ข้ามไปเนื้อหา

เอเชียนคัพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอเชียนคัพ
ก่อตั้งพ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956)
ภูมิภาคเอเชีย (เอเอฟซี)
จำนวนทีม24
ทีมชนะเลิศปัจจุบันธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ (สมัยที่ 2 )
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (4 สมัย)
เว็บไซต์www.the-afc.com/competition/afc-asian-cup
เอเชียนคัพ 2027

เอเอฟซี เอเชียนคัพ (อังกฤษ: AFC Asian Cup) หรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติเอเชีย เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติของทวีปเอเชีย จัดโดย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ถือเป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับทวีปที่เก่าแก่เป็นอันดับสองถัดจากการแข่งขันฟุตบอลรายการโกปาอาเมริกา ซึ่งผู้ชนะการแข่งขันจะถือว่าเป็นแชมป์ของภูมิภาคทวีปเอเชีย และจะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมในการแข่งขันฟุตบอลรายการฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ

โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นทุก 4 ปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1956 ที่ฮ่องกง และจัดต่อเนื่องทุก 4 ปี จนกระทั่ง ค.ศ. 2004 ที่ประเทศจีน ซึ่งในปีเดียวกันนั้นมีการจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนและการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป ทำให้ทางสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตัดสินใจเลื่อนการจัดการแข่งขันครั้งต่อไปเป็น ค.ศ. 2007 ซึ่งครั้งนั้นมีเจ้าภาพร่วมจาก 4 ประเทศคืออินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม และจัดการแข่งขันครั้งต่อไปทุก 4 ปีเป็นปกติหลังจากนั้น

ผู้ชนะเลิศการแข่งขันเอเชียนคัพส่วนใหญ่จะเป็นทีมชาติที่มาจากกลุ่มประเทศชั้นนำทางด้านวงการฟุตบอล ซึ่งได้แก่เกาหลีใต้และอิหร่าน จนกระทั่งหลังจาก ค.ศ. 1984 ที่มีแชมป์เป็นทีมชาติญี่ปุ่นและซาอุดิอาระเบีย นอกจากนี้ยังมีแชมป์จากทีมชาติออสเตรเลีย อิรัก คูเวต และอิสราเอล (ซึ่งภายหลังถูกขับออกและได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลยูฟ่า)

ประเทศออสเตรเลียเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียใน ค.ศ. 2005 และได้เป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2015 สำหรับเอเชียนคัพ 2019 ซึงจัดขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถือเป็นเอเชียนคัพครั้งแรกที่ขยายจำนวนทีมในรอบสุดท้ายจาก 16 ทีม เป็น 24 ทีม นอกจากนี้ยังถือเป็นการคัดเลือกตัวแทนโซนเอเชียในการเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายอีกด้วย

ต่างจากการแข่งขันรายการอื่น ๆ การแข่งขันเอเชียนคัพมักมีการเลื่อนวันจัดการแข่งขันในแต่ละครั้งให้สอดคล้องกับสภ่าพภูมิอากาศของประเทศเจ้าภาพ เช่นใน ค.ศ. 2007 มีจัดการแข่งขันในเดือนกรกฎาคม แต่การแข่งขันทั้ง 3 ครั้งหลังจากนั้นจะจัดการแข่งขันในเดือนมกราคม[1][2]

ประวัติ

[แก้]

หลังการจัดตั้งสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปี 1954 ได้มีการจัดการแข่งขันเอเชียนคัพขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1956 ที่ฮ่องกง โดยทีมที่ได้สิทธิ์เข้าร่วมในการแข่งขันจะมีทีมจากชาติเจ้าภาพและการคัดทีมผู้ชนะจากโซนต่างๆ (เอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันตก) ซึ่งเป็นการชิงชัยเพียง 4 ทีมเท่านั้น ระบบการคัดเลือกนี้ถูกใช้จนกระทั่งการแข่งขันในปี 1964

ทีมชาติญี่ปุ่นทำสถิติแชมป์ในการแข่งขันเอเชียนคัพมากที่สุดถึง 4 ครั้งจากการแข่งขันใน ค.ศ. 1992, 2000, 2004 และ 2011

