โคเซ ทานากะ
โคเซ ทานากะ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เกิด | โคเซ ทานากะ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ทาจิมิ ประเทศญี่ปุ่น | ||||||||||||||
สัญชาติ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||||
ชื่ออื่น | 中京の怪物 (โรมาจิ : Chukyo no Kaibutsu) ไทย : สัตว์ประหลาดแห่งชูเกียว[1]
KO Dream Boy | ||||||||||||||
สถิติ | |||||||||||||||
น้ำหนัก | |||||||||||||||
ส่วนสูง | 164 เซนติเมตร (5 ฟุต 5 นิ้ว) | ||||||||||||||
ช่วงชก | 161 เซนติเมตร | ||||||||||||||
เทรนเนอร์ | {{{trainer}}} | ||||||||||||||
รูปแบบการชก | ดั้งเดิม | ||||||||||||||
สถิติขึ้นชก | |||||||||||||||
ชกทั้งหมด | 18 | ||||||||||||||
ชนะ | 17 | ||||||||||||||
ชนะน็อก | 10 | ||||||||||||||
แพ้ | 1 (น็อก) | ||||||||||||||
รายการเหรียญรางวัล
|
โคเซ ทานากะ (ญี่ปุ่น: 田中恒成; โรมาจิ: Tanaka Kōsei) นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น เป็นนักมวยสากลชาวญี่ปุ่นที่ชกน้อยครั้งที่สุดแล้วได้ตำแหน่งแชมป์โลกในปัจจุบัน และเป็นนักมวยชาวเอเชียคนแรกที่ชกน้อยครั้งที่สุดที่สามารถคว้าแชมป์โลกได้ 3 รุ่น
ประวัติ
[แก้]เป็นบุตรคนกลางของครอบครัว มีพี่ชายและน้องสาวอย่างละ 1 มีชื่อว่าเรียวเม ทานากะ เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติญี่ปุ่น เจ้าของตำแหน่งเหรียญทองแดง กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ในรุ่นฟลายเวท[2] และอันนะ ทานากะ[3] กับลูกพี่ลูกน้อง 1 คน คือ ยูฮานะ โยโคอิ เป็นนักกีฬาสเกตลีลา[4] บิดามีชื่อว่า ฮิโทชิ ทานากะ ในวัยเด็กเคยประสบปัญหากับโรคหัวกระดูกต้นขาแบน
จบการศึกษาระดับมัธยมปลาย จากโรงเรียนมัธยมชูเกียว และระดับอุดมศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชูเกียว[5]
เริ่มต้นจากการชกมวยสากลสมัครเล่นตั้งแต่ช่วงมัธยมภายใต้การฝึกสอนของ ฮิเดยาซุ อิชิฮาระ นักมวยอดีตแชมป์ OPBF รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท ได้ชนะการแข่งขันระดับมัธยมปลายหลายครั้ง จนติดทีมมวยสากลสมัครเล่นชุดเยาวชนทีมชาติญี่ปุ่น เริ่มแข่งขันระดับนานาชาติตั้งแต่ พ.ศ. 2555 โดยได้เข้ารอบก่อนรองชนะเลิศมวยสากลเยาวชนเยาวชนชิงแชมป์โลก 2012 และเหรียญเงินมวยสากลชิงแชมป์เยาวชนทวีปเอเชีย 2013 รุ่นไลท์ฟลายเวท สถิติการชกมวยสากลสมัครเล่น ชนะ 46 ครั้ง (อาร์เอสซี 13 ครั้ง) แพ้ 5 ครั้ง
เมื่อเปลี่ยนมาชกมวยสากลอาชีพได้สังกัดค่าย "SOUL BOX ฮาทานากะ" ของคิโยชิ ฮาทานากะ อดีตแชมป์โลก WBC รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท จนได้ชิงแชมป์ OPBF รุ่นมินิมัมเวท กับรีวจิ ฮาระ นักมวยเจ้าของแชมป์ชาวญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน เขาได้สร้างสถิตินักมวยญี่ปุ่นชกน้อยครั้งที่สุดแล้วได้แชมป์ในสถาบันนี้ (4 ครั้ง) ผลการชกเป็นฝ่ายชนะทีเคโอรีวจิในยก 10 ที่โตเกียว[6] โคเซมีเพลงที่เปิดประกอบในช่วงเวลาเดินขึ้นเวทีประจำตัวของตัวเอง คือ "I Was Born to Love You"[7] ในอัลบั้ม Mr. Bad Guy โดยเฟรดดี เมอร์คูรี
