ข้ามไปเนื้อหา

แอนน์ แฮททาเวย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนน์ แฮททาเวย์
A head shot of Anne Hathaway as she poses for the camera
แฮททาเวย์ใน ค.ศ. 2023
เกิดแอนน์ แจ็กเกอลีน แฮททาเวย์
(1982-11-12) 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 (42 ปี)
นครนิวยอร์ก สหรัฐ
ศิษย์เก่าวิทยาลัยวาซซาร์
มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก
อาชีพนักแสดง
ปีปฏิบัติงานค.ศ. 1997–ปัจจุบัน
คู่สมรสแอดัม ชูลแมน (สมรส 2012)
บุตร2 คน
รางวัลรายการทั้งหมด

แอนน์ แจ็กเกอลีน แฮททาเวย์ (อังกฤษ: Anne Jacqueline Hathaway; เกิด 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982) เป็นนักแสดงชาวอเมริกัน ผู้ได้รับรางวัลมากมาย รวมถึงรางวัลออสการ์, รางวัลแบฟตา, รางวัลลูกโลกทองคำ และรางวัลไพรม์ไทม์เอมมี เธอเป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงที่มีรายได้สูงที่สุดในโลกใน ค.ศ. 2015 ภาพยนตร์ของเธอทำรายได้กว่า 6.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และยังปรากฏอยู่ในรายชื่อคนดัง 100 คนของฟอบส์ ใน ค.ศ. 2009 ด้วย

แฮททาเวย์จบการศึกษาจากโรงเรียนมิลล์เบิร์นไฮสกูลในรัฐนิวเจอร์ซีย์ ที่ซึ่งทำให้เธอได้แสดงในละครเวทีหลายเรื่อง ในช่วงวัยรุ่น เธอได้แสดงละครชุดทางโทรทัศน์เรื่อง เก็ตเรียล (1999–2000) และได้รับความก้าวหน้าทางอาชีพจากบทตัวเอกในภาพยนตร์ตลกของดิสนีย์เรื่อง บันทึกรักเจ้าหญิงมือใหม่ (2001) ซึ่งนับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ หลังจากแสดงนำในภาพยนตร์ครอบครัวที่ไม่ประสบความสำเร็จหลายเรื่อง แฮททาเวย์ได้เปลี่ยนไปสู่บทบาทผู้ใหญ่อย่างภาพยนตร์เมื่อ ค.ศ. 2005 เรื่อง วัยร้าย วัยร้อน และ หุบเขาเร้นรัก ภาพยนตร์แนวตลก-ดราม่าเรื่อง นางมารสวมปราด้า (2006) ซึ่งเธอรับบทเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสารแฟชั่น เป็นความสำเร็จเชิงพาณิชย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเธอ ณ จุดนั้น เธอยังรับบทเป็นผู้ติดยาเสพติดที่กำลังฟื้นตัวจากอาการป่วยทางจิตในภาพยนตร์เรื่อง วันวิวาห์สมานดวงใจ ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม

แฮททาเวย์ยังคงแสดงในภาพยนตร์รักที่ประสบความสำเร็จเชิงพาณิชย์อย่าง สงครามงานแต่ง...แข่งกันเป็นเจ้าสาว (2009), วาเลนไทน์เดย์ หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก (2010) และ ยาวิเศษที่ไม่อาจรักษารัก (2010) และภาพยนตร์แฟนตาซีเรื่อง อลิซในแดนมหัศจรรย์ (2010) ใน ค.ศ. 2012 เธอแสดงเป็นเซลีนา ไคล์ / แคตวูแมน ในภาพยนตร์ที่ทำเงินสูงสุดของเธอ แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายในภาพยนตร์ไตรภาค แบทแมน ในปีเดียวกัน เธอยังแสดงเป็นฟองตีน โสเภณีที่เสียชีวิตด้วยวัณโรค ในภาพยนตร์เพลงแนวรัก-ดราม่าเรื่อง เล มิเซราบล์ ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม จากนั้นเธอแสดงเป็นนักวิทยาศาสตร์ในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์เรื่อง อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก (2014), เจ้าของเว็บไซต์แฟชั่นออนไลน์ในภาพยนตร์ตลกเรื่อง ดิ อินเทิร์น โก๋เก๋ากับบอสเก๋ไก๋ (2015), นักแสดงหญิงผู้หยิ่งผยองในภาพยนตร์โจรกรรมเรื่อง โอเชียน 8 (2018), นักต้มตุ๋นในภาพยนตร์ตลกเรื่อง โกงตัวแม่ (2019) และรีเบกาห์ นอยมันน์ในซีรีส์ขนาดสั้นเรื่อง วีแครช (2022)

