ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด
"ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" | |
---|---|
เพลงโดยมารูนไฟฟ์ | |
จากอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน | |
วางจำหน่าย | 9 กรกฎาคม 2002 |
บันทึกเสียง | 2002 |
แนวเพลง | ออลเทอร์นาทิฟร็อก, ฟังก์ร็อก |
ความยาว | 2:56 |
ค่ายเพลง | J, อ็อกโทน |
ผู้ประพันธ์เพลง | แอดัม เลอวีน, เจสซี คาร์ไมเคิล |
โปรดิวเซอร์ | แมตต์ วอลเลซ |
"ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" (อังกฤษ: Harder to Breathe) เป็นเพลงของวงดนตรีแนวออลเทอร์นาทิฟร็อก ของมารูนไฟฟ์ เพลงเขียนโดยนักร้องนำ แอดัม เลอวีน จากอัลบั้มแรก ซองส์อะเบาต์เจน (2002) เพลงแสดงถึงความเครียด เนื่องจากเขียนขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้สถานการณ์ลำบาก เพลงเล่าเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ครั้งเก่าของเลอวีน "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์ ซึ่งยกย่องการทำดนตรีของเพลง เพลงออกจำหน่ายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2002 เป็นซิงเกิลแรกจากอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน
เพลงขึ้นอันหกในนิตยสารแอร์เพลย์มอนิเตอร์ เพลงเข้าชาร์ตฮอตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ที่อันดับ 31 และบิลบอร์ดฮอต 100 ที่อันดับ 18 ในต่างประเทศ ซิงเกิลติดชาร์ตอันดับ 13 ในสหราชอาณาจักร "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ยังเข้าชาร์ตในเนเธอร์แลนด์ สวีเดน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ด้วย เพลงยังถูกบรรจุในอีพี 1.22.03.อะคูสติก ในฉบับอะคูสติก และฉบับแสดงสดในอัลบั้ม ไลฟ์–ฟรายเดย์เดอะเธอร์ทีนธ์
"ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ใช้เป็นเพลงประกอบในซีรีส์วันทรีฮิลล์ อีอาร์ เบิดส์ออฟเพรย์ และมายด์ฮันเตอส์ ด้วย
เบื้องหลัง
[แก้]ในบทสัมภาษณ์กับเอ็มทีวีนิวส์ในเดือนสิงห��คม ค.ศ. 2002 เมื่อนักร้องนำวงมารูนไฟฟ์ แอดัม เลอวีน ถูกถามเกี่ยวกับเบื้องหลังการทำเพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" เขายอมรับว่าเพลงพูดถึงความท้อแท้ของวงที่มีต่อสังกัดเอแอนด์เอ็มอ็อกโทนเรเคิดส์ ในระหว่างทำอัลบั้มซองส์อะเบาต์เจน วงคิดกันว่าพวกเขาทำงานเพลงมากพอที่จะจำหน่ายได้แล้ว แต่ทางค่ายบอกเขาให้เขียนเพลงต่อไป เลอวีนได้เขียนเพลงภายใต้ความท้อแท้และความกดดันดังกล่าว "เพลงนั้นออกมาจากความต้องการที่จะขว้างอะไรบางอย่าง มันเป็นชั่วโมงที่ 11 แล้ว และค่ายต้องการเพลงอีก มันเป็นฟางเส้นสุดท้ายแล้ว ผมโมโห ผมอยากทำอัลบั้ม และค่ายกดดันผมมาก แต่ผมดีใจที่เขาทำเช่นนั้น"[1]
"ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" เล่าเรื่องเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเลอวีนกับผู้หญิงชื่อ เจน[2] ซึ่งเลอวีนกล่าวว่าเป็น "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ของอัลบั้มนี้ แม็กเคนซี วิลสัน จากออลมิวสิก พูดถึงเพลงว่า "การจัดการอารมณ์ที่เต็มไปด้วยความรู้สึก" (soulful disposition)[3] เมแกน บาร์ด จากเดอะเดลีแคมปัส พูดถึงซิงเกิลว่ามี "กีตาร์ริฟแบบหยาบ ๆ ที่มีจังหวะเร็วขึ้นเรื่อย ๆ และเสียงร้องทรงพลัง"[4] ของเลอวีน บาร์ดชี้ว่าเนื้อหาในเพลงเกี่ยวกับ "การฟื้นฟูจากการอกหัก"[4] แองกัส เบตี จากเดอะไทมส์ เปรียบเทียบเสียงดนตรีของ "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ว่า "มีลักษณะแบบเซพเพลิน" (Zeppelin-esque)[5]
การตอบรับ
[แก้]เพลงได้รับการตอบรับที่ดีจากนักวิจารณ์เพลง ในบทวิจารณ์อัลบั้มจากนิตยสารโรลลิงสโตน นักวิจารณ์ คริสเตียน ฮอร์ด เรียกเพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ว่าเป็น "ซิงเกิลที่แข็งแรง" (a strong single) ซี. สเปนเซอร์ เบกส์ จากดิอ็อบเซิร์ฟเวอร์ เขียนว่า "ซิงเกิลทั้งสองซิงเกิล ['ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด' และ 'ดิสเลิฟ'] เป็นเพลงที่เป็นที่นิยมที่สุดในอัลบั้ม แสดงให้เห็นเสียงดนตรีของมารูนไฟฟ์ ที่มีจังหวะเร็ว ชัดเจน และรื่นหู"[6] แซม เบเรสกี จากหนังสือพิมพ์เดลีโลโบ ซึ่งรู้สึกกระตือรือร้นต่ออัลบั้มน้อยกว่า ชื่นชมเพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ของมารูนไฟฟ์ โดยกล่าวว่า "เพลงฟังสนุกดี มีมุมมองของนักร้องแนวร็อกที่เต็มไปด้วยอารมณ์และสุขุมเยือกเย็นอย่างเทรน จอห์น เมเยอร์ หรือแม้แต่สตีวี วันเดอร์ ตัวน้อย ๆ หรือจามิโรไคว เพลงมีเสียงดนตรีร็อกผสมกับอาร์แอนด์บี และคาดเดาได้ง่ายว่าจะถูกเปิดทางวิทยุ"
