รศ.อัมพร อนันต์พินิจวัฒนา ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2547 (รักษาการ)
3 นางสุชาดา ลดาวัลย์ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2548 – 2551
พ.ศ. 2552 (รักษาการ)
4 ผศ.จินตนา จิตต์จำนง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2553 – 2556
5 ผศ.อรุณ แก้วมั่น ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2556 – 2558 (รักษาการ)
พ.ศ. 2559 - 2561
6 รศ.ดร.ชวลิต ชูกำแพง ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2562-2564
7 รศ.ดร.มลฤดี เชาวรัตน์ ผู้รักษาการผู้อำนวยการ มิ.ย.-ส.ค.2565 รองอธิการบดี
8 รศ.ดร.ชัยสิทธิ สิทธิเวช ผู้อำ���วยการ พ.ศ. 2565-ปัจจุบัน

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

หน่วยงานภายในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข้อมูลพื้นฐานปีการศึกษา 2563 โดย กองแผนงาน สำนักงานธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2021-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2564.
  2. ระเบียบ ว่าด้วยการบริหารโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2561 (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31 มีนาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-20. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]