ข้ามไปเนื้อหา

เชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ข้อความของโปสเตอร์ Chartist ในปี ค.ศ. 1848 นี้ใช้ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (ใช้ไทป์เฟซแบบดีโดนีผสมอยู่ด้วยบางส่วน)

ในศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือที่เรียกว่าสแลบเซริฟ (อังกฤษ: slab serif), แบบกลไก (mechanistic), เชิงจตุรัส (square serif), โบราณ (antique), อียิปต์ (Egyptian) เป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงประเภทหนึ่งที่โดดเด่นด้วยเชิงที่หนาคล้ายบล็อก[1][2] เชิงเหล่านั้นอาจทื่อและเป็นเชิงมุม (Rockwell) หรือแบบกลม (เคอเรียร์) เชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากถือกำเกิดขึ้นในต้นศตวรรษที่ 19

ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นประเภทไทป์เฟซที่ใหญ่และมีความหลากหลาย ไทป์เฟซบางตัวเช่น Memphis และร็อคเวลล์มีการออกแบบที่เน้นความเป็นเรขาคณิต โดยมีการเปลี่ยนแปลงความกว้างของเส้นขีดน้อยมาก บางครั้งก็ถูกเรียกว่าเป็นฟอนต์แบบไม่มีเชิงที่มีเชิงเพิ่มเข้ามา ไทป์เฟซอื่นๆ เช่น ไทป์เฟซคลาเรนดอน มีโครงสร้างเหมือนกับไทป์เฟซแบบมีเชิงอื่นๆ ส่วนใหญ่ แม้ว่าจะมีเชิงที่ใหญ่กว่าและชัดเจนกว่าก็ตาม[3] การออกแบบเหล่านี้อาจมีเชิงทรงวงเล็บเหลี่ยมซึ่งจะเพิ่มความกว้างตามความยาวก่อนที่จะรวมเข้ากับลายเส้นหลักของตัวอักษร ในขณะที่ไทป์เฟซที่เน้นความเป็นเรขาคณิตนั้น เชิงจะมีความกว้างคงที่

ไทป์���ฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่เน้นสำหรับไว้ใช้แสดงผลมักจะหนามาก โดยมีจุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อ่านโปสเตอร์ ในขณะที่ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่เน้นความที่เน้นให้อ่านง่ายในขนาดเล็กจะมีลักษณะที่ไม่เวอร์เท่า ไทป์เฟซบางตัวที่เน้นการพิมพ์ขนาดเล็กและการพิมพ์บนกระดาษหนังสือพิมพ์คุณภาพต่ำอาจมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากเพื่อเพิ่มความชัดเจน ในขณะที่คุณสมบัติอื่นๆ ของไทป์เฟซนั้นใกล้เคียงกับไทป์เฟซอื่นๆ ที่ใช้ในหนังสือทั่วไป

ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากมักใช้ในเครื่องพิมพ์ดีด โดยไทป์เฟซที่โด่งดังที่สุดคือเคอเรียร์และธรรมเนียมนี้ทำให้ไทป์เฟซข้อความโมโนสเปซ จำนวนมากสำหรับการใช้ในคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมเป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก[ต้องการอ้างอิง][จำเป็นต้องอ้างอิง]

ความเป็นมา

[แก้]
ตัวอย่างไทป์เฟซEgyptienne ซึ่งเป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากเลียนแบบ คลาเรนดอน
ตัวอย่างของไทป์เฟซร็อคเวลล์ ซึ่งเป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่เน้นความเป็นเรขาคณิต
ตัวอย่างของไทป์เฟซเคอเรียร์ซึ่งเป็นไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่อิงจากไทป์เฟซการพิมพ์แบบขีดทับ

ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากปรากฏขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 โดยแทบไม่มีอะไรเหมือนกันกับไทป์เฟซก่อนหน้านี้เลย ในขณะที่การพิมพ์สื่อโฆษณาเริ่มขยายตัวในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 รูปแบบตัวอักษรใหม่และที่คาดว่าจะดึงดูดความสนใจมากขึ้นก็ได้รับ��วามนิยม[4] ไทป์เฟซขนาดโปสเตอร์เริ่มได้รับการพัฒนาซึ่งไม่เพียงแต่ขยายรูปแบบหนังสือเท่านั้น แต่ยังแตกต่างและโดดเด่นยิ่งขึ้นอีกด้วย ไทป์เฟซบางตัวพัฒนามาจากการออกแบบเมื่อห้าสิบปีก่อน: แบบตัวหนาพิเศษที่เรียกว่า "หน้าอ้วน" ซึ่งเกี่ยวข้องกับไทป์เฟซแบบดีโดนีในยุคนั้นแต่โดดเด่นกว่ามาก[5] ไทป์เฟซอื่นๆ มีโครงสร้างใหม่ทั้งหมด: ตัวอักษรแบบไม่มีเชิงซึ่งมีพื้นฐานมาจากสมัยโบราณคลาสสิก และรูปแบบตัวอักษรที่ตัดกันอย่างตรงกันข้าม การออกแบบบางประเภทที่ปรากฏในช่วงเวลานี้อาจอิงตามประเพณีการทาสีป้ายและตัวอักษรทางสถาปัตยกรรม หรือในทางกลับกัน[a]

ตัวอย่างแรกที่รู้จักของรูปแบบไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากคือตัวอักษรบล็อกไม้ในโฆษณาลอตเตอรีปี 1810 จากลอนดอน[6] ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากอาจถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดย Vincent Figgins ผู้ออบแบบไทป์เฟซจากลอนดอน ภายใต้ชื่อ "โบราณ" โดยปรากฏในตัวอย่างไทป์เฟซลงวันที่ ค.ศ. 1815 (แต่อาจออกในปี ค.ศ. 1817)[7][1][b]

นายพิมพ์ Thomas Curson Hansard เขียนในปี ค.ศ. 1825 ด้วยความสนุกสนานว่าไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากและไทป์เฟซอื่นๆ ที่เน้นสำหรับไว้ใช้แสดงผลเป็น "ไทป์เฟซที่อุกอาจ ซึ่งดัดแปลงมาเฉพาะสำหรับป้ายโฆษณา ตั๋วเงิน บัตรเชิญสู่กงล้อแห่งโชคลาภ...แฟชั่นและแฟนซีโดยทั่วไป สนุกสนานจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง"[14]

ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากได้รับความนิยมลดลงตามความนิยมที่เพิ่มขึ้นของไทป์เฟซแบบไม่มีเชิง (ซึ่งทั้งสองแนวนี้ก็แข่งขันกันมาโดยตลอด)[15] คอลเลกชันไทป์เฟซไม้ดั้งเดิมที่โดดเด่นจัดขึ้นในแฮมิลตันในรัฐวิสคอนซิน [16] [17] และ มหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสตินรวบรวมโดยร็อบ รอย เคลลี่ นักเขียนหนังสือที่รู้จักกันดีเกี่ยวกับประเภทโปสเตอร์ของอเมริกา[18] Adobe Inc. ได้เผยแพร่ไทป์เฟซจำนวนมากที่ได้รับแรงบันดาลใจจากไทป์เฟซไม้ในศตวรรษที่ 19[19][20][21][22]

หลังจากกิจกรรมในอียิปต์ของนโปเลียนและการเผยแพร่รูปภาพและคำอธิบายผ่านสิ่งพิมพ์เช่น Description de l'Égypte (ปี ค.ศ. 1809) ความหลงใหลในวัฒนธรรมอียิปต์ก็ตามมา ห้องชุดเฟอร์นิเจอร์ห้องนั่งเล่นร่วมสมัยถูกผลิตขึ้นคล้ายกับเฟอร์นิเจอร์ที่พบในสุสาน วอลเปเปอร์ลายพิมพ์แกะไม้หลากสีอาจทำให้ห้องอาหารในเอดินบะระหรือชิคาโกให้ความรู้สึกเหมือนลักซอร์ แม้ว่าจะไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างระบบการเขียนของอียิปต์กับไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก แต่การตลาดที่ชาญฉลาดหรือความสับสนอย่างไร้เดียงสาก็ทำให้ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากมักถูกเรียกว่าแบบอียิปต์[23] นักประวัติศาสตร์เจมส์ มอสลีย์ได้แสดงให้เห็นว่าไทป์เฟซและตัวอักษรชุดแรกที่เรียกว่า 'แบบอียิปต์' เห็นได้ชัดว่าเป็นไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงทั้งหมด[7]