ทีมชาติออสเตรเลียได้เข้าร่วมการแข่งขันเอเชียนคัพ 2007 และสามารถผ่านเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศ แต่ต้องพ่ายให้กับทีมชาติอิรัก ซึ่งภายหลังสามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันในครั้งนั้น และถือเป็นการคว้าแชมป์ครั้งแรกในรายการนี้ แม้ว่าจะเกิดสถานการณ์ความไม่สงบภายในประเทศก็ตาม

การแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ครั้งล่าสุด ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎกติกาหลายอย่าง เช่น การใช้ระบบผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอหรือวีเออาร์ และการเพิ่มจำนวนทีมในรอบสุดท้ายจาก 16 ทีม เป็น 24 ทีม อีกทั้งยังแก้ไขกติกาให้สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นคนที่ 4 ในช่วงต่อเวลาพิเศษได้ นอกจากนี้ทีมชาติกาตาร์ยังสามารถคว้าแชมป์ในการแข่งขันครั้งนี้ด้วยการเอาชนะทีมชาติญี่ปุ่นในรอบชิงชนะเลิศ ถือเป็นแชมป์รายการเอเชียนคัพครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ท่ามกลางกระแสความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกาตาร์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งเป็นประเทศเจ้าภาพ

ถ้วยรางวัล

[แก้]
ถ้วยรางวัลแบบแรกซึ่งถูกใช้จนถึง ค.ศ. 2015

ถ้วยรางวัลในการแข่งขันเอเชียนคัพแบ่งออกเป็น 2 แบบ แบบแรกถูกใช้ในการแข่งขันระหว่างปี 1956 จนถึงปี 2015 ส่วนแบบที่สองเริ่มใช้ตั้งแต่การแข่งขันเอเชียนคัพ 2019

ถ้วยรางวัลแบบแรกจะเป็นลักษณะคล้ายถ้วยบนฐานทรงกระบอก มีความสูง 42 เซนติเมตร และหนัก 15 กิโลกรัม จนในการแข่งขันในปี 2000 ได้มีการบรรจุหินสลักชื่อประเทศที่ชนะเลิศในการแข่งขันทุกครั้งลงไปในฐานของถ้วยรางวัล ซึ่งภายหลังได้ถูกออกแบบใหม่ด้วยการเพิ่มเนื้อโลหะเงินและลดความหนาของฐานสีดำด้านล่าง อีกทั้งมีการเปลี่ยนเป็นการสลักชื่อลงรอบฐานของถ้วยรางวัลแทน

ถ้วยรางวัลที่ใช้ในปัจจุบัน

วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 ระหว่างการแข่งขันเอเชียนคัพ 2019 รอบแบ่งกลุ่มในเมืองดูไบ มีการเผยถ้วยรางวัลแบบใหม่ซึ่งสร้างและออกแบบโดย Thomas Lyte แบรนด์ออกแบบถ้วยรางวัลชั้นนำจากอังกฤษ ตัวถ้วยรางวัลมีความสูงถึง 78 เซนติเมตร กว้าง 42 เซนติเมตร วัสดุทำจากเงิน โดยน้ำหนักรวมอยู่ที่ 15 กิโลกรัม ถ้วยรางวัลถูกออกแบบให้คล้ายดอกบัวหลวงซึ่งเป็นพืชน้ำที่สื่อถึงทวีปเอเชีย กลีบดอกบัวทั้งห้าเป็นตัวแทนของ 5 สหพันธ์ฟุตบอลภายใต้การกำกับดูแลของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ยังคงมีสลักรายชื่อแชมป์ทุกครั้งจนถึงปัจจุบันลงบนฐานเหมือนแบบแรก แต่ส่วนของฐานกับตัวถ้วยรางวัลจะแยกเป็นคนละส่วน นอกจากนี้ถ้วยรางวัลแบบใหม่จะมีด้ามจับทั้งสองข้าง ต่างจากถ้วยรางวัลแบบแรก

รูปแบบการแข่งขัน

[แก้]

การแข่งขันรอบสุดท้าย

[แก้]

การแข่งขันเอเชียนคัพรอบสุดท้ายจะมีทีมเข้าร่วมชิงชัยทั้งหมด 24 ทีม การคัดเลือกแบ่งออกเป็น 2 รอบคือ รอบแบ่งกลุ่ม และรอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยรอบแบ่งกลุ่มจะทำการแข่งขันแบบพบกันหมดจากทั้งหมด 6 กลุ่ม สำหรับทีมที่ดีที่สุด 2 ทีมในแต่ละสายจะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย อีก 4 ทีมที่เหลือจะคัดจากทีมอันดับ 3 ของแต่ละสายที่ดีที่สุด 4 ทีม สำหรับรอบ 16 ทีมสุดท้ายจะเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออกจนไปถึงรอบชิงชนะเลิศ

