โถชำระ
โถชำระ หรือ บิเด (อังกฤษ: Bidet; US: /bɪˈdeɪ/ ( ฟังเสียง) หรือ UK: /ˈbiːdeɪ/) เป็นอ่างหรือภาชนะสำหรับชำระทำความสะอาดอวัยวะเพศ, ฝีเย็บ, แก้มก้นและทวารหนัก โถชำระในปัจจุบันมีการติดตั้งแหล่งจ่ายน้ำและท่อระบายน้ำเอาไว้ในตัวด้วย และถือเป็นเครื่องประปาชนิดหนึ่งสำหรับการรักษาสุขอนามัยของร่ายกาย โถชำระถูกออกแบบมาเพื่อส่งเสริมสุขลักษณะส่วนบุคคล ใช้หลังจากการขับถ่าย, ก่อนหรือหลังจากมีเพศสัมพันธ์ บางประเทศในยุโรปมีกฎหมายที่กำหนดให้ห้องน้ำทุกห้องที่มีโถชักโครกต้องมีโถชำระด้วย แต่เดิมแล้วโถชำระมักตั้งอยู่ในห้องนอน ใกล้กับกระโถนปัสสาวะหรือเตียงนอนของคู่สามีภรรยา แต่ในปัจจุบัน โถชำระมักถูกนำมาตั้งไว้ใกล้โถชักโครก เครื่องห้องน้ำที่รวมเอาฝารองนั่งและส่วนฉีดชำระเอาไว้ในตัว เรียกว่าโถชำระไฟฟ้า (electronics bidet)
ความคิดเห็นถึงความจำเป็นต่อโถชำระแตกต่างกันไปตามประเทศและวัฒนธรรม แทบไม่พบโถชำระในวัฒนธรรมที่มีต้นกำเนิดมาจากวัฒนธรรมอังกฤษ ในวัฒนธรรรมที่มีการใช้โถชำระเป็นกิจลักษณะเช่นที่พบใน กลุ่มประเทศอิสลาม, แอฟริกาใต้สะฮารา, ยุโรปใต้, ฝรั่งเศส, และบางประเทศในทวีปอเมริกาใต้ ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับการรักษาสุขลักษณะส่วนบุคคล
"Bidet" เป็นคำยืมจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่า "ม้าตัวน้อย" อันมาจากท่านั่งคร่อมเมื่อใช้งานโถ
การใช้งาน
[แก้]โถชำระใช้สำหรับล้างทำความสะอาดอวัยวะเพศ, ฝีเย็บ, แก้มก้นด้านใน, และทวารหนัก โถชำระบางโถมีที่ฉีดชำระแนวตั้งเพื่อให้ชำระล้างบริเวณฝีเย็บและทวารหนักได้โดยง่าย บิเดร์ที่ติดตั้งแยกออกมาตามแบบดั้งเดิมเป็นเสมือนอ่างสำหรับล้าง และอาจใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น เพื่อล้างเท้า เป็นต้น[1][2]
ประเภท
[แก้]สายฉีดชำระ
[แก้]สายฉีดชำระเป็นหัวฉีดแบบลั่นไกด้วยมือ รูปลักษณะคล้ายกับหัวฉีดของอ่างล้าง ใช้พ่นละอองน้ำสำหรับทำความสะอาดทวารหนักหรือทวารเบาของบุคคลหลังจากถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ในทางตรงกันข้ามกับโถชำระที่ติดตั้งมาเป็นส่วนหนึ่งของชักโครก ผู้ใช้จะต้องถือหัวฉีดชำระไว้ และการฉีดทำความสะอาดจะไม่เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ สายฉีดชำระเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในภูมิภาคที่ถือว่าน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำความสะอาดทวารหนัก
แต่อาจพบข้อเสีย เช่น ทำให้เสื้อผ้าของผู้ใช้เปียกหากว่าใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง นอกจากนี้ ผู้ใช้จะต้องมีความคล่องแคล่วและยืดหยุ่นในการที่จะใช้สายฉีดชำระ
โถชำระแบบติดตั้งเดี่ยว
[แก้]โถชำระแบบติดตั้งเดี่ยวหรือโถชำระแบบดั้งเดิม เป็นเครื่องประปาที่ติดตั้งแบบแยกมาเป็นหน่วยเดี่ยว ร่วมกับโถส้วม, ฝักบัว, และอ่างล้าง ผู้ใช้งานจะใช้ในท่านั่งคร่อม โถชำระบางโถมีลักษณะคล้ายคลึงอ่างล้างมือขนาดใหญ่ โดยมีก๊อกและจุกอุดที่ทำให้สามารถเติมของเหลวจนเต็มได้ บางรุ่นมีหัวฉีดน้ำออกมาช่วยทำความสะอาด
โถชำระแบบติดตั้งเสริม
