ข้ามไปเนื้อหา

เควิน การ์เน็ต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เควิน การ์เน็ต
การ์เน็ตขณะเล่นให้กับบอสตัน เซลติกส์ปี 2008
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1976-05-19) 19 พฤษภาคม ค.ศ. 1976 (48 ปี)
Greenville, South Carolina, U.S.
สัญชาติอเมริกัน
ส่วนสูงที่ระบุ6 ft 11 in (2.11 m)
น้ำหนักที่ระบุ240 lb (109 kg)
ข้อมูลอาชีพ
ไฮสกูล
การดราฟต์เอ็นบีเอ1995 / รอบ: 1 / เลือก: 5th โอเวอร์ออล
เลือกโดยมินนิโซตา ทิมเบอร์วูฟส์
การเล่นอาชีพ1995–2016
ตำแหน่งเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด
หมายเลข21, 5, 2
ประวัติอาชีพ
19952007มินนิโซตา ทิมเบอร์วูฟส์
20072013บอสตัน เซลติกส์
20132015Brooklyn Nets
20152016มินนิโซตา ทิมเบอร์วูฟส์
สถิติอาชีพ
แต้ม26,071 (17.8 แต้มต่อเกม)
รีบาวด์14,662 (10.0 รีบาวด์ต่อเกม)
แอสซิสต์5,445 (3.7 แอสซิสต์ต่อเกม)
สถิติที่ Basketball-Reference.com
หอเกียรติยศบาสเกตบอลในฐานะผู้เล่น

เควิน การ์เน็ต (Kevin Garnett) (เกิดเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2519 ที่เมืองมอลดิน รัฐเซาท์แคโรไลนา) เป็นนักบาสเกตบอลเอ็นบีเอทีมบอสตัน เซลติกส์ รู้จักกันดีในชื่อย่อ เคจี (KG) และมีฉายาอื่นได้แก่ เดอบิกทิกเก็ต (The Big Ticket) และ เดอคิด (The Kid)[1] การ์เน็ตมีความสามารถหลายหลาย สามารถเล่นได้ทุกตำแหน่ง แต่เพาเวอร์ฟอร์เวิร์ดเป็นตำแหน่งที่สร้างชื่อให้เขา โดยได้รับเลือกให้เล่นในเกมออลสตาร์สิบครั้ง และได้รับการลงคะแนนให้เป็นผู้เล่นทรงคุณค่าในฤดูกาล 2003-04 (พ.ศ. 2546-47) ของเอ็นบีเอ[2]

หลังจากที่การ์เน็ตจบจากไฮสกูลที่ชื่อ Farragut Career Academy ในชิคาโก รัฐอิลลินอย เขาได้ถูกดราฟเข้าเอ็นบีเอทีมมินเนโซตา ทิมเบอร์วูฟส์ในปี พ.ศ. 2538 และเล่นให้ทีมติดต่อกันถึง 12 ปี ก่อนที่จะย้ายไปทีม เซลติกส์ ถือเป็นนักกีฬาเอ็นบีเอที่ถูกเลือกจากระดับไฮสกูลคนแรกในรอบ 20 ปี

วัยเด็ก

[แก้]

การ์เน็ตเกิดที่เมืองมอลดิน (Mauldin) รัฐเซาท์แคโรไลนา เป็นบุตรของ เชอร์ลี การ์เน็ต (Shirley Garnett) และ โอลิวอิส แม็คคัลลา (O’Lewis McCullough) ไฮสคูลสามปีแรก การ์เน็ตเรียนและเล่นบาสเกตบอลให้กับ โรงเรียนไฮสคูลมอลดิน (Mauldin High School) ไฮสคูลปีสุดท้ายเขาย้ายไปเรียนที่ Farragut Career Academy ในชิคาโก รัฐอิลลินอย เขาพาทีมให้ชนะ 28 แพ้ 2 และถูกเลือกเป็นผู้เล่นแห่งปีระดับประเทศ (National High School Player of the Year) โดยหนังสือพิมพ์ USA Today และยังได้รับเลือกเป็น Mr. Basketball ของรัฐอิลลินอย โดยเล่นได้เฉลี่ยตลอดปี 25.2 คะแนน 17.9 รีบาวด์ 6.7 แอสซิสต์ และ 6.5 บล็อก ขณะที่มีเปอร์เซ็นต์การชู้ตลูกได้ 66.7% ในเกม McDonald's All-American Game ซึ่งเป็นเกมรวบดารานักบาสเกตบอลระดับไฮสคูล เขาได้รางวัล Most Outstanding Player หลังทำได้ 18 คะแนน 11 รีบาวด์ 4 แอสซิสต์และ 3 บล็อก หลังจากนั้นเขาก็เสนอชื่อตัวเองในการดราฟผู้เล่นเอ็นบีเอปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995)

