เอสรา 1
เอสรา 1 | |
---|---|
เอสรา 2 → | |
ไซรัสทรงคืนเครื่องใช้ของพระวิหาร (เอสรา 1:1–11) | |
หนังสือ | หนังสือเอสรา |
หมวดหมู่ | เคทูวีม |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 15 |
เอสรา 1 (อังกฤษ: Ezra 1) เป็นบทแรกของหนังสือเอสราของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1]หรือของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์ในคัมภีร์ฮีบรูซึ่งถือว่าหนังสือเอสราและหนังสือเนหะมีย์เป็นหนังสือเล่มเดียวกัน[2] ธรรมเนียมของศาสนายูดาห์ระบุว่าเอสราเป็นผู้เขียนของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์รวมถึงหนังสือพงศาวดาร[3] แต่นักวิชาการสมัยโดยทั่วไปเชื่อว่าผู้เรียบเรียงจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (ที่เรียกว่า "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร") เป็นผู้เขียนสุดท้ายของหนังสือเหล่านี้[4]
เอสรา 1 ประกอบด้วยเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาของไซรัสและการกลับมายูดาห์ครั้งแรกหลังการพลัดถิ่นนำโดยเชชบัสซาร์ รวมถึงการคืนเครื่องใช้ของพระวิหารศักดิ์สิทธิ์[5] และยังเป็นส่วนหนึ่งของตอนที่ประกอบด้วยบทที่ 1 ถึง 6 เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ก่อนการมาถึงของเอสราในผ่นดินยูดาห์[5][6] เมื่อ 468 ปีก่อนคริสตกาล[7] ประโยคเปิดของบทนี้ (และหนังสือเล่มนี้) เหมือนกันกับประโยคสุดท้ายของ 2 พงศาวดาร[8]
กระบอกไซรัส
[แก้]กระบอกไซรัสมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับพระราชกฤษฎีกาของไซรัสซึ่งให้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของหนังสือเอสรา:[9]
เราคืนรูปของพระซึ่งประทับอยู่ที่นั่น [คือในบาบิโลน] ไปยังที่ของพระเหล่านั้น และเราให้พระเหล่านั้นประทับอยู่ในพระนิเวศตลอดกาล เรารวบรวมประชากรทั้งหมดของพระเหล่านั้นและส่งคืนพวกเขากลับไปที่ที่พวกเขาอยู่[10]
พระราชกฤษฎีกาของไซรัสมีความสำคัญต่อการกลับมาของชาวยิว เพราะแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้หลุดพ้นจากอำนาจบาบิโลน แต่ได้รับพระบรมราชานุญาตจากกษัตริย์แห่งเปอร์เซียในปีแรกแห่งรัชสมัยของพระองค์ และการบรรลุผลสำเร็จของคำเผยพระวจจนะเจ็ดสิบปีของเยเรมีย์ (เยเรมีย์ 25:11 -14, เยเรมีย์ 29:10 -14)[5]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 11 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]มีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล สำนาต้นฉบับโบราณที่หลงเหลืออยู่ของเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; คริสต์ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; คริสต์ศตวรรษที่ 5)[11][a]
หนังสือกรีกโบราณที่เรียกว่า 1 เอสดราส (Greek: Ἔσδρας Αʹ) ประกอบด้วยเนื้อหาบางส่วนของ 2 พงศาวดาร, เอสรา และเนหะมีย์ รวมอยู่ในฉบับส่วนใหญ่ของเซปทัวจินต์ และอยู่ในลำดับก่อนหนังสือเดี่ยวของเอสรา–เนหะมีย์ (ซึ่งมีชื่อในภาษากรีกว่า Ἔσδρας Βʹ) 1 เอสดราส 2:1–14 เทียบเท่ากับเอสรา 1:1–11 (พระราชกฤษฎีกาของไซรัส)[15][16]
สำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูคือฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[17] หนังสือเอสรา-เนหะมีย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[18]
