ข้ามไปเนื้อหา

แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม
เจ้าหน้าที่ประกาศความตกลง
สร้าง14 กรกฎาคม 2558
ให้สัตยาบันไม่จำเป็นต้องให้สัตยาบัน
ใช้บังคับ
  • 18 ตุลาคม 2558 (การเห็นชอบ)[1]
  • 16 มกราคม 2559 (การนำไปปฏิบัติ)[2]
ที่ตั้งกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
ผู้ลงนามธงของประเทศจีน จีน
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี
 สหภาพยุโรป
ธงของประเทศอิหร่าน อิหร่าน
ธงของประเทศรัสเซีย รัสเซีย
ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
 สหรัฐอเมริกา (ถอนตัว)[3]
วัตถุประสงค์การไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์

แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม (อังกฤษ: Joint Comprehensive Plan of Action, ย่อ: JCPOA; เปอร์เซีย: برنامه جامع اقدام مشترک, ย่อ: برجام BARJAM) เป็นความตกลงระหว่างประเทศต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านซึ่งบรรลุในกรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 ระหว่างประเทศอิหร่าน พี5+1 (สมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติห้าประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐ บวกเยอรมนี) และสหภาพยุโรป

การเจรจาอย่างเป็นทางการสู่แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วมต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านเริ่มด้วยการลงมติรับแผนปฏิบัติการร่วม ซึ่งเป็นความตกลงชั่วคราวที่ลงนามระหว่างอิหร่านและประเทศพี5+1 ในเดือนพฤศจิกายน 2556 อีกยี่สิบเดือนถัดมา ประเทศอิหร่านและประเทศพี5+1 เจรจากัน และในเดือนเมษายน 2558 มีการตกลงกรอบข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านสำหรับความตกลงสุดท้ายและในเดือนกรกฎาคม 2558 ประเทศอิหร่านและพี5+1 ตกลงกับแผนนี้[4]

ภายใต้ความตกลงนี้ ประเทศอิหร่านตกลงกำจัดคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะปานกลาง ตัดคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะต่ำ 98% และลดเครื่องหมุนเหวี่ยงแก๊สลงประมาณสองในสามเป็นเวลา 13 ปี อีก 15 ปีถัดจากนี้ อิหร่านจะเสริมสมรรถนะยูเรเนียมได้ไม่เกิน 3.67% ประเทศอิหร่านยังตกลงไม่สร้างเครื่องปฏิกรณ์น้ำหนักใหม่เป็นระยะเวลาเดียวกัน กิจกรรมเสริมสมรรถนะยูเรเนียมใด ๆ จะถูกจำกัดอยู่ที่สิ่งอำนวยความสะดวกเดี่ยวที่ใช้เครื่องปั่นเหวี่ยงรุ่นแรกเป็นเวลา 10 ปี สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นจะถูกแปลงเพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ขยาย เพื่อเฝ้าสังเกตและพิสูจน์ยืนยันการปฏิบัติตามของอิหร่านกับความตกลงนี้ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จะสามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกนิวเคลียร์ทั้งหมดของอิหร่านสม่ำเสมอ ความตกลงนี้กำหนดว่าเพื่อแลกเปลี่ยนกับการปฏิบัติตามข้อผูกมัดของตนอย่างพิสูจน์ยืนยันได้ ประเทศอิหร่านจะได้รับการช่วยเหลือจากสหรัฐ สหภาพยุโรปและวิธีการบังคับที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

วันที่ 13 ตุลาคม 2560 ประธานาธิบดีสหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ ประกาศว่าสหรัฐจะไม่รับรองความตกลงดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฎหมายในประเทศสหรัฐ แต่ยังไม่เลิกข้อตกลง[5]

ผู้ตรวจสอบของ IAEA ใช้เวลา 3,000 วันปฏิทินต่อปีในประเทศอิหร่าน ติดตั้งซีลป้องกันการปลอมแปลง และเก็บรวบรวมภายถ่ายกล้องตรวจตรา วัดข้อมูลและเอกสารเพื่อการวิเคราะห์เพิ่มเติม[6] ผู้อำนวยการ IAEA ยูกิยะ อะมาโนะแถลงในเดือนมีนาคม 2561 ว่าองค์การพิสูจน์ยืนยันว่าประเทศอิหร่านนำข้อผูกมัดที่เกี่ยวข้องกับนิวเคลียร์ของตนไปปฏิบัติ วันที่ 30 เมษายน 2561 สหรัฐและอิสราเอลว่าอิหร่านไม่เปิดเผยโครงการอาวุธนิวเคลียร์ลับในอดีตต่อ IAEA ที่กำหนดตามข้อตกลงในปี 2558[7][8]

