อาร์. แอล. สไตน์
อาร์. แอล. สไตน์ | |
---|---|
สไตน์ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562 | |
เกิด | โรเบิร์ต ลอว์เรนส์ สไตน์ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2486 โอไฮโอ, สหรัฐ |
นามปากกา | โจเวียล บ็อบ สไตน์ อิริค อาฟาบี อาร์. แอล. สไตน์ |
อาชีพ |
|
แนว | วรรณกรรมเยาวชน, สยองขวัญ, ไซไฟ, นวนิยายแฟนตาซี, ตลก |
ผลงานที่สำคัญ | ชมรมขนหัวลุก |
คู่สมรส | เจน เวลด์ฮอน |
บุตร | 1 คน |
ลายมือชื่อ | |
เว็บไซต์ | |
www |
โรเบิร์ต ลอว์เรนส์ สไตน์ (อังกฤษ: Robert Lawrence Stine; 8 ตุลาคม พ.ศ. 2486 –) บางครั้งเป็นที่รู้จักในนาม โจเวียล บ็อบ สไตน์, อิริค อาฟาบี และ อาร์. แอล. สไตน์ เป็นนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้น ผู้จัดรายการโทรทัศน์ และนักเขียนบทชาวอเมริกัน เขาได้รับสมญานามว่า "สตีเวน คิงแห่งแวดวงวรรณกรรมเยาวชน"[1] เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเขียนนวนิยายแนวสยองขวัญหลายเรื่อง อาทิ เฟียร์สตรีท, ชมรมขนหัวลุก, รอทเทินสคูล และ ดิไนท์แมร์รูม และผลงานอื่นๆ ของเขา อาทิ สเปซคาเดจ, หนังสือเกม ฮาคส์ และบันเทิงคดีแนวตลกขบขันนับสิบเรื่อง ใน พ.ศ. 2551 ผลงานของสไตน์มียอดขายมากถึงสี่ร้อยล้านเล่ม
เกิดที่รัฐโอไฮโอ ในครอบครัวชาวยิวที่ยากจน บิดาของเขาประกอบอาชีพพนักงานส่งของ เขาเริ่มหลงไหลในการเขียนหนังสือเมื่ออายุได้ 9 ปี จากการไปพบเครื่องพิมพ์ดีดที่ห้องใต้หลังคาบ้านเขา เขาจึงเริ่มตีพิมพ์บันเทิงคดีแนวตลก ซึ่งเขาได้รับแรงบันดาลใจในการเขียนมาจากการอ่านหนังสือการ์ตูน เรื่องเล่าจากหลุมศพ และ สุสานปีศาจ เขาสำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอใน พ.ศ. 2503 เคยทำงานเป็นบรรณาธิการนิตยสารของมหาวิทยาลัยถึง 3 ปีก่อนที่จะย้ายไปอาศัยอยู่รัฐนิวยอร์กและเริ่มต้นอาชีพนักเขียนอย่างจริงจัง เขาเริ่มเขียนนวนิยายแนวสยองขวัญเรื่องแรกคือ ไบลน์เดธ ต่อมาใน พ.ศ. 2532 เขาได้เขียนนวนิยายเรื่อง เฟียร์สตรีท และต่อมาเขาได้ประสบความสำเร็จในนวนิยายเรื่อง ชมรมขนหัวลุก โดยนวนิยายของเขาถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์หลายครั้ง และเขายังติดอันดับผู้ให้ความบันเทิงที่มีรายได้มากที่สุดในโลก ซึ่งอยู่ในลำดับที่ 36 จาก 40 อันดับ ด้วยรายได้สุทธิ 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เขาสมรสกับเจน เวลด์ฮอน ใน พ.ศ. 2512 และมีบุตรด้วยกัน 1 คน
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]สไตน์เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2486[2] ที่เมืองโคลัมบัส รัฐโอไฮโอ[3][4][5] ในครอบครัวที่ยากจน[6] เป็นบุตรของลูอิสและแอน ไฟน์สไตน์ เขาเริ่มหลงไหลในการเขียนตั้งแต่อายุได้ 9 ปี จกการที่เขาไปพบเครื่องพิมพ์ดีดในห้องใต้หลังคา ต่อมาเขาก็ตีพิมพ์เรื่องสั้นและบันเทิงคดีแนวตลก[7] เขากล่าวว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือการ์ตูนเรื่อง เรื่องเล่าจากหลุมศพ และ สุสานปีศาจ ใน พ.ศ. 2503 เขาสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอ จากคณะศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ[8] ระหว่างที่เขาศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอเขาได้เป็นบรรณาธิการนิตยาสารแนวอารมณ์ขันของมหาวิทยาลัยเป็นเวลาสามปี ก่อนที่เขาจะย้ายไปยังนิวยอร์กเพื่อเริ่มต้นเส้นทางนักเขียนในเวลาต่อมา
เส้นทางนักเขียน