นอกเหนือจากบทบาทในภาพยนตร์ แฮททาเวย์ยังได้รับรางวัลไพรม์ไทม์เอมมีสำหรับบทพากย์เสียงในการ์ตูนซิตคอมเรื่อง เดอะซิมป์สันส์, ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์, ปรากฏอยู่บนละครเวที และเป็นเจ้าภาพจัดงานต่าง ๆ เธอร่วมสนับสนุนองค์กรการกุศลหลายครั้ง เธอเป็นสมาชิกของคณะกรรมการโลลีป็อปเธียเตอร์เน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นองค์กรที่นำภาพยนตร์มาสู่เด็กในโรงพยาบาล และสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในฐานะทูตสันถวไมตรีขององค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ

ชีวิตช่วงแรกและภูมิหลัง

[แก้]

แอนน์ แจ็กเกอลีน "แอนนี"[1] แฮททาเวย์ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 ในบรุกลิน เขตการปกครองของนครนิวยอร์ก พ่อของเธอชื่อ เจอรัลด์ เป็นทนายความแรงงาน แม่ของเธอ เคต (สกุลเดิม แม็กคอลลีย์) เป็นอดีตนักแสดง[2][3] ตาของแฮททาเวย์ โจ แม็กคอลลีย์ เป็นนักจัดรายการวิทยุดับเบิลยูไอพี (เอเอ็ม) ในฟิลาเดลเฟีย[4] แม่ของเธอมีเชื้อสายไอริชและพ่อของเธอมีเชื้อสายไอริช ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน โดยชื่อ "แฮททาเวย์" ตั้งตามชื่อภรรยาของเชกสเปียร์[5] เธอมีพี่ชายชื่อ ไมเคิล และน้องชายชื่อ ทอมัส[6] เมื่อแฮททาเวย์อายุหกขวบ ครอบครัวย้ายไปอยู่ที่มิลล์เบิร์น รัฐนิวเจอร์ซีย์ ซึ่งเธอก็เติบโตอยู่ที่นั่น[7]

เมื่ออายุแปดปี[3] แฮททาเวย์ได้ดูแม่ของเธอขึ้นแสดงในทัวร์ระดับชาติครั้งแรกของ เลมีเซราบล์ ในบทฟองตีน เธอรู้สึกตรึงตาตรึงใจกับละครเวทีอย่างมาก แต่พ่อแม่ของเธอไม่อนุญาตให้ประกอบอาชีพเป็นนักแสดง จากนั้นเคตก็เลิกแสดงเพื่อกลับไปเลี้ยงดูแฮททาเวย์และพี่น้องของเธอดังเดิม[8]

ผลงานการแสดง

[แก้]
สัญลักษณ์
หมายถึง ผลงานที่ยังไม่ออกฉาย

ภาพยนตร์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
2001 บันทึกรักเจ้าหญิงมือใหม่ มีอา เธอร์โมโพลิส
2001 ใต้เงาแห่งฝัน จีน ซาบิน
2002 เจ้าแมวยอดนักสืบ ฮารุ พากย์เสียง
2002 นิโคลาส ทายาทหัวใจเพชร แมดเดอลีน เบรย์
2004 เจ้าหญิงมนต์รักมหัศจรรย์ เอลล่า แห่งเฟรลล์
2004 บันทึกรักเจ้าหญิงวุ่นลุ้นวิวาห์ มีอา เธอร์โมโพลิส
2005 วัยร้ายวัยร้อน อลิสัน แลง
2005 เรื่องจริงของหนูน้อยหมวกแดง เร้ด พัคเก็ต พากย์เสียง
2005 หุบเขาเร้นรัก ลูรีน นิวซัม ทวิสต์
2006 นางมารสวมปราด้า แอนเดรีย แซคส์
2007 รักที่ปรารถนา เจน ออสติน
2008 เก็ท สมาร์ท พยัคย์ฉลาด เก๊กไม่เลิก สายลับหมายเลข 99
2008 วันวิวาห์สมานดวงใจ คิม
2008 แพสเซนเจอร์ส สัมผัสเฉียดนรก แคลร์ ซัมเมอส์
2009 สงครามงานแต่ง...แข่งกันเป็นเจ้าสาว เอ็มม่า อัลลัน
2010 อลิซในแดนมหัศจรรย์ ราชินีขาว
2010 หวานฉ่ำ วันรักก้องโลก ลิซ เคอร์แร
2010 ยาวิเศษที่ไม่อาจรักษารัก แม็กกี้ เมอร์
2011 ริโอ เดอะมูฟวี่ เจ้านกฟ้าจอมมึน จูล พากย์เสียง
2011 วันเดียว วันนั้น วันของเรา เอ็มมา มอร์ลีย์
2012 แบทแมน อัศวินรัตติกาลผงาด เซลิน่า ไคล์
2012 เล มิเซราบล์ ฟ็องทีน
2013 รักติดเรท เอมิลี่ ลอม
2014 เพลงหนึ่ง คิดถึงเธอ แฟรนนี เป็นผู้ผลิต
2014 ริโอ เจ้านกฟ้าจอมมึน 2 จูล พากย์เสียง
2014 Don Peyote ตัวแทนของทรูธ รับเชิญ
2014 อินเตอร์สเตลลาร์ ทะยานดาวกู้โลก อมิเลีย แบรนด์
2015 ดิ อินเทิร์น โก๋เก๋ากับบอสเก๋ไก๋ จูลส์
2016 อลิซ ผจญภัยมหัศจรรย์เมืองกระจก ราชินีขาว
2017 คอลอสซาน ทั้งจักรวาลเป็นของเธอ กลอเรีย
2018 โอเชียน 8 แดพนี คลูเกอร์
2019 Serenity คาเรน ซาเรียกัส
โกงตัวแม่ โจเซฟีน เชสเตอร์ฟีลด์
พลิกน้ำเน่าคดีฉาวโลก ซาราห์ บีลอตต์
2020 คำสั่งตาย เอเลนา แม็กแมน
แม่มด แม่มดผู้สูงส่ง
2021 ล็อกดาวน์ ลินดา
2022 Armageddon Time เอสเธอร์ กราฟฟ์
2023 Eileen รีเบกกา เซนต์จอห์น
She Came to Me Patricia Jessup-Lauddem Also producer
2024 Mothers' Instinct เซลีน Also producer
The Idea of You Solène Marchand Also producer
2025 Flowervale Street TBA Filming
TBA Mother Mary TBA Post-production

