ข้ามไปเนื้อหา

อู๋ซี

บทความนี้เป็นบทความแปลของพนักงานดีแทคในความร่วมมือกับวิกิพีเดีย คลิกเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
พิกัด: 31°34′N 120°18′E / 31.567°N 120.300°E / 31.567; 120.300
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อู๋ซี

无锡市
Clockwise from the top left: Wuxi International Software Park, the Ling Shan Grand Buddha on Mt. Longshan, night on the Kuntang Bridge over the old Grand Canal, downtown Wuxi, and the Meiyuan Nianpo Pagoda on Lake Tai.
Clockwise from the top left: Wuxi International Software Park, the Ling Shan Grand Buddha on Mt. Longshan, night on the Kuntang Bridge over the old Grand Canal, downtown Wuxi, and the Meiyuan Nianpo Pagoda on Lake Tai.
คำขวัญ: 
"Wuxi is full of warmth and water"
Location of Wuxi City jurisdiction in Jiangsu
Location of Wuxi City jurisdiction in Jiangsu
อู๋ซีตั้งอยู่ในประเทศจีน
อู๋ซี
อู๋ซี
Location in China
พิกัด: 31°34′N 120°18′E / 31.567°N 120.300°E / 31.567; 120.300
Countryประเทศจีน
Provinceมณฑลเจียงซู
County-level divisions9
Township-level divisions73
การปกครอง
 • CPC Municipal SecretaryZhao JianJun (赵建军)
 • นายกเทศมนตรีDu XiaoGang (杜小刚)
พื้นที่
 • ทั้งหมด4,787.61 ตร.กม. (1,848.51 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2010 Census)
 • ทั้งหมด6,372,624 คน
 • ความหนาแน่น1,300 คน/ตร.กม. (3,400 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+8 (China Standard)
Postal codeUrban center: 214000
Other Area: 214200, 214400
รหัสพื้นที่510
License plate prefixes苏B
GDP (2011)CNY 688.015 billion [1]
 - per capitaCNY 107,400
Local DialectWu: Wuxi dialect
เว็บไซต์wuxi.gov.cn

อู๋ซี (อังกฤษ: Wuxi; จีนตัวย่อ: 无锡; จีนตัวเต็ม: 無錫; พินอิน: Wúxī) เป็นเมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน บริเวณที่ลุ่มปากแม่น้ำแยงซี มีทะเลสาบไท่หูพาดผ่านแบ่งเมืองออกเป็นสองส่วน ทางทิศจะวันตกมีอาณาเขตติดกับฉางโจว และทางทิศตะวันออกติดกับซูโจว เนื่องจากเป็นเมืองที่ได้รับการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้ จึงถูกขนานนามว่า "เซี่ยงไฮ้น้อย" มีชื่อเสียงในฐานะที่เป็นหนึ่งในเมืองต้นกำเนิดอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสมัยใหม่ของจีน และยังเป็นบ้านเกิดของนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงหลายคนในสมัยศตวรรษที่ 20 ที่มีส่วนสร้างเมืองเซี่ยงไฮ้ให้เป็นเมืองเศรษฐกิจสมัยใหม่อีกด้วย

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

ชื่ออู๋ซีประกอบด้วยอักษรจีนคำว่า ("ขาด ปราศจาก") และคำว่า ("ดีบุก") แปลตามความหมายได้ง่ายๆว่า "ไม่มีดีบุก". อย่างไรก็ตามนักวิชาการบางคนเชื่อว่าชื่ออู๋ซีมาจากอักษรคำว่า "" ("การล่มสลายของอาณาจักรอู๋") ด้วยความที่เป็นเมืองหลวงแรกของภูมิภาคนี้ หรือบ้างว่ามาจากการถอดขื่อ Baiyue ซึ่งเป็นเทพเจ้านกของจีน [2][3][4][5][6][7]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

