สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 | |||||
---|---|---|---|---|---|
ประมุขเเห่งเครือจักรภพ | |||||
ชาลส์ ใน ค.ศ. 2023 | |||||
พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ | |||||
ครองราชย์ | 8 กันยายน พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน (2 ปี 4 เดือน 14 วัน) | ||||
ราชาภิเษก | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | ||||
ก่อนหน้า | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 | ||||
รัชทายาท | เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ | ||||
นายกรัฐมนตรี | ดูรายชื่อ | ||||
พระราชสมภพ | เจ้าชายชาร์ลส์แห่งเอดินบะระ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 พระราชวังบักกิงแฮม ลอนดอน ประเทศอังกฤษ | ||||
ชายา |
| ||||
พระราชบุตร รายละเอียด | |||||
| |||||
ราชวงศ์ | วินด์เซอร์[1] | ||||
พระราชบิดา | เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ | ||||
พระราชมารดา | สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 | ||||
ศาสนา | โปรเตสแตนต์[หมายเหตุ 2] | ||||
การศึกษา | Gordonstoun School | ||||
ศิษย์เก่า | ทรินิตีคอลเลจ (MA) | ||||
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |||||
รับใช้ | สหราชอาณาจักร | ||||
แผนก/ | |||||
ปีที่รับใช้ | 1971–1976 | ||||
ชั้นยศ | รายการ | ||||
บังคับบัญชา | เอชเอ็มเอส Bronington | ||||
ราชวงศ์สหราชอาณาจักร และเครือจักรภพ |
---|
|
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (อังกฤษ: Charles III) พระนามเต็ม ชาลส์ ฟิลิป อาร์เทอร์ จอร์จ (Charles Philip Arthur George; พระราชสมภพ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรและอีก 14 ประเทศเครือจักรภพ[หมายเหตุ 3] เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565
พระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์หลังพระราชมารดาเสด็จสวรรคตในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 ด้วยพระชนมพรรษา 73 พรรษา พระองค์เป็นรัชทายาทที่ดำรงพระยศองค์รัชทายาทยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังเป็นรัชทายาทที่พระชนมายุมากที่สุดที่สืบราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร พระราชพิธีราชาภิเษกจัดขึ้นที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2023
พระชนม์ชีพช่วงต้น
[แก้]ชาลส์เสด็จพระราชสมภพเวลา 21:14 น. (เวลามาตรฐานกรีนิช) ของวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948[2] ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 โดยเป็นพระราชบุตรองค์แรกในเจ้าหญิงเอลิซาเบธ ดัชเชสแห่งเอดินบะระ (ภายหลังเป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2) กับฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ[3] พระราชบิดามารดาให้กำเนิดพระราชโอรสธิดาอีก 3 พระองค์ คือ แอนน์ (ประสูติ ค.ศ. 1950), แอนดรูว์ (ประสูติ ค.ศ. 1960) และเอ็ดเวิร์ด (ประสูติ ค.ศ. 1964) จากนั้นในวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1948 ชาลส์ตอนพระชนมบรรษา 4 สัปดาห์ ได้รับบัพติศมาเป็น ชาลส์ ฟิลิป อาร์เทอร์ จอร์จ ในห้องดนตรี พระราชวังบักกิงแฮมโดย Geoffrey Fisher อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี[หมายเหตุ 4][หมายเหตุ 5][7][8]
จอร์จที่ 6 สวรรคตในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 และพระราชมารดาของชาลส์ขึ้นครองราชย์เป็นเอลิซาเบธที่ 2 ชาลส์จึงกลายเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงทันที พระองค์ได้รับตำแหน่งดยุคแห่งคอร์นวอลล์อัตโนมัติ ตามกฎบัตรของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 3 แห่งอังกฤษใน ค.ศ. 1337 และในฐานะพระราชโอรสองค์โตของกษัตริย์ และตำแหน่งดยุกแห่งรอธซี เอิร์ลแห่งคาร์ริก บารอนแห่งเรนฟรูว, ลอร์ดออฟดิไอลส์ และเจ้าชายและเกรตสจวตแห่งสกอตแลนด์ที่เป็นตำแหน่งฝ่ายสกอต[9] ต่อมา ในวันที่ 2 ของปีถัดมา ชาลส์เข้าร่วมพิธีราชาภิเษกองพระราชมารดาที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์[10] โดยพระองค์ทรงประทับนั่งระหว่างสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี พระอัยยิกา (ยาย) และเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน พระมาตุจฉา (น้า) และพระมารดาทูนหัวของพระองค์
การศึกษา
[แก้]โดยปกติแล้วพระราชวงศ์ที่มีพระชนม์ระหว่าง 5 – 8 ปีนั้นจะได้รับการศึกษาส่วนพระองค์ที่พระอาจารย์เข้ามาจัดการสอนถวายที่พระราชวังบักกิงแฮม หากแต่เจ้าชายเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรก (และรัชทายาทของอังกฤษพระองค์แรก) ที่เสด็จเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน โดยทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนฮิลล์ เฮาส์ในเมืองลอนดอน และต่อมาที่โรงเรียนเตรียมความพร้อมด้านวิชาเคมีในเมืองเบิร์คแชร์ ซึ่งเจ้าชายฟิลิปพระบิดาของพระองค์ได้เสด็จเข้าศึกษาด้วยเช่นกัน ต่อมาพระองค์ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกอร์ดอนสตันในประเทศสกอตแลนด์ ซึ่งนั่นทำให้พระองค์เป็นรัชทายาทพระองค์แรกๆ ที่เข้าศึกษาในระดับโรงเรียนมัธยมทั่วไป พระองค์ทรงนิยามการเรียนที่นั่นว่า "คำสั่งกักกัน" และมีความทรงจำที่เลวร้ายมากในการเรียนผ่านลายพระราชหัตถ์ถึงครอบครัวหลายฉบับ[11] [12]
พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในภาคศิลปศาสตรบัณฑิต[13] นอกจากนี้พระองค์ทรงยังเข้ารับการศึกษาภาษาเวลส์ที่มหาวิทยาลัยอาเบอริสต์วิธ ในเวลส์เป็นเวลาหนึ่งภาคการศึกษา[14]
เจ้าชายแห่งเวลส์
