ข้ามไปเนื้อหา

หลน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลน
หลนปู
ประเภทกับข้าว
มื้ออาหารจานหลัก
แหล่งกำเนิดไทย
ส่วนผสมหลักเนื้อสัตว์ กะทิ

หลน เป็นกับข้าวหรือเครื่องจิ้มอย่างหนึ่งในอาหารไทย ส่วนประกอบหลักคือ กะทิและเนื้อสัตว์ อยู่ในประเภทน้ำพริกเพราะต้องกินกับผัก มีด้วยกันหลายชนิด ได้แก่ ปลาร้าหลน เต้าหู้หลน ปลากุเราหลน ปลาเจ่าหลน ปลาส���มหลน แหนมหลน ไข่เค็มหลน

ส่วนประกอบของหลนประกอบด้วยกะทิ หัวหอม หมูหรือกุ้งสับ เคี่ยวรวมกันแล้ว ใส่สิ่งที่จะหลน เช่น ปลาร้า เต้าเจี้ยว ปลากุเลา ปลาเจ่า ปลาส้ม แหนม หรือ ไข่เค็ม ปรุงรสให้เปรี้ยว เค็มหวาน แล้วใส่รสหวาน รสเปรี้ยวลงไป ปรุงรสด้วยพริก ใส่หัวหอม ใบมะกรูดเพียงเท่านี้[1] ส่วนประกอบอื่นถ้าขาดแคลนจะไม่มีก็ได้ เช่น รากผักชี ข่า กระชาย ลูกมะกรูด

รับประทานกับผักสด ผักที่ใช้กินกับหลนที่เข้ากันเรียงตามลำดับ ดังนี้ หัวปลี ใบมะกอกอ่อน ผักชี ต้นหอม ถั่วฝักยาว ถั่วพู มะเขือเปราะ มะเขือพวง แตงกวา แตงร้าน ใบโหระพา ใบมะยมอ่อน ใบกระสัง ผักแว่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด ผักกาดหอม ผักกาดขาวใบ ทองหลางอ่อน ใบชะพลู และใบไม้อ่อนทุกชนิดที่กินได้

คุณค่าทางโภชนาการของหลนเต้าเจี้ยว เมื่อกินกับข้าวสวย 3 ทัพพีให้พลังงาน 425 กิโลแคลอรี ซึ่งน้อยกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณที่ควรได้รับใน 1 วัน[2]

ในวัฒนธรรมประชานิยม ปรากฏอยู่ในละครเรื่อง บุพเพสันนิวาส[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประยูร อุลุชาฎะ. (2542). อาหารรสวิเศษของคนโบราณ. กรุงเทพฯ : แสงแดด.
  2. "หลนเต้าเจี้ยว". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
  3. "กินอยู่เป็น : "หลนเต้าเจี้ยว" อร่อยตามรอยแม่หญิงการะเกด". สปริงนิวส์.