เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ | |
---|---|
รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561 | |
ถัดไป | พันเอกนที ศุกลรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย |
พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เป็นอดีตข้าราชทหารและนักการเมืองชาวไทย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคภูมิใจไทย รองประธานคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎร[1] อดีตรองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และอดีตประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)[2][3]
ประวัติ
[แก้]พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 26 ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 37 (รุ่นเดียวกับร้อยเอก ทรงกลด ชื่นชูผล) เริ่มเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวด กองพันทหารสื่อสารที่ 1 รักษาพระองค์ ต่อมาเป็นอาจารย์ กองวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม (MS in EE) ณ Georgia Institute of Technology ประเทศสหรัฐอเมริกา และ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม (MS in EE) ณ The George Washington University ประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2535 และ 2539 ตามลำดับ และศึกษาในระดับปริญญาเอก ได้รับปริญญาวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม (Ph.D. in EE) พ.ศ. 2543
พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ เคยปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขาธิการของพลเอก มนตรี สังขทรัพย์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เขาจึงมีบทบาทในการทำงานด้านโทรคมนาคม จนกระทั่งได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช.
พ.อ.เศรษฐพงศ์ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 โดยการเลื่อนขึ้นมาแทน ทรงศักดิ์ ทองศรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไ��ย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ “เศรษฐพงค์” หนุนแก้ไขหลักเกณฑ์ใบอนุญาตใช้ดาวเทียมต่างชาติบริการอินเทอร์เน็ต
- ↑ เปิดประวัติ (ว่าที่) ส.ส. ส้มหล่น "เสธ.มาร์ช" พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ
- ↑ "พ.อ.เศรษฐพงศ์"เขาคือใคร ไขข้องใจ ทำไมไม่ต้องพึ่ง"นาที"ก็ได้เป็นส.ส.
- ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องให้ผู้มีชื่ออยู่ในลำดับถัดไปในบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง เลื่อนขึ้นมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง (พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ พรรคภูมิใจไทย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2509
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ทหารบกชาวไทย
- วิศวกรชาวไทย
- อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์
- รองศาสตราจารย์
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรคภูมิใจไทย
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.