เมืองอู๋ซีก่อตั้งขึ้นเมื่อ 3,000 ปีก่อนโดยเจ้าชายสองพระองค์ผู้ลี้ภัยมาจากตอนเหนือของจีน ทั้งสองพระองค์เรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า 'เหมย' (Mei) เนื่องจากมีการขุดทำเหมืองดีบุกในบริเวณใกล้เคียง เมืองนี้จึงเป็นที่รู้จักในชื่อว่า 'หยูซี' (Youxi - เมืองที่มีดีบุก) จนกระทั่งแร่ดีบุกถูกขุดจนหมดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 568 เมืองนี้จึงถูกเรียกในชื่อปัจจุบัน

สมัยราชวงศ์โจว

[แก้]

ตามที่ระบุไว้ใน สื่อจี้ หรือสารานุกรมด้านประวัติศาสตร์จีน (Records of the Grand Historian; Taishi gong shu; 太史公書 หรือ the Shiji; 史記 – "Historical Records") ช่วงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์ศักราช (11th century BC) เจ้าชายสองพระองค์แห่งราชวงศ์โจว คือ เจ้าชายไท่โป๋ (อังกฤษ: Taibo; จีน: 泰伯; พินอิน: Tàibó) และจ้งยง (อังกฤษ: Zhongyong; จีน: 仲雍; พินอิน: Zhòngyōng) ทั้งสองพระองค์ได้สละสิทธิ์ในการสืบพระราชบัลลังก์ต่อจากพระบิดา คือจักรพรรดิไท่ แห่งราชวงศ์โจว (อังกฤษ: King Tai of Zhou; จีน: 周太王; พินอิน: Zhōu Tàiwáng) ออกมาก่อตั้งอาณาจักรใหม่ในบริเวณเมืองอู๋ซีนี้[8]

แคว้นอู๋ (state of Wu;) มีเมืองหลวงแห่งแรกชื่อ เหมยหลี่ (อังกฤษ: Meili; จีน:梅里; พินอิน: Méilǐ) ซึ่งคาดว่าจะเป็นบริเวณหมู่บ้านเหมยชุน (Meicun) ในอู๋ซี[8] (มีข้อมูลอื่นที่บันทึกว่าบริเวณที่ตั้งของเมืองหลวงเหมยหลี่อยู่ใกล้กับบริเวณเมืองซูโ��วปัจจุบัน)[ต้องการอ้างอิง] เจ้าชายไท่โป๋และเจ้าชายจ้งยง ทั้งสองพระองค์ได้ช่วยกันพัฒนาด้านเกษตรกรรมและระบบชลประทานจนทำให้แคว้นอู๋กลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก เมื่อจักรพรรดิไท่โป๋ทรงเสด็จสวรรคตลงโดยไม่มีราชบุตรสืบต่อ เจ้าชายจ้งยงผู้เป็นพระอนุชาจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอู๋ (king of Wu)

ยุคชุนชิวและยุคจั้นกั๋ว

[แก้]

แคว้นอู๋มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมากในยุคชุนชิว (Spring and Autumn Period) โดยมีซุนวู ผู้เขียน "ตำราพิชัยสงครามของซุนวู (the Art of War)" อันเลื่องชื่อ เป็นผู้ดูแลด้านการทหารให้แก่องค์จักรพรรดิ อาณาจักรอู๋จึงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในสมัยนั้น[ต้องการอ้างอิง]

ต่อมาเมื่อ 473 ปีก่อนคริสต์ศักราช แคว้นอู๋พ่ายแพ้แก่แคว้นเยว่ (ปัจจุบันคือ มณฑลเจ้อเจียงและมณฑลฝูเจี้ยน) และเมื่อ 334 ปีก่อนคริสต์ศักราชแคว้นฉู่ (state of Chu) เอาชนะและครอบครองแคว้นเยว่ได้ ต่อมาแคว้นฉู่พ่ายแพ้แก่แคว้นจิ้นในราว 223 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมืองอู๋ซีจึงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นฉู่และจิ้นในเวลาต่อมาในยุคจั้นกั๋ว (Warring States period) นั้นเอง[8]

ยุคสามก๊กถึงยุคราชวงศ์ชิง

[แก้]