ผลการแข่งขัน

[แก้]
# ปี เจ้าภาพ รอบชิงชนะเลิศ รอบชิงอันดับ 3 จำนวนทีม
ชนะเลิศ ผลการแข่งขัน รองชนะเลิศ อันดับ 3 ผลการแข่งขัน อันดับ 4
1 1956  ฮ่องกง
เกาหลีใต้
ไม่มี
อิสราเอล

ฮ่องกง
ไม่มี
เวียดนามใต้
4
2 1960  เกาหลีใต้
เกาหลีใต้
ไม่มี
อิสราเอล
สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน ไม่มี
เวียดนามใต้
4
3 1964  อิสราเอล
อิสราเอล
ไม่มี
อินเดีย

เกาหลีใต้
ไม่มี
ฮ่องกง
4
4 1968  อิหร่าน
อิหร่าน
ไม่มี
พม่า

อิสราเอล
ไม่มี สาธารณรัฐจีน สาธารณรัฐจีน 5
5 1972  ไทย
อิหร่าน
2–1
(ต่อเวลา)

เกาหลีใต้

ไทย
2–2
(ต่อเวลา)
(5–3 ลูกโทษ)

สาธารณรัฐเขมร
6
6 1976  อิหร่าน
อิหร่าน
1–0
คูเวต

จีน
1–0
อิรัก
6
7 1980  คูเวต
คูเวต
3–0
เกาหลีใต้

อิหร่าน
3–0
เกาหลีเหนือ
10
8 1984  สิงคโปร์
ซาอุดีอาระเบีย
2–0
จีน

คูเวต
1–1
(5–3 ลูกโทษ)

อิหร่าน
10
9 1988  กาตาร์
ซาอุดีอาระเบีย
0–0
(ต่อเวลา)

(4–3 ลูกโทษ)


เกาหลีใต้

อิหร่าน
0–0
(3–0 ลูกโทษ)

จีน
10
10 1992  ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น
1–0
ซาอุดีอาระเบีย

จีน
1–1
(4–3 ลูกโทษ)

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
8
11 1996  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
ซาอุดีอาระเบีย
0–0
(ต่อเวลา)

(4–2 ลูกโทษ)


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

อิหร่าน
1–1
(3–2 ลูกโทษ)

คูเวต
12
12 2000  เลบานอน
ญี่ปุ่น
1–0
ซาอุดีอาระเบีย

เกาหลีใต้
1–0
จีน
12
13 2004  จีน
ญี่ปุ่น
3–1
จีน

อิหร่าน
4–2
บาห์เรน
16
14 2007  อินโดนีเซีย
 มาเลเซีย
 ไทย
 เวียดนาม

อิรัก
1–0
ซาอุดีอาระเบีย

เกาหลีใต้
0–0
(ต่อเวลา)

(6–5 ลูกโทษ)


ญี่ปุ่น
16
15 2011  กาตาร์
ญี่ปุ่น
1–0
(ต่อเวลา)

ออสเตรเลีย

เกาหลีใต้
3–2
อุซเบกิสถาน
16
16 2015  ออสเตรเลีย
ออสเตรเลีย
2–1
(ต่อเวลา)

เกาหลีใต้

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
3–2
อิรัก
16
# ปี เจ้าภาพ รอบชิงชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ จำนวนทีม
ชนะเลิศ ผลการ

แข่งขัน

รองชนะเลิศ
17 2019  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
กาตาร์
3–1
ญี่ปุ่น
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน และ Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 24
18 2023  กาตาร์
กาตาร์
3–1
จอร์แดน
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน และ ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 24
19 2027  ซาอุดีอาระเบีย TBD TBD TBD 24
ประเทศที่เป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ
  2
  1

ความสำเร็จในการแข่งขัน

[แก้]