คำว่าแบบอียิปต์ถูกนำมาใช้โดยโรงหล่อของฝรั่งเศสและเยอรมัน ซึ่งต่อมาคำว่า Egyptian ได้กลายมาเป็นคำว่า Egyptienne รูปแบบที่เบากว่าของเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากซึ่งมีลายเส้นกว้างเพียงเส้นเดียวเรียกว่า 'หน้าช่างแกะสลัก' (engravers face) เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับโครงสร้างโมโนไลน์ของการแกะสลักโลหะ ส่วนคำว่า 'slab-serif' นั้นเพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เป็นไปได้ว่าเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20[24]

เนื่องจากลักษณะที่ชัดเจนและหนาของเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก การออกแบบที่มีลักษณะเฉพาะของเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากจึงมักใช้กับงานพิมพ์ขนาดเล็ก เช่น ในการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดและบนกระดาษหนังสือพิมพ์ ตัวอย่างเช่น Legibility Group ของ Linotype ซึ่งหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่พิมพ์ในช่วงศตวรรษที่ 20 ส่วนใหญ่มีรูปแบบ "อิออน" หรือ "คลาเรนดอน" ที่ปรับให้เข้ากับข้อความเนื้อหาที่มีความต่อเนื่อง[25][26][27]

นอกจากนี้ Joanna, TheSerif, FF Meta Serif และ Guardian Egyptian เป็นตัวอย่างอื่นๆ ของไทป์เฟซที่ใช้ในหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์อื่นขนาดเล็กที่มีเชิงแบบ monoline ปกติ (บางครั้งมองเห็นได้ชัดเจนกว่าด้วยตัวหนา) แต่มีโครงสร้างไทป์เฟซแบบมนุษยนิยมทั่วไปที่ไม่ได้รับอิทธิพลเป็นพิเศษจากไทป์เฟซสไตล์ศตวรรษที่ 19 (เช่นเดียวกับพวก คลาเรนดอน) มีการใช้คำว่า "ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากมนุษยนิยม" กับไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากในรูปแบบนี้[28][29]

นักออกแบบฟอนต์สมัยใหม่ Jonathan Hoefler และ Tobias Frere-Jones อธิบายถึงกระบวนการออกแบบไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยสังเกตว่าโครงสร้างของไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากขนาดใหญ่ทำให้เกิดการประนีประนอมกับโครงสร้าง ด้วยการออกแบบที่เน้นความเป็นเรขาคณิตล้วนๆ นั้นยากที่จะสร้างขึ้นในขนาดที่หนาเป็นพิเศษจนเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้าง ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กแบบโมโนไลน์อย่างเคร่งครัด และการออกแบบสไตล์คลาเรนดอนที่ยากต่อการสร้างในสไตล์ที่เส้นบางกว่า[3]

การจำแนกประเภทย่อย

[แก้]

มีประเภทย่อยหลักๆ หลายประเภทของไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก:

แบบโบราณ

[แก้]

ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่เก่าแก่ที่สุดมักถูกเรียกว่า "โบราณ" หรือ "แบบอียิปต์" พวกมันมักจะเป็นแบบโมโนไลน์ในโครงสร้าง และมีความคล้ายคลึงกับไทป์เฟซแบบมีเชิงสมัยศตวรรษที่ 19 เช่น จบเส้นด้วยจุด[3]

Oldstyle Antique ของมิลเลอร์และริชาร์ด เช่นเดียวกับที่แบบอักษรของคลาเรนดอนใช้แบบดีโดนี หรือโมเดลหน้าสมัยใหม่เป็นพื้นฐานสำหรับเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก มันก็มีพื้นฐานมาจากการออกแบบ "สไตล์เก่า" ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบตัวพิมพ์ในศตวรรษที่ 18 ทำให้โดดเด่นยิ่งขึ้นเล็กน้อยและมีคอนทราสต์ต่ำลง เดิมทีมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นประเภทตัวหนาเพื่อเน้นย้ำ แต่มักใช้กับข้อความเนื้อหาทั่วไป เช่น หากถือว่าการอ่านเป็นสิ่งสำคัญ [30] [31] Bookman นั้นพัฒนามาจากสไตล์นี้ [32]

แบบคลาเรนดอน

[แก้]