ในยุคสามก๊ก มีการแต่งตั้งข้าราชการเข้าดูแลเมืองอู๋ซีทางตะวันตก ซึ่งเป็นเขตเกษตรกรรม ในช่วง 280 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จึงได้รวมเข้ากับอู๋ซีมาตลอดยุคราชวงศ์สุย ราชวงศ์ถัง และราชวงศ์ซ่ง จนเมื่อปี ค.ศ. 1295 เทศมณฑลอู๋ซี (Wuxi County) ได้รับการยกระดับเป็นเมืองอู๋ซี (Wuxi City) ในปี ค.ศ. 1368 ก็ถูกลดระดับกลับไปเป็นเทศมณฑลอู๋ซีดังเดิม ปี ค.ศ. 1724 อู๋ซีเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดฉางโจว (Changzhou) จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1912 หลังสิ้นราชวงศ์ชิง[8]

จีนยุคใหม่

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1927 เทศมณฑลอู๋ซีได้เข้าไปอยู่ใต้การปกครองของมณฑลเจียงซู[8]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
Map showing the city Wuxi (Arrowed ) and its relation to the City of เซี่ยงไฮ้, The แม่น้ำแยงซี River and Lake Taihu.

เมืองอู๋ซีมีอาณาเขตติดต่อกับเมืองฉางโจวทางด้านตะวันตก และติดกับซูโจวทางด้านตะวันออก ทิศเหนือติดกับแม่น้ำแยงซี ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำคือเมืองไท่โจว ส่วนทิศใต้ติดกับมณฑลเจ้อเจียง การวางผังเมืองอู๋ซีเป็นไปตามลักษณะของเมืองยุคเก่าของจีนอีกหลายเมือง คือผังเมืองเป็นรูปวงกลม ภายในเมืองมีคลองสายเก่าหลายสายตัดไขว้กันทั่วไป ปัจจุบันคลองสายหลักยังเป็นเส้นทางสัญจรของเรือขนาดใหญ่

ภูมิอากาศ

[แก้]

สภาพอากาศในเมืองอู๋ซีจะร้อนชื้นในฤดูร้อน และหนาวเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 18 °C (64 °F) มีหิมะตกไม่บ่อยนัก และเนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กับ ทะเลจีนตะวันออก (East China Sea) จึงมีช่วงฤดูมรสุมที่จะมีปริมาณน้ำฝนมากเกือบ 100 เซนติเมตร (3 ฟุต) ต่อปี [ต้องการอ้างอิง]

ข้อมูลภูมิอากาศของWuxi
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 7.39
(45.3)
9.1
(48.4)
13.5
(56.3)
20.0
(68)
25.4
(77.7)
28.6
(83.5)
31.83
(89.3)
30.9
(87.6)
27.0
(80.6)
21.9
(71.4)
16.0
(60.8)
9.9
(49.8)
20.1
(68.2)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 0.17
(32.3)
1.8
(35.2)
5.7
(42.3)
11.1
(52)
16.5
(61.7)
21.3
(70.3)
24.89
(76.8)
24.0
(75.2)
19.6
(67.3)
13.4
(56.1)
7.3
(45.1)
1.7
(35.1)
12.2
(54)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 47.3
(1.862)
49.7
(1.957)
82.5
(3.248)
62.4
(2.457)
79.8
(3.142)
138.5
(5.453)
121.8
(4.795)
99.1
(3.902)
53.7
(2.114)
41.2
(1.622)
39.5
(1.555)
28.1
(1.106)
843.6
(33.213)
แหล่งที่มา: MSN Weather[9]

ประชากร

[แก้]

ข้อมูลจากการสำรวจสำมะโนประชากรของจีนประจำปี 2010 เมืองอู๋ซีซึ่งรวมพื้นที่การปกครองทั้งหมด (the prefecture-level of Wuxi) มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,372,624 คน โดยในปี ค.ศ. 2000 มีประชากรจำนวนอยู่เพียง 1,192,777 คน จึงมีอัตราการเพิ่มจำนวนประชากรอยู่ที่ 2.09% ต่อปี ในช่วงปี ค.ศ. 2000-2010 [10]

เขตการปกครอง

[แก้]