[แก้]สไตน์เริ่มเขียนวรรณกรรมแนวขบขันสำหรับเด็กหลายสิบเรื่องในนามปากกา "โจเวียล บ็อบ สไตน์" และยังเป็นเจ้าของนิตยสารแนวตลกขบขันสำหรับวัยรุ่นคือ บานานา ซึ่งตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์สโกลาติค เพรส และเขาก็ทำงานเป็นนักเขียนมาเรื่อยๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2529 เขาได้เขียนนวนิยายแนวสยองขวัญเรื่องแรกในชื่อ ไบลน์เดธ[9] และนิยายในประเภทเดียวกันอีกมากอาทิ เดอะเบบีซิทเทอ, ฮิตแอนด์รัน และ เดอะเกิร์ลเฟรนด์ ต่อมาใน พ.ศ. 2532 เขาได้เขียนนวนิยายเรื่อง เฟียร์สตรีท[10] ก่อนเปิดตัวนวนิยายที่สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่าง ชมรมขนหัวลุก นอกจากนี้เขายังเขียนนวนิยายแนวไซไฟเรื่อง สเปซคาเดท, บอซอซออนพาตอล และใน พ.ศ. 2535 นวนิยายของเขาเรื่องชมรมขนหัวลุก ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการซึ่งถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์พาราชูเต[11]
นวนิยายเรื่อง ชมรมขนหัวลุก ถูกสร้างเป็นละครโทรทัศน์และออกอากาศใน พ.ศ. 2538-2541[12] ทั้งยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อ คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก[13] ซึ่งฉายใน พ.ศ. 2558 และ คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก หุ่นฝังแค้น ซึ่งฉายใน พ.ศ. 2561 ซึ่งผู้ที่แสดงเป็นตัวเขาในภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องคือแจ็ก แบล็ก[14] ส่วนเขาเป็นนักแสดงรับเชิญในฐานะอาจารย์ชื่อ มิสเตอร์แบล็ค ในคืนอัศจรรย์ขนหัวลุก และได้รับบทเป็น อาจารย์แฮร์ริสัน ในคืนอัศจรรย์ขนหัวลุก หุ่นฝังแค้น นอกจากนี้นวนิยายของเขาเรื่อง ชั่วโมงไล่ล่า ยังถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ดีวีดีเรื่อง ชั่วโมงไล่ล่า แผ่นที่หนึ่ง : อย่าคิดมาก ผลิตและวางจำหน่ายโดยยูนิเวอร์แซลเอนเตอร์เทนเมนท์ ใน พ.ศ. 2550[15]
ใน พ.ศ. 2562 เขาได้พากย์เป็น "บ็อบ แบ็กซ์เตอร์" ซึ่งเป็นตัวละครหนึ่งในภาพยนตร์ชุดเรื่อง อาเธอร์ ในตอน Fright Night ซึ่งออกอากาศในซีซันที่ 23 ซึ่งเขาแสดงตัวตนของเขาออกมาในฐานะนักเขียนนวนิยายสยองขวัญจากภาพยนตร์ชุดเรื่องดังกล่าว[16]
รางวัลและเกียรติยศ
[แก้]ตามการจัดอันดับ 40 ผู้ที่ให้ความบันเทิงที่มีรายได้มากที่สุดในโลกใน พ.ศ. 2539 - 2540 โดยนิตยสารฟอบส์ เขาอยู่ในอันดับที่ 36 ด้วยรายได้สุทธิ 41 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (หรือราว 1,363 ล้านบาทไทย) และผลงานของเขายังสามารถขายได้ถึงสี่ร้อยล้านเล่มใน พ.ศ. 2551[17] และในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1990 หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ยกย่องให้เขาเป็นนักเขียนที่หนังสือขายดีเป็นอันดับต้นในสหรัฐ[18]
เขายังได้รับรางวัลในฐานะนักเขียนเป็นจำนวนมาก อาทิ แชมป์เปียนออฟรีดดิงอวอร์ดส์ จากห้องสมุดสาธารณะฟิลาเดเฟีย เมื่อ พ.ศ. 2545, รางวัลดิสนีย์แอดเวนเจอร์คิดส์ชอยส์อวอรดส์จากดิสนีย์ สาขาหนังสือสยองขวัญยอดเยี่ยม (ได้รับรางวัลนี้ถึงสามครั้ง), นิเกลโลดิออนคิดส์ชอยส์อวอร์ด (ได้รับรางวัลนี้ถึงสามครั้ง)[18], รางวัลนักเขียนแนวทริลเลอร์แห่งอเมริกา ใน พ.ศ. 2550, รางวัลไลฟ์ไทม์อาร์ชิฟิเมนอวอร์ด จากสมาคมนักเขยีนสยองขวัญในสหรัฐ ใน พ.ศ. 2557[19] และรางวัลอิงค์พอร์ตอวร์ดส์ ใน พ.ศ. 2560[20] นอกจากนี้ใน พ.ศ. 2546 กินเนสบุ๊คได้ยกให้เขาเป็นนักเขียนหนังสือแนววรรณกรรมเยาวชนที่ขายดีที่สุดตลอดกาล
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2512 เขาสมรสกับเจน เวลด์ฮอน ซึ่งเป็นนักเขียนเช่นเดียวกันกับเขา และต่อมาพวกเขาก็ได้ก่อตั้งสำนักพิมพ์พาราชูเตใน พ.ศ. 2526[21] ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันเพียงคนเดียวคือแมทธิว สไตน์ เป็นนักดนตรี[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Emily Osment stars in 'R.L. Stine's "The Haunting Hour"". Cape Cod Times. ตุลาคม 26, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 8, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 24, 2011.
