หินดำ
หินดำ (อาหรับ: ٱلْحَجَرُ ٱلْأَسْوَد, อัลฮะญะรุลอัสวัด) เป็นหินที่ตั้งอยู่ที่มุมตะวันออกของกะอ์บะฮ์ อาคารโบราณที่อยู่ตรงกลางมัสยิดอัลฮะรอมในมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มุสลิมเคารพหินนี้เป็นเรลิกของอิสลาม ซึ่งมีธรรมเนียมมุสลิมระบุว่าหินนี้มีอายุตั้งแต่สมัยอาดัมและอีฟ[1]
หินที่กะอ์บะฮ์ก้อนนี้ได้รับการเคารพบูชาในสมัยก่อนการมาของอิสลาม ตามธรรมเนียมอิสลามระบุว่า ศาสดามุฮัมมัดนำหินก้อนนี้มาติดที่กำแพงกะอ์บะฮ์ใน ค.ศ. 605 ห้าปีก่อนได้รับโองการแรก นับตั้งแต่นั้ันมา หินนั้นถูกทำให้แตกเป็นชิ้น ๆ และปัจจุบันนำไปครอบด้วยเงินที่มุมกะอ์บะฮ์ รูปร่างหินเป็นหินสีเข้มที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ ซึ่งถูกขัดให้เรียบด้วยมือของผู้แสวงบุญ และมักได้รับการกล่าวถึงเป็นอุกกาบาต[2]
ผู้แสวงบุญมุสลิมเดินวนรอบกะอ์บะฮ์ (เฏาะวาฟ) ในช่วงฮัจญ์ และมีหลายคนพยายามหยุดเพื่อจุมพิตหินดำ โดยเลียนแบบการจูบตามธรรมเนียมอิสลามที่บันทึกไว้ว่าได้รับจากมุฮัมมัด[3][4] แม้ว่ามุสลิมให้การเคารพหินดำ แต่พวกเขาไม่ได้บูชามัน[5][6]
รูปลักษณ์
[แก้]หินดำเคยเป้นหินก้อนเดียว แต่ปัจจุบันประกอบด้วยชิ้นส่วนหลายชิ้นที่ประสานเข้าด้วยกัน โดยมีกรอบเงินที่ยึดด้วยตะปูเงินเข้ากับผนังด้านนอกของกะอ์บะฮ์อยู่ล้อมรอบหินนี้[7] ชิ้นส่วนเหล่านี้ประกอบด้วยชิ้นส่วนขนาดเล็กกว่าซึ่งรวมกันเป็นชิ้นส่วนหินเจ็ดหรือแปดชิ้นที่มองเห็นได้ในปัจจุบัน ส่วนที่เปิดเผยของหินมีขนาดประมาณ 20 เซนติเมตร (7.9 นิ้ว) กับ 16 เซนติเมตร (6.3 นิ้ว) ส่วนขนาดดั้งเดิมยังไม่เป็นที่กระจ่าง และข้อมูลมุมที่บันทึกเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เนื่องจากชิ้นส่วนหินได้รับการจัดเรียงใหม่หลายต่อหลายครั้ง[2] โดยในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ผู้สังเกตกล่าวถึงหินนี้ว่ามีความยาวเพียง 1 Cubit (46 เซนติเมตร หรือ 18 นิ้ว) จากนั้นในช่วงต้นคริสตืศตวรรษที่ 17 มีบันทึกว่าหินมีความยาว 140 โดย 122 เซนติเมตร (4 ฟุต 7 นิ้ว โดย 4 ฟุต 0 นิ้ว) อาลี เบย์ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 รายงานว่าหินมีความสูง 110 เซนติเมตร (3 ฟุต 7 นิ้ว) และมุฮัมมัด อะลี พาชารายงานว่าหินมีความยาว 76 เซนติเมตร (2 ฟุต 6 นิ้ว) และกว้าง 46 เซนติเมตร (1 ฟุต 6 นิ้ว)[2]
หินดำติดอยู่ที่มุมตะวันออกของกะอ์บะฮ์ ซึ่งมีชื่อว่า อัรรุกนุลอัสวัด ('มุมหินดำ')[8] ส่วนหินอีกก้อนที่ตั้งอยู่มุมตรงข้ามของหินดำในมุม อัรรุกนุลยะมานี ('มุมเยเมน') มีความสูงค่อนข้างต่ำกว่าหินดำ[9] การเลือกมุมตะวันออกอาจมีความสำคัญทางพิธีกรรม เนื่องเป็นมุมที่เจอกับลมตะวันออกพัดพาฝนมา (อัลเกาะบูล) และเป็นทิศทางที่ดาวคาโนปัสขึ้น[10]
แผ่นเงินที่อยู่รอบหินดำและกิสวะฮ์หรือผ้าคลุมกะอ์บะฮ์สีดำ ได้รับการบำรุงรักษาจากสุลต่านออตโตมันในฐานะผู้อารักขามัสยิดศักดิ์สิทธิ์ทั้งสองมาหลายศตวรรษ แผ่นนั้นสึกหรอไปตามกาลเวลาเนื่องจากต้องรับมือกับผู้แสวงบุญเป็นอย่างมากและมีการเปลี่ยนเป็นระยะ แผ่นที่ชำรุดนำกลับไปที่อิสตันบูล โดยนำไปจัดแสดงเป็นส่วนหนึ่งของ sacred relics ในพระราชวังโทพคาปึ[11]
ความหมายและการแสดงสัญลักษณ์