อู๋ซีเป็นนครระดับจังหวัด ที่ครอบคลุม 9 เขตการปกครองของจีน ซึ่งประกอบด้วย 7 เขตหรืออำเภอ (districts) และเมืองระดับเทศมณฑล (county-level cities) อีก 2 แห่ง โดยข้อมูลที่แสดงไว้นี้เป็นข้อมูลจากการสำรวจสำมะโนประชากรของจีนประจำปี 2010

เขตเหล่านี้แบ่งออกเป็นเมืองระดับ township-level divisions 73 แห่ง ซึ่งประกอบด้วยเมือง (towns) 59 แห่งและ subdistricts 24 แห่ง

Subdivision Hanzi Pinyin Population (2010) Area (km2) Density
City Proper
Liangxi District 梁溪区 Liangxi Qū 985,000 72 13,680
Xinwu District 新吴区 XīnWu Qū 720,000 220 3,272
Suburban
Xishan District 锡山区 Xīshān Qū 882,000 399 2,210
Huishan District 惠山区 Huìshān Qū 893,000 325 2,747
Binhu District 滨湖区 Bīnhú Qū 628,000 915 686
Satellite cities (County-level cities)
Jiangyin 江阴市 Jiāngyīn Shì 1,779,000 987 18,024
Yixing 宜兴市 Yixing Shi 1,285,000 1996 643
Total 7,50,000 4,787 1,300
The Wuxi New District is part of the Binhu District
but has its own administrative committee dealing with its affairs.

เศรษฐกิจ

[แก้]

ปัจจุบันเมืองอู๋ซีถือเป็นเมืองสำหรับการลงทุนซึ่งประกอบด้วยสวนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่สองแห่งเพื่อรองรับอุตสาหกรรมใหม่ ในขณะที่ยังเป็นศูนย์กลางการผลิตผ้า (textiles) และยังมีแผนส่งเสริมการผลิตมอเตอร์ (electric motor) และการพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ (MRP software development) นอกจากนั้น เมืองอู๋ซียังเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีการผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ด้วยมีบริษัทผลิตโฟโตโวลตาอิก (Photovoltaic) ชั้นนำถึงสองแห่งตั้งอยู่ในเมืองนี้ คือ บริษัทซันเทคพาวเวอร์ (Suntech Power) และเจชั่นโฮลดิ้ง (Jetion Holdings Ltd.)

ปี ค.ศ. 2008 อุตสาหกรรมพลังงานใหม่หรือพลังงานทางเลือกเติบโตจนมีแมูลค่าสูงถึง 37.8 พันล้านหยวน โดยเฉพาะในส่วนการผลิดโซลาร์โฟโตโวลตาอิก มีมูลค่ามากถึง 30.2 พันล้านหยวนเลยทีเดียว[11]

ในปี 2011 ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อประชากร (GDP per capita) สูงถึง 107,400 หยวน (US$17,050) ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งในมณฑลเจียงซู นำหน้าเมืองหนานจิงและซูโจวด้วย[1]

อุตสาหกรรม

[แก้]
  • เขตเมืองใหม่อู๋ซี

เขตเมืองใหม่อู๋ซี (Wuxi New District; WND) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 ได้รับการพัฒนาจะเป็นหนึ่งในเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศจีน โดยในปี ค.ศ. 2008 มีจำนวนบริษัทจดทะเบียนในเขตเมืองใหม่นี้มากถึง 1200 แห่ง โดยเน้นส่งเสริมบริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมประเภท electronic information, precision machinery, mechanical and electrical integration, bio-pharmaceuticals, fine chemicals และ new materials เป็นต้น[12]

  • เขตการส่งออกอู๋ซี

เขตการส่งออกอู๋ซี (Wuxi Export Processing Zone) ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1992 เช่นเดียวกับเขตเมืองใหม่อู๋ซี โดยตั้งอยู่ภายในเขตเมืองใหม่อู๋ซีนั่นเอง มีพื้นที่ประมาณ 2.98 ตารางกิโลเมตร สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการส่งเสริม เช่น electronic information, optical-mechanical-electronic-integration, precision machinery และ new materials เป็นต้น มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกเพราะตั้งอยู่ใกล้กับสนามบินอู๋ซีและท่าเรือฉางโจว[13]