[แก้]โถชำระแบบติดตั้งเสริมเป็นโถที่สามารถติดตั้งทับลงบนโถส้วมที่มีอยู่เดิม ซึ่งช่วยประหยัดพื้นที่และลดความจำเป็นที่จะต้องเดินต่อประปาเพิ่มเติม อาจเป็นหัวฉีดบางเคลื่อนไปมาได้หรือเป็นแบบตรึงอยู่กับที่ โดยติดอยู่มางด้านข้างหรือด้านหลังของขอบโถส้วม หรือกระทั่งแทนที่ฝาโถส้วมที่มีอยู่แต่เดิม สำหรับกรณีเหล่านี้ การใช้งานโถจะจำกัดอยู่เพียงล้างทำความสะอาดทวารหนักและทวารเบาเท่านั้น บางโถออกแบบให้มีหัวฉีดน้ำแนวตั้งหรือแนวเฉียงออกมาช่วยชำระล้าง ซึ่งบางรุ่นมีหัวฉีดอยู่ที่ขอบโถ โดยเล็งไปยังบริเวณทวารหนักและทวารเบาของผู้ใช้งาน และอาจพบหัวฉีดสองหัวที่บริเวณขอบโถด้านหลังในบางรุ่น หัวหนึ่งมีความยาวสั้น เรียกว่า "หัวฉีดครอบครัว" (family nozzle) ใช้สำหรับล้างบริเวณทวารหนัก ส่วนอีกหัวที่มีขนาดยาวกว่า เรียกว่า "หัวฉีดชำระ" (bidet nozzle) ออกแบบมาสำหรับล้างบริเวณทวารเบา
โถชำระแบบติดตั้งเสริมมักจะเชื่อมกับแหล่งจ่ายน้ำของโถส้วมที่มีอยู่ก่อนหน้า[3] ผ่านท่อเกลียวแบบสามทางโดยไม่ต้องอาศัยการบัดกรีหรืองานประปาอื่น ๆ หากเป็นแบบใช้ไฟฟ้าจะต้องใช้เต้ารับแบบ GFCI ที่มีวงจรตัดไฟฟ้ารั่วลงดินอัตโนมัติ
ด้านสุขอนามัย
[แก้]เมื่อใช้โถชำระควบคู่กับกระดาษอนามัยจะช่วยปรับปรุงและบำรุงรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างตรงจุดและง่ายดายขึ้น หากเทียบกับการใช้กระดาษอนามัยเพียงอย่างเดียว โถชำระแบบติดตั้งเสริมที่มีหัวฉีดแนวตั้งบางโถช่วยลดการใช้กระดาษชำระลงได้ เนื่องจากใช้น้ำชำระในปริมาณที่น้อยมาก[4][5] การใช้โถอนามัยอาจช่วยจัดการกับปัญหาโรคริดสีดวงทวารและสุขภาพของอวัยวะเพศ[6]
เนื่องจากพื้นที่ผิวของโถชำระที่มีขนาดใหญ่ การทำความสะอาดหลังจากใช้งานหรือการทำความสะอาดตามกิจวัตรจะต้องกระทำอย่างทั่วถึง มิฉะนั้นอาจเกิดการปนเปื้อนจุลเปื้อนจุลชีพจากผู้ใช้หนึ่งไปยังผู้ใช้อื่นได้ อาจพบว่ามีการติดตั้งโถชำระไว้ด้วยในห้องน้ำของโรงพยาบาล เนื่องจากประโยชน์ใช้สอยในการช่วยรักษาสุขอนามัย โถชำระแบบที่ใช้น้ำอุ่นอาจเป็นแหล่งสะสมของบัคเตรีที่เป็นอันตราย หากว่าทำการฆ่าเชื้ออย่างไม่ถูกวิธี[7]
ด้านสิ่งแวดล้อม
[แก้]จากจุดยืนด้านสิ่งแวดล้อม โถชำระสามารถลดความต้องการกระดาษชำระได้[3][8] เมื่อพิจารณาจากบุคคลโดยทั่วไปที่ใช้น้ำเพียง 0.5 ลิตร สำหรับการชำระล้างด้วยโถชำระ จะได้ว่าโถชำระใช้น้ำน้อยกว่าที่ใช้สำหรับผลิตกระดาษชำระมาก บทความหนึ่งในนิตยสารไซแอนทิฟิกอเมริกันสรุปว่าการใช้โถชำระ "กดดันสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ากระดาษชำระมาก"[8] นอกจากนี้นิตยสารดังกล่าวยังรายงานว่าหากชาวอเมริกันเปลี่ยนมาใช้โถชำระจะสามารถรักษาต้นไม้เอาไว้ได้ถึง 15 ล้านต้นต่อปี[9]
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
[แก้]ในศาสนาอิสลามมีกฎที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการขับถ่าย โดยเฉพาะการชำระล้างทวารหนักจะต้องใช้น้ำล้าง[10] โดยเหตุนี้ ในภูมิภาคตะวันออกกลางที่นับถือศาสนาอิสลามกันอย่างแพร่หลาย จะมีน้ำสำหรับล้างก้นไว้ให้ในห้องน้ำส่วนใหญ่ โดยมักมาในรูปของสายฉีดชำระ หรือ shattaf
ความแพร่หลาย