ต่อมาได้ชิงแชมป์โลก WBO (ที่ว่าง) รุ่นมินิฟลายเวท ในฐานะรองแชมป์โลก WBO อันดับ 2 ในรุ่น กับ ฆูเลียน เยรดรัส นักมวยรองแชมป์โลก WBO อันดับ 1 ชาวเม็กซิโก กำหนดชกวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่โคมากิ ถ้าทำสำเร็จจะเป็นนักมวยสากลชาวญี่ปุ่นที่ทำสถิติการชกน้อยที่สุดแล้วได้เป็น���ชมป์โลกคือ 5 ครั้ง (ทำลายสถิติเดิมของนาโอยะ อิโนอูเอะ ใน พ.ศ. 2557 ที่ชก 6 ครั้ง[8]) ผลการชกโคเซ ทานากะ ชนะคะแนนเอกฉันท์ได้เป็นแชมป์โลกครั้งแรก[9]
โคเซ ทานากะป้องกันตำแหน่ง 1 ครั้ง สละตำแหน่งในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559[10] แล้วเลื่อนน้ำหนักไปชกในรุ่นจูเนียร์ฟลายเวท เพื่อชิงแชมป์โลก WBO รุ่นเดียวกันจากตำแหน่งว่าง กับ มอยเซส ฟูเอนเตส นักมวยรองแชมป์โลก WBO อันดับ 1 รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท และอดีตแชมป์โลก WBO รุ่นมินิฟลายเวท ชาวเม็กซิโก การแข่งขันจัดขึ้นในวันสิ้นปี พ.ศ. 2559 เมืองกิฟุ ผลการชกชนะทีเคโอมอยเซสในยกที่ 5 ได้แชมป์โลกเป็นรุ่นที่ 2 มาครอง ภายในการชก 8 ครั้ง[11]
ในการเป็นแชมป์โลกรุ่นนี้ได้ป้องกันตำแหน่งได้ 2 ครั้ง ในการป้องกันครั้งที่ 2 ได้ป้องกันกับนักมวยชาวไทย คือ พลังพล ซีพีเฟรชมาร์ท นักมวยรองแชมป์โลก WBO อันดับ 13 เป็นคู่มวยร่วมรายการกับคู่มวยป้องกันแชมป์โลก IBF รุ่นจูเนียร์เฟเธอร์เวท ระหว่าง ยูกิโนริ โองูมิ กับ เรียวซูเกะ อิวาซะ จัดขึ้นวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560 ที่โอซากะ[12] โดยคู่ของโคเซ ทานากะ กับพลังพลเป็นคู่เริ่มรายการก่อน
ผลการชกในการชกครั้งนั้น สามารถชนะทีเคโอพลังพลได้ในยก 9 ป้องกันตำแหน่งไว้ได้ ภายหลังการชกเสร็จได้ถูกส่งโรงพยาบาลเข้ารับการรักษาในวันเดียวกัน[13]
หลังการตรวจรักษาพบว่ามีอาการกระดูกเบ้าตาแตกทั้ง 2 ข้างทำให้ต้องพักรักษาอาการบาดเจ็บเป็นระยะเวลาหนึ่ง และต้องยกเลิกการชกล้มแชมป์โลกที่มีกำหนดในวันสิ้นปี 2560 กับเรียวอิจิ ทางูจิ แชมป์โลก WBA รุ่นเดียวกันชาวญี่ปุ่น[14]
ต่อมาได้สละตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560[15] เพื่อเลื่อนน้ำหนักไปชกในรุ่นฟลายเวทและได้ชิงแชมป์โลกสถาบันเดิมกับนักชกเจ้าของแชมป์โลกชาวญี่ปุ่นด้วยเดียวกันคือ "โช คิมูระ" การชกจัดในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2561 ที่นาโงยะ ในก่อนหน้านั้นโช คิมูระ ได้ไปชิงแชมป์โลกรุ่นนี้เป็นฝ่ายชนะทีเคโอยก 11 โจว ซื่อหมิง ถึงประเทศจีน ประเทศบ้านเกิดเจ้าของแชมป์โลก[16]
ผลการชกเป็นฝ่ายชนะคะแนนต่อคิมูระได้แชมป์โลกมาครองเป็นรุ่นที่ 3 นับเป็นนักมวยชาวเอเชียคนแรกที่ได้แชมป์โลกของ WBO ถึงสามรุ่น และเป็นนักมวยสากลที่ชกน้อยครั้งที่สุดแล้วได้เป็นแชมป์โลก 3 รุ่น ในการชก 12 ครั้ง (เทียบเท่ากับ วาซีล โลมาเชนโก) โดยไม่เคยแพ้และเสมอใคร[17] และการชกในครั้งนี้ได้รับรางวัลคู่มวยแห่งปี 2561 จากคณะกรรมการมวยสากลญี่ปุ่น (JBC)[18]
โคเซสามารถป้องกันตำแหน่งแชมป์โลกในรุ่นนี้ได้ 3 ครั้ง ต่อมา WBO ได้มอบตำแหน่งซูเปอร์แชมป์ให้[19] โคเซได้สละตำแหน่งแชมป์โลก WBO รุ่นฟลายเวทเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563[20] โดยเลื่อนน้ำหนักไปชกในรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท เป้าหมายเพื่อชิงแชมป์โลกในรุ่นนี้กับ คาซูโตะ อิโอกะ นักมวยแชมป์โลก WBO รุ่นเดียวกันชาวญี่ปุ่น ที่สามารถสร้างประวัติศาสตร์เป็นนักมวยสากลชายชาวญี่ปุ่นคนแรกที่สามารถครองแชมป์โลกได้ 4 รุ่น เมื่อ พ.ศ. 2562 เพื่อทำสถิติเป็นแชมป์โลก 4 รุ่นเทียบเท่ากับคาซูโตะ
