เวท
หน้าตา
เวท อาจหมายถึง
- วิทยา, วิทยาการ, ศาสตร์, ความรู้ - คำ "เวท" หมายความว่า ความรู้ เช่น เภสัชเวท คือ วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยยาที่ได้จากพืช สัตว์และแร่ธาตุโดยตรง หรือสารที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น หรือวิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยสมุนไพร
- เวทมนตร์ - ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้
- คัมภีร์พระเวท - ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็นพื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มีสี่คัมภีร์ดังต่อไปนี้ โดยสามคัมภีร์แรกเรียกว่า "ไตรเวท" หรือ "ไตรเพท" ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า "จตุรเวท" หรือ "จตุรเพท"
- ฤคเวท - ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการสร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย
- ยชุรเวท - ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี
- สามเวท - ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหกของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม
- อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท - เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคลหรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ
- อุปเวท - คัมภีร์ "พระเวทรอง" ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่
- อายุรเวท - วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท
- ธนุรเวท - วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์ยชุรเวท
- คันธรรพเวท, คานธรรพเวท หรือ คนธรรพเวท - วิชาการดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท
- สถาปัตยเวท - วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด, พัฒนามาเป็นสถาปัตยกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน
- ยุคพระเวท - เรียกยุคแรกของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า "ยุคพระเวท" มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะ และคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก
หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง |