แฟรงก์ สเตลลา
แฟรงค์ สเตลลา | |
---|---|
เกิด | แฟรงค์ ฟิลิป สเตลลา 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1836 เมืองมาลเดน, รัฐแมสซาชูเซตส์, สหรัฐอเมริกา |
อาชีพ | จิตรกร, ���่างพิมพ์, ประติมากร, สถาปนิก |
สัญชาติ | อเมริกัน |
แนวร่วมในทางวรรณคดี | เรขาคณิตนามธรรม(Geometric abstraction), ภาพวาดแนวสีขาวดำ(Monochrome painting) |
คู่สมรส | บาร์บารา โรส |
แฟรงก์ สเตลลา (อังกฤษ: Frank Stella) เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ปีค.ศ. 1936 เขาเป็นทั้งจิตรกรและช่างพิมพ์ชาวอเมริกัน อยู่ในกระแสศิลปะแบบมินิมอล และกระแสภาพหลังนามธรรม (Post-painterly abstraction)
ประวัติ
[แก้]แฟรงก์ สเตลลา เกิดที่เมืองมาลเดน ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา พ่อแม่สืบเชื้อสายอิตาเลียน[1] หลังจากนั้นเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สถาบันการศึกษาฟิลลิปส์ ในเมืองแอนโดเวอร์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ได้เข้าศึกษาสาขาประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน จบการศึกษาในปี 1958 และมุ่งเข้าสู่รัฐนิวยอร์กในปีเดียวกันนั้นเอง[2]จึงพบกับดาร์บี้ แบนนาร์ด และ ไมเคิล ฟายด์ เขาศึกษางานและพัฒนาตนเองจากอิทธิพลกระแสลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรม (abstract expressionism) ของแจ็คสัน พอลล็อก และฟรานซ์ ไคลน์ เขาเป็นหนึ่งในบุคคลที่น่าจับตามองที่สุดของศิลปินชาวอเมริกันจนถึงทุกวันนี้ และถูกประกาศให้เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมแนวนามธรรม ที่ไม่ใช่แค่ภาพวาดที่เกี่ยวกับภาพประกอบ หรือเกี่ยวกับจิตวิทยา หรือเชิงอุปมาที่อ้างอิงอยู่ในภาพวาดในศตวรรษที่20นี้[3]
หลังจากย้ายมาอยู่ที่รัฐนิวยอร์ก เขาเริ่มมีปฏิกิริยาต่อต้านกระแสงานของศิลปินส่วนใหญ่ที่เป็นลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แบบนามธรรม (abstract expressionism) และแทนที่ด้วยการเริ่มค้นหาตัวเอง แฟรงก์เชิดชูงานของบาร์เนต นิวแมน และแจสเปอร์ จอห์น เขาเริ่มผลิตผลงานและให้ความสำคัญการภาพวาดในฐานะที่เป็นวัตถุมากกว่าการมองภาพวาดเพื่อสื่อแสดงบางสิ่งบางอย่างทางกายภาพ หรือการแสดงอารมณ์ความรู้สึกโดยทั่วไปของศิลปิน
สเตลลาแต่งงานกับบาร์บารา โรส ในปีค.ศ. 1961 ซึ่งเธอเป็นที่รู้จักในวงการศิลปวิจารณ์ ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เขาพูดถึงรูปภาพว่า "การระบายสีบนพื้นผิวที่แบนราบไม่มีความหมายอีกต่อไป" สิ่งนี้จะต้องออกไปจากรูปแบบของเทคนิคและการวาดภาพแบบร่างเอาไว้ก่อน งานส่วนใหญ่ของเขาจึงมาจากการใช้ฝีแปรง และบ่อยครั้งก็ใช้ของใช้สามัญภายในบ้านในการวาดรูป
ผลงานชิ้นสำคัญ
[แก้]สุนทรียภาพแบบใหม่ที่พบอยู่ในงานที่ชื่อชุดว่า “ภาพวาดสีดำ” (Black Paintings) ซึ่งใช้พื้นเป็นสีดำและแบ่งช่องด้วยเส้นยาวเล็กๆ จำนวนมากลงบนผืนผ้าใบ อย่างงานที่ชื่อว่า "Die Fahne Hoch" (อังกฤษ: The Raised Banner) (1959) สเตลลามุ่งไปที่สัดส่วนของการสร้างงาน ที่อ้างอิงไปถึงงานระบายสีธงชาติของแจสเปอร์ จอห์น งานศิลปะในแนวใหม่ของเขานี้เป็นที่จดจำของสาธารณชนก่อนที่เขาจะมีอายุ 25 ปี
