อำเภอประจันตคาม
อำเภอประจันตคาม | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Prachantakham |
น้ำตกตะคร้อในตำบลบุฝ้าย | |
คำขวัญ: ดินแดนไม้กวาดงาม ลือเลื่องนามน้ำตกใส ไผ่เศรษฐกิจอำไพ รวมหลากหลายหัตถกรรม | |
แผนที่จังหวัดปราจีนบุรี เน้นอำเภอประจันตคาม | |
พิกัด: 14°3′54″N 101°30′54″E / 14.06500°N 101.51500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปราจีนบุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 904.005 ตร.กม. (349.038 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 54,181 คน |
• ความหนาแน่น | 59.93 คน/ตร.กม. (155.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 25130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 2507 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอประจันตคาม หมู่ที่ 2 ถนนหน้าอำเภอ ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี 25130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ประจันตคาม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดปราจีนบุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอประจันตคามปัจจุบันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอปากช่องและอำเภอวังน้ำเขียว (จังหวัดนครราชสีมา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนาดีและอำเภอกบินทร์บุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอศรีมหาโพธิ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปราจีนบุรี และอำเภอปากพลี (จังหวัดนครนายก)
ประวัติ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2369 ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมา เมื่อชาวเมืองนครราชสีมาได้รวมกำลังตีกองทัพเจ้าอนุวงศ์แตกพ่ายไปแล้วพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดฯแต่งทัพและให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) เมื่อครั้งเป็นพระยาราชสุภาวดีเป็นแม่ทัพยกไปตีเมืองเวียงจันทน์เพื่อปราบกบฏให้ราบคาบ เมื่อตีเมืองเวียงจันทน์ได้แล้วอพยพครอบครัวรี้พลบางส่วนจากเมืองเวียงจันทน์ เมืองมหาชัยกองแก้ว เมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมืองสกลนคร และอีกหลายเมืองในภาคอีสานของไทยมาด้วย ท้าวอุเทนบุตรท้าวสร้อยเพียเมืองแสนพร้อมกับท้าวฟองบุตร พระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวอินทร์บุตรเจ้าเมืองสกลนครซึ่งคุมกำลังพลเป็นนายกองของทัพหัวเมืองซึ่งเจ้าเมืองส่งไปช่วยรบกับทัพเมืองกรุงได้นำคนที่ถูกอพยพมาตั้งกองรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านใหญ่ในพื้นที่ประจันตคามในปัจจุบัน ต่อมาท้าวฟองยกกำลังไพร่พลแยกไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่กบินทร์บุรีท้าวอินทร์ยกกำลังไพร่พลไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่พนัสนิคมฝ่ายท้าวอุเทนได้รวบรวมกำลังไพร่พลไปเลือกที่ตั้งเมืองอีกเช่นกัน เลือกทำเลได้ที่ดงยางหรือบ้านเมืองเก่าตั้งเป็นเมือง
เมืองประจันตคามอุบัติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 เมื่อตั้งเป็นเมืองเรียบร้อยแล้วท้าวอุเทนเจ้าเมืองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงภักดีเดชะ ว่าราชการเมืองได้ 2 ปีเศษเกิดศึกญวนมาตีเมืองพนมเปญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์)เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองพนมเปญและได้เกณฑ์เมืองประจันตคามเมืองพนัสนิคมและเมืองกบินทร์บุรีรวมเป็นกองทัพหน้าส่วนหนึ่ง ยกไปสู้กับญวนประมาณ 3 ปีเศษจึงขับไล่ข้าศึกญวนถอยไปเจ้าเมืองทั้ง 3 ผู้ร่วมรบมีความชอบในราชการทัพเมื่อกลับมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่พระในนามเดิมทั้ง 3 ท่าน เจ้าเมืองประจันตคามจึงได้เป็นพระภักดีเดชะ
สมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกำลังทรงดำริปฏิรูปการปกครองหัวเมืองจะทรงยุบหัวเมืองเล็กเช่นเมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรีลงเป็นอำเภอ จึงยังไม่ตั้งเจ้าเมืองอีกแต่ให้หลวงสุรฤทธา (ท้าวพรหมา) ปลัดเมืองรั้งราชการอยู่ 3 ปีก็ถึงคราวยุบเมืองประจันตคามลงเป็นอำเภอเรียกว่าอำเภอประจันตคามในปี พ.ศ. 2448 รวมระยะเวลาก่อตั้งเป็นเมืองประจันตคามอยู่ 72 ปี
- วันที่ 30 มีนาคม 2461 โอนพื้นที่ตำบลสัมพันธ์ อำเภอประจันตคาม ไปขึ้นกับอำเภอศรีมหาโพธิ[1]
- วันที่ 1 พฤศจิกายน 2468 ยุบตำบลอินไกร ไปรวมกับตำบลโพธิ์งาม[2][3]
- วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2473 เปลี่ย��แปลงเขตอำเภอศรีมหาโพธิกับอำเภอประจันตคาม โดยโอนพื้นที่หมู่ 14–15 (ในขณะนั้น) ของตำบลสัมพันธ์ อำเภอศรีมหาโพธิ มาขึ้นกับตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม[4]
- วันที่ 12 ธันวาคม 2481 โอนพื้นที่หมู่ 27–28 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพธิ์งาม ไปขึ้นกับตำบลประจันตคาม[5]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลบุฝ้าย แยกออกจากตำบลหนองแก้ว ตั้งตำบลบ้านหอย แยกออกจากตำบลเกาะลอย และตำบลดงบัง ตั้งตำบลหนองแสง แยกออกจากตำบลเกาะลอย[6]