ละครเวที

[แก้]
ปี ชื่อ บทบาท สถานที่
2002 Carnival! ลิลี New York City Center
2003 The Woman in White ลอรา แฟร์ลี Sydmonton Workshop
2005 Children and Art ผู้แสดง New Amsterdam Theatre
2009 ราตรีที่สิบสอง วิโอลา Delacorte Theater
2015 Grounded นักบินที่ไม่ระบุชื่อ The Public Theater
2017 The Children's Monologues ผู้หญิงกับคนรักที่นอกใจ Carnegie Hall

โทรทัศน์

[แก้]
ปี ชื่อ บทบาท รายละเอียดเพิ่มเติม
1999–2000 เก็ตเรียล เมแกน กรีน 22 ตอน
2007 Elmo's Christmas Countdown ตนเอง รายการพิเศษทางโทรทัศน์
2008 แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ พิธีกร ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์/เดอะคิลเลอส์"
2009 เดอะซิมป์สันส์ เจนนี่ (เสียงพากย์) ตอน: "The Good, the Sad and the Drugly"
2010 เดอะซิมป์สันส์ เจ้าหญิงเพเนโลพี (เสียงพากย์) ตอน: "Once Upon a Time in Springfield"
แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ พิธีกร ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์/ฟลอเรนซ์แอนด์เดอะแมชชีน"
แฟมีลีกาย คุณแม่แม็กกี (เสียงพากย์) ตอน: "Go, Stewie, Go!"
แฟมีลีกาย ตนเอง (เสียงพากย์) ตอน: "April in Quahog"
2011 งานประกาศผลรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 83 พิธีกร รายการพิเศษทางโทรทัศน์; พิธีกรร่วมกับเจมส์ แฟรนโก
แฟมีลีกาย ผู้หญิงผมบลอนด์สุดฮอต (เสียงพากย์) ตอน: "It's a Trap!"
2012 แซเทอร์เดย์ไนต์ไลฟ์ พิธีกร ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์/รีแอนนา"
เดอะซิมป์สันส์ เจนนี่ (เสียงพากย์) ตอน: "Moonshine River"
2015 HitRecord on TV วิวิกา ไวรัส ตอน: "Re: The Number Two"
Lip Sync Battle ต��เอง ตอน: "แอนน์ แฮททาเวย์ vs. เอมิลี บลันต์"
2016 Documentary Now! ตนเอง ตอน: "Mr. Runner Up: My Life as an Oscar Bridesmaid, Part 2"
2019 Modern Love เลซี 2 ตนเอง
2020 Sesame Street: Elmo's Playdate ตนเอง รายการพิเศษทางโทรทัศน์
2021 RuPaul's Drag Race ตนเอง ตอน: "Social Media: The Unverified Rusical"
โซโลส์ ลีอาห์ ตอน: "LEAH"
2022 วีแครช รีเบกาห์ นอยมันน์ ซีรีส์ขนาดสั้น; 8 ตอน

