แอนตี (อัลบั้ม)
แอนตี | ||||
---|---|---|---|---|
สตูดิโออัลบั้มโดย | ||||
วางตลาด | 28 มกราคม ค.ศ. 2016 | |||
บันทึกเสียง | ป. 2014 – มกราคม ค.ศ. 2016 | |||
สตูดิโอ |
| |||
แนวเพลง | ||||
ความยาว | 43:36 | |||
ค่ายเพลง |
| |||
โปรดิวเซอร์ |
| |||
ลำดับอัลบั้มของรีแอนนา | ||||
| ||||
ซิงเกิลจากแอนตี | ||||
|
แอนตี (อังกฤษ: Anti) เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 8 ของรีแอนนา วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 2016 โดยร็อกเนชัน และเวสต์เบอรีโรด รีแอนนาเริ่มบันทึกเสียงในปี ค.ศ. 2014 หลังจากสิ้นสุดสัญญากับเดฟแจมเรเคิดดิงส์ ซึ่งออกอัลบั้มทั้งหมดของเธอตั้งแต่เปิดตัวในปี ค.ศ. 2005 ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง รีแอนนาได้บันทึกอัลบั้มแอนตีร่วมกับโปรดิวเซอร์ ได้แก่ เจฟฟ์ แบสเกอร์, โบย-1ดา, ดีเจมัสตาร์ด, ฮิต-บอย, ไบรอัน เคนเนดี, ทิมบาแลนด์ และโนไอดี ที่สตูดิโอในแคนาดา สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ซิสซาและเดรกได้มีส่วนร่วมในฐานะนักร้องรับเชิญ
แอนตีเกิดขึ้นในช่วงที่รีแอนนากำลังเผชิญกับการต่อสู้ความคิดสร้างสรรค์และความวุ่นวายทางอารมณ์ โดยนำเสนอการสร้างบรรยากาศที่โดดเด่นด้วยจังหวะโลไฟ เสียงร้องที่ดูเพี้ยน และการเรียบเรียงจังหวะดาวน์เทมโป ครึ่งแรกประกอบด้วยเบส - แทร็กหนัก และช่วงที่สองโดดเด่นด้วยดนตรีแบบมินิมอลลิสต์ เมื่อเปรียบเทียบกับเพลงแดนซ์ที่ดูเหมาะกับการเปิดในคลื่นวิทยุของในอัลบั้มก่อน ๆ ของเธอแล้ว แอนตีถือเป็นอัลบั้มแนวเพลงทางเลือกแนวออลเทอร์เนทิฟอาร์แอนด์บี ป็อป และแดนซ์ฮอลล์ ซึ่งเต็มไปด้วยมิวท์และจิตวิญญาณมากกว่า เพลงของเธอพาสำรวจสไตล์ที่ผสมผสานตั้งแต่ฮิปฮอป โซล ไซคีเดลิก ดูวอป คันทรี ซินท์ร็อก และแทร็ป เนื้อเพลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับอารมณ์ที่เกิดจากความรักและความสัมพันธ์ ตั้งแต่ความรักและความปรารถนาไปจนถึงการหักหลังและการปลดปล่อย โดยมีการอ้างอิงถึงเรื่องเพศ ยาเสพติด และแอลกอฮอล์
แคมเปญส่งเสริมการค้าของอัลบั้ม จากฤดูร้อนของปี ค.ศ. 2014 ประกอบด้วยความล่าช้าในการเผยแพร่ที่ยืดเยื้อ และมีข้อตกลงมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์กับซัมซุง รีแอนนาประกาศภาพหน้าปกและชื่ออัลบั้ม ณ มามาแกลเลอรี เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 2015 แอนตีเวิลด์ทัวร์เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2016 และสี่เพลงได้รับการปล่อยตัวเป็นซิงเกิลรวมถึงเพลง "เวิร์ก" ขึ้นอันดับหนึ่งของบิดบอร์ดฮอต 100 ในสหรัฐอเมริกาแอนตีเป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งที่สองของรีแอนนา และเป็นอัลบั้มแรกของผู้หญิงผิวสีที่ใช้เวลา 300 สัปดาห์ในบิดบอร์ด 200 อัลบั้มนี้ติดอันดับชาร์ตในแคนาดาและนอร์เวย์ และสูงสุดในห้าอันดับแรกของชาร์ตในประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่น เดนมาร์ก เยอรมนี ไอร์แลนด์ สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
