ข้ามไปเนื้อหา

แยกพลับพลาไชย

พิกัด: 13°44′47″N 100°30′44″E / 13.746472°N 100.512135°E / 13.746472; 100.512135
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ห้าแยก พลับพลาไชย
แผนที่
ชื่ออักษรไทยพลับพลาไชย
ชื่ออักษรโรมันPhlapphla Chai
รหัสทางแยกN120 (ESRI), 029 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงวัดเทพศิรินทร์, แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนพลับพลาไชย
» แยกอนามัย
ถนนหลวง
» แยกนพวงศ์
ถนนไมตรีจิตต์
» ปากถนนมังกร
ถนนพลับพลาไชย
» ปากถนนมังกร
ถนนหลวง
» แยกโรงพยาบาลกลาง

แยกพลับพลาไชย เป็นทางห้าแยกจุดตัดถนนพลับพลาไชย กับถนนหลวงและถนนไมตรีจิตต์ ในพื้นที่แขวงวัดเทพศิรินทร์และแขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นย่านชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพฯ ที่ต่อเนื่องกับย่านถนนเยาวราชและถนนเจริญกรุง บริเวณทางแยกมีร้านข้าวหน้าไก่ ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ และภัตตาคารอาหารจีนที่ขึ้นชื่อหลายแห่ง

ประวัติศาสตร์การจลาจล

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2517 ได้เกิดเหตุจลาจลที่ห้าแยกพลับพลาไชย บานปลายถึง 4 วัน มีผู้เสียชีวิต 26 ศพและบาดเจ็บอีกจำนวนมาก ซึ่งเหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชยได้ทำการจับกุมคนขับรถแท็กซี่ชื่อ นายพูน ล่ำลือประเสริฐ ในข้อหาจอดรถในที่ห้ามจอด แต่เจ้าตัวไม่ยอมให้จับพร้อมกับตะโกนว่า ตำรวจทำร้าย เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวไปไว้ที่สถานีตำรวจ จากเหตุนี้ทำให้ผู้คนที่ไม่ทราบเรื่องได้รวมตัวกันล้อมสถานีตำรวจไว้และก่อการจลาจลขึ้น โดยมีการยิงปืนใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

เหตุการณ์ต่อเนื่องถึงวันต่อมา คือ วันที่ 4 กรกฎาคม ก็ไม่สงบและรุนแรงขึ้น จนในเวลา 23.00 น. รัฐบาลโดย นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายกรัฐมนตรีและพลตำรวจตรี อรรถสิทธิ์ สิทธิสุนทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน[1]และให้ทหารทำการปราบปราม เหตุการณ์มาสงบในวันที่ 7 กรกฎาคม มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 27 ศพ บาดเจ็บ 120 คน[2]และรัฐบาลยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 9 กรกฎาคม เวลา 6.00 น.[3]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°44′47″N 100°30′44″E / 13.746472°N 100.512135°E / 13.746472; 100.512135