[แก้]ชาลส์ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์และเอิร์ลแห่งเชสเตอร์ในวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1958[15]
เมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 โดยทรงก่อตั้งองค์การการกุศลเยาวชน ปรินส์ทรัสต์ ในปี 1976 ทรงสนับสนุนปรินส์ชาริตี และทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ ประธานหรือสมาชิกขององค์การการกุศลและองค์การอื่นอีกกว่า 400 แห่ง พระองค์ทรงเรียกร้องให้อนุรักษ์สิ่งก่อสร้างประวัติศาสตร์และความสำคัญของสถาปัตยกรรมในสังคม[16] ทรงพระราชนิพนธ์หรือร่วมทรงพระราชนิพนธ์หนังสือกว่า 20 เล่ม พระองค์ทรงสนับสนุนการเกษตรออร์แกนิกและการปฏิบัติเพื่อยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระหว่างเป็นผู้จัดการที่ดินกรรมสิทธิ์ดัชชีคอร์นวอล ทำให้ทรงได้รับรางวัลและการยกย่องจากกลุ่มสิ่งแวดล้อมหลายกลุ่ม[17] พระองค์ทรงวิจารณ์อาหารดัดแปรพันธุกรรม ทรงสนับสนุนโฮมีโอพาธีและการแพทย์ทางเลือกอื่นซึ่งทำให้ได้รับกระแสวิจารณ์ ปรินส์ฟาวน์เดชัน ซึ่งเป็นหน่วยงานการกุศลหนึ่งของพระองค์ ตกเป็นเป้าวิจารณ์เนื่องจากมีการกล่าวหาว่ามีการมอบเกียรติยศและสัญชาติบริติชให้แก่ผู้บริจาค ซึ่งปัจจุบันตำรวจกำลังสอบสวนอยู่
ความสัมพันธ์และเสกสมรส
[แก้]เสกสมรส
[แก้]ครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมย์ซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีเอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดีซาราห์พี่สาวของเลดีไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิก แต่ต้องนับถือคริสตจักรแห่งอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนีมีพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดีฟรอมเมย์ได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือสุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก
สำนักพระราชวังประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1981 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่อาสนวิหารนักบุญเปาโล กรุงลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฎาคม ปีเดียวกัน แขกจำนวน 3,500 คนถูกเชิญมาในขณะที่ผู้ชมนับพันล้านคนทั่วโลกเฝ้ารอดูพระราชพิธี
หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์นอกจากนี้ ไดอานายังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย
หย่าร้าง
[แก้]เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรคบูลิเมีย (น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว) หลังจากหายจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 2 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับเจ้าชายชาลส์มาก เนื่องจากพระองค์ทรงหวังว่าพระองค์น่าจะได้พระธิดาจากการประสูติกาลครั้งที่ 2 นี้ เนื่องจากโปรดลูกสาวของคามิลลามากอีกทั้งยังมีข่าวลือว่า แท้จริงแล้วเจ้าชายแฮร์รีอาจไม่ใช่พระโอรสของพระองค์ รายงานข่าวส่วนหนึ่งเชื่อว่าทั้งสองพระองค์เริ่มแยกกันอยู่หลังจากการเสกสมรสเพียง 5 ปี บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าชายชาลส์กับคามิลลาอย่างครึกโครม รวมทั้งประโคมข่าวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้งสองพระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)
อภิเษกสมรสครั้งที่สอง
[แก้]คลาเรนซ์เฮ้าส์ประกาศเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2005 ว่าเจ้าชายชาลส์และคามิลลา พาร์กเกอร์ โบลส์ จะเสกสมรสกันในวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกันนั้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 การเสกสมรสต้องเลื่อนไปเป็นวันที่ 9 เมษายน แทนเพราะเจ้าชายชาลส์ต้องเสด็จฯ ไปในการพระศพ
รวมทั้งได้มีการประกาศเพิ่มเติมด้วยว่าหลังจากเสกสมรสแล้ว คามิลลาจะดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ (Her Royal Highness The Duchess of Cornwall) และหลังจากชาลส์เสด็จขึ้นครองราชย์ จะดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงพระชายา (Her Royal Highness The Princess Consort) เชื่อกันว่า���นื่องจากอ้างอิงตามพระอิสริยยศของเจ้าชายอัลเบิร์ตพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียที่ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าชายพระราชสวามี (His Royal Highness The Prince Consort)
ต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงมีแถลงการณ์ในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีของสมเด็จพระราชินีนาถใจความว่า คามิลลา ดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์จะทรงเป็นที่รู้จักในฐานะสมเด็จพระราชินี
กระทั่งสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 สวรรคตเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 เจ้าชายชาลส์ขึ้นครองราชสมบัติเป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ทำให้ คามิลลา ทรงขึ้นดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระราชินีคามิลลาแห่งสหราชอาณาจักร
พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร
[แก้]หลังการสวรรคตของพระราชมารดาในวันที่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022 เจ้าชายชาลส์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 โดยพระองค์เป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในสหราชอาณาจักร แซงหน้าสถิติของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ที่ 59 ปีในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 2011[18] พระองค์ยังขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ตอนพระชนมพรรษา 73 พรรษา ทำให้เป็นบุคคลที่แก่ที่สุด แซงหน้าสถิติก่อนหน้าของสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร ที่ขึ้นครองราชย์ตอนพระชนมพรรษา 64 พรรษาใน ค.ศ. 1830[19]
พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 กับคามิลลาจัดขึ้นในเวสตืมินสเตอร์แอบบีย์ในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2023[20] โดยมีการวางแผนมาหลายปีภายใต้ชื่อรหัส ปฏิบัติการลูกโลกทองคำ (Operation Golden Orb)[21][22] หลายรายงานก่อนพิธีราชาภิเษกเสนอแนะพระราชพิธีราชาภิเษกของพระเจ้าชาลส์จะเรียบง่ายกว่าของพระราชมารดาใน ค.ศ. 1953[23]
ในช่วงปลายเดือนมกราคมปีถัดมา พระองค์ทรงเข้ารับการรักษาพระอาการประชวรต่อมลูกหมากโตที่คลินิกลอนดอน[24] ไม่กี่วันต่อมาสำนักพระราชวังได้ประกาศว่าพระองค์ได้รับการวินิจฉัยว่าทรงพระประชวรด้วยพระโรคมะเร็ง ทั้งนี้ คณะแพทย์ได้ถวายคำแนะนำให้งดพระราชกรณียกิจในการทรงเยี่ยมประชาชนออกไปก่อน และสมเด็จพระราชินีกับเจ้าชายแห่งเวลส์จะปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในช่วงเวลาดังกล่าว อนึ่ง สื่ออังกฤษระบุว่าพระโรคดังกล่าวมิใช่มะเร็งต่อมลูกหมาก[25]
ที่ประทับและพระราชทรัพย์
[แก้]ใน ค.ศ. 2023 เดอะการ์เดียน ประมาณการทรัพย์สินส่วนพระองค์ไว้ที่e 1.8 พันล้านปอนด์สเตอร์ลิง[26] จำนวนประมาณการนี้รวมสินทรัพย์ของดัชชีแลงแคสเตอร์ที่มีค่า 653 ล้านปอนด์ อัญมณีรวม 533 ล้านปอนด์ อสังหาริมทรัพย์ 330 ล้านปอนด์ ส่วนแบ่งและการลงทุน 142 ล้านปอนด์ ชุดสะสมแสตมป์มีค่าอย่างน้อย 100 ล้านปอนด์, ม้าแข่ง 27 ล้านปอนด์ ผลงานศิลปะ 24 ล้านปอนด์ และรถยนต์พระที่นั่ง 6.3 ล้านปอนด์[26] ทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ชาลส์ได้รับจากพระราชมารดาได้รับการยกเว้นภาษีมรดก[26][27]
พระตำหนักแคลเรนซ์ ซึ่งเคยเป็ยที่ประทับของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี เป็นที่ประทับในลอนดอนของสมเด็จพระเจ้าชาลส์อย่างเป็นทางการตั้งแต่ ค.ศ. 2003 หลังบูรณะด้วยค่าใช้จ่ายถึง 4.5 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง[28][29]
พระบรมราชอิสริยยศ
[แก้]พระยศ
[แก้]ชาร์ลมีพระบรมราชอิสริยยศจำนวนมากทั้งในเครือจักรภพ โดยทรงได้รับพระราชทานและถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งในประเทศและทั่วโลก[30][31][32][33][34] ในแต่ละดินแดนที่พระองค์เป็นประมุข พระบรมราชอิสริยยศของพระองค์เป็นไปตามนี้: พระมหากษัตริย์แห่งเซนต์ลูเชียและดินแดนอื่น ๆ ของพระองค์ (King of Saint Lucia and of His other Realms and Territories) ในเซนต์ลูเชีย พระมหากษัตริย์แห่งออสเตรเลียและดินแดนอื่น ๆ ของพระองค์ (King of Australia and His other Realms and Territories) ในออสเตรเลีย ฯลฯ ส่วนในไอล์ออฟแมนที่เป็นดินแดนภายใต้อธิปไตย พระองค์เป็นที่รู้จักในฐานะลอร์ดแห่งแมน
มีการคาดการณ์ตลอดช่วงรัชสมัยเอลิซาเบธที่ 2 ว่าชาลส์จะเลือกพระปรมาภิไธยใดในช่วงขึ้นครองราชย์ พระองค์อาจขึ้นครองราชย์เป็น จอร์จที่ 7 หรือใช้พระนามหนึ่งในนั้นแทน ชาลส์ที่ 3[35] มีรายงานว่าพระองค์อาจใช้พระนามจอร์จเพื่ออุทิศแด่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระอัยกา และเพื่อหลีกเลี่ยงความเกี่ยวโยงกับพระมหากษัตริย์ที่มีข้อขัดแย้งองค์ก่อนหน้าที่มีพระปรมาภิไธยว่า ชาลส์[หมายเหตุ 6][36][37] ราชสำนักของชาลส์ยืนยันไว้ใน ค.ศ. 2005 ว่ายังไม่มีการตัดสินพระทัย[38] การคาดการณ์ยังคงมีต่อไปไม่กี่ชั่วโมงหลังการสวรรคตของพระราชมารดา[39] จนกระทั่งลิซ ทรัส���์ประกาศไว้และทางพระตำหนักแคลเรนซ์ยืนยันว่าชาลส์จะใช้พระปรมาภิไธยเป็น ชาลส์ที่ 3[40][41]
- 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1948 – 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายชาร์ลส์แห่งเอดินบะระ (His Royal Highness Prince Charles of Edinburgh)
- 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ (His Royal Highness The Duke of Cornwall)
- ในสกอตแลนด์: 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งรอธซี (His Royal Highness The Duke of Rothesay)
- 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1958 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายแห่งเวลส์ (His Royal Highness The Prince of Wales)
- ในสกอตแลนด์: ค.ศ. 2000 – 2001: พระกรุณา ข้าหลวงพระองค์ใหญ่แห่งสมัชชาใหญ่แห่งคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์
- 9 เมษายน ค.ศ. 2021 – 8 กันยายน ค.ศ. 2022: ฮิสรอยัลไฮเนส ดยุกแห่งเอดินบะระ (His Royal Highness The Duke of Edinburgh)
- ในสกอตแลนด์: ฮิสรอยัลไฮเนส เอิร์ลแห่งแมริโอเน็ธ (His Royal Highness The Earl of Merioneth)
- ในไอร์แลนด์เหนือ: ฮิสรอยัลไฮเนส บารอนกรีนิช (His Royal Highness The Baron Greenwich)
- 8 กันยายน ค.ศ. 2022 – ปัจจุบัน: ฮิสมาเจสตี สมเด็จพระราชาธิบดี (His Majesty The King)
ตราอาร์ม
[แก้]ตราอาร์มเจ้าชายแห่งเวลส์ (1958–2022) | ตราอาร์มกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร | ตราอาร์มกษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักรสำหรับใช้ในสกอตแลนด์ | ตราอาร์มกษัตริย์แห่งแคนาดา |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 ทรงเป็นประธานและได้รับพระราชทานและทูลเกล้าถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสหราชอาณาจักร เครือจักรภพ ดินแดนอื่นๆ และต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สหราชอาณาจักร
[แก้]- ค.ศ. 1958 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์เทอร์ ชั้นสูงสุด อัศวิน (KG) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)
