ข้ามไปเนื้อหา

อิลซัจจาโตเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพหน้าแรกของหนังสือ The Assayer โดย ฟรันเชสโก วิลลาเมนา (Franceso Villamena)

อิลซัจจาโตเร (อิตาลี: Il Saggiatore; อังกฤษ: The Assayer; หมายถึง นักวิเคราะห์) เป็นหนังสือที่เขียนโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี ตีพิมพ์เผยแพร่ในกรุงโรมเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1623

เนื้อหาภายในหนังสือเป็นการโต้แย้งงานเขียนเกี่ยวกับ ดาวหาง ของ โอราซิโอ กราสซี พระเยซูอิดผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ที่วิทยาลัยโรมาโน เมื่อ ค.ศ. 1618 โดยที่ในคราวนั้น กราสซีกับเพื่อนๆ ผู้นิยมนับถืออริสโตเติล เป็นฝ่ายถูก ส่วนกาลิเลโอเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากกาลิเลโอเข้าใจว่าดาวหางเป็นเพียงภาพลวงตาจากแสง ไม่ใช่วัตถุจริงๆ

ค.ศ. 1616 กาลิเลโอดูจะสงบปากสงบคำลงเนื่องจากแนวคิดจากโคเปอร์นิคัส จนถึง ค.ศ. 1623 พระคาร์ดินัล มัฟฟีโอ บาร์เบรินี ผู้อุปถัมภ์แห่ง Lynx และลุงของพระคาร์ดินัลฟรันเชสโก บาร์เบรินี ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 ทำให้กาลิเลโอลำพองใจจากการที่มีผู้สนับสนุนเป็นผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในศาสนจักร ซึ่งยืนยันจากการที่เขาเดินทางไปยังกรุงโรม

หน้าปกของ อิลซัจจาโตเร เป็นตราสัญลักษณ์ของตระกูลบาร์เบรินี ประกอบด้วยผึ้งงานสามตัว หนังสือนี้เขียนคำอุทิศถวายแด่พระสันตะปาปาองค์ใหม่ ภาพบนหน้าปกยังแสดงพระสันตะปาปาโปรดให้สมาชิกของ Lynx คนหนึ่งคือ Cesarini เป็นผู้ถวายการรับใช้สูงสุด หนังสือนี้มีเหล่าสมาชิกของ Lynx ช่วยในการเรียบเรียงและพิมพ์เผยแพร่ด้วย

แม้ว่า อิลซัจจาโตเร จะมีใจความสำคัญเกี่ยวกับฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ แต่ประเด็นหลักของเรื่องคือการเย้ยหยันนักดาราศาสตร์เชิงคณิตศาสตร์ โดยมีเป้าหมายไปที่ทฤษฎีเกี่ยวกับดาวหางของพระเยซูอิด ออราซิโอ กราสซี ผู้โต้แย้งจากผลสังเกตพารัลแลกซ์ว่าดาวหางนั้นเคลื่อนที่อยู่ในระดับสูงกว่าดวงจันทร์ ขณะที่กาลิเลโอเห็นว่าดาวหางเป็นภาพแสงที่เกิดขึ้นแบบภาพลวงตา ทว่าหนังสือนี้เป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระสันตะปาปาเออร์บันที่ 8 มากจนโปรดให้อ่านระหว่างรับประทานอาหารเสมอ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Galileo Galilei, Il Saggiatore (Rome, 1623); The Assayer, แปลเป็นภาษาอังกฤษโดย สทิลแมน เดรค และ ซี.ดี. โอ'มัลลีย์, ใน The Controversy on the Comets of 1618 (สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย, 1960).
  • Pietro Redondi, Galileo eretico (Italy, 1983); Galileo: Heretic (แปลโดย: Raymond Rosenthal) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน 1987 (พิมพ์ซ้ำ 1989 ISBN 0-691-02426-X); Penguin 1988 (พิมพ์ซ้ำ 1990 ISBN 0-14-012541-8)