[แก้]โถชำระทวีความนิยมในหมู่ผู้สูงอายุและผู้พิการ การติดตั้งโถส้วมและโถชำระเข้าไว้ด้วยกันทำให้การเข้าห้องน้ำด้วยตนเองสามารถเป็นไปได้สำหรับหลาย ๆ คน และหมายความว่าพวกเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น มักมีโถส้วมรุ่นพิเศษที่มีที่นั่งสูง ทำให้การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้พิการจากรถเข็นง่ายขึ้น และอาจมีรีโมตควบคุบที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เคลื่อนไหวได้อ��่างจำกัด หรือต้องอาศัยความช่วยเหลือ
โถชำระเป็นเครื่องประปาที่พบได้ทั่วไปในโลกอาหรับ, แอฟริกาตะวันตก, ยุโรปใต้ และพบได้มากเป็นพิเศษในกลุ่มประเทศคาทอลิก[11] เช่นอิตาลี (ซึ่งการติดตั้งโถชำระเป็นข้อบังคับมาตั้งแต่ปี 1975[12]), สเปน (แต่บ้ายสมัยใหม่หรือที่ปรับปรุงใหม่อาจมีห้องน้ำที่ไม่มีโถชำระ เว้นเสียว่าเป็นห้องน้ำระดับหรูหรา[13]), และในโปรตุเกส (ซึ่งการติดตั้งเป็นข้อบังคับมาตั้งแต่ปี 1975)[14] โถชำระอาจพบในประเทศแถบยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เช่นแอลเบเนีย, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, และกรีซ นอกจากนี้ยังเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในบางประเทศในทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะอาร์เจนตินา ปารากวัย และอุรุกวัย
ในยุโรปเหนือไม่ค่อยพบโถชำระ แม้ว่าสายฉีดชำระจะเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในฟินแลนด์ก็ตาม[15] สำหรับสายฉีดชำระจะพบได้บ่อยที่สุดในภูมิภาคเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และตะวันออกกลาง
ในปี 1980 Toto ผู้ผลิตสุขภัณฑ์สัญชาติญี่ปุ่น ได้เปิดตัวโถส้วมที่ไม่ต้องใช้กระดาษชำระ (paperless toilet) เป็นครั้งแรก[16] โดยเป็นการรวมโถส้วมเข้ากับโถชำระซึ่งสามารถเป่าก้นให้แห้งได้หลังจากฉีดทำความสะอาดแล้ว โถที่รวมโถส้วมกับโถชำระเข้าด้วยกัน (washlet) พร้อมกับที่ทำความร้อนก้น หรือโถชำระแบบติดตั้งเสริม เป็นที่นิยมเป็นพิเศษในประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น และในปี 2015 พบได้ประมาณ 76% ของครัวเรือนญี่ปุ่น[3] และยังพบได้บ่อยตามโรงแรมหรือสถานที่สาธารณะ โถส้วมประเภทนี้มีจำหน่ายในหลายประเทศ รวมทั้งในสหรัฐ
การดัดแปลงฝาโถส้วมที่มีอยู่เดิมให้เป็นโถชำระนั้นทำได้ง่ายกว่าและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการติดตั้งโถชำระในแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังส่งกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อตลาดของโถชำระแบบดั้งเดิมอีกด้วย[3]
หลังจากการเริ่มต้นอย่างเชื่องช้าในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 โถชำระไฟฟ้าเริ่มที่จะพบได้ง่ายขึ้นในสหรัฐ[3] ความนิยมในโถชำระชนิดนี้ได้พุ่งสูงขึ้นในสหรัฐ แคนาดา และสหราชอาณาจักร ส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการช่วยเยียวยาโรคริดสีดวงทวารและการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ[17] นอกกจากนี้การขาดแคลนกระดาษชำระอันเนื่องมาจากการระบาดทั่วของโคโรนาไวรัสยังได้นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของความสนใจในโถชำระ[18]
นิรุกติศาสตร์
