โรคเม็ดเลือดแตกของทารกแรกเกิด
โรคเม็ดเลือดแตกของทารกในครรภ์และแรกเกิด | |
---|---|
ชื่ออื่น | HDN |
ทารกแรกเกิดที่บวมน้ำเสียชีวิตจากโรคเม็ดเลือดแดงแตกขอบทารกแรกเกิดชนิดรุนแรง | |
สาขาวิชา | กุมารเวชศาสตร์, immunohaematology |
อาการ | ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด |
ภาวะแทรกซ้อน | หัวใจล้มเหลว, ม้ามโต |
โรคเม็ดเลือดแตกของทารกแรกเกิด (อังกฤษ: Hemolytic disease of the newborn) หรือ โรคเม็ดเลือดแตกของทารกในครรภ์และ��รกเกิด (อังกฤษ: hemolytic disease of the fetus and newborn) ย่อว่า HDN หรือ HDFN หรือ เอริโทรบลาสโตสิสฟีตาลิส (erythroblastosis fetalis)[1][2] เป็นภาวะอัลโลอิมมูนที่เกิดขึ้นในทารกช่วงในครรภ์หรือปริกำเนิด เกิดจากการที่โมเลกุลแอนติบอดี IgG ซึ่งผลิตโดยมารดาผ่านเข้าสู่ทารกทางรก แอนติบอดีบางส่วนจะโจมตีแอนติเจนบนเซลล์เม็ดเลือดแดงในระบบหมุนเวียนโลหิตของทารกทำให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่งผลให้ทารกเกิดภาวะเรติคิวโลไซต์สูงและภาวะเลือดจาง ความรุนแรงของโลกมีได้ตั้งแต่เบาจนถึงรุนแรงจนเสียชีวิตจากหัวใจล้มเหลวผรือทารกตายบวมน้ำ
ภาวะ HDN เป็นหนึ่งในตัวอย่างของช่องโหว่ในการได้รับการยกเว้นทางภูมิคุ้มกันที่พบในทารกหรือความบกพร่องของการต้านทานทางภูมิคุ้มกันขณะตั้งครรภ์ ชนิดต่าง ๆ ของภาวะ HDN สามารถแบ่งออกตามประเภทของอัลโลแอนติเจน (alloantigen) ที่กระตุ้นการแตกของเม็ดเลือดแดง ตัวอย่างเช่น ABO, แอนติ-RhD, แอนติ-RhE, แอนติ-Rhc, anti-Rhe, anti-RhC, หลายแอนติเจนรวมกัน และ แอนติเคลล์ ในประเทศไทย เป็นที่เข้าใจว่าชนิด ABO เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของ HDN[3] ในขณะที่บางภูมิภาคของโลกพบว่าจากการศึกษาในระดับประชากร ชนิด แอนติ-RhD สามารถพบได้มากที่สุด[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nassar GN, Wehbe C (2022). "Erythroblastosis Fetalis". StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing. PMID 30020664. สืบค้นเมื่อ 2022-03-08.
- ↑ erythroblastosis fetalis ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
- ↑ กรรณิการ์ วงศ์ภาวิทย์ (2557). กุมารเวชศาสตร์ 1. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. p. 266. ISBN 978-616-361-213-7.
- ↑ Fan J, Lee BK, Wikman AT, Johansson S, Reilly M (August 2014). "Associations of Rhesus and non-Rhesus maternal red blood cell alloimmunization with stillbirth and preterm birth". International Journal of Epidemiology. 43 (4): 1123–1131. doi:10.1093/ije/dyu079. PMC 4258779. PMID 24801308.
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |