ข้ามไปเนื้อหา

โพลีเอมีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พูเตรสซิน
คาดาเวอรีน
สเปอร์มิดีน
สเปอร์มีน

โพลีเอมีนเป็นสารอินทรีย์ที่มีหมู่เอมีนตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป สารกลุ่มนี้รวมถึงสารสังเคราะห์หลายอย่างที่เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเคมี เช่น ethylene diamine H2N-CH2-CH2-NH2 1,3-diaminopropane H2N- (CH2) 3-NH2 และ hexamethylenediamine H2N- (CH2) 6-NH2 และสารอีกหลายชนิดที่มีบทบาทสำคัญในเซลล์ยูแคริโอตและโพรแคริโอต เช่น ไดอะมิโน โพรเพน พูเตรสซิน (H2N- (CH2) 4-NH2) สเปอร์มิดีน (H2N- ((CH2) 4-NH-) 2-H) สเปอร์มีน (H2N- ((CH2) 4-NH-) 3-H) สังเคราะห์ขึ้นมาจากกรดอะมิโนโดยตัดหมู่คาร์บอกซิลออกไป โพลีเอมีนที่มีโครงสร้างเป็นวงที่เป็นที่รู้จักคือ Cyclen ส่วน Polyethylene amine เป็นโพลีเมอร์ที่มีโมโนเมอร์เป็น aziridine

การทำงาน

[แก้]

ผลกระทบทางด้านสรีรวิทยาที่สำคัญ ได้แก่

  • กระตุ้นการเจริญเติบโตและการกำหนดพัฒนา
  • ส่งเสริมการงอกของเมล็ดกระตุ้นการเจริญเติบโตของยอดต้นอ่อน
  • ส่งเสริมการออกดอก โดยเป็นสารตั้งต้นของสารกลุ่มเอไมด์ที่มีการสังเคราะห์มากและขนส่งไปยังตาดอกเมื่อพืชพร้อมจะออกดอก
  • การทนทานต่อความเครียด โพลีเอมีนมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองต่อภาวะเครียดต่างๆ เช่น ขาดธาตุอาหาร สภาวะกรด ความหนาวเย็น
  • การชะลอการชรา โพลีเอมีนมีผลในการชะลอการชราที่ถูกชักนำโดยความมืด โดยลดการสูญเสียคลอโรฟิลล์

การสังเคราะห์โพลีเอมีนสายตรง

[แก้]

พูเตรสซิน

[แก้]

พูเตรสซินถูกสังเคราะห์ด้วยกระบวนการทางชีวภาพผ่านทางสองวิถีที่แตกต่างกันคือ

  • arginine จะถูกเปลี่ยนเป็น agmatine ด้วยเอนไซม์ arginine decarboxylase (ADC) ; แล้วเปลี่ยน agmatine เป็น carbamilputrescine โดย hydroxylase imino agmatine (AIH) สุดท้าย carbamilputrescine จะถูกเปลี่ยนเป็น พูเตรสซิน
  • arginine ถูกเปลี่ยนเป็น arginine ornithine ornithine จากนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นพูเตรสซินโดย ornithine decarboxylase (ODC)

Cadaverine

[แก้]

Cadaverine ถูกสังเคราะห์จาก lysine ด้วยเอนไซม์ lysine decarboxylase (LDC).

สเปอร์มิดีนและสเปอร์มีน

[แก้]

สเปอร์มิดีนถูกสังเคราะห์จากพูเตรสซินโดยใช้หมู่aminopropylic จาก decarboxylated S-adenosyl-L-methionine (SAMด้วยเอนไซม์spermidine synthase

สเปอร์มีนถูกสังเคราะห์จากปฏิกิริยาของสเปอร์มิดีนกับ SAM ด้วยเอนไซม์ spermine synthase

อ้างอิง

[แก้]
  • สัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์. 2544. สรีรวิทยาการพัฒนาการของพืช. กรุงเทพฯ: คลังนานาวิทยา

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]