ซึ่งในปี ค.ศ.1959 งานต่างๆ ของเขาถูกรวบรวมอยู่ในนิทรรศการ “สามหนุ่มสาวชาวอเมริกัน” (Three Young Americans) อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโมเรียลอัลเลน (The Allen Memorial Art Museum)ในวิทยาลัยโอเบอร์ริน และในปีค.ศ.1960 ในงานนิทร��ศการ “ชาวอเมริกันวัยสิบหก” (Sixteen Americans) ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (The Museum Modern Art) ในรัฐนิวยอร์ก และงานแสดงเดี่ยวของเขาที่แกลลอรี่ลีโอ แคสเตลลิ อีกด้วย[4]
ช่วงปลายปีค.ศ. 1960 และต้นปีค.ศ. 1970
[แก้]กลางปี ค.ศ.1960 สเตลลาได้ร่วมงานกับช่างพิมพ์มืออาชีพที่ชื่อ เคนเน็ธ ไทเลอร์ ที่พิพิธภัณฑ์หอศิลป์แห่งชาติเจมินี (Gemini G.E.L.) ในรัฐนิวยอร์ก เขาทำงานแนวไม่หรูหรา ขนาดของผ้าใบของเขาจะมีความแตกต่างกับศิลปินที่ทำงานภาพพิมพ์คนอื่นๆ อย่างไรก็ตามช่างพิมพ์ในสมัยนั้นมีความกล้าเสี่ยงกับภาพพิมพ์มาจากกลุ่มหัวก้าวหน้า หรือที่เรียกว่า ลัทธิอาว็อง-การ์ด (Avant-garde)[5] มาแล้ว สเตลลาเริ่มสร้างงานชุดใหม่ที่เรียกว่า "Quathlamba I " (1968) โดยใช้เทคนิคการพิมพ์ เช่น ภาพพิมพ์หิน ภาพพิมพ์สกรีน การกัดกรด และภาพพิมพ์หินระบบออฟเซต(เป็นเทคนิคที่เขาแนะนำ) ส่งผลกระทบอย่างเข้มข้นต่อศิลปะภาพพิมพ์ในเวลานั้น
ในปี ค.ศ.1970 พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ (The Museum of Modern Art) ในรัฐนิวยอร์ก จัดแสดงงานนิทรรศการที่ผ่านมาของเขา ทำให้เขาเป็นศิลปินที่อายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง ในระหว่างการทำงานตลอดทศวรรษที่ผ่านมา สเตลลาเริ่มคลี่คลายงานของเขามากขึ้น จนกล่าวได้ว่าเขาเป็น "Maximalist" และแนวงานที่ประชดประชันเยาะเย้ยงานจิตรกรรมที่ทำให้เขามีชื่อเสียงในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1960 รูปทรงของผืนผ้าใบถูกลดทอนลง อย่างงานที่ชื่อชุดว่า “รูปหลายเหลี่ยมที่ผิดปกติ” (Eccentric Polygon) ซึ่งองค์ประกอบของภาพภาพตัดแปะที่ถูกแปะลงบนไม้อัด เป็นต้น งานของเขากลายเป็นลักษณะสามมิติมากขึ้น เขาเริ่มทำงานชิ้นใหญ่และลอยตัว แม้จะเป็นแค่ภาพจิตรกรรมแต่ก็ทำได้ดีเทียบเท่ากับงานประติมากรรม
หลังจากเขาสร้างงานด้วยการใช้ไม้หรือวัสดุอื่นๆ ในงานชุดว่า “หมู่บ้านโปแลนด์” (Polish Village) (1973) เขาก็สร้างสรรค์ผลงานที่เหนือระดับขึ้นไปอีก ด้วยการใช้อะลูมิเนียมเป็นแม่แบบของการทำงานจิตรกรรม เช่นเดียวกัน ในช่วงการทำงานราวปี ค.ศ.1970-1980 ผลงานของเขามีความซับซ้อนละเอียดและมีชีวิตชีวา ซึ่งอันที่จริงแล้วงานก่อนหน้านี้ของเขาที่ถูกเรียกว่าเป็นงานในกระแสลัทธิจุลนิยม (Minimalism) กลายเป็นความพิสดารจากรูปทรงของส่วนโค้ง
ในปีค.ศ. 1973 เขาเริ่มสร้างสตูดิโอในบ้านของตัวเองที่รัฐนิวยอร์ก และปีค.ศ. 1976 เขาถูกรับมอบหมายโดยบริษัทบีเอ็มดับบลิว (BMW) ให้ลงสีรถยนต์รุ่น BMW 3.0 CSL ในโครงการ BMW Art Car
ช่วงกลางปีค.ศ. 1980 ถึงปัจจุบัน
[แก้]สเตลลาสร้างงานชิ้นใหญ่ตอบสนองลักษณะทั่วไปของนิยายเรื่องโมบิดิก (Moby-Dick) ของเฮอร์แมน เมลวิลล์ ในระหว่างเวลานั้น งานของเขาก็มีความเป็นหนึ่งเดียวกันของลักษณะภาพแบนกว้างขวางกับรูปร่างเส้นที่เหมือนรูปทรงเรขาคณิต มีการเพิ่มมิติของงานจิตรกรรมมากขึ้น ทั้งรูปทรงฝักข้าวโพด เสาเหลี่ยม เส้นโค้งแบบฝรั่งเศส เส้นคลื่น และองค์ประกอบตกแต่งสถาปัตยกรรม นำมาสร้างสรรค์ในผลงานประเภทงานตัดแปะ (collages) หรือ งานชิ้นต้นแบบ (maquettes) ที่นำมาทำให้ใหญ่ขึ้นและกลับมาทำใหม่อีกครั้งโดยมีผู้ช่วย วัสดุส่วนใหญ่เน้นพวกวัสดุอุตสาหกรรม และอุปกรณ์ดิจิทัล
