ข้ามไปเนื้อหา

เกลนน์ ที. ซีบอร์ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกลนน์ ที. ซีบอร์ก
ซีบอร์กในปี 1964
ประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งสหรัฐ
ก่อนหน้าจอห์น แม็คโคเน
ถัดไปเจมส์ อาร์. ชเลซิงเกอร์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ คนที่ 2
ก่อนหน้าคลาร์ก เคอร์
ถัดไปเอ็ดเวิร์ด สตรอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เกลนน์ ธีโอดอร์ ซีบอร์ก

19 เมษายน ค.ศ. 1912(1912-04-19)
อิชเปมิง รัฐมิชิแกน สหรัฐ
เสียชีวิตกุมภาพันธ์ 25, 1999(1999-02-25) (86 ปี)
ลาแฟแย็ต รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ
เชื้อชาติอเมริกัน
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจากผู้ร่วมสังเคราะห์ธาตุหลังยูเรเนียม 10 ธาตุ
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเคมีนิวเคลียร์
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์The interaction of fast neutrons with lead (1937)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก
ลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงอื่น ๆMargaret Melhase
ลายมือชื่อ

เกลนน์ ที. ซีบอร์ก (อังกฤษ: Glenn T. Seaborg, 19 เมษายน ค.ศ. 1912 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999) เป็นนักเคมีชาวอเมริกันที่มีส่วนร่วมในการสังเคราะห์ธาตหลังยูเรเนียม 10 ธาตุ ทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 1951 [3] งานของเขาในเคมีนิวเคลียร์นี้ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดแถบแอกทิไนด์ และการจัดเรียงแถบแอกทิไนด์ในตารางธาตุ

ซีบอร์กใช้เวลาส่วนใหญ่ในอาชีพการงานของเขาในฐานะนักศึกษาและนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ต่อมาดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ และเป็นตำแหน่งอธ���การบดีคนที่สองของมหาวิทยาลัยในปี 1958 ถึง 1961 [4] เขาเป็นที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ 10 คน ตั้งแต่แฮร์รี เอส. ทรูแมนถึงบิล คลินตัน เกี่ยวกับนโยบายนิวเคลียร์และเป็นประธานคณะกรรมาธิการพลังงานปรมาณูแห่งสหรัฐ ตั้งแต่ปี 1961 ถึง 1971 ซึ่งเขาผลักดันให้มีการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในเชิงพาณิชย์และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์อย่างสันติ ตลอดอาชีพการงานของเขา ซีบอร์กทำงานกำกับการควบคุมอาวุธ เขาเป็นผู้ลงนามในสัญญาแฟรงค์ และมีส่วนร่วมในสนธิสัญญาข้อจำกัดการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และสนธิสัญญาห้ามทดสอบอาวุธนิวเคลียร์อย่างครอบคลุม เขาเป็นผู้สนับสนุนด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และการระดมทุนของรัฐบาลกลางสำหรับการวิจัย ในช่วงสิ้นสุดสมัยของประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ เขาเป็นผู้เขียนหลักของรายงานซีบอร์ก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เชิงวิชาการ และในฐานะสมาชิกคนหนึ่งของ คณะกรรมการความเป็นเลิศด้านการศึกษาแห่งชาติ ของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน เขาเป็นผู้สนับสนุนหลักในรายงานฉบับปี 1983 "รายงานประเทศชาติบนความเสี่ยง"

ซีบอร์กเป็นหัวหน้ากลุ่มและผู้ร่วมค้นพบธาตุหลังยูเรเนียม 10 ธาตุ ได้แก่ พลูโทเนียม อะเมริเซียม คูเรียม เบอร์คีเลียม แคลิฟอร์เนียม ไอน์สไตเนียม เฟอร์เมียม เมนเดลีเวียม โนเบเลียม และธาตุเลขอะตอม 106 ซึ่งในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ ได้รับการตั้งชื่อว่า ซีบอร์เกียม เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา เขาเคยพูดเกี่ยวกับการตั้งชื่อธาตุนี้ว่า "นี่เป็นเกียรติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ผมเคยมอบให้ตัวเอง ผมคิดว่ามันดีกว่าการได้รับรางวัลโนเบลเสียอีก ผู้ศึกษาศาสตร์เคมีในอนาคต เมื่อเรียนรู้เกี่ยวกับตารางธาตุ อาจจะมีผู้ที่ถามว่าทำไมธาตุนี้ถึงตั้งชื่อให้ผม และพวกเขาก็จะดูผลงานของผม" [5] นอกจากนี้ เขายังค้นพบไอโซโทปของธาตุหลังยูเรเนียมมากกว่า 100 ไอโซโทป และได้รับการยกย่องว่ามีส่วนสำคัญในด้านเคมีของพลูโทเนียม ซึ่งเดิมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแมนแฮตตัน ซึ่งเขาได้พัฒนากระบวนการสกัดที่ใช้ในการแยกเชื้อเพลิงพลูโทเนียมสำหรับระเบิดปรมาณู ในช่วงแรก ๆ ของอาชีพของเขา เขาเป็นผู้บุกเบิกด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์และได้ค้นพบไอโซโทปของธาตุต่าง ๆ ที่มีการใช้งานที่สำคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรค รวมถึงไอโอดีน-131 ซึ่งใช้ในการรักษาโรคไทรอยด์ นอกเหนือจากงานเชิงทฤษฎีของเขาในการพัฒนาแนวคิดแถบแอกทิไนด์ ซึ่งวางชุดแอกทิไนด์ไว้ใต้แถบแลนทาไนด์ บนตารางธาตุ เขายังตั้งสมมติฐานการมีอยู่ของธาตุซูเปอร์เฮฟวีในกลุ่มธาตุหลังแอกทิไนด์และซูเปอร์แอกทิไนด์

หลังจากที่ได้รางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 1951 ร่วมกับเอ็ดวิน แม็คมิลลัน เขาได้รับปริญญาเอกกิตติมศักดิ์ประมาณ 50 ครั้งและรางวัลและเกียรติยศ อื่น ๆ มากมาย รายชื่อสิ่งของที่ตั้งชื่อตามชื่อของเขา มีตั้งแต่ธาตุเคมีซีบอร์เกียม ไปจนถึงดาวเคราะห์น้อย 4856 ซีบอร์ก เขาเป็นนักเขียนที่มีส่วนร่วมในหนังสือหลายเล่มและบทความในวารสาร 500 บทความ ซึ่งมักจะทำงานร่วมกับผู้อื่น

เขาเคยถูกระบุในบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ ว่าเป็นบุคคลอยู่ในวารสารของ Who's Who in America ยาวนานที่สุด [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "SCI Perkin Medal". Science History Institute. May 31, 2016. สืบค้นเมื่อ March 24, 2018.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ formemrs
  3. "The Nobel Prize in Chemistry 1951". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ August 26, 2012.
  4. Office of the Chancellor. "Past Chancellors". University of California, Berkeley. สืบค้นเมื่อ December 24, 2015.
  5. 5.0 5.1 "UCLA Glenn T. Seaborg Symposium - Biography". www.seaborg.ucla.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-06. สืบค้นเมื่อ 2022-04-25.