ข้ามไปเนื้อหา

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์

United Kingdom of Great Britain and Ireland
ค.ศ. 1801–ค.ศ. 1922
คำขวัญฝรั่งเศส: "Dieu et mon droit"
“พระเจ้าและสิทธิแห่งข้า”
อาณาเขตของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
อาณาเขตของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์
สถานะสหภาพรัฐ
เมืองหลวงลอนดอน
ภาษาทั่วไปภาษาอังกฤษ
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบรัฐสภา ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
กษัตริย์ 
• ค.ศ. 1801 – ค.ศ. 1820
พระเจ้าจอร์จที่ 3
• ค.ศ. 1820 – ค.ศ. 1830
พระเจ้าจอร์จที่ 4
• ค.ศ. 1830 – ค.ศ. 1837
พระเจ้าวิลเลียมที่ 4
• ค.ศ. 1837 – ค.ศ. 1901
พระราชินีนาถวิกตอเรีย
• ค.ศ. 1901 – ค.ศ. 1910
พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7
• ค.ศ. 1910 – ค.ศ. 1927 (ต่อ)
พระเจ้าจอร์จที่ 5
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1801
วิลเลียม พิตต์ ผู้เยาว์
• ค.ศ. 1924 – ค.ศ. 1927 (ต่อ)
สแตนลีย์ บอลด์วิน
สภานิติบัญญัติรัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักร
สภาขุนนาง
สภาสามัญชน
ประวัติศาสตร์ 
• พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800
1 มกราคม ค.ศ. 1801
• สนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์
6 ธันวาคม ค.ศ. 1922
• พระราชบัญญัติการขานพระอิสริยยศและนามของรัฐสภา ค.ศ. 1927
12 เมษายน ค.ศ. 1927
พื้นที่
ค.ศ. 1801315,093 ตารางกิโลเมตร (121,658 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1921315,093 ตารางกิโลเมตร (121,658 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1801
16345646
• ค.ศ. 1921
42769196
สกุลเงินปอนด์สเตอร์ลิง
รหัส ISO 3166GB
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
ราชอาณาจักรไอร์แลนด์
สหราชอาณาจักร
เสรีรัฐไอริช

สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ (อังกฤษ: United Kingdom of Great Britain and Ireland) เป็นชื่ออย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักร ในช่วงตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2343 (ค.ศ. 1801)[1] ถึง 12 เมษายน พ.ศ. 2470 โดยราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้ารวมตัวกัน หลังจากที่ส่วนหนึ่งของไอร์แลนด์แยกตัวออกมาตั้งเป็นรัฐอิสระในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) ชื่อนี้ยังคงใช้ไปจนกระทั่งเปลี่ยนเป็น สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ

สงครามนโปเลียน

[แก้]

วิลเลียม พิตต์ ผู้เยาว์ (William Pitt the Younger) เสนอนโยบายผ่อนปรนพวกคาทอลิก (Catholic Emancipation) ที่ถูกกดขี่ในอังกฤษมานาน แต่พระเจ้าจอร์จที่ 3 ทรงปฏิเสธเพราะจะทำให้ทรงเสียคำสัตย์ที่ให้ไว้ตอนครองราชย์ว่าจะรักษานิกายแองกลิกัน วิลเลียมพิตต์จึงลาออกและให้เฮนรี แอดดิงตัน (Henry Addington) เป็นนายกรัฐมนตรีแทน ในค.ศ. 1804 นโปเลียนปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิ บรรดาชาติต่าง ๆ ในยุโรปจึงรวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่สาม (Third Coalition) นโปเลียนพยายามจะบุกสหราชอาณาจักรทางทะเล แต่อังกฤษนั้นบัดนี้เป็นเจ้าแห่งทะเลไปแล้ว ตีทัพเรือฝรั่งเศสและสเปนแตกยับที่แหลมตราฟัลการ์ (Trafalgar) โดยการนำของลอร์ดเนลสัน (Lord Nelson) แต่ชาติอื่นนั้นไม่ได้ประสบความสำเร็จเหมือนสหราชอาณาจักร สัมพันธมิตรจึงสลายตัวในค.ศ. 1805

วิลเลียมพิตต์เสียชีวิตในค.ศ. 1806 จอร์จ เกรนวิลล์ (George Grenville) กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีและได้ฟอกซ์ (Charles James Fox) กลับเข้าคณะรัฐมนตรี ซึ่งทั้งคู่ล้วนเป็นพระศัตรูเก่าของพระเจ้าจอร์จ เกรนวิลล์เสนอให้ผ่อนปรนพวกคาทอลิกอีกครั้ง คราวนี้พระเจ้าจอร์จทรงต่อต้านอย่างรุนแรง ถึงกับบังคับให้เกรนวิลล์สาบานว่าจะไม่เสนออะไรแบบนี้ออกมาอีก ซึ่งเกรนวิลล์ก็ไม่ยอม

สมัยผู้สำเร็จราชการแทน (ค.ศ. 1811 ถึง ค.ศ. 1837)

