ข้ามไปเนื้อหา

เขตการปกครองของประเทศเกาหลีใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประเทศเกาหลีใต้ประกอบด้วย 17 เขตการปกครองระดับที่หนึ่ง ได้แก่ 6 มหานคร (ควังย็อก-ชี), 1 นครปกครองตนเองพิเศษ (ทึกบย็อลจาชี-ชี), 1 นครพิเศษ (ทึกบย็อล-ชี) และ 9 จังหวัด (โท) รวมถึง 1 จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ (ทึกบย็อลจาชี-โด)[1][2] และยังม���การแบ่งเป็นส่วนปกครองย่อยอีกหลายส่วน ได้แก่ นคร (ชี), อำเภอ (คุน), เขต (คู), เมือง (อึบ), ตำบล (มย็อน), แขวง (ทง) และหมู่บ้าน (รี)[3]

หมายเหตุการแปล: ถึงแม้ว่าคำว่านครพิเศษ มหานคร จังหวัด และเมืองนั้นจะเป็นคำแปลเขตการปกครองของเกาหลีใต้ที่คุ้นเคยกันในภาษาไทย แต่คำแปลเช่น นคร อำเภอ เขต ตำบล แขวง และหมู่บ้าน ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในภาษาไทย

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ใช้การสะกดคำอย่างเป็นทางการตาม ระบบการถอดภาษาเกาหลีด้วยอักษรโรมันฉบับปรับปรุง

ระดับ ชื่อ ประเภท ฮันกึล ฮันจา อักษรโรมันปรับปรุง จำนวน
(2014)
1 การปกครองตนเองท้องถิ่นพื้นที่ขนาดใหญ่[4]
광역지방자치단체
廣域地方自治團體
จังหวัด do 8
จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ 특별자치도 特別自治道 teukbyeol-jachido 1
นครพิเศษ 특별시 特別市 teukbyeolsi 1
นครปกครองตนเองพิเศษ 특별자치시 特別自治市 teukbyeol-jachisi 1
มหานคร 광역시 廣域市 gwangyeoksi 6
2 การปกครองตนเองท้องถิ่นระดับพื้นฐาน[4]
(เทศบาล)
기초지방자치단체
基礎地方自治團體
นคร si 60
นคร (นครเฉพาะ) (특정시) (特定市) si (teukjeongsi) 15
อำเภอ gun 82
เขต (เขตที่ปกครองตนเอง) (자치구) (自治區) gu (jachigu) 69

เขตการปกครองระดับจังหวัด

[แก้]

การแบ่งเขตการปกครองระดับจังหวัดเป็นการแบ่งเขตการปกครองขั้นแรกภายในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ จังหวัด จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ มหานคร นครพิเศษ และนครปกครองตนเองพิเศษ

เขตการปกครองระดับเทศบาล

[แก้]
แผนที่เขต (คู) ของมหานคร, นคร (ชี) และอำเภอ (คุน) ทั่วทั้งประเทศเกาหลีใต้

ชี (นคร)

[แก้]

ชี (시, 市, si) เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งหน่วยทางปกครองของจังหวัด เช่นเดียวกับคุน ระดับนครนั้นจะต้องมีประชากรอย่างน้อย 150,000 คน ถ้าประชากรในอำเภอมีถึง 150,000 คนก็จะได้ยกระดับเป็นนคร (ยกเว้นอำเภอคีจังในปูซาน) ส่วนนครที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน (เช่น ซูว็อน ช็องจู และช็อนจู) จะถูกแบ่งออกเป็นคู (เขต) ยกเว้นนครคิมแฮ ฮวาซ็อง และนัมยังจู และคูก็จะแบ่งออกเป็นทง (แขวง) เมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 500,000 จะไม่ถูกแบ่งออกเป็นคู แต่เมืองเหล่านี้จะถูกแบ่งโดยตรงเป็นทง

คุน (อำเภอ)

[แก้]

คุน (군, 郡, gun) เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งหน่วยทางปกครองของจังหวัด (เช่นเดียวกับชี) และของมหานครเช่น ปูซาน แทกู อินช็อน และอุลซัน (เช่นเดียวกับคู) คุนนั้นมีประชากรน้อยกว่า 150,000 คน (มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็นนคร) คือมีที่ที่ความหนาแน่นของประชากรน้อยกว่าคู และเป็นสถานที่ที่เป็นชนบทที่อยู่นอกเขตของทั้งชีและคู คุนถ้าเทียบกับระบบการแบ่งเขตการปกครองของอังกฤษจะเท่ากับ อำเภอนอกมหานคร (Non-metropolitan district) คุนสามารถแบ่งออกได้เป็นอึบ (เมือง) และมย็อน (ตำบล)