ในสื่อพิมพ์ร่วมสมัย นักวิจารณ์ชมเชยความซื่อตรงทางอารมณ์ของอัลบั้ม แต่ถูกแยกในด้านโปรดิวชัน การยกย่องเน้นไปที่เสรีภาพทางดนตรีที่เพิ่งค้นพบของรีแอนนา และวิจารณ์รายการเพลงที่ดูเหม่อลอย บางคนมีปัญหาเรื่องการไม่มีเพลงที่เหมาะกับคลื่นวิทยุ แต่คนอื่น ๆ ตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีบ่งบอกถึงวุฒิภาวะทางศิลปะของรีแอนนา ในฐานะศิลปินอัลบั้มที่เกินกว่าสถานะคำว่าป็อปสตาร์ของเธอ ในงานประกาศผลรางวัลแกรมมี ปี ค.ศ. 2017 อัลบั้มและซิงเกิลได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 6 ครั้ง รวมถึงหนึ่งรางวัลสำหรับอัลบั้มเออเบินร่วมสมัยยอดเยี่ยม แอนตีปรากฏในรายการส่งท้ายทศวรรษปี ค.ศ. 2010 โดยสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น บิดบอร์ด, เอ็นเอ็มอี และพิตช์โฟร์ก อยู่ในอันดับที่ 230 บนโรลลิงสโตนฉบับปี ค.ศ. 2020 จาก 500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
ผลคะแนน | |
---|---|
ที่มา | ค่าประเมิน |
เมทาคริติก | 73/100[2] |
เอนีดีเซ็นต์มิวสิก? | 6.7/10[1] |
คะแนนคำวิจารณ์ | |
ที่มา | ค่าประเมิน |
AllMusic | [3] |
The Daily Telegraph | [4] |
Entertainment Weekly | A−[5][6] |
The Guardian | [7] |
The Independent | [8] |
NME | [9] |
Pitchfork | 7.7/10[10] |
Rolling Stone | [11] |
Spin | 7/10[12] |
Vice | A[13] |
รางวัล
[แก้]สิ่งพิมพ์ | รายการ | อันดับ | อ้างอิง |
---|---|---|---|
ดิเอวีคลับ | 50 อัลบั้มที่ดีที่สุดของคริสต์ทศวรรษ 2010 | 48
|
|
บิดบอร์ด | 100 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 2010 | 7
|
|
คอนเซเควินซ์ออฟซาวด์ | 100 อัลบั้มยอดนิยมแห่งคริสต์ทศวรรษ 2010 | 81
|
|
เดอะการ์เดียน | 100 อัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งศตวรรษที่ 21 (2000–2019) | 99
|
|
ดิอินดีเพ็นเดนต์ | 50 อัลบั้มยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ | 20
|
|
เอ็นเอ็มอี | 100 อัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งคริสต์ทศวรรษ 2010 | 7
|
|
แพสต์ | 100 อัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งคริสต์ทศวรรษ 2010 | 35
|
|
พิตช์ฟอร์ก | 200 อัลบั้มที่ดีที่สุดของคริสต์ทศวรรษ 2010 | 12
|
|
โรลลิงสโตน | 100 อัลบั้มที่ดีที่สุดแห่งคริสต์ทศวรรษ 2010 | 25
|
|
สพิน | 101 อัลบั้มที่ดีที่สุดของคริสต์ทศวรรษ 2010 | 1
|
รายการเพลง
[แก้]เครดิตดัดแปลงจากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของรีแอนนา[24]
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | โปรดิวเซอร์ | ยาว |
---|---|---|---|---|
1. | "Consideration" (featuring SZA) |
|
| 2:41 |
2. | "James Joint" |
|
| 1:12 |
3. | "Kiss It Better" |
| 4:13 | |
4. | "Work" (featuring Drake) |
| 3:39 | |
5. | "Desperado" |
|
| 3:06 |
6. | "Woo" |
|
| 3:55 |
7. | "Needed Me" |
| 3:11 | |
8. | "Yeah, I Said It" |
| 2:13 | |
9. | "Same Ol' Mistakes" |
|
| 6:37 |
10. | "Never Ending" |
|
| 3:22 |
11. | "Love on the Brain" |
|
| 3:44 |
12. | "Higher" |
|
| 2:00 |
13. | "Close to You" |
|
| 3:43 |
ความยาวทั้งหมด: | 43:36 |
ลำดับ | ชื่อเพลง | ประพันธ์ | โปรดิวเซอร์ | ยาว |
---|---|---|---|---|
14. | "Goodnight Gotham" |
|
| 1:28 |
15. | "Pose" |
| 2:24 | |
16. | "Sex with Me" |
| 3:26 | |
ความยาวทั้งหมด: | 50:54 |
หมายเหตุ
- ^a หมายถึงผู้ผลิตร่วม
- ^b หมายถึงผู้ผลิตเพิ่มเติม
- ^c หมายถึงผู้ผลิตเสียง
- "Work" มีการร้องเพิ่มเติมโดยปาร์ตีเน็กซ์ดอร์
- "Desperado" มีเสียงร้องพื้นหลังเพิ่มเติมโดยเจมส์ ฟอนเติลรอย
- "Woo" มีการร้องเพิ่มเติมโดยแทรวิส สก็อตต์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Anti by Rihanna Reviews". AnyDecentMusic?. สืบค้นเมื่อ 31 March 2018.