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2003 เลอวีน กล่าวกับยูเอสเอทูเดย์ เกี่ยวกับความสำเร็จของเพลงว่า "ผมไม่ได้รักหรือเกลียดเพลงนี้ และผมไม่ได้สนใจว่ามันจะอยู่ในอัลบั้มนี้หรือไม่ เรามีเพลงป็อปหลายเพลงที่เราบันทึกไว้ และความคิดคือเริ่มทำสิ่งที่แตกต่างออกไป ทำไมเพลงป็อปอีกเพลงหนึ่งถึงต้องมาจากวงดนตรีป็อปอีกวงหนึ่งด้วย"[7] ในปีต่อมา วงออกอีพีชื่อ 1.22.03.อะคูสติก (2004) ซึ่งมีเพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ในฉบับอะคูสติก[8][9] ใน ค.ศ. 2005 มารูนไฟฟ์ออกอัลบั้มการแสดงสด ไลฟ์–ฟรายเดย์เดอะเธอร์ทีนธ์ ซึ่งมีเพลงนี้ในฉบับการแสดงสดด้วย[10]
ในชาร์ตเพลง
[แก้]มารูนไฟฟ์ออกเพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ในสหรัฐอเมริกาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2002 เป็นซิงเกิลแรกของอัลบั้มแรก[7] ซิงเกิลติดชาร์ตในนิตยสารแอร์เพลย์มอร์นิเตอร์ที่อันดับที่ 6[7] เพลงขึ้นอันดับที่ 18 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[11] และปรากฏในชาร์ตฮอตโมเดิร์นร็อกแทร็กส์ของบิลบอร์ดที่อันดับ 31 ใน ค.ศ. 2002 ด้วย[11] ขณะที่ยังเป็นซิงเกิลอิสระก่อนจะเข้าคลื่นวิทยุเชิงพาณิชย์ใน ค.ศ. 2003-04 มีเพลงนี้กับเพลง "ดิสเลิฟ" เท่านั้นที่ถูกเปิดในคลื่นวิทยุแนวออลเทอร์นาทีฟร็อก ขณะที่ซิงเกิลอื่น ๆ ของวงถูกเปิดเฉพาะในคลื่นเพลงป็อป และคลื่นเพลงผู้ใหญ่ร่วมสมัยเท่านั้น เนื่องจากมองว่ามารูนไฟฟ์เป็นวงดนตรีป็อปร็อก ไม่ใช่วงดนตรีออลเทอร์นาทีฟ ในต่างประเทศ "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" ปรากฏในชาร์ตซิงเกิลแห่งสหราชอาณาจักรในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 2004 ที่อันดับ 13[12] เพลงอยู่ในชาร์ตนาน 7 สัปดาห์[12] ซิงเกิลยังติดชาร์ตในประเทศเนเธอร์แลนด์ สวีเดน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ด้วย[13]
มิวสิกวิดีโอ
[แก้]มิวสิกวิดีโอเพลง "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" กำกับโดยมาร์ก เวบบ์[14] ซึ่งต่อมาได้ทำงานกับวงในวิดีโอเพลง "กูดไนต์กูดไนต์" ด้วย[15] วิดีโอเผยแพร่ครั้งแรกในวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2002[14]
วิดีโอมุ่งความสนใจที่วงมารูนไฟฟ์กำลังเล่นเพลงในบ้านหรือโรงงานที่มีไฟสลัว ตลอดเนื้อเรื่องในวิดีโอ สิ่งของต่าง ๆ เช่น ลูกดอกบนกระดานลูกดอก เทียนไข รูปภาพ หรือแม้แต่สมาชิกในวงและเครื่องดนตรีของพวกเขาถูกแสดงแบบเลือนหายและปรากฏ (fade in and out) เมื่อเขามาถึงสุดทางเดิน เขาเผชิญหน้ากับกำแพงที่ส่องแสงไฟขนาดเล็กออกมา และจากนั้นเขาเหวี่ยงกีตาร์ไว้ข้างหลัง และเอามือตบกำแพง จากนั้นกล้องก็ตัดไปยังฉากที่วงกำลังเล่นดนตรีอย่างไว และไฟก็ริบหรี่ลงทันใด
รายชื่อแทร็ก
[แก้]ลำดับ | ชื่อเพลง | ยาว |
---|---|---|
1. | "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" | |
2. | "ฮาร์ดเดอร์ทูบรีด" (วิดีโอ) | |
3. | "แร็กดอล" | |
4. | "ซีเคร็ต" |
ชาร์ต
[แก้]ชาร์ต (2002–03) | ตำแหน่ง สูงสุด |
---|---|
ออสเตรเลีย (ARIA)[16] | 37 |
Ireland (IRMA)[17] | 34 |
Italy (FIMI)[18] | 28 |
Netherlands (Single Top 100)[19] | 86 |
New Zealand (Recorded Music NZ)[20] | 33 |
Scotland (OCC)[21] | 11 |
Sweden (Sverigetopplistan)[22] | 54 |
UK Singles (OCC)[23] | 13 |
UK Rock & Metal (OCC)[24] | 6 |
US Billboard Hot 100[25] | 18 |
US Adult Top 40 (Billboard)[26] | 15 |
US Alternative Airplay (Billboard)[27] | 31 |
US Mainstream Top 40 (Billboard)[28] | 5 |
การรับรอง
[แก้]ประเทศ | การรับรอง | จำนวนหน่วยที่รับรอง/ยอดขาย |
---|---|---|
Australia (ARIA)[29] | Gold | 35,000^ |