- ค.ศ. 1974 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์บาธ ชั้นสูงสุด อัศวิน (GCE) เกรตมาสเตอร์และเจ้าชายอัศวิน (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)[42]
- ค.ศ. 1977 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ทริสเติล ชั้นสูงสุด อัศวินพิเศษ (KT) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)
- ��.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญแพทริก
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญไมเคิลและจอร์จ
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิบริติช
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์การบริการที่โดดเด่น
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เคริ่องราชอิสริยาภรณ์การบริการจักรวรรดิ
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งอินเดีย
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์จักรวรรดิอินเดีย
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอินเดีย
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์บริติชอินเดีย
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณอินเดีย
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์พม่า
- ค.ศ. 1953 – เหรียญบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ค.ศ. 1977 – เหรียญรัชดาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ค.ศ. 2002 – เหรียญกาญจนาภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ค.ศ. 2012 – เหรียญพัชราภิเษก สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ค.ศ. 2022 – เหรียญฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
- ค.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญเกียรติยศการรับราชการทหารเรือและความประพฤติดี ชั้นที่ 3
เครื่องราชอิสริยาภรณ์เครือจักรภพและดินแดนอื่นๆ
[แก้]- ออสเตรเลีย :
- ค.ศ. 1981 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรเลีย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ (AK) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)[43]
- นิวซีแลนด์ :
- ค.ศ. 1983 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์การบริการสมเด็จพระราชินีนาถ ชั้นพิเศษ (QSO) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022 และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์การบริการพระมหากษัตริย์ เมื่อปี ค.ศ. 2024)
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์นิวซีแลนด์
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณนิวซีแลนด์
- ค.ศ. 1990 – เหรียญที่ระลึกนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1990
- ค.ศ. 2012 – เหรียญรางวัลกองทัพนิวซีแลนด์[44]
- รัฐซัสแคตเชวัน :
- ค.ศ. 2001 – เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์กิตติคุณซัสแคตเชวัน ชั้นสูงสุด สมาชิกเกียรติยศ (SOM)[45]
- ราชอาณาจักรเครือจักรภพ :
- ค.ศ. 2002 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณ ชั้นสูงสุด สมาชิก (OM) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์เชิดชูเกียรติยศ
- ปาปัวนิวกินี :
- ค.ศ. 2012 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์โลโกฮู ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ (GCL) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)[46]
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งเมลานีเซีย
- แคนาดา :
- ค.ศ. 2017 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แคนาดา ชั้นสูงสุด สหายพิเศษ (CC) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)[47]
- ค.ศ. 2022 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร ชั้นที่ 1 ผู้บัญชาการพิเศษ (CMM) (ทรงเป็นประธานเมื่อปี ค.ศ. 2022)[48]
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายกองกำลังตำรวจ
- ค.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญราชอิสริยาภรณ์กองทัพแคนาดา ชั้นที่ 3
- สหราชอาณาจักร และระหว่างประเทศ :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญจอห์น
- แอนทีกาและบาร์บิวดา :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์วีรบุรุษแห่งชาติแอนทีกาและบาร์บิวดา
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติแอนทีกาและบาร์บิวดา
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณแอนทีกาแล���บาร์บิวดา
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์มรดกเกี่ยวกับเจ้าชาย
- บาฮามาส :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณบาฮามาส
- เบลีซ :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์วีรบุรุษแห่งชาติเบลีซ
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์เบลีซ
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ศักดินา
- กรีเนดา :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์วีรบุรุษแห่งชาติกรีเนดา
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติกรีเนดา
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์กรีเนดา
- เซนต์คิตส์และเนวิส :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์วีรบุรุษแห่งชาติเซนต์คิตส์และเนวิส
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญคริสโตเฟอร์และเนวิส
- เซนต์ลูเชีย :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์ลูเซีย
- ตูวาลู :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณตูวาลู
- หมู่เกาะโซโลมอน :
- ค.ศ. 2022 – ประธานแห่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หมู่เกาะโซโลมอน
- ค.ศ. 2024 – ดาราแห่งหมู่เกาะโซโลมอน ชั้นสูงสุด (SSI)[49]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ฟินแลนด์ :
- ค.ศ. 1969 – เครื่องอิสริยาภรณ์กุหลาบขาวฟินแลนด์ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- เนเธอร์แลนด์ :
- ค.ศ. 1972 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเนเธอร์แลนด์ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- ค.ศ. 1982 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1 อัศวินมหากางเขน[50]
- ค.ศ. 2013 – เหรียญการขึ้นครองราชย์ สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์[51]
- ลักเซมเบิร์ก :
- ค.ศ. 1972 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎโอ๊ก ชั้นที่ 1 มหากางเขน
- เดนมาร์ก :
- ค.ศ. 1974 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา ชั้นสูงสุด (RE)
- เนปาล :
- ค.ศ. 1975 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์โอชัสวี ราชันย์ ชั้นสูงสุด สมาชิก
- ค.ศ. 1975 – เหรียญบรมราชาภิเษก สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทระ
- สวีเดน :
- ค.ศ. 1975 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม ชั้นสูงสุด (RSerafO)
- บราซิล :
- ค.ศ. 1978 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาวกางเขนใต้ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- นอร์เวย์ :
- ค.ศ. 1978 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นสูงสุด ประถมาภรณ์พร้อมสายสร้อย
- อียิปต์ :
- ค.ศ. 1981 – เครื่องอิสริยาภรณ์สาธารณรัฐ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[52]
- ฝรั่งเศส :
- ค.ศ. 1984 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1 กร็อง-ครัว
- ค.ศ. 2017 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณการเกษตร ชั้นที่ 1 กอม็องเดอร์
- มาลาวี :
- ค.ศ. 1985 – เครื่องอิสริยาภรณ์สิงโตมาลาวี ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- บาห์เรน :
- ค.ศ. 1986 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์เชคอีชา บิน ซัลมาน บินอัลเคาะลีฟะฮ์ ชั้นที่ 1 สมาชิกพร้อมสายสร้อย
- กาตาร์ :
- ค.ศ. 1986 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณกาตาร์ ชั้นสูงสุด สายสร้อย
- ค.ศ. 2024 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบแห่งผู้ก่อตั้งเชค จัสซิม บิน โมฮัมเหม็ด อาล ษานี[53]
- สเปน :
- ค.ศ. 1986 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์การ์โลสที่ 3 ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[54]
- ซาอุดีอาระเบีย :
- ค.ศ. 1987 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลอะซีซ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- โปรตุเกส :
- ค.ศ. 1993 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์อาวีซ ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[55]
- ค.ศ. 2023 – เครื่องเสนาอิสริยาภรณ์หอคอยและดาบ ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ (GColTE)[56]
- คูเวต :
- ค.ศ. 1993 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มูบารัคมหาราช ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- บรูไน :
- ค.ศ. 1996 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ราชตระกูลไลลา อุตามา ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ (DK)
- ฮังการี :
- ค.ศ. 2010 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐฮังการี ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[57]
- เม็กซิโก :
- ค.ศ. 2015 – เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีแอซแท็ก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ชั้นพิเศษ[58]
- โรมาเนีย :
- ค.ศ. 2017 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งโรมาเนีย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์
- กานา :
- ค.ศ. 2018 – เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราแห่งกานา ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ (CSC)[59]
- อาร์มีเนีย :
- ค.ศ. 2018 – เครื่องอิสริยาภรณ์สัมพันธไมตรี[60]
- บาร์เบโดส :
- ค.ศ. 2021 – เครื่องอิสริยาภรณ์อิสรภาพบาร์เบโดส ชั้นสูงสุด สมาชิก (FB)[61]
- เยอรมนี :
- ค.ศ. 2023 – เครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นสูงสุด มหากางเขนวิเศษ (มหาปรมาภรณ์)[62]
- เกาหลีใต้ :
- ค.ศ. 2023 – เครื่องอิสริยาภรณ์มูกุงฮวา ชั้นสูงสุด (GOM)[63]
- ญี่ปุ่น :
- ค.ศ. 2024 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศ ชั้นสูงสุด สังวาล[64]
พระราชโอรส
[แก้]พระนาม | ประสูติ | สมรส | พระบุตร | |
---|---|---|---|---|
วันที่ | พระชายา | |||
เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ | 21 มิถุนายน ค.ศ. 1982 | 29 เมษายน ค.ศ. 2011 | แคเธอริน มิดเดิลตัน | เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ เจ้าชายหลุยส์แห่งเวลส์ |
เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ | 15 กันยายน ค.ศ. 1984 | 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 | เมแกน มาร์เคิล |
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร[65] |
---|
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ในฐานพระมหากษัตริย์ ชาลส์มักไม่มีนามสกุล แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ นามสกุลนั้นคือเมานต์แบ็ตเทน-วินด์เซอร์[1]