อาชีพการเล่นในเอ็นบีเอ

[แก้]

ปีแรก ๆ (2538-40)

[แก้]

เควิน การ์เน็ต ถูกดราฟในอันดับที่ 5 ของการดราฟเอ็นบีเอ โดยทีมมินนิโซตา ทิมเบอร์วูฟส์ ทิมเบอร์วูฟส์เป็นทีมใหม่ที่เข้าร่วมในเอ็นบีเอเมื่อฤดูกาล 1989-90 (พ.ศ. 2532-33) ยังไม่เคยชนะเกิน 29 เกมในหนึ่งฤดูกาลเลย อีกทั้งมีการเปลี่ยนโค้ชใหม่ คือ ฟลิป ซอนเดอร์ส (Flip Saunders) แทน บิล แบลร์ (Bill Blair) ที่ถูกไล่ออกไปก่อนหน้านี้ และมีการเทรดผู้เล่นหลายครั้งเพื่อปรับโครงสร้างทีม ในปีแรกที่การ์เน็ตเข้ามาเล่น เขาเริ่มต้นด้วยการเป็นตัวสำรองเมื่อเริ่มฤดูกาล แต่ได้ขึ้นเป็นตัวจริงกลางฤดูกาล เขาและ ทอม กูกลิโอตา (Tom Gugliota) รับหน้าที่ทำคะแนนให้ทีม การ์เน็ตไม่ได้ก้า��กระโดดไประดับซูเปอร์สตาร์ในทันทีเหมือนผู้เล่นที่มาจากไฮสคูลคนหลัง ๆ เช่น เลอบรอน เจมส์ และ ไดวท์ ฮาวาร์ด แต่ก็มีผลงานที่ใช้ได้ในปีแรก โดยทำได้เฉลี่ยตลอดฤดูกาล 10.4 แต้ม 6.3 รีบาวด์ 1.8 แอสซิสต์[2] อีกทั้งทำสถิติบล็อกสูงสุดในทีม ถึงแม้ว่าทิมเบอร์วูฟส์มีผู้เล่นที่มีศักยภาพ แต่ทีมก็ยังชนะไม่ถึง 30 เกมเป็นปีที่ 7 ติดต่อกันและไม่ได้เข้าเล่นรอบเพลย์ออฟ ในขณะนั้นการ์เน็ตเป็นผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอ คืออยู่ที่ อายุ 19 ปี 11 เดือน[1]

ก่อนฤดูกาลถัดมา ทิมเบอร์วูฟส์ ได้เทรดเอาพอยท์การ์ด สเตฟอน มาร์เบอร์รี (Stephon Marbury) ในตอนดราฟ ในระหว่างฤดูกาล การ์เน็ต พัฒนาผลงานได้ดีขึ้นที่ 17.0 คะแนน 8.0 รีบาวด์ 3.1 แอสซิสต์ 2.1 บล็อก และ 1.7 สตีล[2] และยังทำได้ 8 บล็อกสองเกม[1] จากสถิติชนะ 40 แพ้ 42 ทีมได้เข้าเล่นเพลย์ออฟเป็นครั้งแรก การ์เน็ต และ กูกลิโอตา ได้เล่นในเกมรวมดาราเอ็นบีเอครั้งแรก แต่วูฟส์ก็ถูกทีมฮิวสตัน รอกเก็ตส์ที่มีเซ็นเตอร์ ฮาคีม โอลาจูวอน (Hakeem Olajuwon) เอาชนะไป 3 ต่อ 0 เกมในรอบแรก

ผู้เล่นแฟรนไชส์ (2540-2544)

[แก้]