วัฒนธรรม

[แก้]
Jichang Garden
Wuxi Painter Yu Wenshan c. 1658, landscape With Western Influenced Perspective

อาจกล่าวได้ว่าอู๋ซีเป็นหนึ่งในเมืองที่เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะและวัฒนธรรมของ "เจียงหนาน" และยัวมีศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนมีถิ่นกำเนิดในเมืองนี้ อาทิ เฉียนจงซู (Qian Zhongshu, 钱钟书; 1910-1998) นักการศึกษา นักประพันธ์และนักภาษาศาสตร์ และเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ "เหวงเฉิง (围城, Fortress Besieged)" มีความหมายว่า "ปราการที่ปิดล้อม" ซึ่งได้รับการยกย่องจากแวดวงการศึกษาจีนในต่างประเทศว่าเป็นหนังสือนวนิยายที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์วรรณคดีจีนปัจจุบันมากที่สุดเล่มหนึ่ง และเฉินจี๋ (Chen Chi, 程及; 1912—2005) จิตรกรที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ จนมีการสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่เขาไว้ที่เมืองอู๋ซีนี้ด้วย

หนึ่งในงานหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของอู๋ซีคือ การผลิตตุ๊กตาดินเผา (clay figurines)[14] และกาน้ำชาดินเผา (clay tea pots)

ในช่วงจีนยุคใหม่ เมืองอู๋ซีผลิตนักดนตรีที่มีชื่อหลายคน เช่น Hua Yanjun (Hua Yanjun, 1893–1950) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ "อาปิ่งผู้ตาบอด" (Blind Abing; 瞎子阿炳) ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านดนตรีพื้นบ้านในเครื่องดนตรีประเภทซออู้ (erhu; เอ้อหู หรือซอสองสาย) และผีผา (pipa)

การคมนาคม

[แก้]

รถไฟ

[แก้]

เมืองอู๋ซีตั้งอยู๋บนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายเซี่ยงไฮ้–นานจิง ที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองนานจิง (ใช้เวลาประมาณ 1.5 ชั่วโมง) และกับเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจเซี่ยงไฮ้ (ใช้เวลา 45 นาที โดยทางรถไฟ) โดยห่างจากเมืองซูโจวซึ่งเป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจอันดับที่ 5 และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญเพียง 24 นาที รถไฟสายเค (K-series) ทุกขบวนหยุดรับส่งผู๋โดยสายที่อู๋ซีนี้ด้วย

ทางอากาศ

[แก้]

ท่าอากาศยานอู๋ซีซูหนานชั่วฟ่าง (อังกฤษ: Wuxi Sunan Shuofang International Airport; จีนตัวย่อ: 无锡苏南硕放国际机场) เปิดทำการเมื่อปี ค.ศ. 2004 ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมืองอู๋ซีประมาณ 14 กิโลเมตร (8.7 ไมล์) โดยให้บริการเที่ยวบินตรงไปยังเมืองปักกิ่ง กว่างโจว เซินเจิ้น เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ไทเป ประเทศสิงคโปร์ และเมืองโอซะกะ ประเทศญี่ปุ่น

ทางหลวง

[แก้]

ทางด่วน:

ทางหลวง:

ถนนระหว่างเมือง:

รถไฟใต้ดิน

[แก้]

รถไฟใต้ดินอู๋ซี เปิดดำเนินการในปี 2014 และปัจจุบันมี 5 เส้นทาง ระยะทาง 145 กิโลเมตร

การท่องเที่ยว

[แก้]
Nanchan Temple and Pagoda

เมืองอู๋ซีเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางตอนใต้ของบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ทั้งในด้านธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์

ที่ตั้งของเมืองที่อยู๋ริมฝั่งทะเลสาบไท่ทำให้มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจหลายจุด จุดที่มีชื่อเสียงได้แก่ หยวนโถวจู่ หรือเกาะหัวเต่า (Yuantouzhu, the Islet of Turtlehead) ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบไท่ ได้ชื่อว่าเกาะหัวเต่าโดยมาจากก้อนหินขนาดใหญ่ในบริเวณนี้ที่โผล่ขึ้นมาคล้ายหัวของเต่าที่ลอยพ้นผิวน้ำ และไท่หูเซียนเต๋า (Taihu Xiandao, Islands of the Deities) เป็นหมู่เกาะที่อยู่ในบริเวณหยวนโถวจู่

