เจียวเอี๋ยน (เจี๋ยง เสี่ยน)
เจียวเอี๋ยน (เจี๋ยง เสี่ยน) | |
---|---|
蔣顯 | |
ข้าราชบริพารของรัชทายาท (太子僕 ไท่จื่อผู) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 263 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ค.ศ. 264 นครเฉิงตู มณฑลเสฉวน |
บุพการี |
|
ญาติ | เจียวปิน (พี่ชาย) |
อาชีพ | ขุนนาง |
เจียวเอี๋ยน[1][2][3] (เสียชีวิต ค.ศ. 264) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เจี๋ยง เสี่ยน (จีน: 蔣顯; พินอิน: Jiǎng Xiǎn) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]เจียวเอี๋ยนเป็นชาวอำเภอเซียงเซียง (湘鄉縣 เซียงเซียงเซี่ยน) เมืองเลงเหลง (零陵郡 หลิงหลิงจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือนครเซียงเซียง มณฑลหูหนาน[4] เป็นบุตรชายคนรองของเจียวอ้วนผู้เป็นขุนพล ขุนนาง และผู้สำเร็จราชการของรัฐจ๊กก๊ก เจียวเอี๋ยนเป็นน้องชายของเจียวปินขุนพลของจ๊กก๊ก เจียวเอี๋ยนเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมาก ได้รับราชการในตำแหน่งข้าราชบริพารของรัชทายาท (太子僕 ไท่จื่อผู) รับใช้เล่ายอยผู้เป็นรัชทายาทแห่งจ๊กก๊กในรัชสมัยของเล่าเสี้ยน
ในปี ค.ศ. 263 ภายหลังจากเล่าเสี้ยนจักรพรรดิแห่งจ๊กก๊กยอมจำนนต่อเตงงายขุนพลของวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของจ๊กก๊ก เจียวปินพี่ชายของเจียวเอี๋ยนซึ่งอยู่รักษาอำเภอฮั่นเสีย (漢城縣 ฮั่นเฉิงเซี่ยน; ปัจจุบันคืออำเภอเหมี่ยน มณฑลฉ่านซี) เดินทางไปยังอำเภอโปยเสีย (涪縣 ฝูเซี่ยน; ปัจจุบันคือนครเหมี่ยนหยาง มณฑลเสฉวน) เพื่อพบกับจงโฮยขุนพลวุยก๊กแล้วกลายเป็นมิตรกับจงโฮย เจียวเอี๋ยนก็ได้เป็นมิตรกับจงโฮยเช่นกัน ทั้งเจียวปินและเจียวเอี๋ยนสองพี่น้องถูกสังหารโดยทหารที่ก่อการกำเริบในเดือนมีนาคม ค.ศ. 264[5] เมื่อจงโฮยเริ่มก่อกบฏในเซงโต๋ต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊ก[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("ฝ่ายเจียวเอี๋ยนถือหนังสือรับสั่งมาถึงด่านเกียมโก๊ะ แลให้เอาหนังสือข้อรับสั่งนั้นให้เกียงอุย") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
- ↑ ("เกียงอุยคำนับลามาณด่านเกียมโก๊ะ จึงให้เจียวเอี๋ยนผู้ถือหนังสือมากลับคืนไปเมืองเสฉวน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
- ↑ ("ขุนนางทั้งปวงได้ยินเตงงายว่าก็ชวนกันคำนับสิ้นทุกคน พอเจียวเอี๋ยนมาถึงเข้าไปแจ้งว่า บัดนี้เกียงอุยเข้าคำนับด้วยจงโฮยแล้ว") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
- ↑ (蔣琬字公琰、零陵湘鄉人也。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ Sima (1084), vol. 78.
- ↑ (後主既降鄧艾,斌詣會於涪,待以交友之禮。隨會至成都,為亂兵所殺。斌弟顯,為太子僕。會亦愛其才學,與斌同時死。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.