อันเดรส ตุญเญซ
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | อันเดรส โฆเซ ตุญเญซ อาร์เซโอ | ||
วันเกิด | 15 มีนาคม พ.ศ. 2530 | ||
สถานที่เกิด | การากัส ประเทศเวเนซุเอลา | ||
ส่วนสูง | 1.87 m (6 ft 2 in) | ||
ตำแหน่ง | กองหลัง | ||
สโมสรเยาวชน | |||
2540–2545 | โรซาเลีย เด กัสโตร | ||
2545–2547 | กอมโปสเตลา | ||
2547–2549 | เซลตา | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
2549–2553 | เซลตา เบ | 73 | (0) |
2553–2557 | เซลตา | 82 | (3) |
2556–2557 | → เบตาร์เยรูซาเลม (ยืมตัว) | 23 | (0) |
2557–2563 | บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 149 | (31) |
2560 | → เอลเช (ยืมตัว) | 17 | (0) |
2563–2566 | บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | 56 | (9) |
ทีมชาติ‡ | |||
2554–2558 | เวเนซุเอลา | 16 | (0) |
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2566 ‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด ณ วันที่ 14 มีนาคม 2559 |
อันเดรส โฆเซ ตุญเญซ อาร์เซโอ (สเปน: Andrés José Túñez Arceo; เกิดเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2530) เป็นนักฟุตบอลชาวเวเนซุเอลา เล่นในตำแหน่งกองหลัง เขาเคยค้าแข้งให้กับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และบีจี ปทุม ยูไนเต็ด ในไทยลีก
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]ตุญเญซเกิดในกรุงการากัส ประเทศเวเนซุเอลา เป็นบุตรของโฆเซ "เปเป" ตุญเญซ และมาร์การิตา อาร์เซโอ ซึ่งเป็นครอบครัวชาวสเปน มีภูมิลำเนาอยู่ที่แคว้นกาลิเซีย[1] ต่อมาเมื่อเขาอายุได้ 7 ปี ครอบครัวก็ได้ย้ายกลับมายังบ้านเกิดที่เมืองอาเมสในแคว้นกาลิเซีย
สโมสรอาชีพ
[แก้]เซลตาเดบีโก
[แก้]ตุญเญซได้เริ่มเล่นฟุตบอลกับโรงเรียนประถมลาซาลในเมืองซานเตียโกเดกอมโปสเตลา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้านของเขา 3 ปีถัดมาเขาก็ได้พัฒนาตัวเองและเข้าเรียนที่โรงเรียนฟุตบอลโรซาเลีย เด กัสโตร" โดยเขาได้เล่นให้กับสโมสรเยาวชนของโรงเรียน 5 ปี ก่อนที่จะมาเป็นนักเตะเยาวชนให้กับกอมโปสเตลาและเซลตาเดบีโกซึ่งเป็นทีมจากเมืองข้างเคียง
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จากการที่ฌอร์ดี ฟิเกรัส มุนแต็ล ได้ย้ายไปสโมสรฟุตบอลรูบินคาซัน ทำให้ตุญเญซได้ขึ้นมาอยู่ในทีมหลัก เขาใช้เวลา 4 ฤดูกาล กับชุดสำรองของทีม ในเซกุนดาดิบิซิออน เบ และได้จบฤดูกาลด้วยการลงเล่นในลีก 16 นัดด้วย���ารเป็นตัวหลักของทีม ก่อนที่จะได้มาแข่งขันในเซกุนดาดิบิซิออน
ตูเญชลงเล่น 29 นัดด้วยการเป็นตัวจริงในฤดูกาล 2554–2555 และช่วยให้เซลตาสามารถกลับขึ้นมาแข่งขันในลาลิกา ในรอบ 5 ปีได้สำเร็จ โดยเขาได้ทำประตูเพียง 1 ประตูในฤดูกาลนั้น เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ทีมของเขาบุกไปชนะสโมสรฟุตบอลฌิโรนา 1–0[2]
ตุญเญซได้ลงเล่นนัดแรกในลาลิกาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ด้วยการแพ้ให้กับสโมสรฟุตบอลมาลากาในบ้าน 0–1[3]
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
[แก้]ฤดูกาล 2557
[แก้]ตุญเญซได้ย้ายมาร่วมทีมบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 และจะมีชื่อลงเล่นในเลกที่สองของไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2557[4] ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557 ตุญเญซลงสนามนัดแรกในลีกให้กับสโมสร ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะสงขลา ยูไนเต็ด ที่สนามติณสูลานนท์ 3–2[5] ต่อมาในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โตโยต้า ลีกคัพ รอบรองชนะเลิศ นัดแรก ตุญเญซทำประตูชัยช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผล ไปได้ 1–0[6] ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ตุญเญซทำประตูแรกในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะเชียงราย ยูไนเต็ด ไปได้ 5–0 ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 โตโยต้า ลีกคัพ รอบรองชนะเลิศ นัดสอง ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะราชบุรี มิตรผล ที่สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี 2–1 ทำให้มีผลประตูรวม 3–1 ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[7] ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ตุญเญซทำประตูที่ 2 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะเมืองทอง ยูไนเต็ด ที่เอสซีจีสเตเดียม 1–0[8]