- ↑ ในฐานะพระมหากษัตริย์ ชาลส์เป็นผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นสมาชิกคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ด้วย
- ↑ นอกจากสหราชอาณาจักรแล้ว 14 ประเทศเครือจักรภพคือแอนทีกาและบาร์บิวดา, ออสเตรเลีย, บาฮามาส, เบลีซ, แคนาดา, กรีเนดา, จาเมกา, นิวซีแลนด์, ปาปัวนิวกินี, เซนต์คิตส์และเนวิส, เซนต์ลูเชีย, เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์, หมู่เกาะโซโลมอน และตูวาลู
- ↑ มีรายงานว่าพระองค์ได้รับการตั้งพระนามเป็น "ชาลส์" ตามสมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ พระราชบิดาทูนหัวที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เคยเรียกพระองค์เป็น "ลุงชาลส์"[4][5]
- ↑ พระราชบิดามารดาทูนหัวของเจ้าชายชาลส์ได้แก่: พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร; พระมหากษัติรย์นอร์เวย์; ราชินีแมรี; เจ้าหญิงมาร์กาเรต; เจ้าชายจอร์จแห่งกรีซและเดนมาร์ก; Dowager Marchioness แห่งมิลฟอร์ด แฮฟเวิน; เลดีบราบอร์น และเดวิด โบวส์-ลีออน[6]
- ↑ เช่นพระเจ้าชาลส์ที่ 1 กษัตริย์ราชวงศ์สทิวเวิร์ต ถูกตัดพระเศียร และพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ผู้เป็นที่รู้จักจากวิถีชีวิตที่สำส่อน ผู้สนับสนุนชาลส์ เอ็ดเวิร์ด สทิวเวิร์ต ผู้เคยอ้างสิทธิ์ต่อราชบัลลังก์อังกฤษและสกอตแลนด์ เคยเรียกเขาเป็น ชาลส์ที่ 3[36]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "The Royal Family name". Official website of the British monarchy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2009. สืบค้นเมื่อ 3 February 2009.
- ↑ "No. 38455". The London Gazette. 15 November 1948. p. 1.
- ↑ Brandreth 2007, p. 120.
- ↑ Holden, Anthony (1980). Charles, Prince of Wales. p. 68. ISBN 9780330261678.
- ↑ "Close ties through the generations". The Royal House of Norway. 8 September 2022.
- ↑ "The Christening of Prince Charles". Royal Collection Trust. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2021. สืบค้นเมื่อ 17 December 2021.
- ↑ "HRH The Prince of Wales | Prince of Wales". Clarence House. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 April 2023. สืบค้นเมื่อ 13 September 2022.
- ↑ "The Book of the Baptism Service of Prince Charles". Royal Collection Trust. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2023. สืบค้นเมื่อ 25 April 2023.
- ↑ Brandreth 2007, p. 127.
- ↑ "50 facts about the Queen's Coronation". www.royal.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2021. สืบค้นเมื่อ 3 January 2019.
- ↑ https://web.archive.org/web/20120704195647/http://www.debretts.com/people/royal-family/royal-portraits/prince-charles.aspx
- ↑ https://www.thesun.co.uk/fabulous/5095441/why-prince-charles-hate-gordonstoun/
- ↑ https://web.archive.org/web/20121113072216/http://www.princeofwales.gov.uk/the-prince-of-wales/biography/education
- ↑ https://web.archive.org/web/20121113072216/http://www.princeofwales.gov.uk/the-prince-of-wales/biography/education
- ↑ "No. 41460". The London Gazette. 29 July 1958. p. 4733.; "The Prince of Wales – Previous Princes of Wales". Prince of Wales. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2008. สืบค้นเมื่อ 12 October 2008.
- ↑ "Profession reacts to Prince Charles' 10 design principles". architectsjournal.co.uk. 22 December 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.; Forgey, Benjamin (22 February 1990). "Prince Charles, Architecture's Royal pain". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2020. สืบค้นเมื่อ 3 December 2018.; "How the Poundbury project became a model for innovation". Financial Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 April 2020. สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
- ↑ Rourke, Matt (28 January 2007). "Prince Charles to receive environmental award in NYC". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 September 2013. สืบค้นเมื่อ 19 April 2013.; Alderson, Andrew (14 March 2009). "Prince Charles given 'friend of the forest' award". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2013. สืบค้นเมื่อ 11 May 2013.; Lange, Stefan (29 April 2009). "Prince Charles collects award in Germany". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2013. สืบค้นเมื่อ 11 May 2013.; "2012 Lifetime Achievement Award Winner – HRH The Prince of Wales". greenawards.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2013. สืบค้นเมื่อ 7 August 2013.
- ↑ "Prince Charles becomes longest-serving heir apparent". BBC News. 20 April 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2015. สืบค้นเมื่อ 30 November 2011.
- ↑ Rayner, Gordon (19 September 2013). "Prince of Wales will be oldest monarch crowned". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2013. สืบค้นเมื่อ 19 September 2013.
- ↑ "Coronation on 6 May for King Charles and Camilla, Queen Consort". BBC News. 11 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2022. สืบค้นเมื่อ 11 October 2022.