บริเวณสวนสาธารณะสะพานทะเลสาบไท่ (Taihu Bridge Park) มีชิงช้าสวรรค์ (Star of Lake Tai) ขนาดใหญ่ สูง 115-เมตร (377-ฟุต) สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 2008 ว่ากันว่าใช้เวลาหมุนครบหนึ่งรอบนานถึง 18 นาที เป็นจุดที่สามารถชมทัศนียภาพของทะเลสาบไท่และเมืองอู๋ซีได้อย่างดี [15]

เขาซี (Mount Xi; Kindhearted Mountain; 锡山) และ เขาฮุย (Mount Hui; Tin Mountain; 锡山) เป็นเขาขนาดเล็กตั้งอยู่ทางตะวันตกของเมือง ยังมีสวนราชสำนักจี้ช่างหยวน (Jichang Yuan; 寄畅园) และสวนเทียนเซี่ยตี้เอ่อร์ (Tianxia Di Er Yuan; 天下第二泉) ตั้งอยู่บริเวณเนินเขานี้ด้วย ชื่อ "เขาซี" นี้มีชื่อเดียวกันอยู่ที่เมืองซูโจว และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเช่นกัน แต่ใช้ตัวอักษรจีนคนละตัวที่ออกเสียงเหมือนกัน โดยเขาซีในเมืองซูโจวนั้นใช้อักษรจีนที่มีความหมายว่า "ทิศตะวันตก" ในขณะที่เขาซีในเมืองอู๋ซี ใช้ตัวอักษรที่มีความหมายว่า "ดีบุก"

นอกจากนี้ในตัวเมืองอู๋ซียังมีคลองต้ายวิ่นเหอ (Grand Canal) พาดผ่าน ซึ่งมีทั้งส่วนคลองโบราณเดิมและคลองที่ขุดขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1949

พระใหญ่วัดหลิงซาน (อังกฤษ: Grand Buddha at Ling Shan; จีนตัวย่อ: 灵山大佛; พินอิน: Língshān Dà Fó) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาหลงซาน (Long Moutain) ใกล้กับ เมืองหม่าซานในอู๋ซี (Wuxi's Mashan Town) เป็นพระพุทธรูปปรางค์ประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศจีน โดยมีความสูงถึง 88 เมตร (289 ฟุต) มีน้ำหนัก 700 ตัน และยังเป็นพระพุทธรูปยืนที่มีความสูงเป็นอันดับที่ 9 ของโลกด้วย

นอกจากนั้นเที่ยวอู๋ซี เก็บถาวร 2017-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนยังมีสวนส่วนตัว (private gardens) และสวนสาธารณะอยู่หลายแห่งที่สร้างขึ้นโดยมหาบัณฑิตและเศรษฐีในอดีต เช่น สวนหลี (Li Yuan; 蠡园) สวนเหม่ย (Mei Yuan; 梅园) ส���นซีฮุ่ย (Xihui Gongyuan; 锡惠公园) สวนจีช่าง (Jichang Yuan; 寄畅园) เป็นต้น

สตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์และโทรทัศน์

[แก้]

ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 1987 ทางตะวันตกของเมืองอู๋ซี เป็นสตูดิโอสำหรับการถ่ายทำภาพยนตร์และโทรทัศน์แห่งแรกของประเทศจีน เคยใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรืองสามก๊ก (The Three Kingdoms) และเรื่องซ้องกั๋ง (Water Margins) ได้รับการยกย่องให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในระดับ AAAAA scenic area โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน (China National tourism Administration)[16]

ถ้ำช่านจ้วน

[แก้]

ถ้ำช่านจ้วน (Shan Juan Cave; 善卷洞) อยู่ทางตอนใต้ของอี๋ซิ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองอู๋ซี ได้รับการจัดอยู่ในสถานที่ท่องเที่ยวระดับ 4 ดาว ค้นพบโดยชนเผ่าช่านจ้วนในช่วงปี ค.ศ. 722 ถึง 481 ก่อนคริสต์ศักราช

