ข้ามไปเนื้อหา

แฮโรลด์ พินเทอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฮโรลด์ พินเทอร์
Harold Pinter
เกิด10 ตุลาคม ค.ศ. 1930
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
เสียชีวิต24 ธันวาคม ค.ศ. 2008
ลอนดอน สหราชอาณาจักร
สัญชาติชาวอังกฤษ
อาชีพนักเขียน กวี นักเขียนบทละคร นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้กำกับ นักแสดง ผู้มีบทบาททางการเมือง
ตำแหน่งนักเขียน
คู่สมรสวิเวียน เมอร์ชานท์
นักเขียนชาวอังกฤษ

แฮโรลด์ พินเทอร์ (อังกฤษ: Harold Pinter) (10 ตุลาคม ค.ศ. 1930 - 24 ธันวาคม ค.ศ. 2008) แฮโรลด์ พินเทอร์เป็นนักเขียน กวี นักเขียนบทละคร นักเขียนบทภาพยนตร์ ผู้กำกับ นักแสดง ผู้มีบทบาททางการเมืองคนสำคัญชาวอังกฤษของคริสต์ศตวรรษที่ 20 พินเทอร์เป็นนักเขียนบทละครผู้มีอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งของสมัยใหม่ ที่เป็นผลทำให้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี ค.ศ. 2005[1][2]

หลังจากที่งานกวีนิพนธ์ได้รับการตีพิมพ์และการแสดงในละครของโรงเรียนเมื่อยังอยู่ในวัยรุ่น พินเทอร์ก็เริ่มอาชีพทางการละครในปี ค.ศ. 1951 และได้เดินทางไปแสดงไปทั่วไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1952 พินเทอร์ก็เริ่มอาชีพการแสดงกับคณะต่างๆ ทั่วอังกฤษเป็นเวลาราวสิบกว่าปี โดยใช้ชื่อว่า “เดวิด บารอน” ในปลายคริสต์ทศวรรษ 1950 จากบทละครชิ้นแรก The Room (ค.ศ. 1957) พินเทอร์ก็เริ่มอาชีพการเป็นนักเขียนต่อมาอีก 50 ปีโดยเขียนบทละคร 29 ชิ้น บทภาพยนตร์ 27 ชิ้น รวมทั้งงานเขียนสำหรับวิทยุและโทรทัศน์, บทกลอน นวนิยายเล่มหนึ่ง เรื่องสั้น บทปาฐกถา และจดหมาย งานเขียนบทละครที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดก็รวมทั้ง The Birthday Party (ค.ศ. 1957), The Caretaker (ค.ศ. 1959), The Homecoming (ค.ศ. 1964) และ Betrayal (ค.ศ. 1978) แต่ละเรื่องก็ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ งานเขียนบทภาพยนตร์จากงานเขียนของผู้อื่นก็รวมทั้ง The Servant (ค.ศ. 1963), The Go-Between (ค.ศ. 1970), The French Lieutenant's Woman (1981), The Trial (ค.ศ. 1993) และ Sleuth (ค.ศ. 2007) พินเทอร์กำกับละคร ละครโทรทัศน์ และภาพยนตร์ถึง 50 เรื่องและเป็นนักแสดงทั้งทางวิทยุ บนเวที ในโทรทัศน์ และภาพยนตร์ของทั้งงานเขียนของตนเองและผู้อื่น[3] แม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหลอดอาหารในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 พินเทอร์ก็ยังคงดำเนินการแสดงบนเวทีและในภาพยนตร์ต่อไป งานแสดงชิ้นสุดท้ายชิ้นสำคัญคือการแสดงคนเดียวบนเวทีในบทซามูเอล เบ็คเค็ทท์ (Samuel Beckett) ในเรื่อง Krapp's Last Tape สำหรับโอกาสครบรอบ 50 ปีของฤดูการแสดงของโรงละครรอยัลคอร์ท (Royal Court Theatre) ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006[2]