[แก้]

อาการทางพระสติของพระเจ้าจอร์จย่ำแย่มากในค.ศ. 1811 จนรัฐสภาออกพระราชบัญญัติผู้สำเร็จราชการแทน (Act of Regency) ให้เจ้าชายแห่งเวลส์ (Prince of Wales) พระโอรสเป็นผู้สำเร็จราชการแทน เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงทรงเสนอนโยบายผ่อนปรนพวกคาทอลิก ซึ่งพวกโทรี (Tories) และนายกรัฐมนตรีสเปนเซอร์ เพอร์ซิวัล (Spencer Perceval) ต่อต้านอยู่แล้ว เจ้าชายทรงพยายามจะหันหาพวกวิก (Whigs) ซึ่งตอนนี้ไร้ซึ่งอำนาจ แต่ค.ศ. 1812 เพอร์ซิวัลถูกลอบสังหาร นายกรัฐมนตรีคนใหม่คือเอิร์ลแห่งลิเวอร์พูล นำสหราชอาณาจักรได้ชัยชนะในการทำสงครามกับนโปเลียน ในค.ศ. 1814 การประชุมใหญ่แห่งเวียนนาได้เลื่อนพระยศพระเจ้าจอร์จจากอิเล็กเตอร์แห่งฮันโนเฟอร์เป็นกษัตริย์แห่งฮันโนเฟอร์ (King of Hannover) ซึ่งพระเจ้าจอร์จก็ทรงไม่อาจจะรับรู้อะไรได้แล้ว

สหรัฐอเมริกาแม้จะเป็นเอกราชไปแล้วแต่ก็ค้าขายกับฝรั่งเศสทำให้นโปเลียนมีรายได้ รวมทั้งยังรุกรานแคนาดาของสหราชอาณาจักรอีกด้วย จึงเกิดสงคราม ค.ศ. 1812 (War of 1812) แต่ก็สิ้นสุดลงในค.ศ. 1815 และปีเดียวกันนโปเลียนก็กลับมาแต่ก็พ่ายแพ้ดยุกแห่งเวลลิงตันในสมรภูมิวอเตอร์ลู

สมัยผู้สำเร็จราชการแทน หรือ สมัยรีเจนซี (Regency) เป็นสมัยที่อังกฤษใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือย มีรูปแบบเป็นของตน เจ้าชายแห่งเวลส์ทรงให้จอห์น แนช (John Nash) สร้าง Regent's Park และ Regency Street รวมทั้ง Brighton Pavilion โดยผสมผสานสถาปัตยกรรมอินเดียจากทัชมาฮาล และของจีน เรียกว่า Indian Gothic

พีธีราชาภิเษกอันหรูหราฟุ่มเฟือยของพระเจ้าจอร์จที่ 4

ในค.ศ. 1820 พระเจ้าจอร์จที่ 3 สิ้นพระชนม์ เจ้าชายแห่งเวลส์ครองราชย์เป็นพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักร แต่ความสัมพันธ์พระองค์กับพระราชินี คือคาโรลีนแห่งบรุนชวิก (Caroline of Brunswick) ไม่สู้จะดีนัก ทั้งสองพระองค์แยกกันประทับและไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่น พระนางคาโรลีนทรงกลับมาจากยุโรปเพื่อเข้าร่วมพิธีบรมราชาภิเษก แต่พระเจ้าจอร์จทรงไม่ยอมและจะปลดพระนาง แต่ที่ปรึกษาของพระองค์แนะนำว่าหากทรงทำเช่นนั้นความสัมพันธ์ของพระองค์กับหญิงอื่นก็จะถูกขุดขุ้ยเช่นกัน ดังนั้นจึงทรงออกร่างพระราชบัญญัติความผิดและโทษ (Pains and Penalties Bill) ในค.ศ. 1820 ให้รัฐสภาสามารถลงโทษผู้มีความผิดได้โดยไม่ต้องผ่านศาล

พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ไม่เป็นที่ต้องรับเลยในหมู่ประชาชน ทำให้รัฐสภาต้องยกเลิกมันไป พระเจ้าจอร์จก็ไม่ทรงทำอะไรได้ นอกจากกันพระนางคาโรลีนไม่ให้ร่วมพิธีราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีที่หรูหราฟุ่มเฟือยมากและเป็นที่สนใจของประชาชน เสด็จเยือนสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ เป็นครั้งแรกในรอบหลายร้อยปีที่กษัตริย์ทรงออกจากอังกฤษ

การผ่อนปรนพวกคาทอลิก

[แก้]

แม้ในตอนแรกพระเจ้าจอร์จจะทรงสนับสนุนการผ่อนปรนพวกคาทอลิก แต่หลังจากขึ้นครองราชย์แล้วก็มีพระดำริกลับกัน คือทรงต่อต้านพวกคาทอลิก เพราะตามคำปฏิญาณในพิธีราชาภิเษกทรงสัญญาว่าจะรักษานิกายโปรเตสแตนต์ รวมทั้งลอร์ดลิเวอร์พูลที่ต่อต้านคาทอลิกอย่างแรก ทำให้นโยบายนี้ดูจะเป็นไปไม่ได้