ตัวหนา คือทีมที่เป็นเจ้าภาพ

ทีม ชนะเลิศ รองชนะเลิศ อันดับสาม อันดับสี่ รอบรองชนะเลิศ รวม
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 4 (1992, 2000, 2004, 2011) 1 (2019) 1 (2007) 6
ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 3 (1984, 1988, 1996) 3 (1992, 2000, 2007) 6
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน 3 (1968, 1972, 1976) 5 (1980, 1988, 1996, 2004, 2023) 1 (1984) 1 (2019) 10
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 2 (1956, 1960) 4 (1972, 1980, 1988, 2015) 4 (1964, 2000, 2007, 2011) 1 (2023) 11
ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ 2 (2019, 2023) 2
ธงชาติอิสราเอล อิสราเอล 1 (1964) 2 (1956, 1960) 1 (1968) 4
ธงชาติคูเวต คูเวต 1 (1980) 1 (1976) 1 (1984) 1 (1996) 4
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1 (2015) 1 (2011) 2
ธงชาติอิรัก อิรัก 1 (2007) 2 (1976, 2015) 3
ธงชาติจีน จีน 2 (1984, 2004) 2 (1976, 1992) 2 (1988, 2000) 6
Flag of the United Arab Emirates ��หรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 (1996) 1 (2015) 1 (1992) 1 (2019) 4
ธงชาติอินเดีย อินเดีย 1 (1964) 1
ธงชาติประเทศพม่า พม่า[a] 1 (1968) 1
ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน 1 (2023) 1
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 1 (1956) 1 (1964) 2
ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป[b] 1 (1960) 1 (1968) 2
ธงชาติไทย ไทย 1 (1972) 1
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม[c] 2 (1956, 1960) 2
ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา[d] 1 (1972) 1
ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ 1 (1980) 1
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน 1 (2004) 1
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 1 (2011) 1

ความสำเร็จแบ่งตามภูมิภาค

[แก้]
แผนที่แสดงภูมิภาคในเอเอฟซี
ภูมิภาค ผลงานที่ดีที่สุด
เอเชียตะวันตก ชนะเลิศ 7 ครั้ง โดย ซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย คูเวต คูเวต อิรัก อิรัก ประเทศกาตาร์ กาตาร์ (1980, 1984, 1988, 1996, 2007, 2019, 2023)
เอเชียตะวันออก ชนะเลิศ 6 ครั้ง โดย ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เกาหลีใต้ (1956, 1960, 1992, 2000, 2004, 2011)
อาเซียน ชนะเลิศ โดย ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย (2015)
เอเชียใต้ รองชนะเลิศ โดย อินเดีย อินเดีย (1964)
เอเชียกลาง ชนะเลิศ 3 ครั้ง โดย อิหร่าน อิหร่าน (1968, 1972, 1976)