[แก้]Bidet เป็นคำฝรั่งเศส แปลว่า "ม้าเล็ก" (pony) และในภาษาฝรั่งเศสเก่า bider แปลได้ว่า "(ม้า) วิ่งไปเหยาะ ๆ" ต้นกำเนิดของคำมาจากท่าทางที่บุคคล "ควบ" หรือนั่งคร่อมโถชำระในลักษณะที่คล้ายคลึงกับที่ขี่ม้าเล็ก คำว่า "bidet" ยังเคยมีการใช้ในฝรั่งเศสสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพื่อใช้อ้างถึงม้าเล็กที่ราชวงศ์ฝรั่งเศสนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง[19]
ประวัติศาสตร์
[แก้]โถชำระดูเหมือนว่าจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ของช่างทำเฟอร์นิเจอร์ชาวฝรั่งเศส[20] ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แม้ว่าจะไม่ทราบวันที่หรือผู้ประดิษฐ์ที่แน่ชัดก็ตาม[21][22] การเขียนอ้างอิงถึงโถปัสสาวะหญิงที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในปี 1726 ที่อิตาลี[23] ถึงแม้ว่าจะมีการบันทึกว่ามาเรีย แคโรไลนาแห่งออสเตรีย สมเด็จพระราชินีนาถแห่งนาโปลีและซิซิลี ทรงขอโถชำระสำหรับห้องน้ำส่วนพระองค์ในพระราชวัง Caserta ในช่วงครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18 โถชำระไม่ได้กลายเป็นที่แพร่หลายในอิตาลีจนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[24] โถปัสสาวะหญิงอาจมีความเกี่ยวข้องกับกระโถน (chamber pot) และ bourdaloue ซึ่งอย่างหลังเป็นกระโถนขนาดเล็ก สามารถพกพาได้
สำหรับรุ่นและการใช้งานในช่วงแรก ๆ เชื่อว่ารวมการใช้เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดเอาไว้ด้วย[25] โถชำระถูกพิจารณาว่าไม่มีประสิทธิภาพสำหรับมาตรฐานการคุมกำเนิดในยุคปัจจุบัน การใช้โถชำระเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวถูกละทิ้งและลืมเลือนไปอย่างรวดเร็ว หลังจากการมาถึงของวิธีคุมกำเนิดสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด[26]
จนปี 1990 เมื่อมีการปรับปรุงระบบประปา โถชำระ (และกระโถน) ถูกย้ายจากห้องนอนไปยังห้องอาบน้ำ ซึ่งเป็นการสะดวกกว่าสำหรับการเติมหรือถ่ายของเหลว
ปี 1928 ที่สหรัฐอเมริกา จอห์น ฮาร์วีย์ เคลลอกก์ (John Harvey Kellogg) ยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรสำหรับ "ที่ฉีดก้น" (anal douche)[27] เขาได้ใช้คำว่า "ที่ฉีดก้น" เพื่อจะอธิบายระบบซึ่งเทียบได้กับหัวฉีดชำระ (bidet nozzle) ในยุคปัจจุบัน โดยที่ตัวอุปกรณ์นี้สามารถนำไปติดตั้งกับโถส้วมเพื่อที่จะทำความสะอาดก้นด้วยน้ำ
ในปี 1965 ดิอเมริกันบิเดคอมปานี (the American Bidet Company) นำเสนอหัวฉีดละอองน้ำอุ่นแบบขยับได้ โดยหวังจะให้เป็นอุปกรณ์สามัญประจำบ้าน[3] ทว่าอุปกรณ์นี้มีราคาแพง ทั้งยังใช้พื้นที่ติดตั้งมาก มันจึงไม่ได้รับการพัฒนาต่อและไม่มีรุ่นอื่นมาแทนที่
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Michelle Hanson (1 May 2017). "Why won't prudish Brits recognise the bidet's brilliance?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ "The imaginative ways readers use bidets". BBC. 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 13 November 2018.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Manjoo, Farhad (April 29, 2015). "Electronic Bidet Toilet Seat Is the Luxury You Won't Want to Live Without". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2017-05-10.
- ↑ Rickett, Oscar (11 February 2018). "The bottom line: why it's time the bidet made a comeback". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ Cohen-Mansfield, J.; Biddison, J. R. (1 October 2005). "The Potential of Wash-and-Dry Toilets to Improve the Toileting Experience for Nursing Home Residents". The Gerontologist. 45 (5): 694–699. doi:10.1093/geront/45.5.694. PMID 16199405.
- ↑ Hsu, Kuo-Feng; Chia, Jen-Shu; Jao, Shu-Wen; Wu, Chang-Chieh; Yang, Hsiang-Yu; Mai, Chen-Ming; Fu, Chun-Yu; Hsiao, Cheng-Wen (1 April 2009). "Comparison of Clinical Effects Between Warm Water Spray and Sitz Bath in Post-hemorrhoidectomy Period". Journal of Gastrointestinal Surgery. 13 (7): 1274–1278. doi:10.1007/s11605-009-0876-9. PMID 19337777. S2CID 9820790.
- ↑ Katano, Hideki; Yokoyama, Kumi; Takei, Yasushi; Tazume, Seiki; Tsukiji, Mami; Matsuki, Hideaki (2014). "A Survey on Bacterial Contamination of Lavage Water in Electric Warm-Water Lavage Toilet Seats and of the Gluteal Cleft after Lavage". Journal of UOEH. 36 (2): 135–139. doi:10.7888/juoeh.36.135. PMID 24930878.
- ↑ 8.0 8.1 "Wipe or Wash? Do Bidets Save Forest and Water Resources?". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 3 September 2016.
- ↑ Albany, Peter. "Wipe or Wash? Do Bidets Save Forest and Water Resources?". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 29 May 2019.
- ↑ Bob Cromwell (Nov 2018). "Islamic Rules for Toilet Etiquette". Toilet Guru. สืบค้นเมื่อ 20 November 2018.
- ↑ E. Clark, Mary (2006). Contemporary Biology: Concepts and Implications. University of Michigan Press. p. 613. ISBN 9780721625973.
Douching is commonly practiced in Catholic countries. The bidet ... is still commonly found in France and other Catholic countries.
- ↑ Decreto ministeriale Sanità, 5 July 1975, art. 7.
- ↑ Juan Carlos Rodríguez (6 September 2009). "¿Ha llegado el final del bidé?". El Mundo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
- ↑ Decreto-Lei n.º 650/75 de 18 de Novembro (in Portuguese), 18 November 1975, art. 84
- ↑ "Bidets in Finland"
- ↑ "In modern world, even toilets are becoming paperless". The Augusta Chronicle. March 13, 2014. สืบค้นเมื่อ 2015-06-26.
- ↑ Kiuchi, Teppei; Asakura, Keiko; Nakano, Makiko; Omae, Kazuyuki (2017-02-16). "Bidet toilet use and incidence of hemorrhoids or urogenital infections: A one-year follow-up web survey". Preventive Medicine Reports. 6: 121–125. doi:10.1016/j.pmedr.2017.02.008. ISSN 2211-3355. PMC 5345955. PMID 28316906.
- ↑ "Bidets Gain U.S. Popularity During The Coronavirus Crisis". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). 22 March 2020. สืบค้นเมื่อ 17 April 2020.
- ↑ "Toilet Timeline". World Toilet Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 20, 2009. สืบค้นเมื่อ 20 Dec 2009.
- ↑ https://www.brondell.com/healthy-living-blog/who-invented-the-bidet/
- ↑ Jongen, Johannes; Peleikis, Hans-Günter (July 2006). "Doppler-Guided Hemorrhoidal Artery Ligation: An Alternative to Hemorrhoidectomy". Diseases of the Colon & Rectum. 49 (7): 1082–1083. doi:10.1007/s10350-006-0553-y. PMID 16676142. S2CID 28511607.
- ↑ "Toilet Timeline" on the World Toilet Organization website
- ↑ Storia del bidet, Un grande contenitore ideologico [History of the bidet] (ภาษาอิตาลี). Castelvecchi. 2003. ISBN 978-8882101114. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-21. สืบค้นเมื่อ 2017-10-21.
- ↑ Made in Naples. Come Napoli ha civilizzato l'Europa (e come continua a farlo) [Made in Naples. How Naples civilised Europe (And still does it)] (ภาษาอิตาลี). Addictions-Magenes Editoriale. 2013. ISBN 978-8866490395.
- ↑ Bullough, Verne (2001). Encyclopedia of Birth Control. ABC-CLIO.
- ↑ Museum of Contraception and Abortion. "The bidet is for vaginal rinsing". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-10. สืบค้นเมื่อ 2021-01-10.
- ↑ A United States patent US1787481 A, John Harvey Kellogg, "Anal douche", published Jan 6, 1931