ไทป์เฟซของ คลาเรนดอน ต่างจากไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากอื่นๆ โดยมีการถ่ายคร่อมและขนาดที่ตัดกันอย่างในไทป์เฟซแบบมีเชิงจริง โดยเชิงมักจะมีส่วนโค้งจึงเปลี่ยนความกว้างและกว้างขึ้นเมื่อเข้าใกล้เส้นหลักของตัวอักษร[3] ตัวอย่าง ได้แก่ คลาเรนดอน และ Egyptienne[ จำเป็นต้องอ้างอิง ]

แบบอิตาลี

[แก้]
ไทป์เฟซ คลาเรนดอน แบบฝรั่งเศส (บน) เปรียบเทียบกับการออกแบบ คลาเรนดอน ทั่วไป (ล่าง)

ในแบบอิตาลีหรือที่รู้จักกันในชื่อ French คลาเรนดอน เชิงจะหนักกว่าตัวเส้น ทำให้เกิดเอฟเฟกต์ที่น่าทึ่งและดึงดูดความสนใจ สิ่งนี้เรียกว่าไทป์เฟซคอนทราสต์แบบย้อนกลับ มักใช้ในละครสัตว์และโปสเตอร์อื่นๆ และมักพบเห็นได้ทั่วไปในภาพยนตร์ตะวันตกหรือเพื่อสร้างบรรยากาศของศตวรรษที่ 19 ได้รับความนิยมมากที่สุดในช่วงทศวรรษที่ 1860 จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าแนวคิดพื้นฐานจะมีต้นกำเนิดมาจากการพิมพ์ในลอนดอนในช่วงทศวรรษปี 1820 และมีการใช้นอกสหรัฐอเมริกาก็ตาม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาแบบย่อยนี้ก็ได้รับการออกแบบใหม่อยู่หลายครั้ง ตัวอย่างเช่นโดย Robert Harling มาเป็น Playbill และอีกไม่นานโดย Adrian Frutiger มาเป็น Westside

ไทป์เฟซของเครื่องพิมพ์ดีด

[แก้]

ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากของเครื่องพิมพ์ดีดได้รับการตั้งชื่อมาเพื่อใช้ในการพิมพ์ดีดแบบขีดทับ ไทป์เฟซเหล่านี้มีต้นกำเนิดในรูปแบบโมโนสเปซที่มีความกว้างคงที่ ซึ่งหมายความว่าอักขระทุกตัวจะใช้พื้นที่แนวนอนเท่ากันทุกประการ คุณลักษณะนี้จำเป็นโดยธรรมชาติของอุปกรณ์เครื่องพิมพ์ดีด ตัวอย่าง ได้แก่เคอเรียร์(ในรุ่นเรขาคณิต) และ Prestige Elite (ในรุ่น คลาเรนดอน)

ชื่ออื่น ๆ ถูกนำมาใช้เรียกแบบนี้มากมาย โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 19 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการแยกระหว่างชื่อไทป์เฟซและประเภทของไทป์เฟซ ดังนั้นจึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าชื่อหนึ่งๆ กำลังกล่าวถึงไทป์เฟซเฉพาะ หรือกล่าวถึงประเภทย่อยของไทป์เฟซ[33][34] ตัวอย่างเช่น ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากในโมเดล คลาเรนดอน ของฝรั่งเศสเรียกอีกอย่างว่า 'เซลติก' (Celtic), 'เบลเยียม' (Belgian), 'อัลดีน' (Aldine) และ 'ทูโทนิก' (Teutonic) โดยนักพิมพ์ของอเมริกา เช่นเดียวกับ 'ทัสคัน' (Tuscan) ซึ่งเป็นชื่อที่หมายถึงเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากทรงเพชรที่เรียกว่าเดือยมัธยฐาน (median spurs) ที่ด้านข้างของรูปตัวอักษร[18]

แบบเรขาคณิต

[แก้]
Beton Bold ในตัวอย่างไทป์เฟซโลหะ ความหนาบางของเส้นมีน้อยแทบไม่มีเลย และรูปแบบตัวอักษรจะใช้วงกลมเป็นรูปทรงพื้นฐาน