- ↑ "R.L. Stine". Ohio Reading Road Trip. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
- ↑ "The Nightmare Room by R.L. Stine". KidsReads.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-07. สืบค้นเมื่อ May 11, 2011.
- ↑ "Stine, R. L. 1943–". encyclopedia.com.
- ↑ Gordon, Ken (December 9, 2013). "R.L. Stine still scaring up kids' stories". The Columbus Dispatch. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ November 22, 2014.
- ↑ ‘อาร์.แอล. สไตน์’ คุณลุงนักเขียน ผู้มีความสุขที่ได้แกล้งเด็กให้กลัวด้วยเรื่องเขย่าขวัญ
- ↑ MacPherson, Karen (April 8, 2008). "Venture into R.L. Stine's 'HorrorLand' – if you dare!". Pittsburgh Post-Gazette. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
- ↑ "2011 Thrillermaster: R.L. Stine". ThrillerFest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กรกฎาคม 17, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2011.
- ↑ Rosenberg, Joyce M. (October 27, 1996). "Success gives bookstores Goosebumps". The Albany Herald. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
- ↑ Meister, Cari (2001). R.L. Stine. ABDO Publishing Company. p. 17. ISBN 1-57765-484-6. สืบค้นเมื่อ May 15, 2011.
- ↑ "About R.L. – For book and school reports". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 27, 2013. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
- ↑ Gunelius, Susan (2008). Harry Potter: The Story of a Global Business Phenomenon. Palgrave Macmillan. p. 58. ISBN 978-0-230-20323-5.
- ↑ “โมโนแมกซ์” ชวนจับปีศาจสุดป่วนกลับคืนสู่หนังสือ ในภาพยนตร์ “Goosebumps คืนอัศจรรย์ขนหัวลุก”
- ↑ Stine, R. L. (May 20, 2014). ".@mdroush Jack Black plays me in the GB movie, now filming in GA. I'm going down to do a cameo next month". Twitter. สืบค้นเมื่อ May 24, 2014.
- ↑ "Cartoon Network – it's not ..." The Washington Post. August 31, 2007. สืบค้นเมื่อ November 11, 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Smith, Meghan (October 30, 2020). "'Goosebumps' Author R.L. Stine On Frightening Generations And Voicing A Creepy Character For 'Arthur'". GBH. สืบค้นเมื่อ October 30, 2020.
- ↑ "Venture into R.L. Stine's 'HorrorLand' – if you dare!". post-gazette.com. April 8, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-13. สืบค้นเมื่อ May 14, 2011.
- ↑ 18.0 18.1 "R.L. Stine". Parachute Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 4, 2011. สืบค้นเมื่อ February 27, 2011.
- ↑ "Stine, Jones Win Horror Writers Association's Lifetime Achievement Award". Publishers Weekly. February 25, 2014. สืบค้นเมื่อ March 13, 2014.
- ↑ Inkpot Award
- ↑ "Books and entertainment kids choose for themselves". Parachute Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ กุมภาพันธ์ 4, 2011. สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 25, 2011.
- ↑ "Elisabeth Weinberg, Matthew Stine". The New York Times. July 2, 2010. สืบค้นเมื่อ February 25, 2011.