คู (เขต)

[แก้]

คู (구, 區, gu) เทียบกับประเทศไทยแล้วจะเท่ากับอำเภอหรือกิ่งอำเภอ เมืองของเกาหลีใต้ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็นคู แต่มหานครอย่างปูซาน แทกู อินช็อน และอุลซันจะประกอบด้วยคุน คูนั้นแบ่งการปกครองออกเป็นทง (แขวง)

เขตการปกครองระดับต่ำกว่าเทศบาล

[แก้]

อึบ (เมือง)

[แก้]

อึบ (읍, 邑, eup) เป็นหน่วยการปกครองอย่างหนึ่งเช่นเดียวกับมย็อน อึบนั้นเป็นหนึ่งในการแบ่งหน่วยทางปกครองของคุน (อำเภอ) และชี (นคร) บางแห่งที่มีประชากรน้อยกว่า 500,000 คน เมืองหลักเมืองหนึ่งหรือหลาย ๆ เมืองในอำเภอ หรือเมืองบริวารที่อยู่ภายในอาณาเขตของนคร จะถูกยกให้เป็นอึบ อึบจะมีหน่วยทางปกครองย่อยเป็นรี (หมู่บ้าน) ท้องที่ที่จะจัดตั้งเป็นอึบได้นั้นต้องมีประชากรอย่างน้อย 20,000 คน

มย็อน (ตำบล)

[แก้]

มย็อน (면, 面, myeon) เป็นหน่วยการปกครองอย่างหนึ่งของคุน (อำเภอ) และชี (นคร) บางแห่งที่มีประชากรน้อยกว่า 500,000 คน เช่นเดียวกับอึบ มย็อนนั้นมีประชากรน้อยกว่าในเขตอึบ และมีลักษณะเป็นพื้นที่ส่วนที่เป็นชนบทของอำเภอและนคร มย็อนมีหน่วยทางปกครองย่อยเป็นรี (หมู่บ้าน) มีประชากรไม่เกิน 6,000 คน

ทง (แขวง)

[แก้]

ทง (동, 洞, dong) เป็นหน่วยทางปกครองเบื้องต้นของคู (เขต) รวมทั้งของชี (นคร) ที่มิได้มีการแบ่งเป็นคูด้วย ทงเป็นหน่วยงานทางปกครองที่เล็กที่สุดในเมืองที่มีสำนักงานและเจ้าหน้าที่เป็นของตัวเอง ในบางกรณี ทงหนึ่งแห่งนั้นสามารถแยกออกได้อีกเป็นหลายทง ซึ่งสามารถแยกความแตกต่างได้โดยใส่ตัวเลขไว้ด้านหลัง เช่น แขวงมย็องจัง 1 และแขวงมย็องจัง 2 เป็นต้น และในบางกรณีทงที่มีหลายทงก็มีสำนักงานและเจ้าหน้าที่ของตัวเอง

การแบ่งหน่วยทางปกครองในขั้นต้นของทง (동, 洞, dong) คือ ทง (통, 統, tong) แต่การแบ่งหน่วยย่อยแบบนี้ไม่ค่อยใช้เท่าไหร่นัก ส่วนทงที่มีประชากรหนาแน่นบางนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น คา (가, 街, ga) ซึ่งไม่ใช่การแบ่งแยกเป็นอีกระดับการปกครอง แต่มีไว้เพื่อความสะดวกของการส่งไปรษณีย์หรือที่อยู่เท่านั้น ถนนสายหลักส่วนใหญ่ในโซล ซูว็อน และเมืองอื่น ๆ ก็มีการแบ่งออกเป็นคา

รี (หมู่บ้าน)

[แก้]

รี (리, 里, ri) เป็นหน่วยทางปกครองย่อยหน่วยเดียวของอึบและมย็อน โดยรีเป็นหน่วยทางปกครองที่เล็กที่สุดของหน่วยงานทางปกครองที่อยู่ในชนบท โดยการจะเป็นรีได้ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรเป็นหลัก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ถึงแม้ว่ารายละเอียดของการปกครองส่วนท้องถิ่นจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งการปกครองขึ้นพื้นฐานระบบหัวเมืองสามชั้นซึ่งมีการนำมาปฏิบัติในสมัยพระเจ้าโกจง ในปี 2438 ซึ่งก็คล้ายกับระบบที่ยังใช้อยู่ในเกาหลีเหนือ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Administrative division". South Korea Government. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.[ลิงก์เสีย]
  2. "Local Governments". KOREA.net. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
  3. Stevens, Andrew. "Seoul Mayor first among equals". City Mayors. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.
  4. 4.0 4.1 "Local Governments". KOERA.net. สืบค้นเมื่อ 30 April 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]