- วันที่ 30 พฤษภาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลประจันตคาม ในท้องที่บางส่วนของตำบลประจันตคาม[7]
- วันที่ 26 กันยายน 2501 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลประจันตคาม[8] เพื่อความเหมาะสมในการบริหารกิจการและการทะนุบำรุงท้องถิ่น โดยขยายอาณาเขตมาถึงบางส่วนของหมู่บ้านท่าลาน บ้านท่าโพธิ์ บ้านน้อย บ้านเมืองเก่า และบ้านประจันตคาม ตำบลประจันตคาม
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลประจันตคาม เป็นเทศบาลตำบลประจันตคาม[9] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์งาม เป็น เทศบาลตำบลโพธิ์งาม[10]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอประจันตคามแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 9 ตำบล 106 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[11] |
---|---|---|---|---|
1. | ประจันตคาม | Prachantakham | 11
|
8,887
|
2. | เกาะลอย | Ko Loi | 7
|
4,840
|
3. | บ้านหอย | Ban Hoi | 10
|
4,742
|
4. | หนองแสง | Nong Saeng | 6
|
3,652
|
5. | ดงบัง | Dong Bang | 10
|
4,166
|
6. | คำโตนด | Kham Tanot | 18
|
7,583
|
7. | บุฝ้าย | Bu Fai | 13
|
5,192
|
8. | หนองแก้ว | Nong Kaeo | 12
|
4,648
|
9. | โพธิ์งาม | Pho Ngam | 19
|
10,593
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอประจันตคามประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลประจันตคาม ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลประจันตคาม
- เทศบาลตำบลโพธิ์งาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์งามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลประจันตคาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประจันตคาม (นอกเขตเทศบาลตำบลประจันตคาม)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลอยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านหอยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแสงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลดงบังทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำโตนด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำโตนดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบุฝ้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบุฝ้ายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองแก้ว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองแก้วทั้งตำบล
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกระทรวงเกษตราธิการ ประกาศบอกล่วงหน้าจะแจกโฉนดที่ดิน (ทุ่งบ้านบางเดชะ ตำบลบางเดชะ อำเภอเมืองปราจีนบุรี ทุ่งบ้านบางยาง ตำบลบางยาง อำเภอบ้านสร้าง ทุ่งบ้านไผ่ชะเลือด อำเภอศรีมหาโพธิ์ ทุ่งบ้านสัมพันธ์ ตำบลสัมพันธ์ อำเภอประจันตะคาม)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 35 (0 ง): 3784–3785. วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2461
- ↑ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ สำหรับตำบลที่ได้ยุบและรวมกันในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 201–202. วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา แผนกกฤษฎีกา เล่ม ๔๒ ตอนที่ ๓๑ ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช ๒๔๖๔ สำหรับตำบลที่ได้ยุบและรวมกันในท้องที่จังหวัดปราจีนบุรี หน้า ๒๐๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 2440. วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
- ↑ "ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง ลดอัตราชั้นที่นาฟางลอย หมู่บ้านที่ ๑๔,๑๕ ตำบลสัมพันธ์ อำเภอศรีมหาโพธิ์ ซึ่งโอนไปรวมขึ้นในตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 47 (0 ก): 376. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2473
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3034–3035. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2481
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18. วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2490
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 19-20. วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2499
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (72 ง): 2549–2550. วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2501
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2022-10-18 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
- ↑ "จัดตั้งเทศบาลจากองค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์งาม เป็น เทศบาลตำบล". กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: 1. ลงวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 25 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.