เรื่องเล่าในคัมภีร์ไบเบิล
[แก้]เอสรา 1 เริ่มต้นด้วยการให้บริบททางประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์จริง: "ในปีแรกแห่งรัชกาลไซรัสกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย" แต่ตามมาทันทีด้วยความเกี่ยวกับพระยา��์เวห์ผู้ทรงมีอำนาจควบคุมที่แท้จริงและได้ตรัสเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้แล้วตั้งแต่ก่อนการประสูติของไซรัส (อิสยาห์ 44:28; 45:13) และการทำให้พระวจนะผ่านการเผยของเยเรมีย์สำเร็จ[19]
ววรค 1
[แก้]ในปีแรกแห่งรัชกาลไซรัสกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย เพื่อพระวจนะของพระยาห์เวห์ที่ตรัสโดยปากของเยเรมีย์จะสำเร็จ พระยาห์เวห์ทรงเร้าจิตใจของไซรัสกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย พระองค์จึงทรงป่าวประกาศตลอดราชอาณาจักรของพระองค์ และทรงบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงด้วยว่า[20]
ววรค 2
[แก้]ไซรัสกษัตริย์แห่งเปอร์เซียตรัสดังนี้ว่า 'พระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งฟ้าสวรรค์ได้ประทานบรรดาราชอาณาจักรแห่งแผ่นดินโลกแก่เรา และพระองค์ทรงกำชับให้เราสร้างพระนิเวศให้พระองค์ที่เยรูซาเล็มซึ่งอยู่ในยูดาห์'[21]
วรรค 3
[แก้]มีใครในหมู่พวกท่านที่เป็นประชากรของพระองค์? ขอพระเจ้าของเขาสถิตกับเขา และขอให้เขาขึ้นไปยังเยรูซาเล็ม ซึ่งอยู่ในยูดาห์และสร้างพระนิเวศของพระยาห์เวห์พระเจ้าแห่งอิสราเอล คือพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าผู้สถิตในเยรูซาเล็ม[22]
วรรค 4
[แก้]และคนทั้งปวงที่เหลืออยู่ ไม่ว่าเขาจะอาศัยอยู่ ณ ที่ใด ให้บรรดาคนตามที่นั้นๆ ช่วยเขาด้วยเงินและด้วยทองคำ ด้วยข้าวของและสัตว์เลี้ยง นอกเหนือจากของถวายด้วยความสมัครใจ สำหรับพระนิเวศของพระเจ้าซึ่งอยู่ในเยรูซาเล็ม[23]
วรรค 7
[แก้]กษัตริย์ไซรัสก็ทรงนำเครื่องใช้ของพระนิเวศของพระยาห์เวห์ออกมา ซึ่งเป็นเครื่องใช้ที่เนบูคัดเนสซาร์ได้ทรงกวาดมาจากเยรูซาเล็ม และทรงเก็บไว้ในวิหารแห่งพระของพระองค์[24]
ทรัพย์ของพระวิหารที่เนบูคัดเนสซาร์นำไป (2 พงศาวดาร 36:18) ได้กลับคืนสู่เยรูซาเล็มในตอนนี้[25]
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระเจ้าไซรัสมหาราชในคัมภีร์ไบเบิล
- มิทเรดาท
- เยรูซาเล็ม
- เศรุบบาเบล
- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 2 พงศาวดาร 36, อิสยาห์ 44, อิสยาห์ 45, เยเรมีย์ 25, เยเรมีย์ 29, เยเรมีย์ 51
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Halley 1965, p. 232.
- ↑ Grabbe 2003, p. 313.
- ↑ Babylonian Talmud Baba Bathra 15a, apud Fensham 1982, p. 2
- ↑ Fensham 1982, pp. 2–4.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Grabbe 2003, p. 314.
- ↑ Fensham 1982, p. 4.
- ↑ Davies, G. I., Introduction to the Pentateuch in Barton, J. and Muddiman, J. (2001), The Oxford Bible Commentary เก็บถาวร 2017-11-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 19
- ↑ Levering 2007, p. 39.
- ↑ McConville 1985, p. 8.
