ข้ามไปเนื้อหา

เรือประจัญบานชั้นมอนแทนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


A model depicting what the Montana class would have looked like had they been completed
แบบจำลองเรือประจัญบานชั้นมอนแทนาในปี 1944
ชั้นเรือโดยสรุป
ชื่อ:เรือประจัญบานชั้นมอนแทนา
สร้างที่:อู่ทหารเรือนิวยอร์ก
อู่ทหารเรือฟิลาเดลเฟีย
อู่ทหารเรือนอร์ฟอล์ก
ผู้ใช้งาน:Naval flag of สหรัฐอเมริกา กองทัพเรือสหรัฐ
ชั้นก่อนหน้า:ชั้นไอโอวา
ชั้นถัดไป:ไม่มี
แผนที่จะสร้าง:5
สร้างเสร็จ:0
ยกเลิก:5
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือประจัญบาน
ขนาด (ระวางขับน้ำ):
ความยาว: 921 ฟุต 3 นิ้ว (280.8 เมตร) (หัวถึงท้ายเรือ)[2]
ความกว้าง: 121 ฟุต 2 นิ้ว (36.9 เมตร)[2]
กินน้ำลึก: 36 ฟุต 1 นิ้ว (11 เมตร)[2]
ระบบพลังงาน:
ระบบขับเคลื่อน:
  • 4 × ใบจักร
  • 4 × เครื่องยนต์กังหันไอน้ำแบบเฟือง
  • ความเร็ว: 28 นอต (52 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32 ไมล์ต่อชั่วโมง) (สูงสุด)[2][5]
    พิสัยเชื้อเพลิง: 15,000 ไมล์ทะเล (17,300 ไมล์; 27,800 กิโลเมตร) ที่ 15 นอต (28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 17 ไมล์ต่อชั่วโมง)[1]
    อัตราเต็มที่: ปกติ: 2,355 คน[2]
    เรือธง: 2,789 คน[2]
    ยุทโธปกรณ์:
    เกราะ:
  • ข้างลำเรือ: 16.1 นิ้ว (409 มม.)
  • ผนังกั้นน้ำ: 18 นิ้ว (457 มม.) (หัวเรือ), 15.25 นิ้ว (387 มม.) (ท้ายเรือ)
  • ฐานป้อม: 21.3 นิ้ว (541 มม.), 18 นิ้ว (457 มม.) (ท้ายเรือ)
  • ป้อมปืน: 22.5 นิ้ว (572 มม.)
  • ดาดฟ้า: 7.05–7.35 นิ้ว (179–187 มม.)
  • อากาศยาน: 3 × เครื่องบินน้ำ Vought OS2U Kingfisher/Curtiss SC Seahawk
    อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: 2 × เครื่องยิงส่งอากาศยานที่ท้ายเรือ สำหรับการปล่อยเครื่องบินทะเล[3]
    หมายเหตุ: เป็นเรือประจัญบานชั้นสุดท้ายที่ออกแบบโดยสหรัฐอเมริกา แม้จะมีแผนการสร้างแต่ถูกยกเลิกเสียก่อน

    เรือประจัญบานชั้นมอนแทนา (อังกฤษ: Montana-class battleships) แห่งกองทัพเรือสหรัฐเป็นชั้นเรือประจัญบานต่อจากเรือประจัญบานชั้นไอโอวา แม้จะไม่รวดเร็วเท่าแต่ประกอบไปด้วยระวางขับน้ำที่ใหญ่กว่า อาวุธที่หนักกว่า เกราะที่หนากว่า และความสามารถต่อสู้อากาศยานที่เหนือกว่าชั้นไอโอวา ซึ่งแน่นอนว่านี่จะเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่และแข็งแกร่งที่สุดเท่าที่สหรัฐอเมริกาเคยออกแบบและวางแผนที่จะสร้าง และจะเป็นเรือรุ่นเดียวที่สามารถเทียบชั้นได้กับเรือประจัญบานชั้นยามาโตะของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในแง่ของเกราะและขนาดของระวางขับน้ำ