ในระหว่างฤดูกาล 1997-98 (พ.ศ. 2540-41) วูฟส์และการ์เน็ตก็ได้ตกลงต่อสัญญาหกปีเป็นมูลค่าสูงถึง 126 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในขณะนั้น สร้างความตกลึงในลีกเอ็นบีเอ และเรื่องนี้ถูกใช้เป็นเหตุผลหนึ่งในการประท้วงหยุดเล่นในฤดูกาลต่อมา สัญญาดังกล่าวมีความเสี่ยงสูง อีกทั้งยังทำให้วูฟส์มีความลำบากในการเซ็นสัญญาผู้เล่นใหม่หรือต่อสัญญาผู้เล่นเก่า แม้ว่าจะมีคำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสัญญานี้ การ์เน็ตยังคงพัฒนาการเล่นอย่างต่อเนื่อง เล่นได้เฉลี่ย 18.5 คะแนน 9.6 รีบาวด์ 4.2 แอสซิสต์ 1.8 บล็อก และ 1.7 สตีล ต่อเกม เขาได้รับเลือกเล่นเกมออลสตาร์อีกครั้ง และวูฟส์มีสถิติชนะมากกว่าแพ้เป็นครั้งแรก (ชนะ 45 แพ้ 37) แต่ก็ตกรอบแรกในเพลย์ออฟอีกครั้งโดยพ่ายให้กับซีแอตเติล ซุปเปอร์โซนิค 2 ต่อ 3 เกม ถือเป็นการชนะในรอบเพลย์ออฟของวูฟส์สองเกมแรก เมื่อหมดฤดูกาล ทอม กูกลิโอตา ตัวแต้มให้ทีม ออกไปเซ็นสัญญากับฟีนิกส์ ซันส์

ฤดูกาลถัดมาซึ่งมีเวลาเล่นที่สั้นลงจากการประท้วงหยุดเล่นของลีก การ์เน็ตทำได้ 20.8 แต้ม 10.4 รีบาวด์ 4.3 แอสซิสต์ และ 1.8 บล็อกต่อเกม แต่ระหว่างฤดูกาล สเตฟอน มาร์เบอร์รี ถูกเทรดไปนิวเจอร์ซีส์ เน็ตส์เนื่องจากมีความขัดแย้งกับทีมเรื่องการต่อสัญญา ถึงแม้ว่าทีมจะได้ เทอร์เรลล์ แบรนดอน (Terrell Brandon) ผู้เล่นออลสตาร์สองสมัยมาแทน แต่ก็ไม่สามารถขจัดความไม่ลงรอยกันในทีมได้ จบฤดูกาลปกติด้วยสถิติ ชนะ 25 แพ้ 25 เข้าเล่นเพลย์ออฟในอันดับสุดท้ายและตกรอบแรกอีกครั้ง โดยแพ้ให้กับซานแอนโตนิโอ สเปอรส์แชมส์ในปีนั้น 1 ต่อ 3 เกม

ฤดูกาล 1999-00 (พ.ศ. 2542-43) การ์เน็ตยังเล่นได้ดี และจากการช่วยเหลือของนักชู้ตหน้าใหม่ วอลลี เซอร์เบียก (Wally Szczerbiak) และ แบรนดอน วูฟส์จบฤดูกาลด้วยสถิติดีที่สุด ชนะ 50 แพ้ 32 แต่แพ้รอบแรก 3 ต่อ 1 ให้กับ พอร์ตแลนด์ เทรลเบลเซอรส์

ฤดูกาล 2000-01 วูฟส์กลับมาประสบปัญหาอีกครั้ง การ์ด มาลิก ซีลี (Malik Sealy) ถูกฆ่าตายโดยคนเมาแล้วขับ และเอ็นบีเอตัดสินว่าวูฟส์ทำผิดกฎเมื่อเซ็นสัญญาผู้เล่น โจ สมิท (Joe Smith) เอ็นบีเอลงโทษวูฟส์โดยถอดสิทธิ์การดราฟรอบแรกสามครั้ง ปรับเจ้าของทีม 3.5 ล้านดอลลาร์ และแบนผู้จัดการทีมหนึ่งปี ฤดูกาลนี้การ์เน็ตพาทีมชนะ 47 แพ้ 35 แต่ก็ยังไม่ผ่านเพลย์ออฟรอบแรก แพ้ให้ สเปอรส์ 1 ต่อ 3