พิพิธภัณฑ์เฉิงจี๋

[แก้]

พิพิธภัณฑ์เฉิงจี๋ (Chen Chi museum) สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่จิตรกรที่มีชื่อเสียงในช่วงศตวรรษที่ 20 ชื่อ เฉิงจี๋ (อังกฤษ: Chen Chi, Cheng Ji; จีนตัวย่อ: 程及; พินอิน: Chéng jí) ผู้เกิดในปี ค.ศ. 1912 ณ เมืองอู๋ซีแห่งนี้เอง

สถานที่ทางประวัติศาสตร์อื่นๆ

[แก้]

เช่น ที่พักเดิมของเซียฝูเฉิง (The former Residence of Xue Fucheng; 薛福成) ที่พักเดิมของอาปิ่ง (Former Residence of A Bing; 阿炳) ที่พักเดิมของสูเสียเค่อ (Former Residence of Xu Xiake; 徐霞客) โล่วโถวตุน (Site of Luotuo Dun; 骆驼墩) วัดและสุสานไท่โป๋ (Taibo Temple and Tomb) ตงหลินซูย่วน (Donglin Shuyuan หรือ Donglin Academy) โดยสถานที่ทางประวัติศาสตร์เหล่านี้อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ

การกีฬา

[แก้]

เมืองอู๋ซีมีศูนย์กีฬา 2 แห่ง ศูนย์กีฬาเก่าอยู่ทางใต้ของเมืองและยังปิดบริการอยู่ ส่วนศูนย์กีฬาแห่งใหม่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเมือง ใกล้กับทะเลสาบไท่ ประกอบด้วยสระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล และอื่นๆ และเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงด้านกีฬาเบสบอล มีศูนย์พัฒนากีฬาเบสบอล (China Development Center) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2008

Wuxi new stadium

การศึกษา

[แก้]

มหาวิทยาลัยและวิทยาลัย

[แก้]

โรงเรียนมัธยม

[แก้]