ทีมที่ผ่านเข้ารอบ

[แก้]
ทีม ฮ่องกง
1956
(4)
เกาหลีใต้
1960
(4)
อิสราเอล
1964
(4)
อิหร่าน
1968
(5)
ไทย
1972
(6)
อิหร่าน
1976
(6)
คูเวต
1980
(10)
สิงคโปร์
1984
(10)
ประเทศกาตาร์
1988
(10)
ญี่ปุ่น
1992
(8)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
1996
(12)
เลบานอน
2000
(12)
จีน
2004
(16)
อินโดนีเซีย
มาเลเซีย
ไทย
เวียดนาม
2007
(16)
ประเทศกาตาร์
2011
(16)
ออสเตรเลีย
2015
(16)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2019
(24)
ประเทศกาตาร์
2023
(24)
ซาอุดีอาระเบีย
2027
(24)
TBD
2031
(32)
รวม
West Asian members
ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน Part of  สหราชอาณาจักร × × •• × GS × 4th GS GS GS R16 R16 7
ธงชาติอิรัก อิรัก Not an AFC member GS 4th × × × × QF QF QF 1st QF 4th R16 R16 10
ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน Not an AFC member × × × QF QF GS R16 2nd 5
ธงชาติคูเวต คูเวต Not an AFC member × GS 2nd 1st 3rd GS 4th QF GS GS GS × 10
ธงชาติเลบานอน เลบานอน Not an AFC member × × × × × GS × GS GS 3
ธงชาติโอมาน โอมาน Not an AFC member × GS GS GS R16 GS 5
ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ Not an AFC member GS GS R16 3
ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ Part of  สหราชอาณาจักร GS GS GS GS QF GS GS QF GS 1st 1st 11
ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย Not an AFC member •• × 1st 1st 2nd 1st 2nd GS 2nd GS GS R16 R16 Q 12
ธงชาติซีเรีย ซีเรีย Not an AFC member × GS GS GS GS GS GS R16 7
Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ Part of  สหราชอาณาจักร × GS GS GS 4th 2nd GS GS GS 3rd SF R16 11
ธงชาติเยเมน เยเมน Not an AFC member × GS 1
Central Asian Members
ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน × × 1st 1st 1st 3rd 4th 3rd GS 3rd QF 3rd QF QF QF SF 3rd 15
ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน Part of ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต × R16 GS 2
ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน Part of ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต × QF 1
ธงชาติเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน Part of ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต GS × GS 2
ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน Part of ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต GS GS QF QF 4th QF R16 QF 8
South Asian Members
ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ Part of ธงชาติปากีสถาน ปากีสถาน × GS × 1
ธงชาติอินเดีย อินเดีย × 2nd × × × GS GS GS GS 5
East Asian Members
ธงชาติจีน จีน Not an AFC member 3rd GS 2nd 4th 3rd QF 4th 2nd GS GS QF QF GS 13
ธงชาติจีนไทเป จีนไทเป 3rd × 4th × × OFC member 2
ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง 3rd 4th 5th GS 4
ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น × × × × × × GS 1st QF 1st 1st 4th 1st QF 2nd QF 10
ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ Not an AFC member •• 4th × GS × × GS GS GS × 5
ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้ 1st 1st 3rd 2nd 2nd GS 2nd QF 3rd QF 3rd 3rd 2nd QF 4th 15
Southeast Asian Members
ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย OFC member QF 2nd 1st QF QF 5
ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา × × 4th × × × × × × × × 1
ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย × × × GS GS GS GS × R16 5
ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย GS GS GS GS 4
ธงชาติประเทศพม่า พม่า × × × 2nd × × × × × × × 1
ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ × × × × × × × GS 1
ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ × × × GS × 1
ธงชาติไทย ไทย × × 3rd •• GS GS GS GS GS R16 R16 8
ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม 4th 4th × × × × QF QF GS 5
Former AFC Members
ธงชาติอิสราเอล อิสราเอล 2nd 2nd 1st 3rd •• Expelled from AFC UEFA member 4
ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน เยเมนใต้ GS × × Part of ธงชาติเยเมน เยเมน 1
ทีม ฮ่องกง
1956
(4)
เกาหลีใต้
1960
(4)
อิสราเอล
1964
(4)
อิหร่าน
1968
(5)
ไทย
1972
(6)
อิหร่าน
1976
(6)
คูเวต
1980
(10)
สิงคโปร์
1984
(10)
ประเทศกาตาร์
1988
(10)
ญี่ปุ่น
1992
(8)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
1996
(12)
เลบานอน
2000
(12)
จีน
2004
(16)
อินโดนีเซีย
มาเลเซีย
ไทย
เวียดนาม
2007
(16)
ประเทศกาตาร์
2011
(16)
ออสเตรเลีย
2015
(16)
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
2019
(24)
ประเทศกาตาร์
2023
(24)
ซาอุดีอาระเบีย
2027
(24)
TBD
2031
(32)
รวม
สัญลักษณ์
  • 1st – แชมป์
  • 2nd – รองแชมป์
  • 3rd – ที่ 3
  • 4th – ที่ 4
  • QF – รอบก่อนชิงชนะเลิศ
  • GS – รอบคัดเลือก
  • q – เข้ารอบแต่ยังไม่ได้แข่ง
  •     — เจ้าภาพ
แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด
แผนที่ของทีมประเทศต่าง ๆ กับผลงานที่ดีที่สุด