ผลงานเพลง

[แก้]

เพลงติดชาร์ต

สำหรับเพลงของเธอในเจ้าหญิงมนต์รักมหัศจรรย์, ดูที่: เจ้าหญิงมนต์รักมหัศจรรย์ (ซาวด์แทร็ก)

ชื่อ ปี ตำแหน่งสูงสุดบนชาร์ต อัลบัม
แคนาดา
[9]
สเปน
[10]
ไอร์แลนด์
[11]
อังกฤษ
[12]
สหรัฐ
[13]
"I Dreamed a Dream" 2012 77 21 26 22 69 Les Misérables: Highlights from
the Motion Picture Soundtrack

แขกรับเชิญ

เพลง ปี ศิลปิน อัลบัม
"Don't Go Breaking My Heart" 2004 Jesse McCartney and Anne Hathaway Ella Enchanted (soundtrack)
"You Make Me Feel Like Dancing (Remix)" Anne Hathaway
"Somebody to Love" Anne Hathaway
"Great Big World" 2005 Anne Hathaway Hoodwinked (Original Motion Picture Soundtrack)
"Take, O Take Those Lips Away" 2009 Anne Hathaway and Illyrian Marching Band Twelfth Night
"Full Phathom Five" Anne Hathaway, Hem, and Audra McDonald
"Come Away Death" Anne Hathaway, David Pittu, Raúl Esparza, and Illyrian Marching Band
"Real in Rio" 2011 Anne Hathaway, Jesse Eisenberg, Jamie Foxx, George Lopez, will.i.am, and The Rio Singers with Hollywood Rio
"Hot Wings (I Wanna Party)" Anne Hathaway, will.i.am, and Jamie Foxx
"At the End of the Day"[14] 2012 Hugh Jackman, Anne Hathaway, Foreman, Factory Girls, and Cast Les Misérables: Highlights from
the Motion Picture Soundtrack
"I Dreamed a Dream"[14] Anne Hathaway
"Epilogue"[14] Amanda Seyfried, Anne Hathaway, Colm Wilkinson, Eddie Redmayne, and Hugh Jackman
"What is Love" 2014 Janelle Monáe, Jamie Foxx, Anne Hathaway, and Jesse Eisenberg Rio 2
"Don't Go Away" Anne Hathaway and Flavia Maia
"At the Ballet" (from A Chorus Line) 2016 Barbra Streisand, Daisy Ridley, and Anne Hathaway Encore: Movie Partners Sing Broadway

รางวัล

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bowenbank, Starr (January 14, 2021). "Anne Hathaway Says We've Been Calling Her The Wrong Name This Whole Time". Elle. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 14, 2021. สืบค้นเมื่อ January 14, 2021.
  2. "Anne Hathaway". Biography.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2017. สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
  3. 3.0 3.1 "Anne Hathaway's Mom: Actress Thanks Kate Hathaway". HuffPost. January 13, 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 22, 2017. สืบค้นเมื่อ January 4, 2018.
  4. "The Broadcast Pioneers of Philadelphia". Broadcast Pioneers of Philadelphia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2016. สืบค้นเมื่อ January 15, 2018.
  5. Elsworth, Catherine (July 19, 2008). "Anne Hathaway: in pique condition". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2018. สืบค้นเมื่อ January 1, 2018.
  6. Krupnick, Ellie (November 26, 2012). "Anne Hathaway: 'I Looked Like My Gay Brother' With My Short Haircut (Photos)". HuffPost. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 2, 2017. สืบค้นเมื่อ January 6, 2018.
  7. "Anne Hathaway learns from a legend in 'Prada'". Today. June 21, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 29, 2017. สืบค้นเมื่อ June 29, 2006.
  8. Kaufman, Amy (December 27, 2012). "Anne Hathaway seeks royal status". Los Angeles Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 18, 2013. สืบค้นเมื่อ January 1, 2018.
  9. "Week of 12, January 2013: Biggest Jumps". Billboard. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
  10. "Anne Hathaway - "I Dreamed a Dream"". PROMUSICAE/spanishcharts.com. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
  11. "GFK Chart Track". Irish Recorded Music Association. January 18, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 23, 2013. สืบค้นเมื่อ January 19, 2013.
  12. "2013 Top 40 Official UK Singles Archive". Official Charts Company. January 26, 2013. สืบค้นเมื่อ January 23, 2013.
  13. "Weekly Chart Notes: Anne Hathaway, Anna Kendrick get in the act of charting". Billboard. January 4, 2013. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.
  14. 14.0 14.1 14.2 "Les Misérables: Highlights from the Motion Picture Soundtrack". Amazon. สืบค้นเมื่อ January 13, 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]