ฤดูกาล 2558
[แก้]ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558 โตโยต้า ลีกคัพ รอบ 64 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำประตูชัยช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะทหารบก 1–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 32 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[9] ต่อมาในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำประตูแรกในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะชัยนาท ฮอร์นบิล ที่เขาพลองสเตเดียม 3–1[10] ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม F นัดสุดท้าย ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะกวางโจว อาร์แอนด์เอฟ สโมสรจากจีน ไปได้ 5–0 ทำให้บุรีรัมย์มีคะแนนในกลุ่ม 10 คะแนน เท่ากันกับกัมบะโอซากะ และซ็องนัม แต่บุรีรัมย์ตกรอบเพราะมีเฮด-ทู-เฮด ที่แย่กว่า[11] ต่อมาในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำประตูที่ 2 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะโอสถสภาไปได้ 2–1[12] ต่อมาในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558 ช้าง เอฟเอคัพ รอบ 16 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะบางกอกกล๊าสที่ลีโอสเตเดียม 3–1 ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้าย��ด้สำเร็จ[13] ต่อมาในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2558 โตโยต้า ลีกคัพ รอบ 8 ทีมสุดท้าย เลกสอง ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะลำพูน วอร์ริเออร์ ไปได้ 7–1 ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ[14] ต่อมาในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำ 2 ประตูในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะทีโอทีไปได้ 5–0[15] ต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2558 โตโยต้า ลีกคัพ รอบรองชนะเลิศ เลกสอง ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเสมออาร์มี่ ยูไนเต็ด ที่สนามกองทัพบก 2–2 ผลประตูรวม 5–4 ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[16] ต่อมาในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำประตูที่ 5 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะอาร์มี่ ยูไนเต็ด ที่สนามกองทัพบก 4–1 ต่อมาในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำประตูที่ 6 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผล ไปได้ 5–0[17] ต่อมาในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำประตูที่ 7 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะนครราชสีมาไปได้ 4–0[18] ต่อมาในวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำประตูที่ 8 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะบางกอกกล๊าสที่ลีโอสเตเดียม 3–1 ส่งผลให้บุรีรัมย์ชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีกสมัยที่ 4 ได้สำเร็จ[19] ต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ช้าง เอฟเอคัพ รอบรองชนะเลิศ ตุญเญซทำ 2 ประตูช่วยให้บุรีรัมย์เอาชนะชัยนาท ฮอร์นบิล ที่ราชมังคลากีฬาสถาน 2–0 ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[20] ต่อมาในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ตุญเญซทำประตูที่ 9 ในลีก ในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปเสมอบีอีซี เทโร ที่สนามเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 1–1[21] ต่อมาในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558 แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ รอบชิงชนะเลิศ ตุญเญซทำประตูชัยช่วยให้บุรีรัมย์เอาชนะเบืองเกต สโมสรจากกัมพูชา ไปได้ 1–0 คว้ารางวัลชนะเลิศแม่โขงได้สำเร็จ[22] และในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ช้าง เอฟเอคัพ รอบชิงชนะเลิศ ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เอาชนะเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่สนามศุภชลาศัย ไปได้ 3–1 คว้ารางวัลชนะเลิศเอฟเอคัพได้สำเร็จ[23]
