หม่ำ จ๊กมก
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา | |
---|---|
ในงานฉายภาพยนตร์ ต้มยำกุ้ง รอบสื่อในปี 2548 | |
สารนิเทศภูมิหลัง | |
ชื่อเกิด | เพ��ชรทาย วงษ์คำเหลา |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 จังหวัดยโสธร ประเทศไทย |
ตัวแทน | เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ |
คู่สมรส | เอ็นดู วงษ์คำเหลา (สมรส 2528) |
บุตร | 2 คน |
อาชีพ |
|
ปีที่แสดง | 2525 – ปัจจุบัน |
เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (เกิด 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508) ชื่อเล่น หม่ำ หรือชื่อในการวงการคือ หม่ำ จ๊กมก เป็นนักแสดงตลกชาวไทย มีชื่อเสียงจากเป็นสมาชิกแก๊งสามช่าในรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ดำรงตำแหน่งประธานสโมสรฟุตบอลยโสธร และเป็นผู้บริหารค่ายเพลงยุ้งข้าวเรคคอร์ด[1]
ประวัติ
[แก้]เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2508 ที่ตำบลหนองคู อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เป็นบุตรของไหล วงษ์คำเหลาและจันทร์ วงษ์คำเหลา มีพี่น้องทั้งหมด 7 คน เป็นบุตรคนกลาง มีน้องสาวซึ่งเป็นอดีตนักแสดงตลก แวว จ๊กมก
เพ็ชรทายออกจากบ้านตั้งแต่อายุ 16-17 ปี มาทำงานอยู่กับวงดนตรีลูกทุ่งของ สดใส รุ่งโพธิ์ทอง เป็นวงแรก โดยเริ่มทำงานในตำแหน่งคอนวอย (เด็กยกของ) ก่อนจะได้เลื่อนขึ้นมาเป็นหางเครื่อง และตลก ตามลำดับ หลังจากนั้นเพ็ชรทายได้ย้ายไปทำงานกับวงดนตรีลูกทุ่งหลายวง เช่น เกรียงไกร กรุงสยาม , โชคชัย โชคอนันต์, ศิรินทรา นิยากร และ สุพรรณ สันติชัย
หลังจากนั้นเขาได้ตัดสินใจรวมตัวกับเพื่อนศิลปินตลกตั้งตลกคณะ เก้ายอด ขึ้น ก่อนที่ในที่สุดจะได้รับการชักชวนให้มาเล่นตลกในคณะ เทพ โพธิ์งาม ทำให้เขาแสดงตลกร่วมกับคณะ เทพ โพธิ์งาม ในช่วงปี 2531 โดยใช้ชื่อขณะนั้นว่า "หม่ำ สปาเก็ตตี้" ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "หม่ำ จ๊กมก" โดยรับหน้าที่เป็นตัวประกอบรับมุกในคณะของ เทพ โพธิ์งาม จนเขาเริ่มดังเป็นที่รู้จัก เทพ โพธิ์งาม เห็นถึงโอกาสของเขาที่จะโด่งดังขึ้นในอนาคต จึงแนะนำให้เขาออกจากคณะ เพื่อไปตั้งคณะตลกเป็นของตนเอง ในปี 2538 เพ็ชรทายได้ออกไปตั้งคณะชื่อว่า คณะหม่ำ จ๊กมก โดยมีสมาชิกคนสำคัญ เช่น จาตุรงค์ มกจ๊ก, หยอง ลูกหยี, แวว จ๊กมก, เป๋อ จ๊กมก, เท่ง เถิดเทิง, โหน่ง ชะชะช่า เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2535 เพ็ชรทายได้รับการชักชวนจาก ปัญญา นิรันดร์กุล ให้มาร่วมทำงานกับบริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ โดยได้มาทำหน้าที่เป็นตัวปริศนาในรายการ ชิงร้อยชิงล้าน ในช่วงชิงบ๊วยครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 และนับตั้งแต่นั้น เขาก็ทำงานร่วมกับเวิร์คพอยท์มาตลอดจนถึงปัจจุบัน ผลงานที่สำคัญของเพ็ชรทายในฐานะพิธีกรรายการเกมโชว์ต่าง ๆ ของเวิร์คพอยท์ เช่น เวทีทอง, ระเบิดเถิดเทิง เป็นต้น นอกจากนี้ เคยมีผลงานเพลงแนวลูกทุ่งหมอลำมาแล้วด้วย โดยเพลงดังคือเพลง เฮดจังได๋ เพ็ชรทายเพ็ชรทายเพ็ชรทาย และในปี พ.ศ. 2561 เขาได้เป็นประธานสโมสรฟุตบอลยโสธร เอฟซี ในไทยลีก 3 ด้วย
ปัจจุบันเพ็ชรทายเป็นเจ้าของ บริษัท บั้งไฟ ฟิล์ม จำกัด ผลิตภาพยนตร์ ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม และ แหยม ยโสธร ที่ทำรายได้เกิน 100 ล้านบาท และเป็นเจ้าของ บริษัท บั้งไฟ สตูดิโอ จำกัด ผลิตรายการโทรทัศน์ ได้แก่ รายการบิ๊กหม่ำ และละคร แฟกทอรีที่รัก พร้อมกับยังรับงานแสดงอย��่และทำธุรกิจร้านอาหารอีสาน แต่ได้เลิกกิจการไปแล้ว และ ได้ทำค่ายเพลงอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ ค่ายเพลง ยุ้งข้าว เรคคอร์ด
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]เพ็ชรทายจดทะเบียนสมรสกับเอ็นดู วงษ์คำเหลา หลังใช้ชีวิตคู่มา 37 ปี มีบุตร 2 คนเป็น บุตรหญิง 1 คน บุษราคัม วงษ์คําเหลา และบุตรชาย 1 คน เพทาย วงษ์คําเหลา
สมาชิกในคณะ หม่ำ จ๊กมก
[แก้]- เท่ง เถิดเทิง (พ.ศ. 2538 – ปัจจุบัน)
- โหน่ง ชะชะช่า (พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน)
- เป๋อ จ๊กมก หรือ อาแปะ เถิดเทิง (พ.ศ. 2537 – 2547) (เสียชีวิต)
- จาตุรงค์ มกจ๊ก (พ.ศ. 2537 – 2538)
- แวว จ๊กมก (พ.ศ. 2538 – 2542) (เสียชีวิต พ.ศ. 2560)
- โย่ง พิจิตร (พ.ศ. 2542)
- นุ มกจ๊ก (สุทธิชัย หย่อน) (พ.ศ. 2537 – 2541)
- หยอง ลูกหยี (พ.ศ. 2537)
- ยาว ลูกหยี (พ.ศ. 2537)
- ชาติ จ๊กมก (พ.ศ. 2537-2544) (เสียชีวิต)
- ตู่ จ๊กมก (พ.ศ. 2537)
ผลงาน
[แก้]ผลงานรายการโทรทัศน์
[แก้]ผลงานรายการโทรทัศน์ในปัจจุบัน
[แก้]พ.ศ. | รายการ | บทบาท | ร่วมกับ | ช่อง |
---|---|---|---|---|
18 เมษายน 2564 – 30 มิถุนายน 2567 | โจ๊กตัดโจ๊ก | โปรโมเตอร์ ผู้เข้าแข่งขันในกลุ่ม โจ๊กหมู (ซีซั่น 1) |
ช่องเวิร์คพอยท์ | |
2 เมษายน 2567 - ปัจจุบัน | MJ SHOW | พิธีกร | แจ๊ส ชวนชื่น |
ผลงานรายการโทรทัศน์ในอดีต
[แก้]ผลงานละครโทรทัศน์
[แก้]ปี พ.ศ. | เรื่อง | บทบาท | ออกอากาศ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
2533 | นิยายรักนักศึกษา | ช่อง 3 | ||
2534 | หนุ่มสาวชาวหอ | |||
ผีขี้เหงา | ||||