งานเขียนประเภทดรามาของพินเทอร์มักจะเป็นงานที่เกี่ยวกับความขัดแย้งอย่างรุนแรงของตัวละครผู้พยายามหาวิธีแสดงออกทางวาจาและการมีอิทธิพลในการควบคุมเนื้อหาตามทัศนคติที่เกี่ยวกับอดีตของตนเอง ลักษณะการเขียนของงานเหล่านี้แสดงถึงการเขียนที่มีลักษณะเป็นบทละครที่มีจังหวะการหยุด การไม่มีเสียง การแสดงมุขที่ถูกจังหวะ การแฝงนัย และความซ้อนเร้น หัวใจของเรื่องมักจะกำกวมในการเสนอหัวเรื่องที่ซับซ้อนของความเป็นอัตตาที่ถูกกดดันโดยแรงบีบของสังคม ภาษา และ ความทรงจำอันบิดเบือน[4][5] ในปี ค.ศ. 1981 พินเทอร์กล่าวว่าไม่ได้ตั้งใจที่จะเขียนงานที่เกี่ยวกับหัวข้อทางการเมืองอย่างจงใจ แต่ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 พินเทอร์ก็เริ่มเขียนบทละครที่เป็นการเมืองที่สะท้อนถึงความสนใจทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นและความเปลี่ยนแปลงในชีวิตส่วนตัว แนวโน้มใหม่และงานเขียนที่หนักไปทางซ้ายทำให้เกิดการวิจารณ์เกี่ยวกับปรัชญาทางการเมืองของพินเทอร์ และกลายเป็นสิ่งที่สร้างงานเขียนที่วิจารณ์มากมายเกี่ยวกับพินเทอร์[6]

พินเทอร์ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย นอกไปจากรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมที่ได้รับในปี ค.ศ. 2005 แล้วพินเทอร์ก็ยังได้รับรางวัลโทนีสำหรับบทละครดีเด่นที่สุดประจำปีในปี ค.ศ. 1967 ในบทละครเรื่อง The Homecoming (ไทย: กลับบ้าน) รางวัลบาฟต้า, เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ และปริญญากิตติมศักดิ์อีก 20 ปริญญา นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีเทศกาล และ การประชุมสัมนาที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่พินเทอร์และงานเขียน

ในการมอบรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ราชสถาบันสวีเดน (Swedish Academy) กล่าวว่า “[พินเทอร์]ได้รับฐานะว่าเป็นนักเขียนคลาสสิกสมัยใหม่ ที่เห็นได้จากการที่ชื่อของ[พินเทอร์]เข้ามาปรากฏในภาษาในการใช้เป็นคำคุณศัพท์ที่หมายถึงลักษณะหรือบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงของบทละครในคำว่า “แบบพินเทอร์“ (Pinteresque) ”[7] พินเทอร์เสียชีวิตด้วยมะเร็งตับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ค.ศ. 2008 ในกรุงลอนดอน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Harold Pinter: One of the Most Influential British Playwrights of Modern Times", The Daily Telegraph, 25 December 2008, accessed 5 May 2009.
  2. 2.0 2.1 Gussow, Mel and Brantley, Ben."Harold Pinter, Playwright of the Pause, Dies at 78", The New York Times, 25 December 2008.
  3. Batty, Mark. "Directing", HaroldPinter.org. Retrieved 24 June 2009.
  4. Billington, Michael. Introduction, "Pinter: Passion, Poetry, Politics, " Europe Theatre Prize–X Edition, Turin, 10–12 March 2006. Cf. Billington, "Memory Man" and "Let's Keep Fighting" (chap. 29 and Afterword), Harold Pinter, pp. 388–430.
  5. "Harold Pinter: the most original, stylish and enigmatic writer in post-war British theatre", The Daily Telegraph, 26 December 2008, p. 37. Retrieved 11 July 2009.
  6. Merritt, Pinter in Play xi–xxv, 170–209, 174–75; Billington, Harold Pinter 286–338; and Grimes, p. 19.
  7. "Bio-bibliography", "The Nobel Prize in Literature 2005", Nobelprize.org, The Swedish Academy, 2005. Retrieved 1 July 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ แฮโรลด์ พินเทอร์