เทศบาลเมืองชุมพร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
เทศบาลเมืองชุมพร | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Chumphon |
คำขวัญ: ชุมพรเมืองน่า��ยู่ เคียงคู่ธรรมาภิบาล | |
พิกัด: 10°29′39″N 99°10′46″E / 10.494161°N 99.179506°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ชุมพร |
อำเภอ | เมืองชุมพร |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ศรีชัย วีระนรพานิช |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 21.10 ตร.กม. (8.15 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 33,663 คน |
• ความหนาแน่น | 1,595.40 คน/ตร.กม. (4,132.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04860102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 333 ถนนปรมินทรมรรคา ตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 86000 |
เว็บไซต์ | www |
ชุมพร เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
ประวัติ
[แก้]เทศบาลเมืองชุมพร ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2479 ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง เทศบาลเมืองชุมพร พุทธศักราช 2479 ซึ่งในขณะนั้นมีพื้นที่ในเขตเทศบาล 21.10 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 3,000 คน 500 หลังคาเรือน และได้จัดตั้งเขตชุมชนในตำบล อันเป็นที่ตั้งศาลากลาง จังหวัดชุมพร
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้มีพระราชกฤษฎี���าเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองชุมพร โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกาเล่ม 111 ตอนที่ 31 ก. ลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2537
ภูมิศาสตร์
[แก้]เทศบาลเมืองชุมพร ตั้งอยู่บนถนนปรมินทรมรรคา ในเขตตำบลท่าตะเภา อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งอยู่ในบริเวณชุมชนที่มีกิจกรรมธุรกิจการค้า และการบริการ ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 463 กิโลเมตร และทางรถไฟประมาณ 485 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ 21.10 ตารางกิโลเมตร โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลท่าตะเภา และพื้นที่บางส่วนของตำบลบางหมาก ตำบลตากแดด ตำบลวังไผ่ ตำบลนาทุ่ง และตำบลขุนกระทิง
- ทิศเหนือ จดคลองชลประทานสามแก้ว (เทศบาลตำบลบางลึกและเทศบาลตำบลนาชะอัง)
- ทิศตะวันออก จดคลองหนองม่วงค้อม-คลองท่านางสังข์ (เทศบาลตำบลท่ายางและองค์การบริหารส่วนตำบลนาทุ่ง)
- ทิศใต้ จดสะพานคลองท่าตะเภา (เทศบาลตำบลบางหมากและองค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด)
- ทิศตะวันตก จดเขต เทศบาลตำบลวังไผ่ และเทศบาลตำบลขุนกระทิง
ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบริมแม่น้ำ และมีความลาดเอียงของพื้นที่เนื่องจาก เทศบาลเมืองชุมพรเป็นพื้นที่ที่อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาตะนาวศรีฝั่งตะวันตกและชายฝั่งทะเลด้าน ตะวันออก ดังนั้น พื้นที่จึงมีความลาดเอียงจากด้านทิศตะวันตกสู่ด้านทิศตะวันออกลงสู่ทะเล
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปมีฝนตกชุกตลอดปี เนื่องจากได้รับมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1,701.9 มิลลิเมตร อากาศจะเย็นสบายในช่วงฤดูฝนและไม่ร้อนจัดในช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27.1 องศาเซลเซียส
เศรษฐกิจ
[แก้]ประชากรในเขตเทศบาลส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย โดยเฉพาะในบริเวณชุมชนย่านธุรกิจการค้าซึ่งสถานประกอบการค้าจะเป็นร้านค้าบริการและร้านค้าปลีกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ร้านให้บริการต่างๆ และร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม ร้านขายของเบ็ดเตล็ด ร้านเสริมสวย เป็นต้น ส่วนอาชีพอื่นอันได้แก่ การทำนา ทำสวนผลไม้ ประมง จะอยู่ในพื้นที่รอบนอกเขต เทศบาลเมืองชุมพร
สภาพทางเศรษฐกิจของเทศบาลจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการค้าและการบริการเป็นสำคัญ กิจการค้าและบริการที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยสถานประกอบการจะเป็นทั้งร้านค้าบริการ และร้านค้าปลีก ส่วนกิจกรรมอุตสาหกรรมที่ตั้งในพื้นที่เขตเทศบาลส่วนมากจะเป็นอุตสาหกรรมประเภทอู่ซ่อมรถ เคาะพ่นสีรถยนต์ รองลงมาคือทำท่อซีเมนต์ ประตู-หน้าต่าง ผลิตอาหาร และเครื่องดื่ม ส่วนกำลังแรงงานโดยส่วนมากจะเป็นกำลังแรงงานในกิจการอุตสาหกรรม อู่ซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์
ประชากร
[แก้]ในเขตเทศบาลเมืองชุมพร มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 33,529 คน เป็นเพศชาย 15,828 คน เพศหญิง 17,701 คน เป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 24,550 คน มีจำนวนหลังคาเรือน 16,268 หลังคาเรือน
การศึกษา
[แก้]สถานการศึกษาในเขตเทศบาลมีจำนวน 12 แห่ง จำแนกเป็น
- ระดับก่อนประถมศึกษา
- โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2 โรงเรียน
- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 3 โรงเรียน
- โรเรียนในสังกัดเทศบาล จำนวน 2 โรงเรียน
- ระดับมัธยมศึกษา
- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชุมพร เขต 1 จำนวน 2 โรงเรียน
- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จำนวน 2 โรงเรียน
- โรงเรียนในสังกัดเทศบาล จำนวน 1 โรงเรียน
- โรงเรียนสังกัดกรมการศาสนา จำนวน - โรงเรียน
- ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา
จำนวน 1 โรงเรียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองชุมพร". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)