ทีมที่ปรากฏตัวเป็นครั้งแรกในการแข่งขันแต่ละครั้ง

[แก้]
ปี ทีมชาติที่ปรากฏตัวเป็นครั้งแรก ทีมชาติที่เป็นตัวแทน
ทีม No. Cum.
1956 ธงชาติฮ่องกง ฮ่องกง, ธงชาติอิสราเอล อิสราเอล, ธงชาติเกาหลีใต้ เกาหลีใต้, ธงชาติเวียดนามใต้ เวียดนามใต้ 4 4
1960 ธงชาติไต้หวัน สาธารณรัฐจีน 1 5
1964 ธงชาติอินเดีย อินเดีย 1 6
1968 ธงชาติอิหร่าน อิหร่าน, ธงชาติประเทศพม่า พม่า 2 8
1972 ธงชาติอิรัก อิรัก, ธงชาติกัมพูชา กัมพูชา, ธงชาติคูเวต คูเวต, ธงชาติไทย ไทย 4 12
1976 ธงชาติจีน จีน, ธงชาติมาเลเซีย มาเลเซีย, ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเยเมน เยเมนใต้ 3 15
1980 ธงชาติบังกลาเทศ บังกลาเทศ, ธงชาติเกาหลีเหนือ เกาหลีเหนือ, ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์, ธงชาติซีเรีย ซีเรีย, Flag of the United Arab Emirates สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 5 20
1984 ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย, ธงชาติสิงคโปร์ สิงคโปร์ 2 22
1988 ธงชาติบาห์เรน บาห์เรน, ธงชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 2 24
1992 None 0 24
1996 ธงชาติอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย, ธงชาติอุซเบกิสถาน อุซเบกิสถาน 2 26
2000 ธงชาติเลบานอน เลบานอน 1 27
2004 ธงชาติจอร์แดน จอร์แดน, ธงชาติโอมาน โอมาน, ธงชาติเติร์กเมนิสถาน เติร์กเมนิสถาน 3 30
2007 ธงชาติออสเตรเลีย ออสเตรเลีย 1 31 ธงชาติเวียดนาม เวียดนาม
2011 None 0 31
2015 ธงชาติรัฐปาเลสไตน์ ปาเลสไตน์ 1 32
2019 ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน, ธงชาติฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ 2 34 ธงชาติเยเมน เยเมน
2023 ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 1 35

ความขัดแย้ง

[แก้]

แม้ว่าจะเป็นการแข่งขันฟุตบอลรายการใหญ่ระดับทวีป แต่การแข่งขันเอเชียนคัพก็ต้องประสบกับปัญหาหลายครั้ง ทั้งการไม่สามารถโน้มน้าวให้หลายชาติเข้าร่วมการแข่งขันได้ ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ค่าใช้จ่ายการเดินทางของชาติที่เข้าร่วมการแข่งขันที่มหาศาล ตลอดจนความปัญหาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติที่เข้าร่วมการแข่งขัน

ความขัดแย้งทางการเมือง

[แก้]

การแข่งขันเอเชียนคัพมักตกอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างชาติสมาชิกอยู่บ่อยครั้ง เช่น กรณีของอิสราเอลซึ่งเคยเป็นสมาชิกของสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย ภายหลังสงครามยมคิปปูร์ได้ทวีความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับชาติสมาชิกในคาบสมุทรอาหรับ อิสราเอลถอนตัวออกจากสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียในปี 1974 และเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลโอเชียเนีย (โอเอซี) ซึ่งภายหลังได้รับสิทธิ์เป็นสมาชิกของสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ใน ค.ศ. 1990

กรณีคล้ายกันคือความขัดแย้งระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอิหร่านภายหลังการเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงในกรุงเตหะรานในปี 2016 ซึ่งทีมชาติอิหร่านปฏิเสธที่จะทำการแข่งขันกับทีมชาติซาอุดิอาระเบีย และขู่จะถอนตัวออกจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียหากไม่ทำตามคำขอ ซึ่งได้ลุกลามเป็นความขัดแย้งในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังมีกรณีของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือกโซนเอเชียที่จะจัดขึ้นในกรุงเปียงยาง จนเป็นเหตุทำให้ต้องมีการเปลียนไปทำการแข่งขันที่เซี่ยงไฮ้แทน

ปัญหาจำนวนผู้เข้าชมการแข่งขัน

[แก้]

จำนวนผู้เข้าชมการแข่งขันแป็นอีกปัญหาของการแข่งขันเอเชียนคัพ เช่น ในการแข่งขันเอเชียนคัพ 2011 ที่ประเทศกาตาร์ เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปชมการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง ทำให้มีผู้เข้าชมการแข่งขันในสนามมีไม่กี่คนเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีการอ้างว่าทางกาตาร์เองถึงกับต้องนำกำลังทหารมานั่งแทนผู้ชมในสนามเพื่อภาพลักษณ์ที่ดูดีอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Revamp of AFC competitions". The-afc.com. 25 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2014.
  2. "AFC Asian Cup changes set for 2019". Afcasiancup.com. 26 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2014.
  1. ธงชาติประเทศพม่า พม่า until 1989.
  2. ธงชาติไต้หวัน สาธารณรัฐจีน until 1980.
  3. Including results representing ธงชาติเวียดนามใต้ เวียดนามใต้.
  4. ธงชาติสาธารณรัฐเขมร สาธารณรัฐเขมร from 1970 to 1975.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]