ซูปเปอร์สตาร์ 2544-47

[แก้]

การ์เน็ตยังคงเล่นได้ดีสองฤดูกาลต่อมา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ที่รับการคัดเลือกเป็นเอ็มวีพีในปี พ.ศ. 2545 และ 2546 และได้รับการโหวตเป็นอันดับสองรองจากทิม ดังแคนในปี 2546 แต่ทิมเบอร์วูฟส์ยังคงประสบปัญหาในการเล่นเพลย์ออฟ ตกรอบแรกทั้งสองฤดูกาล หรือ ตกรอบแรก 7 ปีติดต่อกัน

การแพ้ติดต่อกันนี้สิ้นสุดเมื่อปี 2547 เมื่อทิมเบอร์วูฟส์ได้ แซม คาสเซลล์ (Sam Cassell) และลาเทรล สปรีเวลล์ (Latrell Sprewell) มาเสริมทีมแทนที่จะพึ่งการ์เน็ตเพียงคนเดียว ปีนี้การ์เน็ตได้เป็นเอ็มวีพีหลังจากทำคะแนนเฉลี่ย 24.3 แต้มต่อเกมและทำรีบาวด์เฉลี่ย 13.9 ต่อเกมสูงที่สุดเอ็นบีเอ ส่วนวูฟส์ก็ได้สถิติดีที่สุดในสายตะวันตก และเอาชนะทีมเดนเวอร์ นักเก็ตส์และซาคราเมนโต คิงส์ในเพลย์ออฟ ก่อนที่จะแพ้ให้กับลอสแอนเจลิส เลเกอรส์ในรอบไฟนอลของสายตะวันตก ในระหว่างนี้ การ์เน็ต ได้เป็นผู้เล่นคนที่ 5 ที่สามารถทำ 30 แต้ม 20 รีบาวด์ในเกมที่เจ็ดของเพลยออฟ โดยทำได้ 32 แต้มและ 21 รีบาวด์ในเกมที่เอาชนะซาคราเมนโต

ปีที่ตกต่ำ 2547-50

[แก้]

คาสเซลล์ และ สปรีเวลล์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จของทิมเบอร์วูฟส์ในปี 2547 กลับสร้างผลงานที่ไม่ดีเท่านี้ในฤดูกาล 2004-05 (2547-48) เป็นผลให้ทีมไม่ได้เข้าในรอบเพลย์ออฟในปีนั้น สปรีเวลล์ และ คาสเซลล์ปฏิเสธที่จะอยู่ต่อ ทำให้ฤดูกาลต่อมาวูฟส์ ซึ่งได้ชู้ตติ้งการ์ดและสมอลฟอร์เวิร์ด ริกกี เดวิส (Ricky Davis) มาช่วยทีม มีสถิติถดถอย เหลือชนะเพียง 33 เกมจาก 82 เกม พลาดเข้ารอบเพลย์ออฟ