ฤดูกาล 2559
[แก้]ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 การแข่งขันฟุตบอลถ้วยพระราชทาน ก. ซึ่ง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ทีมชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2558 พบกับเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ทีมรองชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก 2558 ในนัดนั้น ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เอาชนะเมืองทองที่สนามศุภชลาศัยไปได้ 3–1 คว้ารางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน ก. เป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกันได้สำเร็จ[24] ต่อมาในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559 ไทยลีก นัดเปิดฤดูกาล ตุญเญซทำแฮตทริกช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะแบงค็อก ยูไนเต็ด ที่ทรูสเตเดียม 5–3[25] ต่อมาในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 ตุญเญซทำประตูที่ 4 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะราชนาวีไปได้ 1–0[26] ต่อมาในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2559 ตุญเญซทำประตูที่ 5 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะพัทยา ยูไนเต็ด ที่ดอลฟินสเตเดียม 3–1[27] ต่อมาในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2559 ตุญเญซทำประตูที่ 6 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะชลบุรีไปได้ 3–2[28] ต่อมาในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม F ตุญเญซทำหนึ่งประตูในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปแพ้เอฟซีโซลที่โซลเวิลด์คัปสเตเดียม 1–2[29] ต่อมาในวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ตุญเญซทำประตูที่ 7 ในลีก ในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปเสมอโอสถสภาที่กกท.บางพลี 2–2[30] ต่อมาในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2559 โตโยต้าลีกคัพ รอบ 32 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำแฮตทริกช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะหนองคาย 7–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[31] ต่อมาในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ช้างเอฟเอคัพ รอบ 64 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำ 2 ประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะม.วงษ์ชวลิตกุลไปได้ 8–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 32 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[32] ต่อมาในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ตุญเญซทำประตูที่ 8 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านแซงเอาชนะเชียงราย ยูไนเต็ด ไปได้ 2–1[33] ต่อมาในวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 โตโยต้าลีกคัพ รอบ 16 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะเกษตรศาสตร์ 2–0 ผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายได้สำเร็จ[34] ต่อมาในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ตุญเญซทำประตูที่ 9 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสุโขทัยไปได้ 5–2[35] ต่อมาในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ตุญเญซมีโอกาสทำประตูจากลูกโทษ แต่ยิงไปติดเซฟของกวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ แต่อานนท์ อมรเลิศศักดิ์ ก็มาซ้ำเป็นประตูได้ โดยในนัดนั้น บุรีรัมย์ไปแพ้เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ที่เอสซีจีสเตเดียม 2–3[36] ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ช้างเอฟเอคัพ รอบ 16 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำหนึ่งประตูในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปแพ้เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 1–3 ยุติเส้นทางในเอฟเอคัพเพียงเท่านี้[37] ต่อมาในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559 โตโยต้าลีกคัพ รอบ 8 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเสมอแบงค็อก ยูไนเต็ด ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 3–3 และในการยิงลูกโทษ ตุญเญซยิงพลาด แต่ทีมของเขาก็พลิกชนะกลับมาเข้ารอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ[38]