บุคคลสำคัญ

[แก้]
  • กู้ได่จื่อ (Gu Kaizhi, 顾恺之, later half of the fourth century) จิตรกร
  • หลี่เชิง (Li Sheng, 772-846), กวี นักประพันธ์ ผู้ใช้ชีวิตอยู่และตายในเมืองอู๋ซี [ต้องการอ้างอิง]
  • สูเสียเค่อ (Xu Xiake, 徐霞客, 1587–1641) นักเดินทางและนักเขียนสมัยราชวงศ์หมิง
  • ฮัวเหิงฟาง เก็บถาวร 2007-10-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Hua Hengfang, 1833–1902) นักคณิตศาสตร์ช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง เป็นผู้ร่วมออกแบบเรือจักรไอน้ำลำแรกของจีนด้วย
  • เซียฝูเฉิง (Xue Fucheng, 薛福成, 1838-1894) นักอุดมคติหรือมโนคติ นักการทูต และนักปฏิรูปสังคมที่มีชื่อเสียงในช่วงปลายราชวงศ์ชิง
  • หรงเต๋อเชิง (Rong Desheng, 荣德生, 1875–1952) นักธุรกิจผู้พัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอจีน
  • เฉียนจงซู (Qian Zhongshu, 钱钟书; 1910-1998) นักการศึกษา นักประพันธ์และนักภาษาศาสตร์ และเป็นผู้ประพันธ์หนังสือ "เหวงเฉิง (围城, Fortress Besieged)"
  • หรงยี่เหริน (Rong Yiren, 荣毅仁, 1916–2005) บุตรของหรงเต๋อเชิง เขาเป็นผู้สนับสนุนแนวทางความคิด "ทุนนิยมแดง (Red Capitalist)" ที่ผสมผสานแนวทางทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ (the capitalism-communist) และเคยได้รับตำแหน่งรองประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างปี ค.ศ. 1993 ถึง 1998
  • กูเซี่ยเฉิง (Gu Xiacheng, 1918–) นักวิชาการและวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยซิงหัว (Tsinghua University)[17]
  • อาปิ่ง (Abing, 阿炳, 1893–1950) นักดนตรีพื้นบ้าน มีชื่อเสียงในผลงานขื่อ "Er Quan Ying Yue" (พระจันทร์สะท้อนสายน้ำเออร์) ซึ่งบรรเลงจากซออู้ (erhu; เอ้อหู หรือซอสองสาย)
  • สูเปยหง (Xu Beihong, 徐悲鴻, 1895–1953) จิตรกร มีความชำนาญภาพม้าเป็นพิเศษ
  • เฉียนจงซู (Qin Zhongshu, 钱钟书,1910–1998) นักประพันธ์ นักเขียน
  • เฉิงจี๋ (Chen Chi, 程及, 1912–2005) จิตรกรผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปต่างประเทศ
  • หลู๋เหย๋าเฉิ๋น (Lu Yaochen, 吕尧臣, 1941-) ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ โดยมีชื่อเสียงในด้านกาน้ำชาจื่อซา (Zisha; purple clay teapot)
  • ดิง จุงฮุย (Ding Junhui, 1987-) นักสนุกเกอร์
  • โจวหย่งกัง (Zhou Yongkang, 周永康, 1942-) ผู้นำอาวุโสแห่งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
  • จิมมี่ หวังหยู๋ (Jimmy Wang Yu, 1943-) นักแสดง เคยแสดงในภาพยนตร์ของชอว์ บราเดอร์ส เรื่อง "เดชไอ้ด้วน (One Armed Swordsman)" ในภาพยนตร์ของเขาเอง เรื่อง "นักมวยจีน (the Chinese Boxer; 1969)" โดยถือเป็นภาพยนตร์ฮ่องกงศิลปะการต่อสู้ (martial arts) เรื่องแรกที่ทำให้ภาพยนตร์เกี่ยวกับศิลปะกานต่อสู้โดยไม่ใช้อาวุธโด่งดังเป็นที่นิยมมากขึ้นในเอเชียยุค 1970
  • ไซ่เผ๋ย (Cai Pei, 蔡培, 1884—1960) นักการเมืองและการทูต
[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Cici (2012-02-02). "Wuxi's per capita GDP in 2011 ranks 1st in Jiangsu Province_JSCHINA". English.jschina.com.cn. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-06-08.
  2. "Origin of the name 'Wuxi' เก็บถาวร 2012-05-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" ("“无锡”地名的由来"). (จีน)
  3. "而今现在 เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". (จีน)
  4. "无锡市 เก็บถาวร 2011-07-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". (จีน)
  5. "Wuxi เก็บถาวร 2011-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน" ("无锡"). (จีน)
  6. "考“无锡”地名的由来 เก็บถาวร 2011-07-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". (จีน)
  7. "无锡地名典故[ลิงก์เสีย]". (จีน)
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "Wuxi government's official web portal - History of Wuxi". the Wuxi Municipal Party Committee and the Wuxi Municipal People’s Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-12. สืบค้นเมื่อ 2014-05-10.
  9. "MSN Weather". June 2011. สืบค้นเมื่อ April 2, 2009.[ลิงก์เสีย]
  10. Compilation by LianXin website. Data from the Sixth National Population Census of the People's Republic of China เก็บถาวร 2012-03-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (จีน)
  11. China Business News http://thechinaperspective.com/articles/wuxicitywantsroleingreenenergy6391/index.html เก็บถาวร 2011-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. RightSite.asia | Wuxi New District
  13. RightSite.asia | Wuxi Export Processing Zone
  14. "Wuxi government's official web portal - Culture and Celebrities of Wuxi (Local Specialties Wuxi Clay Figurines)". the Wuxi Municipal Party Committee and the Wuxi Municipal People’s Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-10.
  15. synyan (2008-10-19). "梁溪漫志(07):蠡湖城太湖之星" (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-04-25.
  16. "AAAAA Scenic Areas". China National Tourism Administration. 16 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-04. สืบค้นเมื่อ 9 April 2011.
  17. "Wuxi government's official web portal - Culture and Celebrities of Wuxi". the Wuxi Municipal Party Committee and the Wuxi Municipal People’s Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-10.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]