2550-ปัจจุบัน

[แก้]
การ์เน็ต กำลังดังก์ลูกในเกมที่พบกับ วอชิงตัน วิซารดส์

ฤดูกาล 2006-07 (2549-50) วูฟส์ชนะ 32 จาก 82 เกม และไม่ได้เล่นเพลย์ออฟเป็นปีที่สามติดต่อกัน ในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เควิน การ์เน็ต ถูกเทรดไปยังทีม บอสตัน เซลติกส์ แลกกับ แอล เจฟเฟอร์สัน (Al Jefferson), ไรอัน โกมส์ (Ryan Gomes), เซบาสเตียน เทลแฟร์ (Sebastian Telfair), เจอรัลด์ กรีน (Gerald Green), ทีโอ แรทลีฟ (Theo Ratliff), เงินสด, สิทธิ์ในการดราฟรอบแรกในปี ค.ศ. 2009 ของบอสตัน (ยกเว้นถ้าบอสตันได้เลือกสามอันดับแรก) และสิทธิ์ในการดราฟรอบแรกปี 2009 ของมินนิโซตาซึ่งเคยเทรดให้บอสตัน ตอนแลก ริกกี เดวิส (Ricky Davis) กับ วอลลี เซอร์เบียก (Wally Szczerbiak) เมื่อปี 2006[3] ถือเป็นการเทรดผู้เล่นที่มากที่สุดเพื่อแลกกับผู้เล่นคนเดียว[4] ตอนที่เทรด การ์เน็ต เป็นผู้เล่นที่สังกัดทีมในเอ็นบีเอนานที่สุดในขณะนั้น คือ เล่นให้กับ ทิมเบอร์วูฟส์ ติดต่อกัน 12 ปี (รวมทั้งสิ้น 927 เกม) การ์เน็ตกล่างว่าเขาภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเซลติกส์ และหวังว่าจะได้สานต่อตำนานความสำเร็จทางบาสเกตบอล[5][6][7] และในวันเดียวกับที่การเทรดถูกประกาศออกมา การ์เน็ตก็ได้เซ็นต่ออายุสัญญาเพิ่มอีก 3 ปี มูลค่า 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อจากสัญญาปัจจุบันซึ่งมีอายุเหลืออีก 2 ปี

การ์เน็ต ในเกมที่ 4 ของเพลย์ออฟ รอบที่เจอกับแอตแลนตา ฮอกส์

การ์เน็ต ได้รับการโหวดด้วยคะแนนสูงที่สุดสำหรับเกมรวมดาราเอ็นบีเอปี 2008 โดยได้ 2,399,148 คะแนน ถือเป็นคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่หกในประวัติศาสตร์การโหวตเกมรวมดาราเอ็นบีเอ การ์เน็ตปรากฏตัวเป็นครั้งที่ 11 รองจากเซ็นเตอร์ แชคิล โอนีล จากฟีนิกส์ ซันส์ ที่เล่นเกมรวมดาราทั้งหมด 14 ครั้ง[8] แต่การ์เน็ตก็ไม่สามารถเล่นได้เนื่องจากปวดกล้ามเนื้อท้อง ทำให้คอมมิสชันเนอร์ของเอ็นบีเอ เดวิด สเติร์น เลือกเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด ราชีด วอลเลส (Rasheed Wallace) จากดีทรอยต์ พิสตันส์มาแทน[9][10] โค้ชเกมรวมดาราทีมตะวันออก ด็อค ริเวอร์ส (Doc Rivers) เลือกเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ดโทรอนโต แร็ปเตอรส์ คริส บอช (Chris Bosh) มาเล่นในตำแหน่งตัวจริงแทน[11]

เมื่อวันที่ 8 มีนาคม การ์เน็ตทำสถิติได้ 20,000 คะแนนตลอดการเล่นอาชีพ ถือเป็นผู้เล่นเอ็นบีเอคนที่ 32 ที่ทำคะแนนได้ระดับนี้[12] โดยการเลย์อับ ในควาร์เตอร์ที่ 2 เมื่อเจอกับทีมเมมฟิส กริซลีส์[13] ผู้เล่นอื่นในปัจจุบันที่ทำได้ระดับนี้มีเพียง แชคิล โอนีล, อัลเลน ไอเวอร์สัน และ โคบี ไบรอันต์[14]

เมื่อวันที่ 22 เมษายน การ์เน็ต ก็ได้รับเลือกให้เป็นผู้เล่นทีมรับยอดเยี่ยมเอ็นบีเอ สำหรับฤดูกาล 2007-08[15][16] รางวัลนี้ถือเป็นรางวัลใหญ่รางวัลเดียวที่ผู้เล่นจากบอสตัน เซลติกส์ไม่เคยได้รับตั้งแต่ก่อตั้งทีมมา[17] แต่การ์เน็ตกล่าวว่าเป็นผลงานร่วมกันของทีมที่ช่วยให้เขาได้รับรางวัลนี้[18]

เมื่อ 17 มิถุนายน การ์เน็ตช่วยให้ทีมเซลติกส์คว้าแชมป์เอ็นบีเอเป็นสมัยที่ 17 ด้วยผลงาน 26 คะแนน 14 รีบาวด์ในการแข่งเกม 6 ของรอบไฟนอลปี 2008

ในวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) การ์เน็ตก็ได้เป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอที่เล่นอาชีพครบ 1,000 เกมที่อายุ 32 ปี 165 วัน[19][20]