การออกแบบที่เน้นความเป็นเรขาคณิตไม่มีการถ่ายคร่อม และเส้นหลักกับเชิงมีความหนาเท่ากัน ตัวอย่างในช่วงแรกๆ ได้แก่ Memphis, Rockwell, Karnak, Beton, Rosmini, City และ Tower ซึ่งหลายตัวอย่างได้รับอิทธิพลจากไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงที่เน้นความเป็นเรขาคณิตในช่วงทศวรรษปี 1920 และ 1930 โดยเฉพาะ Futura [3] ไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงที่เน้นความเป็นเรขาคณิตที่รู้จักกันดีล่าสุด ได้แก่ ITC Lubalin, Neutraface Slab และ Archer

ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากโมโนไลน์บางตัว เช่น เซริฟา เฮลเซริฟ และ โรโบโตสแล็บ ได้รับการออกแบบภายใต้อิทธิพลของไทป์เฟซแบบไม่มีเชิงแบบวิรูปใหม่ในช่วงทศวรรษปี 1950 และ 1960 เป็นต้นไป และอาจเรียกไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากเหล่านั้นว่า "ไทป์เฟซแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากวิรูปใหม่"[35][36][37][38]

ตัวอย่างไทป์เฟซอักษรไทย

[แก้]
  1. ไทป์เฟซดิลเลเนีย ยูพีซี (DilleniaUPC) ที่ติดตั้งมาพน้อมกับระบบปฏิบัติการ​ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ นั้นจับคู่รูปอักขระไทยมีหัวเข้ากับรูปอักขระละตินแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยรูปอักขระละตินของไทป์เฟซนี้นั้นแทบจะเหมือนกับของไทป์เฟซ Serifa ทุกประการ ต่างกันแค่ตรงที่รูปอักขระละตินของดิลเลเนีย ยูพีซี จะแคบกว่าของ Serifa (ความกว้างน้อยกว่า)​
  2. ไทป์เฟซปรีดี (Pridi) จับคู่รูปอักขระไทยมีหัว (แต่รูปอักขระไทยของปรีดีจะถูก simplify มากกว่าของ DilleniaUPC) เข้ากับรูปอักขระละตินแบบมีเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉากเช่นกัน[39]

Fonts-TLWG

[แก้]

Fonts-TLWG ซึ่งพัฒนาโดยไทยลินุกซ์เวิร์กกิงกรุ๊ปมีไทป์เฟซอักษรไทย 4 ไทป์เฟซ ที่ใช้รูปอะขระละตินแบบเดียวกับเคอเรียร์

