ข้ามไปเนื้อหา

เรือเหาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือเหาะสมัยใหม่ เซ็พเพอลีน เอ็นเท เด-เอ็ลเซ็ทเซ็ทเอ็ฟ ใน ค.ศ. 2010

เรือเหาะ (อังกฤษ: airship) หรือ บัลลูนเรือบิน (dirigible balloon) เป็นยานบินเบากว่าอากาศประเภทหนึ่งที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านอากาศด้วยพลังงานของตัวเอง[1] โดยยานบินเบากว่าอากาศจะลอยตัวด้วยถุงบรรจุแก๊สขนาดใหญ่ซึ่งบรรจุแก๊สยกตัวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศโดยรอบ

ในช่วงต้นของเรือบินแก๊สยกตัวที่ใช้คือไฮโดรเจนเนื่องจากมีสมรรถนะการยกตัวสูงและหาได้ง่าย ขณะที่แก๊สฮีเลียมมีสมรรถนะการยกตัวที่เทียบเท่ากันและไม่ติดไฟซึ่งแตกต่างจากไฮโดรเจนแต่หายากและมีราคาค่อนข้างแพง ที่สำคัญการผลิตฮีเลียมปริมาณมากเริ่มต้นในสหรัฐและใช้งานเฉพาะเรือเหาะภายในประเทศตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง[2] เรือเหาะที่สร้างขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ใช้ฮีเลียมเป็นส่ว��ใหญ่ถึงกระนั้นก็มีเรือเหาะบางส่วนที่ใช้อากาศร้อน[note 1]

ถุงบรรจุแก๊สของเรือเหาะอาจเป็นถุงใบเดียวหรือหลายใบ เรือเหาะมีพื้นที่สำหรับเครื่องยนต์ ลูกเรือ และสัมภาระซึ่งโดยทั่วไปจะอยู่ใน "กอนโดลา" (gondola) หนึ่งหรือหลายแห่งซึ่งแขวนอยู่ด้านล่างถุงบรรจุแก๊ส

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เรือเหาะบางส่วนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองยังคงใช้ไฮโดรเจน เรือเหาะของอังกฤษลำแรกที่ใช้ฮีเลียมคือ ชิตตี แบง แบง ใน ค.ศ. 1967

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Definition of AIRSHIP". merriam-webster.com. สืบค้นเมื่อ 4 October 2016.
  2. "Discovery of Helium in Natural Gas at the University of Kansas". National Historic Chemical Landmarks. American Chemical Society. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.