ราวปีค.ศ. 1990 สเตลลาเริ่มทำงานประติมากรรมลอยตัว ในพื้นที่สาธารณะ และพัฒนาเป็นโครงการสถาปัตยกรรม เช่นตัวอย่างในปีค.ศ. 1993 เขาออกแบบการตกแต่งทั้งหมดในโครงการโตรอนโตของโรงละครชื่อว่า “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” (Princess Of Wales Theatre) ซึ่งประกอบด้วย ฝาผนังขนาด 1,000 ตารางฟุต ข้อเสนอของเขาในปีค.ศ. 1993 ที่มีต่อพิพิธภัณฑ์คุนสท์ฮัลเลอ และสวนในเมืองเดรสเดน ที่ประเทศเยอรมัน ไม่บรรลุผลสำเร็จ และในปีค.ศ. 1997 เขาออกแบบและควบคุมดูแลติดตั้งผลงาน "Stella Project" ขนาด 5,000 ตารางฟุต กลางโรงหนังและลอบบี้ของโรงอุปรากรมัวร์ส ที่โรงเรียนสอนดนตรีรีเบ็กก้าและจอห์น จูเนียร์ มัวร์ส วิทยาเขตของมหาวิทยาลัยฮิวสตัน ในรัฐเท็กซัส[6]
งานของสเตลลาถูกรวบรวมไว้ในนิทรรศการศิลปะที่สำคัญๆ เช่นชุดงานที่ชื่อว่า “รูปร่างของผ้าใบ” (The Shaped Canvas) ในปีค.ศ. 1965 และ “ระบบจิตรกรรม” (Systemic Painting) (1966) ที่พิพิธภัณฑ์โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim Museum) และแสดงซ้ำในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ด้วยความมีชื่อเสียงของเขาทำให้สเตลลาถูกเชิญจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ให้มาบรรยายถึงความสำเร็จ หรือที่เรียกว่าการชุบตัวใหม่ของกระแสงานแนวนามธรรม และจิตรกรรมแบบพิลึกพิสดาร และตีพิมพ์เป็นหนังสือภายใต้หัวข้อ “พื้นที่การทำงาน” (Working Space) โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปีค.ศ. 1986[7]
แฟรงก์ สเตลลา ยังคงทำงานที่รัฐนิวยอร์กจนถึงปัจจุบัน และถูกเรียกว่าเป็นศิลปินหนุ่มไฟแรง ในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2008 เขาได้เป็นสมาชิกกลุ่มสมาคมศิลปินเพื่อสิทธิมนุษยชน (Artiste Rights Society)[8] ตีพิมพ์ในบทความหน้าตรงข้ามกับบทความของบรรณาธิการ ในหนังสือพิมพ์ศิลปะ (The Art Newspaper)
ในปี ค.ศ. 2009 แฟรงก์ สเตลลาได้รับเหรียญรางวัลแห่งชาติสาขาศิลปะ โดยประธานาธิบดีบารัค โอบามา[9]
ในปี ค.ศ. 2011 แฟรงก์ สเตลลา ได้รับรางวัลความสำเร็จในชีวิต (the Lifetime Achievement Award) ในสาขาประติมากรรมร่วมสมัย จากพิพิธภัณฑ์ศิลปะศูนย์ประติมากรรมนานาชาติวอล์ฟสบุร์ก (the International Sculpture CenterKunstmuseum Wolfsburg)
และภายในปี ค.ศ. 2012 ผลงานย้อนหลังของแฟรงก์ สเตลลา ถูกนำมาแสดงที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะวอล์ฟสบุร์ก (The Kunstmuseum Wolfsburg)[10]
งานของเขาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะของอเมริกัน นับตั้งแต่ค.ศ. 1970 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานี้ แฟรงก์ได้สร้างสรรค์ผลงานที่มีระบบสัญลักษณ์แตกต่างผลงานแบบศิลปะอเมริกัน ผลงานที่สเตลลานั้น ได้นำเสนอออกสู่สายตาสาธารณชน เช่นภาพที่มีชื่อว่า “ภาพวาดสีดำ” (Black Painting) ได้ปรากฏตัวครั้งแรก ผู้คนได้มองภาพนี้จากหลากหลายแห่งหน จะเห็นได้ว่า ภาพนี้ไม่มีรูปแบบอิทธิพลศิลปะเก่าเหลืออยู่เลย และแสดงให้เห็นถึงการปฏิเสธสิ่งที่มีมาก่อนหน้า[11] กระแสภาพนี้ของสเตลลาในปีต่อมา มีการแพร่หลายอย่างมาก โดยเกิดจากการกระจายผลงานคัดลอกภาพออกไป ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ว่าภาพหรืองานศิลปะไม่จำเป็นต้องมีหนึ่งเดียวชิ้นเดียวในโลก แต่ความคิดสร้างสรรค์ผลงานต่างหากที่เป็นส่วนสำคัญของศิลปะ
