เรือหลวงมัจฉาณุ
เรือหลวงมัจฉาณุ
| |
ประวัติ | |
---|---|
ประเทศไทย | |
ชนิด | เรือดำน้ำชั้นมัจฉาณุ |
ชื่อ | list error: <br /> list (help) เรือหลวงมัจฉาณุ (ลำที่สอง) HTMS Matchanu (II) |
ตั้งชื่อตาม | มัจฉาณุ (จากเรื่องรามเกียรติ์) |
อู่เรือ | อู่ต่อเรือมิตซูบิชิ, โกเบ, ประเทศญี่ปุ่น |
ปล่อยเรือ | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 |
เดินเรือแรก | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 |
เข้าประจำการ | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 |
ปลดระวาง | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 |
ความเป็นไป | ขายให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย |
สถานะ | หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ |
ลักษณะเฉพาะ | |
ประเภท: | เรือดำน้ำ |
ขนาด (ระวางขับน้ำ): |
|
ความยาว: | 51 เมตร |
ความกว้าง: |
4.10 เมตร ้ |
ความสูง: | 11.65 เมตร |
กินน้ำลึก: | 3.60 เมตร |
ระบบพลังงาน: |
|
ความเร็ว: |
|
พิสัยเชื้อเพลิง: | 4,770 nmi (8,830 km; 5,490 mi) |
ทดสอบความลึก: | 60 m (200 ft) |
ลูกเรือ: |
33 นาย (สัญญาบัตร 5 นาย, ประทวน 28 นาย) |
ยุทโธปกรณ์: |
|
เรือหลวงมัจฉาณุ[1] (HTMS Matchanu) เป็นเรือดำน้ำประจำกองทัพเรือไทย เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่ง ขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงวิรุณ เรือหลวงสินสมุทร และเรือหลวงพลายชุมพล โดยเรือหลวงมัจฉาณุ ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงวิรุณ
ชื่อเรือหลวงมัจฉาณุ เป็นชื่อพระราชทาน มา ณ วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2480 มาจากชื่อตัวละครในวรรณคดีไทยซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ในการดำน้ำ คือ มัจฉานุ จากเรื่องรามเกียรติ์
เรือหลวงมัจฉาณุ และเรือหลวงวิรุณ ประกอบแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 ทางบริษัทมิตซูบิชิได้จัดพิธีส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ กองทัพเรือไทยจึงถือว่าวันที่ 4 กันยายน เป็น วันที่ระลึกเรือดำน้ำ
เรือดำน้ำของไทยทั้งสี่ลำ เดินทางออกจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481 เข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481 ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง
เมื่อครั้งกรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศส เรือดำน้ำทั้ง 4 ลำ ได้ออกไปลาดตระเวนอยู่หน้าฐานทัพเรือเรียม (กัมพูชา) ใช้เวลาดำอยู่ใต้น้ำทั้งสิ้นลำละ 12 ชั่วโมงขึ้นไป นับเป็นการดำที่นานที่สุด
เรือหลวงมัจฉาณุปลดประจำการเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 พร้อมกันทั้ง 4 ลำ เนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนอะไหล่ หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก และไม่ได้รับอนุญาตให้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และโรงงานแบตเตอรีของไทยที่ตั้งขึ้นก็ไม่สามารถผลิตแบตเตอรีสำหรับใช้ประจำเรือได้ ประกอบกับเหตุการณ์กบฏแมนฮัตตัน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2494 ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ในกองทัพเรือ มีคำสั่งยุบหมวดเรือดำน้ำ โอนย้ายไปรวมกับหมวดเรือตรวจฝั่งที่ตั้งขึ้นใหม่
ภายหลังปลดประจำการ เรือทั้งสี่ลำได้นำมาจอดเทียบกันที่ท่าเรือในแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาได้มีการขายเรือให้กับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เพื่อทำการศึกษาและทำการวิศวกรรมย้อนกลับ [ต้องการอ้างอิง] คงเหลือแต่หอบังคับการ อาวุธปืน และกล้องส่อง ทางกองทัพเรือได้นำมาจัดสร้างสะพานเรือจำลอง จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ทหารเรือ หน้าโรงเรียนนายเรือ จังหวัดสมุทรปราการ
อ้างอิง
[แก้]- ศิริพงษ์ บุญราศรี. เรือดำน้ำแห่งราชนาวีสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, พ.ศ. 2547. 168 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-276-277-5
- สงวน อั้นคง, สิ่งแรกในเมืองไทย ชุด 2, แพร่พิทยา
- ↑ ในเอกสารกองทัพเรือไทย ระบุชื่อเรือดำน้ำว่า "มัจฉานุ" แต่ในพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2480 ลงนามโดยผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา, เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) และเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน)) ขนานนามเรือดำน้ำว่า "มัจฉาณุ"