2535 | คนเยอะเรื่องแยะ | ช่อง 5 | ||
เขยบ้านนอก ภาค 2 | ช่อง 3 | |||
สังขยาหน้ากุ้ง | ||||
2536 | นวลนางข้างเขียง | ช่อง 7 | ||
คู่ชื่นชุลมุน | ปูน | ช่อง 5 | ||
2539 | นางเสือดาว | ช่อง 3 | ||
2540 | ชมรมขนหัวลุก FRIDAY | ช่อง 5 | ตอน รวมพลคนเล่นของ | |
2544 | เทพบุตรสุดที่รัก | ตำรวจ | ช่อง 3 | |
2546 | บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ | |||
2546 – 2550 | โคกคูนตระกูลไข่ | คำดี โคกคูน บักจ่อย |
ช่อง 3 ช่อง 5 |
|
2550 - 2552 | ระเบิดเถิดเทิง | ช่อง 5 | รับเชิญ | |
2552 – 2553 | แฟกทอรีที่รัก | ภารโรงบุญถิน (ปรากฏตัวจำนวน 29 ตอน) | ช่อง 3 | เป็นผลงานการกำกับละครซิตคอมเรื่องแรกและร่วมแสดงด้วย |
2553 – 2556 | วงศ์คำเหลา เดอะซีรีส์ วงษ์คำเหลา เดอะซีรีส์ 2 วงษ์คำเหลา เดอะซีรีส์ 3 วงษ์คำเหลาคฤหาสน์เพี้ยน สุภาพบุรุษวงศ์คำเหลา |
ท่านชายเพชราวุธ (ชายใหญ่) | โมเดิร์นไนน์ทีวี | |
2553 | แม่ศรีไพร | ช่างต่อแพ | ช่อง 7 | รับเชิญ |
2558 | ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง | เวิร์คพอยท์ | ||
2560 | หมอเทวดา | ผู้ว่าสุทัศน์ | ช่อง 3 เอสดี | |
2565 | พยัคฆ์ยี่เก | หม่ำ จ๊กมก | ช่อง 7 | |
โอมเพี้ยงอาจารย์คง | นายห้างค่ายเพลง ยุ้งข้าวเรคคอร์ด | เวิร์คพอยท์ | ||
2567 | เพลงลำ คำเขื่อนแก้ว | ดำ | เวิร์คพอยท์ |
ละครเวที
[แก้]ผลงานภาพยนตร์
[แก้]ผลงานผู้กำกับ
[แก้]- แหยม ยโสธร
- แฟกทอรีที่รัก
- แหยม ยโสธร 2
- แหยมยโสธร 3
- ทาสรักอสูร
- อาม่า
- ส้ม ปลา น้อย
- แดง พระโขนง
- Love เลย 101
- เพลงลำคำเขื่อนแก้ว
ผลงานหนังสือ
[แก้]- หม่ำ มุกแป้ก
- ความลับในไหปลาแดก
- นางฟ้าของหม่ำ
ผลงานหนังสือการ์ตูน
[แก้]- บิ๊กหม่ำ THE POCKETBOOK
ผลงานเพลง
[แก้]ผลงานเพลงของหม่ำ (ทั้งออกอัลบั้มและ SINGLE) | |||
---|---|---|---|
พ.ศ. | ชื่ออัลบั้ม (ซิงเกิ้ล) | เพลง | หมายเหตุ / ค่ายเพลง |
2537 | หม่ำ...ซะ (สามเวลาก่อนอาหาร) | รายชื่อเพลง
|
V.I.P. |
2539 | หม่ำ 100% | รายชื่อเพลง
|
PGM |
2542 | 2542 เสี่ยวเต็มเมือง | รายชื่อเพลง
|
SDS |
2548 | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง แหยม ยโสธร | รายชื่อเพลง
|
ลำน้ำชี |
2550 | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 | รายชื่อเพลง
|
|
2552 | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง แหยม ยโสธร 2 | รายชื่อเพลง
|
ร้องร่วมกับวง The Richman Toy |
ลูกทุ่งไฮไฟ | รายชื่อเพลง
|
||
2554 | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ใหม่กะหม่ำ โดนกะโดน | ||