United States (RIAA)[31] | Platinum | 1,318,000[30] |
^ตัวเลขการจัดส่งขึ้นอยู่กับการรับรองเพียงอย่างเดียว |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Moss, Corey (2002-08-27). "Maroon 5 Aspire To Inspire Sexuality, Crying". MTV News. MTV Networks. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-11-06. สืบค้นเมื่อ 2009-05-05.
- ↑ Hoard, Christian (2004-05-19). "Maroon 5's White Funk". Rolling Stone. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-22. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ Wilson, MacKenzie. "Songs About Jane". AllMusic. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ 4.0 4.1 Bard, Meghan (2003-04-01). "Get down with Maroon 5". The Daily Campus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-08. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ Batey, Angus (2004-08-14). "The gonna be famous five". The Times. London: News Corporation. p. 1. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Beggs, C. Spencer (2003-10-16). "Songs About Jane, an album with music and message". The Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-10. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Gundersen, Edna (2003-10-12). "Slow-building single keeps Maroon 5's star rising". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2009-05-06.
- ↑ Erlewine, Stephen Thomas. "1.22.03.Acoustic". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ Bansal, Caroline (2005-02-21). "Maroon 5 - 1.22.03 Acoustic". MusicOMH. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ "Live Friday the 13th — Maroon 5". Billboard. สืบค้นเมื่อ 2010-02-15.
- ↑ 11.0 11.1 "Harder to Breathe — Maroon 5". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ 2010-02-15.
- ↑ 12.0 12.1 "Chart Stats — Maroon 5 - Harder To Breathe". Chart Stats. 2004-01-31. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ "Maroon 5 - Harder To Breathe". Australian Charts. 2003-12-10. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ 14.0 14.1 "Maroon 5 - "Harder to Breathe"". Mvdbase.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-09. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ "Goodnight Goodnight — Maroon 5 - Music Video". MTV. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-05-07.
- ↑ "Maroon 5 – Harder To Breathe". ARIA Top 50 Singles.
- ↑ "Irish-charts.com – Discography Maroon 5". Irish Singles Chart. สืบค้นเมื่อ January 18, 2020.
- ↑ "Maroon 5 – Harder To Breathe". Top Digital Download. สืบค้นเมื่อ December 15, 2018.
- ↑ "Maroon 5 – Harder To Breathe" (in Dutch). Single Top 100.
- ↑ "Maroon 5 – Harder To Breathe". Top 40 Singles.
- ↑ "Official Scottish Singles Sales Chart Top 100". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ December 15, 2018.
- ↑ "Maroon 5 – Harder To Breathe". Singles Top 100.
- ↑ "Official Singles Chart Top 100". Official Charts Company.
- ↑ "Official Rock & Metal Singles Chart Top 40". Official Charts Company. สืบค้นเมื่อ December 15, 2018.
- ↑ "Maroon 5 Chart History (Hot 100)". Billboard.
- ↑ "Maroon 5 Chart History (Adult Pop Songs)". Billboard.
- ↑ "Maroon 5 Chart History (Alternative Airplay)". Billboard.
- ↑ "Maroon 5 Chart History (Pop Songs)". Billboard.
- ↑ "ARIA Charts – Accreditations – 2013 Singles" (PDF). Australian Recording Industry Association.
- ↑ Trust, Gary (June 15, 2014). "Ask Billboard: MAGIC!'s 'Rude' Revives Reggae". Billboard. Prometheus Global Media.
- ↑ "American certifications". Recording Industry Association of America.