- ↑ "Reviews for Anti by Rihanna". Metacritic. สืบค้นเมื่อ 28 September 2021.
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "Anti – Rihanna". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 16 November 2019.
- ↑ McCormick, Neil (28 January 2016). "Rihanna, Anti, Album Review: 'Rihanna Without the Hits'". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 8 October 2021.
- ↑ Brown 2016.
- ↑ Brown, Eric Renner (29 January 2016). "Rihanna's Anti". Entertainment Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2016. สืบค้นเมื่อ 29 January 2016.
- ↑ Petridis, Alexis (28 January 2016). "Rihanna: Anti Review – Brave, Bold... and Confused". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 28 January 2016.
- ↑ Jupp, Emily (29 January 2016). "Rihanna, Anti, Album Review: 'Bouncy Dancehall Meets Blissed-Out Stoner Vibes'". The Independent. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2016. สืบค้นเมื่อ 29 January 2016.
- ↑ Mackay, Emily (1 February 2016). "Rihanna – Anti Review". NME. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2016. สืบค้นเมื่อ 15 September 2016.
- ↑ Petrusich, Amanda (1 February 2016). "Rihanna: Anti". Pitchfork. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
- ↑ Spanos, Brittany (1 February 2016). "Anti by Rihanna". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-18. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
- ↑ Tolentino, Jia (1 February 2016). "Review: Rihanna Doesn't Know What She Wants But She Knows How to Get It on Anti". Spin. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
- ↑ Christgau, Robert (25 March 2016). "Stoned Soul Quick Picks: Expert Witness with Robert Christgau". Vice. สืบค้นเมื่อ 30 March 2016.
- ↑ "The 50 Best of the 2010s". The A.V. Club. 20 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-11-20. สืบค้นเมื่อ 22 November 2019.
- ↑ "The 100 Greatest Albums of the 2010s: Staff Picks". Billboard. 19 November 2019. สืบค้นเมื่อ 19 November 2019.
- ↑ CoS Staff (4 November 2019). "Top 100 Albums of the 2010s". Consequence of Sound. สืบค้นเมื่อ 25 December 2019.
- ↑ "The 100 best albums of the 21st century". The Guardian. 13 September 2019. สืบค้นเมื่อ 18 September 2019.
- ↑ Various (19 November 2019). "The 50 best albums of the decade, from Frank Ocean's 'Blond' to Adele's '21'". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2022. สืบค้นเมื่อ 25 December 2019.
- ↑ "The Best Albums of The Decade: The 2010s". NME. 29 November 2019. สืบค้นเมื่อ 25 December 2019.
- ↑ Paste Staff (9 October 2019). "The 100 Best Albums of the 2010s". Paste. สืบค้นเมื่อ 25 December 2019.
- ↑ "The 200 Best Albums of the 2010s". Pitchfork. 8 October 2019. สืบค้นเมื่อ 8 October 2019.
- ↑ Several (3 December 2019). "The 100 Best Albums of the 2010s, Ranked by Rolling Stone". Rolling Stone. สืบค้นเมื่อ 25 December 2019.
- ↑ Several (30 June 2020). "The 101 Best Albums of the 2010s". SPIN. สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.
- ↑ "Anti (Deluxe Edition)". Rihannanow.com. สืบค้นเมื่อ 29 January 2016.
- ↑ Darville, Jordan (28 January 2016). "Rihanna's ANTI Officially Released On Tidal". The Fader. สืบค้นเมื่อ 28 January 2016.