[แก้]ชาวมุสลิมกล่าวว่าหินดำนี้ถูกพบโดยอับราฮัม (อิบรอฮีม) และอิชมาเอล (อิสมาอีล) บุตรชายของท่าน ในขณะกำลังหาหินเพื่อนำมาก่อสร้างกะอ์บะฮ์ โดยท่านทั้งสองตระหนักเห็นในคุณค่าของหินดำ จึงได้นำหินดำมาประดิษฐานที่มุมหนึ่งของกะอ์บะฮ์
มุสลิมเชื่อว่าหินนี้เคยมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่ภายหลังกลายเป็นสีดำเนื่องจากบาปของผู้ที่แตะต้องมัน[12][13]
ตามธรรมเนียมศาสดาบันทึกว่า "การแตะมันทั้งสอง (หินดำและ อัรรุกนุลยะมานี) เป็นการลบล้างบาป"[14] และมีฮะดีษบันทึกว่า เมื่อเคาะลีฟะฮ์ อุมัร (ค.ศ. 580–644) เดินทางมาจุมพิตหิน เขากล่าวว่า: "ข้ารู้ว่า ท่านก็คือหินก้อนหนึ่งที่ไม่มีอันตราย ไม่มีประโยชน์ และหากแม้นว่าข้าไม่เห็นท่านศาสดามุฮัมมัดจูบท่านล่ะก็ ข้าก็จะไม่จูบท่าน"[15]
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
[แก้]ธรรมชาติของหินดำยังคงเป็นที่ถกเถียง โดยมีการกล่าวถึงหินหลายแบบ เช่น เป็นหินบะซอลต์, โมรา, ชิ้นส่วนแก้วธรรมชาติ หรือหินอุกกาบาต Paul Partsch ภัณฑารักษ์ฝ่ายชุดสะสมแร่ธาตุของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ตีพิมพ์การวิเคราะห์หินดำอย่างครอบคลุมเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1857 โดยเขาโปรดปรานสมมติฐานต้นกำเนิดจากอุกกาบาต[16] Robert Dietz และ John McHone เสนอใน ค.ศ. 1974 ว่าหินดำแท้จริงเป็นโมรา โดยตัดสินจากลักษณะทางกายภาพของมันและมีรายงานโดยนักธรณีวิทยาชาวอาหรับว่าหินมีลักษณะการแพร่กระจายของหินโมราที่มองเห็นได้ชัดเจน[2]
เบาะแสสำคัญเกี่ยวกับธรรมชาติของมันมาจากรายงานการฟื้นฟูหินใน ค.ศ. 951 หลังหินนี้ถูกปล้นสดมออกไป 21 ปี พงศาวดารรายงานว่า หินถูกระบุด้วยความสามารถในการลอยน้ำ ถ้ารายงานนี้เป็นจริง ก็จะเป็นการชี้ขาดว่าหินดำเป็นโมรา, ลาวาบะซอลต์, หรือหินอุกกาบาต แม้ว่าจะเทียบเท่ากับแก้วหรือหินพัมมิซด้วย[7]
Elsebeth Thomsen จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนเสนออีกสมมติฐานหนึ่งใน ค.ศ. 1980 ว่าหินดำอาจเป็นชิ้นส่วนแก้ว หรือ impactite จากการพุ่งชนของอุกกาบาตที่แตกเป็นเสี่ยง ๆ เมื่อ 6,000 ปีที่แล้วที่วาบัร[17] พื้นที่ในทะเลทรายรุบอุลคอลีทางตะวันออกของมักกะฮ์ 1,100 กม. การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พื้นที่วาบัรใน ค.ศ. 2004 กล่าวแนะว่าเหตุการณ์พุ่งชนเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด และอาจเกิดขึ้นในช่วง 200–300 ปีที่ผ่านมา[18]
นักธรณีวิทยามองสมมติฐานอุกกาบาตว่าเป็นที่สงสัย ทางพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติของอังกฤษเสนอแนะว่ามันอาจเป็นอุกกาบาตเทียม (pseudometeorite) หรือเป็นหินบนโลกที่ถูกระบุผิดเป็นอุกกาบาต[19]
หินดำไม่เคยได้รับการวิเคราะห์ด้วยเทคนิคทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ และต้นกำเนิดของมันยังคงเป็นหัวข้อของการคาดเดา[20]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Sheikh Safi-ur-Rehman al-Mubarkpuri (2002). Ar-Raheeq Al-Makhtum (The Sealed Nectar): Biography of the Prophet. Dar-us-Salam Publications. ISBN 978-1-59144-071-0.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Burke, John G. (1991). Cosmic Debris: Meteorites in History. University of California Press. pp. 221–23. ISBN 978-0-520-07396-8.