2556 | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง แหยม ยโสธร 3 | ||
2560 | SINGLE เพลง หลาบแล้วเมียน้อย | บั้งไฟเพลย์ | |
2561 | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ส่ม ภัค เสี่ยน | รายชื่อเพลง
| |
เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ขุนบันลือ | รายชื่อเพลง
| ||
2562 | เพลงประกอบภาพยนตร์ เรื่อง บอดี้การ์ดหน้าหัก | รายชื่อเพลง
|
|
2565 | ไรอัล,ซัน,ฟอร์ม SINGLE เพลง ลูกทุ่งเลขท้าย | รายชื่อเพลง
|
|
2566 | เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Murderer เมอร์เด้อเหรอ ฆาตกรรมอิหยังวะ | รายชื่อเพลง
|
ต้นฉบับเพลงนี้ ผู้ขับร้อง คือ สมัย อ่อนวงค์ |
มิวสิควีดีโอ
[แก้]ผลงาน MUSIC VIDEO | ||
---|---|---|
ชื่ออัลบั้ม / SINGLE | ศิลปิน | เพลงที่ร่วมแสดง |
สร้อยจันทร์ จตุพร | ฮักอ้ายโจงโปง | |
ขบวนการโป๊งโป๊งชึ่ง | สามโทน | ร้องไห้ไม่เป็น |
ยืนยงตั้งวงเล่า | ยืนยง โอภากุล | ราชันย���ฝันสลาย |
มานาฮิต Vol.1 | เจเน็ต เขียว | แอ๊ะแอ๋ |
SINGLE ไก๊ไก่ | โหน่ง ชะชะช่า | ไก๊ไก่ |
SINGLE ลาออก | สายสิน วงษ์คำเหลา | ลาออก |
BAD BOY | บรรลัยละครับ | |
SINGLE สย.สายยืน | โหน่ง ชะชะช่า | สย.สายยืน |
ผลงานอื่น ๆ
[แก้]- แสดงมิวสิกวีดีโอเพลง หน้าไม่ทันสมัย (พ.ศ. 2534)
- แสดงมิวสิกวีดีโอเพลง ฮักอ้ายโจงโปง ต้นฉบับ สร้อยจันทร์ จตุพร
- แสดงมิวสิกวีดีโอเพลง มอเตอร์ไซค์ทำหล่น (พ.ศ. 2534)
- แสดงมิวสิกวีดีโอเพลง กลับไปถามเมียเธอดูก่อน (พ.ศ. 2534)
- คณะพิณแคนแดนอีสาน ชุด บักหมํ่านำจีบศิริพร (รับเชิญยกคณะ)
- คณะเพชรพิณทอง ชุด บักหมํ่ายามเพชรพิณทอง และ ชุดแฝดเงินล้าน (รับเชิญ)
- เพลง ขอความสุขคืนกลับมา - เพื่อเป็นกำลังใจแก่ชาวไทยที่มีความรู้สึกทุกข์ จากการสูญเสียสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
- เพลง ครองแผ่นดินโดยธรรม - เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- เพลง สดุดีมหาราชา - เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา
- เพลง หลานสามช่า น้าคาราบาว
โฆษณา
[แก้]- นมเปรี้ยวดัชมิลล์ ชุด ลุ้นแล้วรับเลย ขุมทองดัชมิลล์ (ร่วมกับ โหน่ง ชะชะช่า และ ชนานา นุตาคม)
- วอยซ์ ชุด หม่ำ (วอยซ์) กันทั้งครอบครัว
- ทรูมูฟ ชุด ทรูมูฟ แจ๋วจริง ลองดิ
- ลูกอม คลอเรตต์ (ร่วมกับ วิลลี่ แมคอินทอช)
- น้ำปลา กุ๊กทอง
- รถจักรยานยนต์ซูซูกิ อาร์ซี 100 ชุด หมีขาว
- โบตัน ชุด ละครวิทยุ (ร่วมกับ วรนุช วงศ์สวรรค์)
- ยำยำ ต้มยำแห่ง ชุด ก่องข้าวน้อย 1997
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชุด Q Brand-ลำไย (ร่วมกับ จา พนม)