ฤดูกาล 2560 และการปล่อยยืมตัวให้กับเอลเช
[แก้]ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 ตุญเญซถูกปล่อยยืมตัวให้กับเอลเช โดยสัญญายืมตัวจะมีผลจนจบฤดูกาลของเซกุนดาดิบิซิออน[39] ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ตุญเญซหมดสัญญายืมตัวที่เอลเชและได้กลับมาเล่นให้กับบุรีรัมย์ในไทยลีกเลกที่สอง และในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ตุญเญซทำประตูแรกในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะไทยฮอนด้าไปได้ 2–0[40]
ฤดูกาล 2561
[แก้]ในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก กลุ่ม G นัดที่สาม ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะเซเรซโซ โอซากะ สโมสรจากญี่ปุ่น ไปได้ 2–0 นับเป็นชัยชนะนัดแรกในรอบแบ่งกลุ่ม[41] ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2561 ตุญเญซทำประตูแรกในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะการท่าเรือไปได้ 3–1[42] ต่อมาในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561 ตุญเญซทำประตูที่ 2 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านแซงเอาชนะนครราชสีมาไปได้ 2–1[43] และในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ตุญเญซทำประตูที่ 3 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะสุพรรณบุรีไปได้ 2–1[44]
ฤดูกาล 2562
[แก้]ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ นัดชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก ฤดูกาล 2561 เจอกับ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด แชมป์ช้าง เอฟเอคัพ 2561 ที่สนามกีฬากองทัพบกในกรุงเทพมหานคร ตุญเญซลงเล่นเป็นตัวจริงในนัดนั้น สุดท้าย บุรีรัมย์ แซงเอาชนะ สิงห์ เชียงราย 3–1 ช่วยให้บุรีรัมย์คว้าแชมป์ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ สมัยแรก ได้สำเร็จ[45] ต่อมาในวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ตุญเญซทำประตูแรกในลีกในนัดที่บุรีรัมย์บุกพ่ายชัยนาท ฮอร์นบิล ที่สนามเขาพลอง 2–1[46] ส่งผลให้เขาติดอันดับที่ 3 ของผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดตลอดกาลของสโมสร โดย ณ เวลานั้น เขาทำประตูให้กับสโมสรในทุกรายการไปแล้ว 47 ลูก เป็นรองเพียงจีโอกู และสุเชาว์ นุชนุ่ม เท่านั้น[47] ต่อมาในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ตุญเญซทำ 2 ประตูในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะพีทีที ระยอง ไปได้ 5–0[48] ต่อมาในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ตุญเญซทำประตูที่ 4 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะการท่าเรือที่แพตสเตเดียม 3–1 กลับขึ้นเป็นจ่าฝูงไทยลีกได้สำเร็จ[49] ต่อมาในวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ไทยลีกนัดที่ 21 ตุญเญซลงเล่นเป็นตัวจริงในตำแหน่งกองหลังในนัดที่บุรีรัมย์บุกไปแพ้เชียงราย ยูไนเต็ด ที่สิงห์ สเตเดียม 0–4 ซึ่งทำให้บุรีรัมย์เสียตำแหน่งจ่าฝูง และเป็นสถิติการแพ้ขาดลอยที่สุดในลีกของสโมสร[50][51]
ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ช้าง เอฟเอคัพ รอบ 8 ทีมสุดท้าย ตุญเญซทำหนึ่งประตูช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปตามตีเสมอตราด 2–2 ทั้งที่ถูกนำก่อน 0–2 ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ซึ่งตุญเญซเป็นผู้ยิงคนแรก และเขาก็สามารถยิงเข้าไปได้ สุดท้าย บุรีรัมย์สามารถเอาชนะตราดในการยิงลูกโทษไปได้ 5–4 ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศได้สำเร็จ[52] ต่อมาในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ตุญเญซเริ่มเล่นบอลจากการได้ฟาล์วและจ่ายบอลให้นาเซอร์ บาราซีเตอ ทำประตูชัยช่วยให้บุรีรัมย์บุกไปเอาชนะตราด 1–0 แต่เขาเริ่มเล่นบอลไม่ตรงจุดที่ได้ฟาล์ว ทำให้ผู้เล่นของตราดไม่พอใจจนต้องวอล์กเอาต์ออกจากสนาม