  1. TlwgMono
  2. Tlwg Typewriter
  3. Tlwg Typist
  4. Tlwg Typo

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. This can make tracing the descent of sans and slab-serif styles hard, since a trend can arrive in print directly and without apparent precedent from a signpainting tradition which has left less of a record.
  2. Whether Figgins' foundry produced the very first slab-serif is a question that is unlikely to be ever confirmed, but Nicolete Gray felt that "it seems probable"[8] as his is the first foundry with a surviving specimen showing them. This first Figgins specimen to show them was an "1815" specimen containing 1817 watermarked paper, held by Oxford University Press; other 1815-dated Figgins specimens do not show it; another "1815" specimen that was held by Stephenson Blake with 1820 on the spine shows more.[8] No specimens are known from Figgins' main rivals who produced many slab serifs, the Caslon and Thorne (later Thorowgood) foundries, over the relevant period. Figgins had four sizes in ป. 1817, nine ป. 1820, and nineteen in a specimen dated 1821[8] but containing 1823 pages;[9] no Caslon specimens are known between 1816 and 1821 but the first surviving specimen from Caslon to show slab-serifs dates from 1821 and shows eleven sizes.[8][10] Thorne had four sizes in 1820.[11] Even fewer specimens survive from other foundries; none are known from Bower and Bacon between 1813 and 1826, by which time they had eighteen sizes.[12] Gray concluded that any of Figgins, Thorowgood and Caslon could have been first to issue a lower-case (already seen on the 1810 woodblock), as they all introduced ones around 1820.[13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Gray, Nicolete. "Slab-serif type design in England 1815-1845". Journal of the Printing Historical Society. 15: 1–35.
  2. Twyman, Michael. "The Bold Idea: The Use of Bold-looking Types in the Nineteenth Century". Journal of the Printing Historical Society. 22 (107–143).
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Sentinel: historical background". IDSGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-28. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  4. Mosley, James (1963). "English Vernacular". Motif. 11: 3–56.
  5. Kennard, Jennifer (3 January 2014). "The Story of Our Friend, the Fat Face". Fonts in Use. สืบค้นเมื่อ 11 August 2015.
  6. Mosley, James. "The Nymph and the Grot: an Update". Typefoundry blog. สืบค้นเมื่อ 12 December 2015.
  7. 7.0 7.1 James Mosley, The Nymph and the Grot: the revival of the sanserif letter. London: Friends of the St Bride Printing Library, 1999.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Gray 1980, p. 12.
  9. Mosley 1984, p. 33.
  10. Mosley 1984, p. 29.
  11. Gray 1980.
  12. Gray 1980, p. 22.
  13. Gray 1980, pp. 12, 15.
  14. Hansard, Thomas Curson (1825). Typographia, an Historical Sketch of the Origin and Progress of the Art of Printing. p. 618. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  15. Tam, Keith. "The revival of slab-serif typefaces in the 20th century" (PDF). KeithTam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-18. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  16. Hamilton Wood Type and Printing Museum
  17. Analog, digital, virtual: @Home with Hamilton Wood Type by Molly Doane
  18. 18.0 18.1 "Rob Roy Kelly Wood Type Collection". University of Texas. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  19. Bringing Wood Type into the 21st Century by Angela Riechers
  20. Hamilton Wood Type Collection – joint venture between P22 Type Foundry and the Hamilton Wood Type and Printing Museum
  21. Wood Type Revival – created from hand-set letterpress prints of the original 19th century wood type by Matt Griffin & Matt Braun
  22. Etna – typeface adapted by Mark Simonson from HWT Aetna
  23. Carter, E., Day. B, Meggs P.: "Typographic Design: Form and Communication, Third Edition", page 35. John Wiley & Sons, 2002.
  24. Biggs, John (1954). The Use of Type: The Practice of Typography. Blandford Press.
  25. Hutt, Allen (1973). The Changing Newspaper: typographic trends in Britain and America 1622-1972 (1. publ. ed.). London: Fraser. pp. 100–2 etc. ISBN 9780900406225. The majority of the world's newspapers are typeset in one or another of the traditional Linotype 'Legibility Group', and most of the rest in their derivatives.
  26. Alexander S. Lawson (January 1990). Anatomy of a Typeface. David R. Godine Publisher. pp. 277–294. ISBN 978-0-87923-333-4.
  27. The Legibility of Type. Brooklyn: Mergenthaler Linotype Company. 1935. สืบค้นเมื่อ 29 April 2016.
  28. Middendorp, Jan. Dutch Type. pp. 192 etc.
  29. Bryan, Marvin (1996). The Digital Typography Sourcebook. New York: Wiley. pp. 144–145. ISBN 9780471148111.
  30. Theodore Low De Vinne (1902). The Practice of Typography: A Treatise on Title-pages, with Numerous Illustrations in Facsimile and Some Observations on the Early and Recent Printing of Books. Century Company. pp. 233–241. ISBN 9780838309353.
  31. Alexander S. Lawson (January 1990). Anatomy of a Typeface. David R. Godine Publisher. pp. 262–280. ISBN 978-0-87923-333-4.
  32. Ovink, G.W. (1971). "Nineteenth-century reactions against the didone type model - I". Quaerendo. 1 (2): 18–31. doi:10.1163/157006971x00301. สืบค้นเมื่อ 20 February 2016.
  33. Frere-Jones, Tobias. "Scrambled Eggs & Serifs". Frere-Jones Type. สืบค้นเมื่อ 23 October 2015.
  34. Type classifications are useful, but the common ones are not by Indra Kupferschmid
  35. "Helserif". MyFonts. URW++. สืบค้นเมื่อ 19 March 2016.
  36. Loxley, Simon (14 May 2012). "Font Wars: A Story On Rivalry Between Type Foundries". Smashing Magazine. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  37. Coles, Stephen. "Twitter post". Twitter. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016. [From a Helserif ad:] "Look what happened to Helvetica. It grew wings."
  38. Budrick, Callie (19 October 2015). "Vintage Fonts: 35 Adverts From the Past". Print. สืบค้นเมื่อ 20 March 2016.
  39. คัดสรร ดีมาก. "cadsondemak/pridi". สืบค้นเมื่อ 2024-07-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]