และในช่วงนั้นเอง ศิลปะนามธรรมที่พบเห็นบ่อยๆ นั้นมีความแคบทั้งรูปแบบและขอบเขตทางความคิดที่จำกัด แต่งานของสเตลลานั้นมีความหลากหลายทำให้เกิดความตื่นตาตื่นใจต่อสายตาที่พบเห็น การประสบการณ์ความสำเร็จของเขานั้น มาจากการที่เขากล้าจะเสี่ยงในวิธีการวาดภาพแบบใหม่ มีความกล้าหาญที่จะลงมือทำ และมีอดทนต่อความล้มเหลวที่ผ่านมา งานของเขามีความหลากหลาย มันเป็นอะไรที่มากกว่ารูปแบบหรือเทคนิควิธีการทำงาน เนื่องจากผลงานของเขาครอบคลุมถึงความรู้สึกเมื่อเห็นผลงานกระทบสายตาอย่างยิ่งใหญ่
บทสัมภาษณ์
[แก้]- Heti, Sheila (November 2008/December). "'I'm All in Favor of the Shifty Artist'". The Believer. 6 (9): 40–46.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)
- De Antonio, Emile (director), Painters Painting: The New York Art Scene: 1940-1970, 1973. Arthouse films เก็บถาวร 2013-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Frank Stella Biography, Art, and Analysis of Works". The Art Story. Retrieved 2012-05-25.
- ↑ (http://www.artnet.com/artists/frank-stella/)
- ↑ Birmingham Museum of Art (2010). Birmingham Museum of Art : guide to the collection. [Birmingham, Ala]: Birmingham Museum of Art. p. 236. ISBN 978-1-904832-77-5.
- ↑ (http://www.artnet.com/artists/frank-stella/)
- ↑ William S.Rubin, Frank Stella, (The Museum of Modern Art : New York ,1970 ) 7.
- ↑ "Home". Music.uh.edu. 2012-04-25. Retrieved 2012-05-25.
- ↑ Frank Stella, Working Space (Cambridge: Harvard University Press, 1986), ISBN 0-674-95961-2. Listing at Harvard University Press website.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-06. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-26. สืบค้นเมื่อ 2013-10-09.
- ↑ Rhodes, David (November 2012). "Frank Stella: The Retrospective, Works 1958-2012". The Brooklyn Rail.
- ↑ William S.Rubin, Frank Stella, (The Museum of Modern Art : New York ,1970 ),149.
อ้างอิงเพิ่มเติม
- Julia M. Busch: A decade of sculpture: the 1960s, Associated University Presses, Plainsboro, 1974; ISBN 0-87982-007-1
- Frank Stella and Siri Engberg: Frank Stella at Tyler Graphics, Walker Art Center, Minneapolis, 1997; ISBN 9780935640588
- Frank Stella and Franz-Joachim Verspohl: The Writings of Frank Stella. Die Schriften Frank Stellas, Verlag der Buchhandlung König, Cologne, 2001; ISBN 3-88375-487-0, ISBN 978-3-88375-487-1 (bilingual)
- Frank Stella and Franz-Joachim Verspohl: Heinrich von Kleist by Frank Stella, Verlag der Buchhandlung König, Cologne, 2001; ISBN 3-88375-488-9, ISBN 978-3-88375-488-8 (bilingual)
- Andrianna Campbell, Kate Nesin, Lucas Blalock, Terry Richardson: Frank Stella, Phaidon, London, 2017; ISBN 9780714874593