เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล)
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง | |
---|---|
เกิด | 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2364 |
ถึงแก่กรรม | 2 มกราคม พ.ศ. 2437 (72 ปี) |
ตำแหน่ง | สมุหพระสุรัสวดี |
บิดามารดา |
|
ตระกูล | เพ็ญกุล |
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง (เพ็ง เพ็ญกุล) เป็นเป็นข้าราชการชาวไทย ต้นสกุล "เพ็ญกุล" ผู้ก่อตั้งโรงละครอย่างตะวันตกโดยใช้ชื่อว่า ปรินซ์เธียร์เตอร์ (Prince Theatre) และการริเริ่มแสดงละครโดยเก็บค่าชม
ประวัติ
[แก้]เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง มีนามเดิมว่า วันเพ็ญ เพราะเกิดในวันเพ็ญเดือน 6 ปีมะเส็ง เวลายามหนึ่ง ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2364[1] ภายหลังเรียกเพียงโดยย่อว่าเพ็ง เป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) เพ็งมีพี่น้องอีกสี่คน ตนเองเป็นคนสุดท้อง ได้เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับเจ้าฟ้ามงกุฎที่อารามสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎทรงขอรับไปเลี้ยงและทรงออกนามว่า "พ่อเพ็ง" ครั้นเสด็จทรงราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว โปรดให้เพ็งเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กที่ตำแหน่งเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี
ต่อมาภายหลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังสหราชอาณาจักร เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต เมื่อกลับคืนมายังกรุงเทพมหานครแล้ว จึงโปรดเลื่อนเจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นพระบุรุษรัตนราชวัลลภ ในคราวที่พระองค์ประชวรใกล้จะสิ้นนั้น พระบุรุษรัตนราชวัลลภก็ได้เฝ้าดูพระราชหฤทัยด้วย
ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์เป็นรัชกาลถัดมา ก็โปรดให้พระบุรุษรัตนราชวัลลภเป็นสมุหพระสุรัสวดีที่บรรดาศักดิ์พระยาราชสุภาวดี และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2417 ก็รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง สกูลวงศ์อรเอกดิเรกยศ มธุรพจนสุนทรธรรมยุติยานุวัติ บุรุษรัตนทุวาธิราชนิกรวร��ุคลบาท บรมนาถสวามิภักดิสนิท วิสิฐคุณศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ มีสถานะเทียบเท่าสมุหนายก แต่ว่าการกรมพระสุรัสวดีอย่างเดิม
เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2437[1] ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2438 ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2417 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2425 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[3]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สมมตอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งเจ้าพระยาในกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 404 หน้า. หน้า 103-6. ISBN 974-417-534-6
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยามหินธรศักดิธำรง, เล่ม ๑��, ตอน ๕๑, ๒๐ มีนาคม ๒๔๓๘, หน้า ๕๐๑-๒
- ↑ พระราชทานตราเครื่องราชอิสริยยศ (หน้า ๕๕๗)