เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทตก ค.ศ. 1929
ผู้คนรวมตัวกันที่วอลล์สตรีทหลังตลาดหลักทรัพย์ตกใน ค.ศ. 1929 | |
วันที่ | 4 กันยายน – 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1929 |
---|---|
ประเภท | หุ้นตลาดตก |
สาเหตุ | ความกลัวต่อการเก็งกำไรมากเกินไปของระบบธนาคารกลางสหรัฐ |
เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีทตก ค.ศ. 1929 (อังกฤษ: Wall Street Crash of 1929) เป็นเหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์ตกครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา นำไปสู่การพิจารณาขอบเขตและระยะเวลาของผลกระทบอย่างเต็มตัว[1] เหตุการณ์ตลาดหลักทรัพย์ตกครั้งนี้ส่งสัญญาณถึงจุดเริ่มต้นของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่นาน 12 ปี ซึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอุตสาหกรรมตะวันตกทั้งหมด[2] และยังดำเนินต่อไปในสหรัฐอเมริกาจนกระทั่งการเริ่มต้นระดมของสหรัฐอเมริกาในสงครามโลกครั้งที่สอง ในปลาย ค.ศ. 1941
ลำดับเหตุการณ์
[แก้]คริสต์ทศวรรษ 1920 เป็นช่วงเวลาแห่งความมั่งคั่งและเกินพอดี ตลาดได้เติบโตต่อเนื่องหกปี โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นห้าเท่า จนระดับสูงสุด 381.17 จุด เมื่อวันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1929[3] ไม่นานก่อนเหตุการณ์ นักเศรษฐศาสตร์ เอียร์วิง ฟิชเชอร์ ป่าวประกาศซึ่งมีชื่อเสียงในเวลาต่อมาว่า "มูลค่าหลักทรัพย์ได้ถึงระดับที่ดูเหมือนว่าถึงระดับราบสูงอย่างถาวรแล้ว"[4]
วันที่ 24 ตุลาคม หรือเรียกว่า วันพฤหัสบดีทมิฬ ตลาดเสียมูลค่าไป 11% เมื่อตลาดเปิดทำการ โดยมีการขายอย่างหนัก นายธนาคารวอลล์สตรีทชั้นนำหลายคนประชุมกันเพื่อหาทางแก้ไขความตื่นตระหนกและความโกลาหลบนชั้นซื้อขาย[5] ด้วยทรัพยากรทางการเงินของนายธนาคารอยู่เบื้องหลังเขา ริชาร์ด วิทนี รองประธานตลาดหลักทรัพย์ จัดการประมูลซื้อหลักทรัพย์เหล็กกล้าสหรัฐอเมริกาบล็อกใหญ่ในราคาสูงกว่าตลาดปัจจุบัน ขณะที่เทรดเดอร์เฝ้ามอง วิตนีได้จัดการประมูลที่คล้ายกันกับหลักทรัพย์ "ชิพน้ำเงิน" (blue chip) อื่น ๆ ยุทธวิธีนี้คล้ายกับที่ใช้เพื่อยุติวิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 ซึ่งทำให้หยุดการปรับลดลง ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ฟื้นตัว ปิดโดยปรับลดลงเพียง 6.38 จุด วันหนึ่ง อย่างไรก็ดี ไม่เหมือนกับใน ค.ศ. 1907 มาตรการนี้เกิดผลเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เหตุการณ์นี้ได้รับรายงานในหนังสือพิมพ์ทั่วสหรัฐอเมริกา เมื่อถึงวันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม หรือ "วันจันทร์ทมิฬ" มีนักลงทุนตัดสินใจออกจากตลาดเพิ่ม และการปรับลดลงดำเนินต่อไปโดยทำสถิติการลดลงในดาวโจนส์วันเดียว 38 จุด หรือ 13% วันรุ่งขึ้น "วันอังคารทมิฬ" ซึ่งตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1929 มีการซื้อขายหลักทรัพย์ประมาณ 16 ล้านหลักทรัพย์ และดาวโจนส์ลดลงอีก 30 จุด หรือ 12%[6][7][8] มูลค่าของหุ้นที่ซื้อขายกันเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมนั้นเป็นสถิติอยู่นานถึงเกือบ 40 ปี[7] ตลาดเสียมูลค่า 30,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในเวลาเพียงสองวัน[9]
ตลาดยังคงปรับตัวลดลงจนถึงจุดต่ำสุดชั่วคราว (interim bottom) เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 1929 โดยตลาดปิดที่ 198.60 จุด ตลาดฟื้นตัวเป็นเวลาหลายเดือนและแตะระดับปิดตัวสูงสุดครั้งที่สองที่ 294.07 จุด เมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 1930 ก่อนเริ่มลดลงอีกครั้งซึ่งกินเวลานานกว่าครั้งแรก จากเดือนเมษายน ค.ศ. 1931 ถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1932 และตลาดดาวโจนส์ปิดที่ 41.22 จุด ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตลาดไม่กลับคืนสู่ระดับสูงสุดเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1929 จนถึงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1954[10][11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The beginner's guide to stock markets". London: Times Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-25. สืบค้นเมื่อ 2011-10-29.
The most savage bear market of all time was the Wall Street Crash of 1929-1932, in which share prices fell by 89 per cent.
- ↑ Brittanica Concise Encyclopedia - Stock Market Crash of 1929.
- ↑ "Timeline: A selected Wall Street chronology". PBS. สืบค้นเมื่อ 2008-09-30.
- ↑ Teach, Edward (May 1, 2007). "The Bright Side of Bubbles". CFO. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ October 1, 2008.
- ↑ The Great Depression, by Robert Goldston, pages 39-40
- ↑ "NYSE, New York Stock Exchange > About Us > History > Timeline > Timeline". Nyse.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
- ↑ 7.0 7.1 Linton Weeks. "History's Advice During A Panic? Don't Panic : NPR". Npr.org. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
- ↑ "American Experience | The Crash of 1929 | Timeline | PBS". Pbs.org. สืบค้นเมื่อ 2008-10-01.
- ↑ pbs.org – New York: A Documentary Film
- ↑ DJIA 1929 to Present (Yahoo! Finance)
- ↑ "U.S. Industrial Stocks Pass 1929 Peak", The Times, 24 November 1954, p. 12.