ข้อมูลผู้เล่น

[แก้]

การ์เน็ตถือว่าเป็นผู้เล่นที่สมบูรณ์ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่มีมาที่ตำแหน่งเพาเวอร์ฟอร์เวิร์ด[21][22] ถึงแม้ว่าจะสูงถึง 7 ฟุต เขาก็มีความคล่องแคล่ว มีทักษะการครองบอล และมีสายตาที่ดี สามารถเล่นทุกตำแหน่งตั้งแต่เซ็นเตอร์ไปจนถึงพอยท์การ์ดและช่วยทีมทั้งเกมบุกและเกมรับ ทำคะแนนได้ 20 คะแนนและทำ 10 รีบาวด์ในเกมได้สม่ำเสมอ เจ้าของสถิติจำนวนฤดูกาลที่ทำเฉลี่ย 20 แต้ม 10 รีบาวด์ 5 แอสซิสต์ติดต่อกันสูงสุดคือ 6 ฤดูกาล ซึ่งแลร์รี เบิร์ด (Larry Bird) เคยเป็นเจ้าของสถิติ นอกจากนี้การ์เน็ตยังทำคะแนนอย่างน้อย 10 แต้ม ติดต่อกัน 392 เกม เล่นเป็นตัวจริงติดต่อกัน 331 เกม (สถิตินับถึง 29 มีนาคม พ.ศ. 2550) ด้านเกมรับของการ์เน็ต เขาเป็นคนบล็อกลูกได้ดีและมีชื่อเสียงการตั้งรับ สามารถประกบกับพอยท์การ์ดและเซ็นเตอร์ได้ ส่วนการบุกทำคะแนน สามารถทำคะแนนทั้งบริเวณใต้แป้นและการชู้ตจากวงนอก ถือว่าเป็นผู้นำทีมและผู้เล่นซึ่งน้อยคนนักจะสามารถนำพาทีมได้ด้วยคนเพียงคนเดียว

ถึงแม้ว่าเขาจะมีสถิติผลงานที่น่าประทับใจ แต่กลับไม่ได้ประสบความสำเร็จนักในการเล่นเพลย์ออฟ เขาไม่ค่อยมีเพื่อนร่วมทีมที่ช่วยให้เขาก้าวไปสู่ความสำเร็จ และมีหลายคนก็กล่าวว่าการ์เน็ตขาดปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เล่นรอบข้างดีขึ้นมาได้เหมือนกับที่แชคิล โอนีลช่วยให้ผู้เล่นอย่าง เพนนี ฮาร์ดอะเวย์ (Penny Hardaway) โคบี ไบรอันต์ (Kobe Bryant) และ ดเวน เหว็ด (Dwyane Wade) กลายเป็นผู้เล่นระดับซูเปอร์สตาร์

ผลงาน

[แก้]
  • แชมป์เอ็นบีเอ พ.ศ. 2551
  • ผู้เล่นทรงคุณค่าในเอ็นบีเอ ปี พ.ศ. 2547
  • ผู้เล่นทีมรับแห่งปี พ.ศ. 2551
  • เหรียญทองโอลิมปิก พ.ศ. 2543
  • เล่นในเกมออลสตาร์ ปี พ.ศ. 2540, 2541, 2543, 2544, 2545, 2546, 2547, 2548, 2549, 2550, 2551 (ไม่มีการจัดเกมออลสตาร์ในปี พ.ศ. 2542)
  • ผู้เล่นทรงคุณค่าในเกมออลสตาร์ ปี พ.ศ. 2546
  • ได้รับเลือกเป็น ออล-เอ็นบีเอ
    • ทีมแรก 2543, 2546, 2547, 2551
    • ทีมที่สอง 2544, 2545, 2548
    • ทีมที่สาม 2542, 2550
  • ได้รับเลือกเป็น All-Defensive
    • ทีมแรก 2543, 2544, 2545, 2546, 2547, 2548, 2551
    • ทีมที่สอง 2549, 2550
  • ได้รับเลือกเป็น All-Rookie ทีมที่สอง 2539
  • ทำรีบาวด์เฉลี่ยต่อเกมสูงสุดในเอ็นบีเอในฤดูกาลปกติ 2547 (13.9 รีบาวด์ต่อเกม), 2548 (13.5 รีบาวด์ต่อเกม), 2549 (12.7 รีบาวด์ต่อเกม), 2550 (12.8 รีบาวด์ต่อเกม)
  • ทำรีบาวด์รวมสูงสุดในเอ็นบีเอ 2547 (1139 รีบาวด์), 2548 (1108 รีบาวด์)
  • ทำคะแนนรวมสูงสุดในเอ็นบีเอ 2547 (1987 คะแนน)
  • ผู้เล่นคนแรกในประวัติศาสตร์เอ็นบีเอที่
    • เฉลี่ยอย่างน้อย 20 คะแนน 10 รีบาวด์ 5 แอสซิสต์ ต่อเกม ติดต่อกัน 6 ฤดูกาล (1999-2005)
    • เฉลี่ยอย่างน้อย 20 คะแนน 10 รีบาวด์ 4 แอสซิสต์ ต่อเกม ติดต่อกัน 9 ฤดูกาล (1998-2007)
    • ได้อย่างน้อย 20,000 คะแนน 11,000 รีบาวด์ 4,000 แอสซิสต์ 1,200 สตีล 1,500 บล็อกตลอดการเล่นอาชีพ