แต่ในค.ศ. 1827 ลอร์ดลิเวอร์พูลลาออก จอร์จ แคนนิง (George Canning) พวกโทรีที่สนับสนุนคาทอลิก ได้เป็นนายกรัฐมนตรีและผลักดันนโยบายนี้อีกครั้ง ทำให้พวกโทรีคนอื่น ๆ โดยเฉพาะดยุกแห่งเวลลิงตันไม่พอใจ จึงหันไปเข้าพวกวิก แต่แคนนิงก็เสียชีวิตปีเดียวกัน ไวเคานต์ก๊อดริช ในค.ศ. 1828 ดยุกแห่งเวลลิงตันได้เป็นนายกรัฐมนตรี และเริ่มมีความคิดหันไปสนับสนุนคาทอลิก พระเจ้าจอร์จก็เช่นกัน จนทั้งสองคนออกพระราชบัญญัติผ่อนปรนคาทอลิก (Catholic Relief Act) ปลดปล่อยชาวคาทอลิกที่ถูกลิดรอนสิทธิต่าง ๆ มานาน 300 กว่าปี

พระเจ้าวิลเลียมที่ 4

[แก้]

พระเจ้าจอร์จที่ 4 สิ้นพระชนม์ในค.ศ. 1830 โดยทรงไม่มีทายาทในสมรส (ทรงมีโอรสนอกสมรส) พระอนุชาดยุกแห่งคลาเรนซ์ (Duke of Clarence) พระชนมายุ 64 พรรษา จึงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 ผิดกับพระเชษฐา พระเจ้าวิลเลียมทรงมัธยัสถ์ ไม่หรูหราฟุ่มเฟือย และยังทรงเป็นทหารเรืออีกด้วย จึงได้รับพระสมยานามว่า กษัตริย์กะลาสี (The Sailor King) การเลือกตั้งปรากฏพวกวิกที่หายไปนานก็กลับเข้าสู่รัฐสภา มีนายกรัฐมนตรีเอิร์ลเกรย์เป็นผู้นำ เกรย์วางแผนที่จะปฏิรูประบอบการปกครองของอังกฤษที่ล้าหลังและไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยหลายร้อยปี จึงเสนอร่างพระราชบัญญัติปฏิรูป (Reform Bill) ซึ่งก็ถูกค้านโดยสภาสามัญชน เอิร์ลเกรย์จึงจะยุบสภาสามัญ และเลือกตั้งใหม่ในค.ศ. 1831 จนได้พวกปฏิรูปเข้าสภามา��าก แต่สภาขุนนางก็ยังคงต่อต้านร่างพระราชบัญญัติอยู่ดี

เกรย์เสนอร่างพระราชบัญญัติปฏิรูปอีกครั้ง แต่ก็ตกไปด้วยการออกเสียงของสภาขุนนาง คราวนี้ประชาชนลุกฮือเรียกร้องให้ออกพระราชกฤษฎีกา เรียกว่า วิกฤตการณ์ปฏิรูป (Reform Crisis) เกรย์เสนอให้พระเจ้าวิลเลียมพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้แก่พวกที่สนับสนุนการปฏิรูปเพื่อจะให้ไปออกเสียงในสภาขุนนาง แต่พระเจ้าวิลเลียมทรงปฏิเสธเพราะบรรดาศักดิ์จะพระราชทานให้ใครพร่ำเพร่อมิได้ ทำให้พระเจ้าวิลเลียมทรงเป็นที่ตำหนิของประชาชน ทรงถึงขนาดถูกปาโคลนใส่ จนทรงยอมเอิร์ล เกรย์และแต่งตั้งขุนนางใหม่จนไปออกเสียงสนับสนุนพระราชบัญญัติปฏิรูป (Reform Act) จนสำเร็จในค.ศ. 1821

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

[แก้]

ในค.ศ. 1837 พระเจ้าวิลเลียมสวรรคตโดยไม่มีทายาท พระนัดดาองค์โปรด คือ เจ้าหญิงวิกตอเรีย (Victoria) พระธิดาของดัชเชสแห่งเคนท์ (Duchess of Kent) เป็นสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย แต่ตามกฎหมายแซลิก สตรีจะครองแว่นแคว้นมิได้ พระอนุชาของพระเจ้าวิลเลียม คือ ดยุกแห่งคัมบาลันด์ (Duke of Cumberland) เป็นพระเจ้าแอนสท์ เอากุสท์ที่ 1 แห่งฮันโนเฟอร์ สิ้นสุดการร่วมประมุขระหว่างสหราชอาณาจักรกับฮันโนเฟอร์

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1 มกราคม ค.ศ. 1801 คิดตามการเปลี่ยนพุทธศักราชในเดือนเมษายน ดูเพิ่มที่พุทธศักราช

ดูเพิ่ม

[แก้]