- ↑ Mahler, Kevin (14 February 2022). "Ghosts? Here's the true tale of things that go bump in the night". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 October 2022. สืบค้นเมื่อ 9 September 2022.
- ↑ Pepinster 2022.
- ↑ Hyde, Nathan; Field, Becca (17 February 2022). "Prince of Wales plans for a 'scaled back' coronation ceremony with Camilla". CambridgeshireLive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2022.
- ↑ Coughlan, Sean (26 January 2024). "King Charles 'doing well' after prostate treatment". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 January 2024. สืบค้นเมื่อ 26 January 2024.
- ↑ ""สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3" ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็ง". Thai PBS.
- ↑ 26.0 26.1 26.2 Pegg, David. "Revealed: King Charles's private fortune estimated at £1.8bn". The Guardian. Guardian Media Group. OCLC 60623878. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2023. สืบค้นเมื่อ 20 April 2023.
- ↑ Boffey, Daniel (13 September 2022). "King Charles will not pay tax on inheritance from the Queen". The Guardian. Guardian Media Group. ISSN 1756-3224. OCLC 60623878. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 April 2023. สืบค้นเมื่อ 6 May 2023.
- ↑ "Clarence House". www.royal.gov.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 June 2013. สืบค้นเมื่อ 1 May 2014.
- ↑ "Prince Charles moves into Clarence House". BBC News. 2 August 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2022. สืบค้นเมื่อ 20 August 2022.
- ↑ "The Prince of Wales visits the Royal Gurkha Rifles and Knole House". Prince of Wales. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 1 May 2014.
- ↑ "The Queen Appoints the Prince of Wales to Honorary Five-Star rank". The Prince of Wales website. 16 June 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2012. สืบค้นเมื่อ 27 June 2012.; "Prince Charles awarded highest rank in all three armed forces". The Daily Telegraph. 16 June 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2012. สืบค้นเมื่อ 7 June 2012.; "No. 60350". The London Gazette. 7 December 2012. p. 23557.
- ↑ "The London Gazette, Issue 38452, Page 5889". 9 November 1948. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 15 April 2022.
- ↑ "HRH The Duke of Edinburgh". College of Arms. 9 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2021. สืบค้นเมื่อ 7 May 2021.
- ↑ Malloch, Russell (April 24, 2023). "King Charles III and The Gazette: Commonwealth awards". The Gazette. สืบค้นเมื่อ May 9, 2023.
- ↑ Guy Jones (28 November 1958). "Motto may be more to Charles than to any of predecessors". Newspapers.com. p. 15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023. David Gaddis Smith (3 May 1981). "Prince seeks to uphold popularity of monarchy". Newport News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023 – โดยทาง Newspapers.com. "Londoner's Diary: Princely glove is not picked up". Evening Standard. 29 April 1987. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023 – โดยทาง Newspapers.com. Christopher Morgan (13 February 2000). "Charles prefers George VII for his kingly title". Calgary Herald. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023 – โดยทาง Newspapers.com. Phil Boucher (15 August 2018). "Here's Why Prince Charles Could Be Called George VII When He's King". People. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023.
- ↑ 36.0 36.1 Pierce, Andrew (24 December 2005). "Call me George, suggests Charles". The Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 June 2018. สืบค้นเมื่อ 13 July 2009.
- ↑ Cruse, Beth (23 May 2021). "The 4 names Prince Charles could choose when he becomes king". Nottingham Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 February 2023. สืบค้นเมื่อ 28 February 2023.
- ↑ White, Michael (27 December 2005). "Charles denies planning to reign as King George". The Guardian. Guardian Media Group. ISSN 1756-3224. OCLC 60623878. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 October 2013. สืบค้นเมื่อ 2 October 2012.
Clarence House yesterday issued a pained denial of claims that the Prince of Wales has held private discussions with "trusted friends" about the possibility of reigning as George VII rather than risk the negative connotations attached to the name King Charles.
- ↑ "Accession of Charles III: 'A monarch's choice of name is not a trivial thing'". Le Monde. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 March 2023. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023.
- ↑ "Charles chooses Charles III for his title as King". The Independent (UK). 9 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2022. สืบค้นเมื่อ 16 April 2023.
Charles has become King Charles III – with his title as monarch a personal choice that was entirely his own.
- ↑ "Britain's new monarch to be known as King Charles III". Reuters. 8 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2022. สืบค้นเมื่อ 8 September 2022.
Clarence House confirmed on Thursday that Britain's new monarch will be known as King Charles III, following the death of Queen Elizabeth, PA Media reported on Thursday.
- ↑ ลอนดอนการ์เซ็ตต์, ลอนดอนการ์เซ็ตต์ ฉบับวันอังคารที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1974 ฉบับที่ 46428 หน้า 12559, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ รัฐบาลออสเตรเลีย, สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ พระมหากษัตริย์นิวซีแลนด์, 3/08/2015 สมเด็จพระราชินีนาถแต่งตั้งเจ้าชายชาลส์ สู่ตำแหน่งใหม่ในกองทัพ, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ รัฐซัสแคตเชวัน, เจ้าชายแห่งเวลส์เกียรติยศ, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ บีบีซี, พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี : ชาลล์ และ คามิลลา เสด็จพระราชดำเนินไปปาปัวนิวกินี, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2012
- ↑ ซีบีซี, เจ้าชายชาลส์, แคทเธอรีน โอฮารา คริสติน ซินแคลร์ ท่ามกลางสมาชิก 99 ราย แห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์แคนาดา, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ ผู้สำเร็จราชการแคนาดา, เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ รางวัลเครื่องราชอิสริยาภรณ์กิตติคุณฝ่ายทหาร, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ รัฐบาลหมู่เกาะโซโลมอน, ผู้สำเร็จราชการ เซอร์ เดวิด วูนากิ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กล่าวคำอำลาในโอกาสพ้นจากหน้าที่ กับสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ เดเบรตส์ ขุนนางและบารอเนต 2019. เดเบรตส์. 20 เมษายน 2020. p. 206. ISBN 9781999767051.
- ↑ บีบีซี, วิลเลิม-อเล็กซานเดอร์ ตรัสคำปฏิญาณขึ้นเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ ยูพีไอ, บริเตน เจ้าชายชาลส์ และ เจ้าหญิงไดอานา เสด็จพระดำเนินแล่นผ่าน..., สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ เอ็กซ์, เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ ทูลเกล้าถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำชาติสูงสุด ดาบแห่งผู้ก่อตั้ง เชค จัสซิม บิน โมฮัมเหม็ด อาล ษานี แก่สมเด็จพระราชา, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ บีโออี, โบเลตินอย่างเป็นทางการเดลเอสตาโด, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ เอ็กซ์, เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์; ดยุกและดัชเชสแห่งเคนต์; เจ้าหญิงมาร์กาเร็ต, ดยุกและดัชเชสแห่งกลอสเคอร์, ด้านหลัง สมเด็จพระราชินีนาถ, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐโปรตุเกส, ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ทูลเกล้าถวาย สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ พลเมืองม็อดยอร์, พลเมืองม็อดยอร์ 2010, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ สถานทูตสหราชอาณาจักรประจำเม็กซิโก, ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายแห่งเวลส์และดัชเชสแห่งคอร์นวอลล์ ได้รับรางวัลจากเม็กซิโก เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีแอซแท็ก, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ กานาเว็บ, อาฟูโก-อัดโก มอบรางวัลเครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดแห่งชาติแก่เจ้าชายชาลส์, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ ประธานาธิบดี, คำสั่งของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาร์มีเนีย - เอกสาร - ประธานแห่งสาธารณรัฐอาร์มีเนีย, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ นิวยอร์กไทม์, บาร์เบโดส, ยกเลิกระบอบสมเด็จพระราชินีนาถ, กลายเป็นสาธารณรัฐ, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ เอ็กซ์, ในงานเลี้ยงของประมุขแห่งรัฐ สมเด็จพระราชาและสมเด็จพระราชินี สวมใส่มหากางเขนวิเศษ (มหาปรมาภรณ์) แห่งเครื่องอิสริยาภรณ์เกียรติคุณแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ เดอะไทม์, สมเด็จพระเจ้าชาลส์เป็นเจ้าภาพ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในงานเลี้ยงรับรองประมุขแห่งรัฐ, สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ เอ็กซ์, กษัตริย์ได้รับพระราชทานสังวาลแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งดอกเบญจมาศจากจักรพรรดิญี่ปุ่น, สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม ค.ศ. 2025
- ↑ Paget 1977.
บรรณานุกรม
[แก้]- Brandreth, Gyles (2007). Charles and Camilla: Portrait of a Love Affair. Random House. ISBN 978-0-0994-9087-6.
- Paget, Gerald (1977). The Lineage and Ancestry of H.R.H. Prince Charles, Prince of Wales (2 vols). Edinburgh: Charles Skilton. ISBN 978-0-2844-0016-1.
- Pepinster, Catherine (2022). Defenders of the Faith: Queen Elizabeth II's funeral will see Christianity take centre stage. London: Hodder & Stoughton. ISBN 978-1-3998-0006-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พระมหากษัตริย์ ในเว็บไซต์ Royal Family
- สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ในเว็บไซต์รัฐบาลแคนาดา
- สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ในเว็บไซต์ Royal Collection Trust
- ภาพเหมือนของ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ที่หอศิลป์ภาพเหมือนแห่งชาติ
- สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- ข้อมูลการออกสื่อ บน ซี-สแปน
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 | พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร และราชอาณาจักรเครือจักรภพ (8 กันยายน พ.ศ. 2565 – ปัจจุบัน) |
อยู่ในราชสมบัติ | ||
ไม่มี (พระองค์แรก) | ลำดับโปเจียม (ฝ่ายหน้า) |
เจ้าชายแห่งเวลส์ | ||
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด | เจ้าชายแห่งเวลส์ (พ.ศ. 2501–2565) |
เจ้าชายวิลเลียม | ||
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด | ดยุกแห่งคอร์นวอลล์ ดยุกแห่งรอธซี (พ.ศ. 2495–2565) |
เจ้าชายวิลเลียม | ||
เอิร์ลเมานต์แบ็ทแตนแห่งพม่า | ประธานสหวิทยาลัยโลก (พ.ศ. 2521–2538) |
สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร
- พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
- พระมหากษัตริย์แคนาดา
- พระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย
- พระมหากษัตริย์นิวซีแลนด์
- พระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ในปัจจุบัน
- ประมุขแห่งรัฐแคนาดา
- ประมุขแห่งเครือจักรภพ
- ราชวงศ์วินด์เซอร์
- รัชทายาทสหราชอาณาจักร
- เจ้าชายแห่งเวลส์
- ดยุกแห่งคอร์นวอลล์
- ดยุกแห่งรอธซี
- นักบินเฮลิคอปเตอร์
- ตระกูลโบวส์-ลีออน
- พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์
- พระราชบุตรในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร