ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนพะเยาพิทยาคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม
Phayaopittayakom School
ข้อมูล
ชื่ออื่นพ.ค. ( P.P.K.)
ประเภทโรงเรียนประจำจังหวัดของรัฐ
โรงเรียนมัธยมศึกษา
ขนาดใหญ่พิเศษ
คำขวัญคารโว วินเย เอตมฺมฺงคลมุตตมํ
(การเคารพในระเบียบวินัย เป็นมงคลอันสูงสุด)
สถาปนาพ.ศ. 2479
ผู้ก่อตั้งนายอุ่นเรือน ฟองศรี ศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยาในขณะนั้น
เขตการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
รหัส56012001
ผู้อำนวยการว่าที่ร้อยตรี ญาณบดินทร์ อินเตชะ
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1—6 สหศึกษา
สี  ฟ้า และ
  บานเย็น
เพลงมาร์ชโรงเรียนพะเยาพิทยาคม
เว็บไซต์ppk.ac.th

โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดพะเยาเดิมมีชื่อว่า โรงเรียนพะเยา พะเยาพิทยาคม" ปักหน้าอกเป็น ช.ร.๓ เพราะเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งที่ 3 ของจังหวัดเชียงรายในสมัยนั้น ในช่วงปี พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2514 ได้รวมกับโรงเรียนสตรีพะเยา และเปลี่ยนเป็น โรงเรียนพะเยาพิทยาคม ปัจจุบันจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษารูปแบบสหศึกษา เป็นสถานมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ และเป็นส่วนราชการในบังคับของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ[1]

ประวัติโรงเรียน

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2479 นายอุ่นเรือน ฟองศรี ศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยา ไดัริเริ่มให้มีการสร้างโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งแรกขึ้นเป็นโรงเรียนแรกในเขตเมืองพะเยา โดยอาศัยร่วมเรียนกับโรงเรียนประชาบาล พะเยาประชานุกูล มีนักเรียนเริ่มเรียนครั้งแรก 30 คน โดยมีนายเชื้อ นนทวาสี เป็นครูประจำชั้นและ รักษาการแทนตำแหน่งครูใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 จังหวัดได้ส่งนายสมัคร สิทธิเลิศ มาเป็นครูใหญ่ ประจำปีที่ 2 และในปี 2481 จังหวัดได้ส่งนายมนู ยอดปัญญา มาดำรงตำแหน่งครูประจำปีที่ 3 และ เป็นครูใหญ่ด้วย

ในปี 2482 โรงเรียนได้งบ 5000 บาท จึงสร้างอาคารเรียนแยกจากพะเยาประชานุกูล มาตั้งที่ ณ ป่าไร่สวนของเอกชนประตูชัย และได้ย้ายมาเรียนเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2482 โรงเรียนพะเยาพิทยาคมเป็นอาคารหลังเดียวตลอดมา จากนั้นปี 2488 ได้สร้างอาคารหลังที่สองขึ้น ด้วยเงินบริจาคแต่เกิดสงครามก่อนในปี 2484 จึงหยุดแล้วเริ่มสร้างใหม่ในปี 2488 เรื่อย ๆ จนเสร็จในปี 2494 โรงเรียนได้เงินจากกระทรวงศึกษาธิการ สร้างบ้านพักครูหนึ่งหลังและกันฝาชั้นล่างอาคารทั้งสองหลัง และได้เปิดสอนไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ในปี 2495-2497 ได้สร้างโรงอาหาร ถังเก็บน้ำโรงรถ โต๊ะอาหารจำนวน 100 ชุดและที่ขายอาหาร โดยได้เงินสนับสนุนจากผู้ปกครอง ศิษย์เก่า พ่อค้า ประชาชน

พ.ศ. 2501 ได้รับเงินบริจาคจากผู้ปกครองสร้างห้องสมุดหนึ่งหลัง

พ.ศ. 2502 ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 044 หนึ่งหลัง

พ.ศ. 2513-2514 ได้ประกาศรวมกับโรงเรียนสตรีพะเยากับโรงเรียนพะเยาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพะเยาพิทยาคม" ซึ่งได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 หนึ่งหลังและสร้างโรงอาหารหนึ่งหลัง

พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานสองหลัง

พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานเกษตรหนึ่งหลัง

พ.ศ. 2518 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 หนึ่งหลัง

พ.ศ. 2521 ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอยู่ในโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมส่วนภูมิภาค (��.ม.ภ) รุ่นที่สอง และได้รับความตามหลักสูตรของ (ค.ม.ส) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2521 ดังนี้

  • โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารแบบ 332 (ตามโครงการ ค.ม.ภ)
  • โรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างโรงฝึกงาน 3 หลัง

พ.ศ. 2532 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 424 หนึ่งหลัง

พ.ศ. 2539 โรงเรียนกำลังได้รับเงินงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์หนึ่งหลัง และโรงฝึกพลศึกษาหนึ่งหลัง

รายนามผู้บริหารโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

[แก้]
ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายเชื้อ นนทวาสี พ.ศ. 2479-2479 (1 ปี)
2 นายสมัคร สิทธิเลิศ พ.ศ. 2479-2481 (3 ปี)
3 นายมนู ยอดปัญญา พ.ศ. 2481-2501 (20 ปี)
4 นายสวัสดิ์ อดุลยพงษ์ พ.ศ. 2501-2513 (12 ปี)
5 นางบุญรัตน์ โรจนศักดิ์ พ.ศ. 2513-2518 (5 ปี)
6 นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ พ.ศ. 2518-2520 (2 ปี)
7 นายอรุณ อาษา (ผู้อำนวยการคนแรก) พ.ศ. 2520-2531 (10 ปี), พ.ศ. 2536-2537 (2 ปี)
8 นายสาหร่าย แสงทอง พ.ศ. 2531-2534 (4 ปี)
9 นายวรรณ จันทร์เพชร พ.ศ. 2534-2536 (1 ปี)
10 นายกิตติโชต ห้อยยี่ภู่ พ.ศ. 2537-2543 (6 ปี)
11 นาย มานิตย์ ศรีพิทักษ์ พ.ศ. 2543-2544 (1 ปี)
12 นายสุรัตน์ เจียตระกูล พ.ศ. 2544-2553 (10 ปี)
13 นายศรีวรรณ ปินใจ พ.ศ. 2553-2557 (4 ปี)
14 นายประสงค์ พรหมสิทธิ์ พ.ศ. 2557-2560 (3 ปี)
15 นายพิเชษฐ์ สมฤทธิ์ พ.ศ. 2561-2563 (2 ปี)
16 นายมานะ พิริยพัฒนา พ.ศ. 2564-2565 (1 ปี)
17 นายวิจิตร วงศ์ชัย พ.ศ. 2565-2566 (1 ปี)
18 นายปิยะ ใจชุ่ม พ.ศ. 2566-2567 (1 ปี)
19 ว่าที่ร้อยตรี ญาณบดินทร์ อินเตชะ พ.ศ. 2567-ปัจจุบัน