- ↑ Elliott, Jeri (1992). Your Door to Arabia. Lower Hutt, N.Z.: R. Eberhardt. ISBN 978-0-473-01546-6.
- ↑ Mohamed, Mamdouh N. (1996). Hajj to Umrah: From A to Z. Amana Publications. ISBN 978-0-915957-54-5.
- ↑ Hedin, Christer (2010). "Muslim Pilgrimage as Education by Experience". Scripta Instituti Donneriani Aboensis. 22: 176. CiteSeerX 10.1.1.1017.315. doi:10.30674/scripta.67366. OCLC 7814979907. S2CID 191262972.
- ↑ "Do Muslims Worship The Black Stone Of The Kaaba?". bismikaallahuma.org. สืบค้นเมื่อ October 15, 2005.
- ↑ 7.0 7.1 Bevan, Alex; De Laeter, John (2002). Meteorites: A Journey Through Space and Time. UNSW Pres. pp. 14–15. ISBN 978-0-86840-490-5.
- ↑ Ali, Maulana Muhammad (25 July 2011). The Religion of Islam. Ahmadiyya Anjuman Ishaat Islam Lahore USA. p. 351. ISBN 978-1-934271-18-6.
- ↑ Glassé, Cyril; Smith, Huston (2003). The New Encyclopedia of Islam. Rowman Altamira. p. 245. ISBN 978-0-7591-0190-6.
- ↑ Al-Azmeh, Aziz (2017). The Emergence of Islam in Late Antiquity: Allah and His People. Cambridge University Press. p. 200. ISBN 978-1-316-64155-2.
- ↑ Aydın, Hilmi (2004). The sacred trusts: Pavilion of the Sacred Relics, Topkapı Palace Museum. Tughra Books. ISBN 978-1-932099-72-0.
- ↑ Saying of the Prophet, Collection of Tirmizi, VII, 49
- ↑ Shaykh Tabarsi, Tafsir, vol. 1, pp. 460, 468. Quoted in translation by Francis E. Peters, Muhammad and the Origins of Islam, p. 5. SUNY Press, 1994. ISBN 0-7914-1876-6
- ↑ ibn Isa at-Tirmidhi, Muhammad. Jami' at-Tirmidhi: Book of Hajj. Vol. 2nd, Hadith 959.
- ↑ University of Southern California. "Pilgrimage (Hajj)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 สิงหาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2006.
- ↑ Partsch, Paul Maria (1857). "Über den schwarzen Stein der Kaaba zu Mekka, mitgetheilt aus den hinterlassenen Schriften des wirklichen Mitgliedens" (PDF). Denkschriften der Mathematisch-naturwissenschaftlichen Classe der Kaiserlichen Akademie der Wissenschaften zu Wien. Erste Abtheilung (13): 1–5.
- ↑ Thomsen, E. (1980). "New Light on the Origin of the Holy Black Stone of the Ka'ba". Meteoritics. 15 (1): 87. Bibcode:1980Metic..15...87T. doi:10.1111/j.1945-5100.1980.tb00176.x.
- ↑ Prescott, J. R. (2004). "Luminescence dating of the Wabar meteorite craters, Saudi Arabia". Journal of Geophysical Research. 109 (E1): E01008. Bibcode:2004JGRE..109.1008P. doi:10.1029/2003JE002136. ISSN 0148-0227.
- ↑ Grady, Monica M.; Graham, A.L. (2000). Grady, Monica M. (บ.ก.). Catalogue of meteorites: with special reference to those represented in the collection of the Natural History Museum, London. Vol. 1. Cambridge University Press. p. 263. ISBN 978-0-521-66303-8.
- ↑ Golia, Maria (2015). Meteorite: Nature and Culture (ภาษาอังกฤษ). Reaktion Books. ISBN 978-1780235479.
บรรณานุกรม
[แก้]- Grunebaum, G. E. von (1970). Classical Islam: A History 600 A.D.–1258 A.D.. Aldine Publishing Company. ISBN 978-0-202-15016-1
- Sheikh Safi-ur-Rahman al-Mubarkpuri (2002). Ar-Raheeq Al-Makhtum (The Sealed Nectar): Biography of the Prophet. Dar-us-Salam Publications. ISBN 1-59144-071-8.
- Elliott, Jeri (1992). Your Door to Arabia. ISBN 0-473-01546-3.
- Mohamed, Mamdouh N. (1996). Hajj to Umrah: From A to Z. Amana Publications. ISBN 0-915957-54-X.
- Time-Life Books (1988). Time Frame AD 600–800: The March of Islam, ISBN 0-8094-6420-9.