วันที่ 8 พฤษภาคม 2561 ทรัมป์ประกาศว่าถอนตัวสหรัฐจากแผนฯ[9][10] ให้หลังการถอนตัวดังกล่าว สหภาพยุโรปตราบทกฎหมายยับยั้งในวันที่ 7 สิงหาคม 2561 เพื่อทำให้วิธีการบังคับของสหรัฐต่อประเทศที่ค้ากับอิหร่านเป็นโมฆะ[11] ในเดือนพฤศจิกายน 2561 วิธีการบังคับของสหรัฐกลับมามีผลโดยตั้งใจบังคับให้อิหร่านเปลี่ยนนโยบายของประเทศอย่างมาก รวมทั้งการสนับสนุนกลุ่มนักรบในภูมิภาคและการพัฒนาขีปนาวุธร่อน[12]

ในเดือนพฤษภาคม 2562 IAEA รับรองว่าประเทศอิหร่านปฏิบัติตามเงื่อนไขหลักของข้อตกลง แม้มีการยกคำถามเกี่ยวกับจำนวนเครื่องหมุนเหวี่ยงขั้นสูงที่ประเทศอิหร่านได้รับอนุญาตให้มีได้ เพราะมีบทนิยามไว้หลวม ๆ ในข้อตกลงเท่านั้น[13]

วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ประเทศอิหร่านประกาศว่าประเทศละเมิดขีดจำกัดที่ตั้งไว้ต่อคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะต่ำ[14] ไม่นานหลังประกาศ IAEA ยืนยันว่าคลังยูเรเนียมเสริมสมรรถนะรวมของอิหรานเกิดขีดจำกัดของข้อตกลง ไม่นานต่อมา อิหร่านประกาศเพิ่มการเสริมสมรรถนะยูเรเนียมเกินขีดจำกัดที่ตกลงกันไว้[15] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ ทวีตว่ามาตรการที่อิหร่านใช้เพื่อถอยการผูกมัดของตนต่อข้อตกลงนิวเคลียร์สามารถย้อนกลับได้หากผู้ลงนามในยุโรปบรรลุข้อผูกมัดของพวกตนบ้าง[16]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "EU officially announces October 18 adoption day of JCPOA". Islamic Republic News Agency. 18 October 2015.
  2. "UN chief welcomes implementation day under JCPOA". Islamic Republic News Agency. 17 January 2016.
  3. Holpuch, Amanda (8 May 2018). "Donald Trump says US will no longer abide by Iran deal – as it happened" – โดยทาง www.theguardian.com.
  4. Daniel,, Joyner,. Iran's nuclear program and international law : from confrontation to accord (First ed.). New York, NY. ISBN 9780190635718. OCLC 945169931.{{cite book}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์)
  5. Bucher, Chris (13 October 2017). "LIVE STREAM: President Trump Announces Iran Nuclear Deal Strategy". Heavy.com. สืบค้นเมื่อ 6 January 2018.
  6. Amano, Yukia (5 March 2018). "IAEA director general: Introductory remarks at press conference", International Atomic Energy Agency
  7. "Trump Hints He Plans to Quit the Iran Nuclear Deal". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-04-30. สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
  8. Tibon, Amir; Landau, Noa (2018-04-30). "Trump: Netanyahu's Speech on Iran Deal Proves That I Was 100% Right on Iran Deal". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-30.
  9. Mark Landler (8 May 2018). "Trump Announces U.S. Will Withdraw From Iran Nuclear Deal". MSN.
  10. "Trump Withdraws U.S. From 'One-Sided' Iran Nuclear Deal". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 May 2018.
  11. "Updated Blocking Statute in support of Iran nuclear deal enters into force". Europa.eu. European Commission Press Release Database. 6 August 2018. สืบค้นเมื่อ 7 August 2018.
  12. "US targets arms program with strongest sanctions since scrapping Iran deal". ABC News. 3 November 2018.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ReutersMay19
  14. "Iran says it has breached stockpile limit under nuclear deal". AP News. 1 July 2019.
  15. "Iran's stock of enriched uranium exceeds nuclear deal's limit, IAEA says". Reuters. 1 July 2019.
  16. "Iran To Enrich Uranium Beyond Permitted Amount Within 'Hours'". teleSUR. 7 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-08. สืบค้นเมื่อ 8 July 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]