    สหรัฐได้วางแผนที่จะสร้างเรือชั้นมอนแทนาไว้ถึง 5 ลำด้วยกันคือ มอนแทนา, โอไฮโอ, เมน, นิวแฮมป์เชอร์ และลุยเซียนา ทั้ง 5 ลำได้รับอนุมัติให้สร้างเรียบร้อยแล้วระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง แต่การต่อเรือถูกยกเลิกไปเสียก่อนเนื่องจากมีความต้องการเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเอสเซ็กซ์ และเรือประจัญบานอื่น ๆ ในชั้นไอโอวามากกว่า จึงทำให้เรือชั้นมอนแทนาทั้ง 5 ลำไม่ได้ถูกวางกระดูกงูเพื่อก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน

    การวางแผนการต่อเรือชั้นมอนแทนาถูกวางไว้ตั้งแต่ก่อนที่สหรัฐจะเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง และเรือในชั้นนี้สองลำแรกได้รับการอนุมัติให้สร้างจากสภาคองเกรสในปี 1939 ภายหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้สหรัฐเลื่อนแผนการต่อเรือชั้นนี้ออกไป หลังจากนั้น ความสำเร็จจากการต่อสู้ทางอากาศในการรบที่ทะเลคอรัล (Coral Sea) และต่อด้วยยุทธนาวีเกาะมิดเวย์ ก็แสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพของเรือบรรทุกเครื่องบินที่มีความสำคัญในการรบเหนือกว่าเรือประจัญบาน ประกอบกับความต้องการเรือบรรทุกเครื่องบิน เรือสะเทินน้ำสะเทินบก เรือต่อต้านเรือดำน้ำ และยังมีความต้องการเรือประจัญบานชั้นไอโอวาเพิ่มเติมเนื่องจากสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วพอที่จะใช้คุ้มกันเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นเอสเซ็กซ์ ด้วยเหตุผลทั้งหมดนี้ทำให้เรือประจัญบานชั้นมอนแทนาทั่ง 5 ลำถูกยกเลิกการสร้างถาวร และสหรัฐก็ไม่มีแผนในการสร้างเรือประจัญบานใด ๆ อีกเลยในเวลาต่อมา ทำให้เรือประจัญบานชั้นไอโอวาดำรงความเป็นเรือประจัญบานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่สหรัฐเคยมีต่อมาจนถึงปัจจุบัน

    เรือในชั้น

    [แก้]
    ชื่อ หมายเลขตัวเรือ[6] ผู้สร้าง[6] อนุมัติการสร้าง[6] ระงับการสร้าง[6] ยกเลิกการสร้าง[6]
    มอนแทนา
    (Montana)
    BB-67 อู่ทหารเรือฟิลาเดลเฟีย, ฟิลาเดลเฟีย, รัฐเพนซิลเวเนีย 19 กรกฎาคม 1940 เมษายน 1942 21 กรกฎาคม 1943
    โอไฮโอ
    (Ohio)
    BB-68
    เมน
    (Maine)
    BB-69 อู่ทหารเรือนิวยอร์ก, นครนิวยอร์ก, รัฐนิวยอร์ก
    นิวแฮมป์เชอร์
    (New Hampshire)
    BB-70
    ลุยเซียนา
    (Louisiana)
    BB-71 อู่ทหารเรือนอร์ฟอล์ก, นอร์ฟอล์ก, รัฐเวอร์จิเนีย

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. 1.0 1.1 "US Battleships". USS Missouri Memorial Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-21. สืบค้นเมื่อ 2007-10-03.
    2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 Newhart, Max R. (May 2007) [1995]. American Battleships: A Pictorial History of BB-1 to BB-71 with prototypes Maine & Texas (Battleship Memorial ed.). Missoula, Montana: Pictorial Histories Publishing Company. pp. 102–106. ISBN 1-57510-004-5. {{cite book}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
    3. 3.0 3.1 Yarnall, Paul R. "NavSource Online: Battleship Photo Archive (BB-67 USS Montana)". NavSource Naval History: Photographic History Of The U.S. Navy. NavSource Team. p. 148. สืบค้นเมื่อ 2008-05-30.
    4. These would have been the heaviest warships in the US Navy at the time of their commissioning; and would have remained the class with the greatest displacement until the commissioning of the Forrestal-class aircraft carriers, which weighed 79,300 long ton (80,600 t) fully loaded. "CV-59 Forrestal class". Military Analysis Network. Federation of American Scientists. 6 March 1999. สืบค้นเมื่อ 2007-12-24.
    5. Johnston, Ian; McAuley, Rob (2002). The Battleships. London: Channel 4 Books (an imprint of Pan Macmillian, LTD). p. 122. ISBN 0-7522-6188-6.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
    6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Friedman 1980, p. 100.