นอกสนาม

[แก้]
  • การ์เน็ตแต่งงานกับแฟน แบรนดี แพดิลลา (Brandi Padilla) ช่วงฤดูร้อนปี 2547 และจัดงานเป็นการส่วนตัวในรัฐแคลิฟอร์เนีย นี่เป็นเหตุผลที่การ์เน็ตไม่ได้ร่วมทีมชาติสหรัฐในเกมโอลัมปิกปีนั้น
  • ในวัยเด็ก ชิคาโก บุลส์เป็นทีมที่การ์เน็ตชอบ เนื่องจากเขาโตในชิคาโก
  • พฤศจิกายน 2548 การ์เน็ตบริจาคเงินช่วยผู้ประสบภัยจากพายุเฮอร์ริเคนแคทรินาเป็นจำนวน 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 http://www.nba.com/playerfile/kevin_garnett/bio.html
  2. 2.0 2.1 2.2 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-04. สืบค้นเมื่อ 2007-04-29.
  3. "www.nba.com/celtics/news/press073107-garnett.html".
  4. Celtics obtain former MVP in 7-for-1 deal July 31, 2007
  5. "Sources: Celtics, Wolves closing in on KG trade".
  6. "Celtics to get Wolves' Garnett, sources say".
  7. "Celtics, Minnesota Timberwolves agree to send Garnett to Boston".[ลิงก์เสีย]
  8. Boston's Kevin Garnett Top Vote-Getter Among All-Stars, NBA.com, January 24, 2008.
  9. Garnett out of All-Star Game, Wallace in, Boston Herald, February 10, 2008.
  10. Steve Bulpett, No 'Big Ticket' for an All-Star event, Boston Herald, February 11, 2008.
  11. Marc J. Spears, Rondo will have to pay up, The Boston Globe, February 16, 2008.
  12. Kevin Garnett Reaches 20,000-Point Plateau, NBA.com, March 8, 2008.
  13. Steve Bulpett, C's go extra milestone - Numbers come up for Garnett, Allen, Boston Herald, March 9, 2008.
  14. Allen, Celtics breeze by Grizzlies for eighth straight win, Associated Press, March 8, 2008.
  15. Kevin Garnett Wins Kia Defensive Player of the Year, NBA.com, April 22, 2008.
  16. Kevin Garnett Wins NBA Defensive Player of the Year, Celtics.com, April 22, 2008.
  17. Marc J. Spears, Garnett wins NBA defensive player award, The Boston Globe, April 22, 2008.
  18. Couper Moorhead, KG Calls Defensive Player of the Year Award a "Team Effort", Celtics.com, April 22, 2008.
  19. Garnett becomes youngest to reach 1,000 games, leads Celtics past Bulls, Associated Press, October 31, 2008.
  20. Frank Dell'Apa, Rondo's deal is extended, The Boston Globe, November 1, 2008.
  21. http://www.hoopsworld.com/cgi-bin/member/exec/view.cgi?archive=18&num=4568
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-04-29.