การชกชิงแชมป์โลกกำหนดชกในวันสิ้นปี พ.ศ. 2563 ที่โตเกียว ตั้งแต่หลังการชกป้องกันตำแหน่งในวันสิ้นปี พ.ศ. 2562 นักมวยทั้ง 2 คนไม่มีรายการชกใดเลยสืบเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น ผลการชกโคเซเป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยก 8 ชิงแชมป์โลกไม่สำเร็จและเป็นการแพ้ครั้งแรกในการชกมวยสากลอาชีพ[21]
เกียรติประวัติ
[แก้]- แชมป์ OPBF รุ่นมินิมัมเวท
- ชิง, 30 ตุลาคม 2557 ชนะทีเคโอยก 10 รีวจิ ฮาระ ( ญี่ปุ่น) ที่โครากูเอ็งฮอล, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- แชมป์โลก WBO รุ่นมินิฟลายเวท
- ชิง (ที่ว่าง), 30 พฤษภาคม 2558 ชนะคะแนน ฆูเลียน เยดรัส ( เม็กซิโก) ที่พาร์กอารีนาโคมากิ, โคมากิ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 1, 31 ธันวาคม 2558 ชนะน็อกยก 6 วิก ซาลูดาร์ ( ฟิลิปปินส์) ที่ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดไอจิ, นาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น
- สละตำแหน่ง 7 เมษายน 2559
- แชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท
- ชิง (ที่ว่าง), 31 ธันวาคม 2559 ชนะทีเคโอยก 5 มอยเซส ฟูเอนเตส ( เม็กซิโก) ที่เดไอโดม, กิฟุ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 1, 20 พฤษภาคม 2560 ชนะคะแนน อังเฮล อาโกสตา ( ปวยร์โตรีโก) ที่ทาเกดะเทวะโอเชียนอารีนา, นาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 2, 13 กันยายน 2560 ชนะทีเคโอยก 9 พลังพล ซีพีเฟรชมาร์ท ( ไทย) ที่ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
- สละตำแหน่ง 30 พฤศจิกายน 2560
- แชมป์โลก WBO รุ่นฟลายเวท
- ชิง, 24 กันยายน 2561 ชนะคะแนน โช คิมูระ ( ญี่ปุ่น) ที่ทาเกดะเทวะโอเชียนอารีนา, นาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 1, 16 มีนาคม 2562 ชนะคะแนน เรียวอิจิ ทางูจิ ( ญี่ปุ่น) ที่เดไอโดม, กิฟุ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 2, 24 สิงหาคม 2562 ชนะทีเคโอยก 7 โยนาตัน กอนซาเลซ ( ปวยร์โตรีโก) ที่ทาเกดะเทวะโอเชียนอารีนา, นาโงยะ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 3, 31 ธันวาคม 2562 ชนะน็อกยก 3 อูหลัน ตัวเหล่อฮาจื่อ ( จีน) ที่ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- สละตำแหน่ง 31 มกราคม 2563
- แชมป์ WBO เอเชียแปซิฟิก รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท
- ชิง , 29 มิถุนายน 2565 ชนะทีเคโอยก 5 มาซาโยชิ ฮาชิซูเมะ ( ญี่ปุ่น) ที่โครากูเอ็งฮอล, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- สละตำแหน่ง 23 สิงหาคม 2565
- ชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
- ชิงแชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท, 31 ธันวาคม 2563 แพ้ทีเคโอยก 8 คาซูโตะ อิโอกะ ( ญี่ปุ่น) ที่ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "中京の怪物"田中が王者高山とスパー". Nikkan Sport. 1 July 2014. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
- ↑ RYAN SONGALIA (4 August 2021). "PHILIPPINES' CARLO PAALAM OUTCLASSES RYOMEI TANAKA, FACES GREAT BRITAIN'S GALAL YAFAI IN FLYWEIGHT FINAL". The Ring. สืบค้นเมื่อ 7 August 2021.
- ↑ "田中恒成の兄・亮明手記…幼少期強制で空手 格闘一家のプライド守った". Hochi. 17 March 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.
- ↑ "10 facts you probably didn't know about...Kosei Tanaka". Asianboxing. 29 September 2019. สืบค้นเมื่อ 19 June 2021.
- ↑ https://mobile.twitter.com/KOsei530/status/1107904058122067968
- ↑ "田中恒成が4戦目でOPBF戴冠 原を10回TKO". Boxingnews. 30 October 2014. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
- ↑ "【ボクシング】やっぱり"モノが違う"!". BBM Sports. 11 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
- ↑ "Inoue becomes WBC champ in only sixth pro fight". Bangkok Post. 7 April 2014. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
- ↑ JAKE DONOVAN (30 May 2015). "Tanaka Decisions Yedras, Claims Belt in 5th Pro Fight". Boxingscene. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
- ↑ "田中恒成がミニマム級王座返上、年内2階級制覇へ". boxingnews. 7 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
- ↑ Joe koizumi; Fightnewsasia Staff (31 December 2016). "Tanaka win second world belt by stopping Fuentes". Fightnewsasia. สืบค้นเมื่อ 3 June 2021.
- ↑ "Tanaka and Iwasa Big wins in Japan". LATINBOXSPORTS. 13 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
- ↑ ""ทานากะ"ช้ำหนักแม้ชนะน็อก"พลังพล"". คมชัดลึก. 14 September 2017. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.
- ↑ "田中恒成は年内統一戦白紙 眼窩底骨折で安静必要". nikkansports. 20 September 2017. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
- ↑ Joe Koizumi (30 November 2017). "WBO 108lb champ Tanaka renounces his belt". Boxing News. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
- ↑ "Chinese superstar Zou Shiming shocked, TKO'd by Sho Kimura in front of home fans". worldboxingnews. 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.
- ↑ Dan Rafael (25 September 2018). "Kosei Tanaka takes flyweight title from Sho Kimura with majority decision". ESPN. สืบค้นเมื่อ 6 March 2021.
- ↑ Anson Wainwright (8 September 2019). "NAOYA INOUE NAMED JAPAN'S BOXER OF THE YEAR". The Ring. สืบค้นเมื่อ 24 June 2021.
- ↑ "WBOが田中恒成をスーパー王者に認定". Boxing news. 14 January 2020. สืบค้นเมื่อ 4 November 2021.
- ↑ "田中恒成がフライ級王座返上 2020年は4階級制覇へ". Boxing news. 4 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 April 2021.
- ↑ Liam Happe (1 January 2021). "KAZUTO IOKA HALTS KOSEI TANAKA TO RETAIN WBO SUPER-FLYWEIGHT TITLE". DAZN. สืบค้นเมื่อ 7 March 2021.