ก่อนที่จะกลับมาแข่งขันต่อจนจบ[53] ต่อมาในวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ตุญเญซทำประตูที่ 5 ในลีก ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านเอาชนะราชบุรี มิตรผล ไปได้ 6–0[54] ต่อมาในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ตุญเญซทำประตูที่ 6 ในลีก จากจุดโทษในช่วงทดเวลาครึ่งหลัง ช่วยให้บุรีรัมย์เปิดบ้านตามตีเสมอสุโขทัย 1–1 รอดพ้นจากความพ่ายแพ้คาบ้านนัดแรกในลีกอย่างหวุดหวิด[55] ต่อมาในวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562 โตโยต้า ลีกคัพ รอบชิงชนะเลิศ บุรีรัมย์พบกับ พีที ประจวบ ที่เอสซีจีสเตเดียมในจังหวัดนนทบุรี ผลจบลงด้วยการเสมอ 1–1 ในเวลา 120 นาที ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ ตุญเญซ เป็นคนยิงคนแรก และเขาก็ยิงเข้าไปได้ แต่สุดท้าย บุรีรัมย์พ่ายแพ้ประจวบในช่วงลูกโทษ 7–8 ผลประตูรวม 8–9 พลาดโอกาสคว้าแชมป์ โตโยต้า ลีกคัพ อย่างน่าเสียดาย[56] จบฤดูกาล ตุญเญซลงเล่นในลีก 27 นัด ยิงได้ 6 ประตู ช่วยให้สโมสรจบอันดับที่สองของตาราง
ฤดูกาล 2563
[แก้]ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ตุญเญซทำประตูแรกในลีก ในนัดที่บุรีรัมย์บุกพ่าย ราชบุรี มิตรผล ที่มิตรผลสเตเดียม 3–4[57]
ทีมชาติ
[แก้]เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ได้มีรายงานจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า ทีมชาติเวเนซุเอลาได้เข้าติดต่อกับตัวแทนของตุญเญซ เพื่อที่จะทาบทามให้เขามาเล่นให้กับทีมชาติ[58] หลังจากนั้น จึงทำให้ตุญเญซได้เริ่มลงเล่นให้กับทีมชาติในเดือนกันยายนของปีถัดมา โดยได้ลงเล่นในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ ในฟุตบอลนัดกระชับมิตรกับอาร์เจนตินา เกมนั้นเวเนซุเอลาแพ้ไป 0–1[59]
สถิติอาชีพ
[แก้]- ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
สโมสร | ฤดูกาล | ลีก | ถ้วย | ลีกคัพ | ระดับทวีป | รายการอื่น | รวม | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ลงเล่น | ประตู | ||
เซลตา เบ | 2549–50 | 9 | 0 | — | — | — | — | 9 | 0 | ||||
2550–51 | 23 | 0 | — | — | — | — | 23 | 0 | |||||
2551–52 | 25 | 0 | — | — | — | — | 25 | 0 | |||||
2552–53 | 16 | 0 | — | — | — | — | 16 | 0 | |||||
รวม | 73 | 0 | — | — | — | — | 73 | 0 | |||||
เซลตา | 2552–53 | 16 | 1 | 6 | 0 | — | — | — | 22 | 1 | |||
2553–54 | 7 | 1 | 0 | 0 | — | — | — | 7 | 1 | ||||
2554–55 | 29 | 1 | 0 | 0 | — | — | — | 29 | 1 | ||||
2555–56 | 30 | 0 | 3 | 0 | — | — | — | 33 | 0 | ||||
รวม | 82 | 3 | 9 | 0 | — | — | — | 91 | 3 | ||||
เบย์ตาร์ เยรูซาเลม | 2556–57 | 23 | 0 | 2 | 0 | — | — | — | 25 | 0 | |||
รวม | 23 | 0 | 2 | 0 | — | — | — | 25 | 0 | ||||
บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด | 2557 | 19 | 2 | 1 | 0 | ? | ? | — | — | 20 | 2 | ||
2558 | 27 | 9 | 10 | 7 | ? | ? | 6 | 1 | ? | ? | 43 | 17 | |
2559 | 1 | 3 | 2 | 1 | ? | ? | 2 | 0 | ? | ? | 5 | 4 | |
2560 | |||||||||||||
2561 | |||||||||||||
2562 | 27 | 6 | 4 | 1 | 4 | 0 | 6 | 0 | 1 | 0 | 42 | 7 | |
2563–64 | 4 | 1 | 0 | 0 | 0 | 0 | 2 | 0 | — | 6 | 1 | ||
บีจี ปทุม ยูไนเต็ด | 2563–64 | 22 | 5 | 2 | 0 | — | — | — | 24 | 5 | |||
2564–65 |
เกียรติประวัติ
[แก้]- บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- ไทยลีก: 2557, 2558, 2560, 2561
- ไทยเอฟเอคัพ: 2558
- ไทยลีกคัพ: 2558, 2559
- ไทยแลนด์แชมเปียนส์คัพ: 2557, 2558, 2559, 2562
- แม่โขงคลับแชมเปียนชิพ: 2558
- บีจี ปทุม ยูไนเต็ด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Túñez, una zurda de oro para un Celta de ¿Primera? (Túñez, a golden left foot for a topflight Celta?) เก็บถาวร 2018-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; El Correo Gallego, 11 December 2009 (สเปน)
- ↑ "Túñez, tres puntos de cabeza para el Celta en Girona" [Túñez, three points with a header to Celta in Girona] (ภาษาสเปน). La Voz de Galicia. 28 January 2012. สืบค้นเมื่อ 22 September 2013.