- ↑ Line 32 in Lendering, Jona (5 February 2010). "Cyrus Cylinder (2)". Livius.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2018. สืบค้นเมื่อ 10 January 2007. Text adapted from Schaudig (2001).English translation adapted from Cogan's translation in Hallo & Younger (2003).
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ Würthwein, Ernst (1988). Der Text des Alten Testaments (2nd ed.). Stuttgart: Deutsche Bibelgesellschaft. p. 85. ISBN 3-438-06006-X.
- ↑ Swete, Henry Barclay (1902). An Introduction to the Old Testament in Greek. Cambridge: Macmillan and Co. pp. 129–130.
- ↑ This article incorporates text from a publication now in the public domain: Herbermann, Charles, ed. (1913). "Codex Sinaiticus". Catholic Encyclopedia. New York: Robert Appleton Company.
- ↑ Catholic Encyclopedia: Esdras: THE BOOKS OF ESDRAS: III Esdras
- ↑ Jewish Encyclopedia: Esdras, Books of: I Esdras
- ↑ Würthwein 1995, pp. 36–37.
- ↑ P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
- ↑ Larson, Dahlen & Anders 2005, p. 6.
- ↑ เอสรา 1:1
- ↑ เอสรา 1:2
- ↑ เอสรา 1:3
- ↑ เอสรา 1:4
- ↑ เอสรา 1:4
- ↑ McConville 1985, p. 11.
บรรณานุกรม
[แก้]- Dandamaev, M. A. (1989). A Political History of the Achaemenid Empire. Leiden: Brill. ISBN 90-04-09172-6.
- Fensham, F. Charles (1982). The Books of Ezra and Nehemiah. New international commentary on the Old Testament (illustrated ed.). Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0802825278. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- Grabbe, Lester L. (2003). "Ezra". ใน Dunn, James D. G.; Rogerson, John William (บ.ก.). Eerdmans Commentary on the Bible (illustrated ed.). Wm. B. Eerdmans Publishing. pp. 313–319. ISBN 978-0802837110. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- Halley, Henry H. (1965). Halley's Bible Handbook: an abbreviated Bible commentary (24th (revised) ed.). Zondervan Publishing House. ISBN 0-310-25720-4.
- Hallo, W.H.; Younger, K.L., บ.ก. (2003). The Context of Scripture: Monumental Inscriptions from the Biblical World. แปลโดย Cogan, Mordechai. Leiden: Brill. ISBN 978-90-04-10619-2.
- Brosius, Maria (ed.): The Persian Empire from Cyrus II to Artaxerxes I (2000, London Association of Classical Teachers (LACT) 16, London.
- Larson, Knute; Dahlen, Kathy; Anders, Max E. (2005). Anders, Max E. (บ.ก.). Holman Old Testament Commentary - Ezra, Nehemiah, Esther. Vol. 9 (illustrated ed.). B&H Publishing Group. ISBN 978-0805494693. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- Levering, Matthew (2007). Ezra & Nehemiah. Brazos Theological Commentary on the Bible. Brazos Press. ISBN 978-1587431616. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- McConville, J. G. (1985). Ezra, Nehemiah, and Esther. The daily study Bible : Old Testament. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0664245832. สืบค้นเมื่อ October 28, 2019.
- Schaudig, Hanspeter (2001). Die Inschriften Nabonids von Babylon und Kyros' des Großen, samt den in ihrem Umfeld entstandenen Tendenzschriften. Textausgabe und Grammatik (ภาษาเยอรมัน). Münster: Ugarit-Verlag.
- Smith-Christopher, Daniel L. (2007). "15. Ezra-Nehemiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 308–324. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คำแปลในศาสนายูดาห์:
- Ezra - Chapter 1 (Judaica Press) translation [with Rashi's commentary] at Chabad.org
- คำแปลในศาสนาคริสต์:
- Online Bible at GospelHall.org (ESV, KJV, Darby, American Standard Version, Bible in Basic English)
- Book of Ezra Chapter 1. Bible Gateway
- เอสรา 1. YouVersion