รายชื่ออาคารและสถานที่ในโรงเรียนพะเยาพิทยาคม

[แก้]
  • อาคาร 1 เป็นอาคารไม้สูง 2 ชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2482
    • ใต้ถุนอาคาร เป็นห้องพัสดุ, ห้องนักศึกษาวิชาทหาร (รด.), ห้องกิจกรรมนักเรียน และห้องสภานักเรียน
    • ชั้น 1 เป็นห้องโสตทัศนศึกษา, ห้องผู้อำนวยการ, ห้องการเงิน, ห้องวิชาการ, ห้องปกครอง, ห้องพักครูแนะแนว
    • ชั้น 2 เป็นห้องเรียนวิชากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (แนะแนว)
  • อาคาร 2 เป็นอาคารไม้สูง 3 ชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2488 (เสร็จในปี พ.ศ. 2494)
    • ชั้น 1 เป็นธนาคารโรงเรียน (สนับสนุนโดยธนาคารออมสิน), ห้องเก็บอุปกรณ์, ห้องคหกรรม และห้องเรียนปกติ
    • ชั้น 2 เป็นห้องพักครูวิทยาศาสตร์, ห้องเรียนคณิตศาสตร์ และห้องโครงงาน (218)
    • ชั้น 3 เป็นห้องเรียนคณิตศาสตร์
  • อาคาร 3 เป็นอาคารปูน 3 ชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2502
    • ชั้น 1 เป็นห้องพักครูวิทยาศาสตร์ (312), ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น 2, ห้อง (311 และ 313), ห้องพักครูหมวดคอมพิวเตอร์ และห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (COM1-COM4)
    • ชั้น 2 เป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์ (321 และ 323), ห้องพักครูฟิสิกส์ (322), ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (COM5) และห้องเรียนสีเขียว (329)
    • ชั้น 3 เป็นห้องพักครูเคมีและชีววิทยา (339) และห้องปฏิบัติการเคมีและชีววิทยา
  • อาคาร 4 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น
    • ชั้น 1 เป็นห้อง Sound Lab 2 ห้อง (411 และ 416) และห้องเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (412-415)
    • ชั้น 2 เป็นห้อง Sear (421), ห้องพักครูภาษาต่างประเทศ (424 และ 425) และห้องภาษาฝรั่งเศส (426)
    • ชั้น 3 เป็นห้องภาษารัสเซีย (431), ห้องภาษาจีน (436) และห้องเรียนปกติ
    • ชั้น 4 เป็นห้องภาษาญี่ปุ่น (446) และห้องเรียนปกติ
  • อาคาร 5 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น (รวมใต้ถุน)
    • ใต้ถุนอาคาร เป็นลานโล่ง มีห้องพักครูสังคมศึกษา และห้องอาเซียนศึกษา
    • ชั้น 1 เป็นห้องเรียนวิชาภาษาไทย และห้อง IT 1 (518)
    • ชั้น 2 เป็นห้องพักครูภาษาไทย, ห้องสมุดภาษาไทย, ห้องเรียนภาษาไทย และห้อง IT 2 (528)
    • ชั้น 3 เป็นห้องเรียนสังคมศึกษา และห้องปฏิบัติการสังคม
  • อาคารอเนกประสงค์ เป็นอา���ารสูง 3 ชั้น
    • ชั้น 1 เป็นโรงอาหาร, ร้านค้าสหการโรงเรียน และห้องโภชนาการ
    • ชั้น 2 เป็นห้องศิลปะ, ห้องพักครูศิลปะ, ห้องนาฏศิลป์ และห้องพักครูนาฏศิลป์
    • ชั้น 3 เป็นหอประชุม 80 ปีโรงเรียนพะเยาพิทยาคม, ห้องคหกรรม และห้องพิมพ์ดีด
  • อาคารหอสมุด เป็นอาคารหอสมุดเฉลิมพระเกียรติของโรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นแหล่งศูนย์กลางการเรียนรู้ ภายในอาคารมีห้อง E-Library และได้ติดตั้งระบบห้องสมุดอัตโนมัติ เทคโนโลยี RFID แบบครบวงจร ประกอบไปด้วยเครื่องยืมคืนอัตโนมัติแบบตั้งโต๊ะ (Desktop Self-check), ประตูป้องกันทรัพยากรสูญหาย (UHF Security Gate) และ เครื่องยืมคืน RFID และลงรหัสข้อมูล สำหรับบรรณารักษ์ ซึ่งถือเป็นการนำเทคโนโลยี RFID เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และบริการระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (RFID) แบบครบวงจร ซึ่งถือเป็นการยกระดับห้องสมุดโรงเรียนระดับมัธยมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยอันดับต้น ๆ ของภาคเหนือตอนบน
  • อาคาร 6 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น (รวมใต้ถุน) ตั้งอยู่ที่โรงรถเดิม ติดกับประตู 4 ด้านหลังอาคารอเนกประสงค์ ใกล้กับหมู่บ้านพักครู มีลักษณะเป็นรูปตัว L เป็นอาคารกลุ่มสาระคณิตศาสตร์
    • ชั้นใต้ถุน ประกอบไปด้วยห้องทดลองวิทยาศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง
    • ชั้น 1 เป็นห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 8 ห้อง และมีห้องน้ำอยู่ทั้ง 2 ฝั่งของชั้น
    • ชั้น 2 เป็นห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 6 ห้อง, ห้องพักครูคณิตศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง (627 และ 628) และห้องเก็บของ จำนวน 2 ห้อง
    • ชั้น 3 เป็นห้องเรียนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 8 ห้อง, ห้องพักครูคณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง และห้องเก็บของ จำนวน 1 ห้อง
  • อาคาร 7 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น (รวมใต้ถุน) ตั้งอยู่หน้าอาคาร 6 และอยู่ข้างอาคารศูนย์กีฬา เป็นอาคารรูปตัว L สีฟ้าบานเย็น มีลิฟต์ 1 ตัว
    • ใต้ถุนอาคาร เป็นลานโล่ง มีห้องเรียนวิชาเย็บปักถักร้อย และห้องเรียนวิชาช่าง
    • ชั้น 1 เป็นห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ มัธยมศึกษาตอนต้น (7101-7103), ห้องเรียนดาราศาสตร์ (7104-7105), ห้องพักครูดาราศาสตร์ และห้องเรียนปกติ
    • ชั้น 2 เป็นห้องพักครูสังคมศึกษา, ห้องพักครูภาษาไทย และห้องเรียนปกติ
    • ชั้น 3 เป็นห้องเรียนปกติ
  • อาคารศูนย์กีฬา เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณข้างประตู 3 ซึ่งเป็นอาคารที่ใช้จัดแข่งและฝึกซ้อมกีฬาในร่ม
    • ชั้นใต้ถุน เป็นลานกว้าง
    • ชั้น 1 เป็นชั้นจัดแสดงถ้วยรางวัลการแข่งขันประเภทต่าง ๆ
    • ชั้น 2 เป็นห้องพักครูกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา
    • ชั้น 3 เป็นลานบาสเกตบอล และมีบริเวณอัฒจันทร์ล้อมรอบไว้
  • สนามกีฬาโรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นสนามที่ประกอบด้วยลู่วิ่งมาตรฐานและสนามฟุตบอล เพื่อให้บุคลากรภายในและบุคคลภายนอกใช้เพื่อการออกกำลังกาย ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เคยเสด็จทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสนามกีฬาเพื่อมวลชน ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
  • หอประชุม 70 ปี โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นหอประชุมขนาดใหญ่ ที่ประกอบไปด้วยเวทีขนาดย่อม และลานกว้างภายในตัวหอประชุม
  • หอเกียรติยศ เป็นหอ 2 ชั้น ที่รวบรวมประวัติศาสตร์ และเกียรติยศของโรงเรียนพะเยาพิทยาคมไว้ภายในหอแห่งนี้
  • ลาน 70 ปี โรงเรียนพะเยาพิทยาคม เป็นลานที่ใช้ทำกิจกรรมขนาดเล็ก และมีที่นั่งจำนวนหนึ่งไว้ใช้พักผ่อนหย่อนใจ
  • โรงฝึกงาน 1 มีทั้งหมดจำนวน 2 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาหัตถกรรม (ทำอาหาร) ส่วนห้องที่สองเป็นสถานที่ฝึกซ้อมของชมรมประสานเสียง
  • โรงฝึกงาน 2 มีทั้งหมดจำนวน 2 ห้อง ห้องแรกเป็นห้องชมรมหุ่นยนต์ ส่วนห้องที่สองเป็นห้องเก็บของ
  • ศาลาโลกะวิทู เป็นศาลาที่ใช้พักผ่อนหย่อนใจและกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยมีองค์พระโลกะวิทูอยู่บริเวณภายในศาลา

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]
  1. ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.อาภา จันทร์เทวี
  2. มนตรี ยอดปัญญา - ประธานศาลฎีกา
  3. มัลลิกา บุญมีตระกูล อดีตผู้ประกาศข่าว - สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
  4. เวนไตย ไชยวงศ์ ผู้ประกาศข่าว - สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ
  5. บานนา คำฟู - เจ้าของเหรียญทองเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13
  6. เสถียร เชื้อประเสริฐศักดิ์ - อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดพะเยา
  7. ถวัลย์ ดัชนี - ศิลปินแห่งชาติ
  8. จินตนัดดา อัตถวิบูลย์ - นางแบบ/นักแสดง
  9. ธนพร ศรีวิราช - นางสาวไทย พ.ศ. 2559

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546. (2546, 6 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนที่ 62 ก. หน้า 13" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 2008-09-05.