- ↑ "Olinga makes history". ESPN FC. 18 August 2012. สืบค้นเมื่อ 22 September 2013.
- ↑ ""บุรีรัมย์" ใส่ชื่อ "ตูเนซ-ลูซิโอ" บู๊เลก 2". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์บุกเชือดสงขลา 3-2 ไล่บี้เมืองทอง 1 แต้ม". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""บุรีรัมย์" เฉือน "ราชบุรี" 1-0 นัดแรกลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ เฉือน ราชบุรี หืด 2-1 ทะลุชิงลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตูเนซฮีโร – บุรีรัมย์ 10 ตัว บุกโค่น เมืองทอง 1-0". สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตูเนญ โขกประตูโทน ปราสาทสายฟ้า ดับซ่า ทหารบก ฉลุยลีกคัพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-22. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'บุรีรัมย์' บุกขยี้ชัยนาท 3-1 ขึ้นนำฝูงไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""บุรีรัมย์" ถล่ม "กว่างโจว" 5-0 แต่ร่วง ACL". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ เฉือน โอสถ 2-1". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บางกอกกล๊าส 1 - 3 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด (เอฟเอคัพ 2558)". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'บุรีรัมย์' ไล่ยำ 'ลำพูน' 7-1 ลิ่วตัดเชือกลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตูเญซเบิ้ล – บุรีรัมย์ไล่ขยี้ทีโอที 5-0". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'บุรีรัมย์' ไล่เจ๊าอาร์มี 2-2 ลิ่วชิงโตโยต้า ลีก คัพ". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ โคตรดุเปิดรังถล่ม ราชบุรีฯ ขาดลอย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-31. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""บุรีรัมย์" ถล่มโคราช 4-0 จ่อแชมป์". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ปราสาทสายฟ้า" แกร่งอัด บีจี คาถิ่นเถลิงบัลลังก์สมัย 4". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-01. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'ตูเญซ' ฮีโร่ – 'บุรีรัมย์' อัดชัยนาท 2-0 ชิงดำ 'กิเลน' ศึกเอฟเอคัพ". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""เทโรฯ" โดนบุรีรัมย์ไล่เจ๊า 1-1 ลุ้นหนีตายต่อนัดสุดท้าย". สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ตูเนซ" ซัดจุดโทษพาบุรีรัมย์ชนะ 1-0 แชมป์แม่โขงฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'บุรีรัมย์' ถลุง 'เมืองทอง' 3-1 ซิวแชมป์เอฟเอคัพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-04. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ขย้ำเมืองทอง 3-1 ผงาดแชมป์ถ้วย ก. ทุบประวัติศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "แบงค็อก ยูไนเต็ด เปิดบ้านพ่ายให้ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 3-5". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์หืดจับเฉือนราชนาวี 1-0". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""โลมาน้ำเงิน" พัทยา ยูไนเต็ด เปิดบ้านพ่าย "ปราสาทสายฟ้า" บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด คารัง 1-3". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ เฉือนชนะ ชลบุรี ไปแบบหวุดหวิด 3-2". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'โซล' เฉือน 'บุรีรัมย์' 2-1 ลอยลำน็อกเอาท์ถ้วยเอเชีย". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พลังเอ็มฮึดปลาย แบ่งแต้มสุดมันส์ บุรีรัมย์ 2-2 ศึกไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตูเญซแฮตทริก สายฟ้า บุกยำ หนองคาย 7-0". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ฯถล่มม.วงษ์ฯ 8-0 ลิ่ว 32 ทีมช้างเอฟเอคัพ". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'บุรีรัมย์' ปลดล็อกพลิกเฉือน 'เชียงราย' 10 คน 2-1". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ฯบุกอัดเกษตรศาสตร์10ตัวสบาย2-0". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์เปิดบ้านถล่มสุโขทัย 5-2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'เมืองทองฯ' แซงดับ 'บุรีรัมย์' สุดมัน 3-2 คืนจ่าฝูงไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'เมืองทอง'ย้ำแค้นบุรีรัมย์ถล่มแหลก3-1ลิ่วเอฟเอคัพ". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันท��่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ดวลจุดโทษชนะแบงค็อก 5-4 ลิ่วตัดเชือกลีกคัพ หลัง 120 นาทีเสมอ 3-3". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ปล่อย 'ตูเญซ' ซบเอลเช". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดบ้านเอาชนะ ไทยฮอนด้า 2-0". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ 10 คน เปิดบ้านอัด เซเรโซ่ โอซาก้า 2-0". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-05. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แซงชนะ การท่าเรือ เอฟซี 3-1". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ตูเญซเจ้าเก่าโขกประตูชัยพาบุรีรัมย์แซงโคราช2-1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-05. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์เปิดรังเฉือนหวิวสุพรรณ 2-1". สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์พลิกแซงเชียงราย 3-1 คว้าแชมป์ ออมสิน ไทยแลนด์ แชมเปี้ยนคัพ". สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกพ่าย ชัยนาท ฮอร์นบิล ลูกหนังไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อันเดรส ตูเญซ ทะยานขึ้นอันดับ 3 ดาวซัลโวตลอดกาล ปราสาทสายฟ้า". สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด จัดหนักอัด พีทีที ระยอง 5-0 ลูกหนังไทยลีก นัดตกค้าง". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกเชือด การท่าเรือ เอฟซี ทะยานกลับสู่บัลลังก์ผู้นำไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด บุกพ่าย เชียงราย ยูไนเต็ด เสียตำแหน่งจ่าฝูงไทยลีก". สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บอสโก้ ยอมรับ ปราสาทสายฟ้า มีข้อผิดพลาดเยอะเกมพ่าย เชียงราย ยูไนเต็ด". สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์โดน2-0ไล่เจ๊า2-2 ชนะดวลจุดโทษตราด 4-5". สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม ค.ศ. 2019.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ฝ่าโคลนเชือดตราดวอล์คเอาท์ 1-0". สืบค้นเมื่อ 11 สิงหาคม ค.ศ. 2019.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์หญ้าสวยยำมังกรหวาน 6-0". สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์สะดุดเจ๊าสุโขทัย 1-1". สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด พ่ายจุดโทษ ประจวบ เอฟซี 8-9 ชิงดำ ลีกคัพ". สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "'ราชบุรี' ปล่อยทีเด็ดพลิกแซงเชือดหวิว 'บุรีรัมย์' 4-3 สุดมันส์". สืบค้นเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Venezuela quiere convocar Túñez" [Venezuela wants to call up Túñez] (ภาษาสเปน). Faro de Vigo. 24 February 2010. สืบค้นเมื่อ 28 January 2010.
- ↑ "Túñez debutó con Venezuela en el tiempo de descuento" [Túñez made Venezuela debut in injury time] (ภาษาสเปน). La Voz de Galicia. 3 September 2011. สืบค้นเมื่อ 22 September 2013.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ประวัติของ อันเดรส ตุญเญซ ที่ BDFutbol
- Celta de Vigo biography (สเปน)
- อันเดรส ตุญเญซ ที่ National-Football-Teams.com
- อันเดรส ตุญเญซ – สถิติการลงแข่งจากสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (FIFA) (ในภาษาอังกฤษ)
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2530
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชาวเวเนซุเอลา
- ชาวเวเนซุเอลาเชื้อสายสเปน
- กองหลังฟุตบอล
- ผู้เล่นในลาลิกา
- ผู้เล่นในไทยลีก
- ผู้เล่นเซลตาเดบิโก
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด
- นักฟุตบอลทีมชาติเวเนซุเอลา
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด
- บุคคลจากการากัส
- บุคคลจากแคว้นกาลิเซีย
- นักฟุตบอลชายชาวต่างชาติที่ค้าแข้งในประเทศไทย