- งาน OTOP City 2009 ศักดิ์ศรีแห่งภูมิปัญญาไทย ช็อปกระจุย หม่ำกระจาย ที่อิมแพค เมืองทองธานี
- กระทรวงมหาดไทย ชุด รณรงค์การเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลทั่วประเทศไทย (ร่วมกับ จาตุรงค์ มกจ๊ก)
- เครื่องดื่มซุปเปอร์ลูกทุ่ง
- สีเอกซ์ตร้าปาม
- เมืองไทยประกันชีวิต ชุด โครงการเมืองไทยรุ่นใหญ่ 5 ไฟท์โรค
- โค้ก ชุด "โคคา-โคลา เวิร์ลด์คัพ" 2014
- ขนมทอดกรอบ ตะวัน (ร่วมกับ เท่ง เถิดเทิง และ โหน่ง ชะชะช่า)
หนังสือ
[แก้]- The Guitar Special สามช่าทัศนาจร
- The Guitar Pub Song Hits Vol.1
คอนเสิร์ต
[แก้]- คอนเสิร์ต ร่วมน้ำใจอาลัยจุ๋มจิ๋ม (30 ตุลาคม 2536)
- คอนเสิร์ต เปิดถ้ำ...มนุษย์ค้างคาว (รับเชิญ) (15 มิถุนายน 2534)
- คอนเสิร์ต บาวเบญจเพส (รับเชิญ) (1 - 2 ธันวาคม 2550)
- คอนเสิร์ต คาราบาว 3 ช่า สามัคคี ตอน ลูกทุ่งแฟนเทเชีย (รับเชิญ) (31 พฤษภาคม 2552)
- คอนเสิร์ต โชว์ป๋า พูดจา ภาษาเทพ (รับเชิญ) (18 ตุลาคม 2552)
- คอนเสิร์ต หม่ำ On Stage ตอน หม่ำมองเครื่องบิน (15 - 17 พฤศจิกายน 2552)
- คอนเสิร์ต กระทิงแดง [V] The Richman Toy อ๊อดทะลุเป้า คอนเสิร์ตกลางแจ้ง แต่แสดงในร่ม (รับเชิญ) (3 กรกฎาคม 2553)
- คอนเสิร์ต เอกชัย ท้ากัด (รับเชิญ) (18 กันยายน 2553)
- คอนเสิร์ต รำลึก 30 ปี ล้อต๊อก ตลก 4 แผ่นดิน (30 กันยายน 2555)
- คอนเสิร์ต วันอำลา ขวัญใจคนเดิม สายัณห์ สัญญา (27 กรกฎาคม 2556)
- คอนเสิร์ต แก๊งสามช่า CARNIWOW (10 มกราคม 2557)
- คอนเสิร์ต คาราบาว 3 ช่า เฟสติวัล ลูกสิงหราช (31 ตุลาคม 2557)
- คอนเสิร์ต เทศกาลเบิกบานใจ ตอน KBank แก๊ง 3 ช่าคาราบาว (30 มกราคม - 26 มิถุนายน 2558)
- คอนเสิร์ต คาราบาว 3 ช่า สามัคคี ตอน ลูกทุ่งแฟนเทเชีย 2016 ลูกสิงหราช (31 ธันวาคม 2558)
- คอนเสิร์ต Kbank แก๊ง 3 ช่า VS คาราบาว เฟสติวัล สงกรานต์มาแล้ว FESTIVAL SONGKRAN (6 เมษายน 2559)
- คอนเสิร์ต Kbank แก๊ง 3 ช่า VS คาราบาว เฟสติวัล ลูกสิงหราช LAEMSING FESTIVAL SONGKRAN (9 เมษายน 2559)
- คอนเสิร์ต จับมือกันไว้ตลกไทยไม่ทอดทิ้งกัน (2560)
- คอนเสิร์ต รำลึก พ่อดม ชวนชื่น (26 ธันวาคม 2561)
- คอนเสิร์ต 39 ปี เชิญยิ้ม (1 - 3 มีนาคม 2562) (ร่วมแสดง)
- คอนเสิร์ต หนึ่งใจ...ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (16 กันยายน 2562)
- คอนเสิร์ต รวมน้ำใจ ช่วยภัยน้ำท่วม (2 ตุลาคม 2562)
- คอนเสิร์ต รวมน้ำใจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยจังหวัดร้อยเอ็ด (19 ตุลาคม 2562)
- มหกรรมคอนเสิร์ต การกุศล ลูกทุ่งหมอลำ (7 พฤศจิกายน 2562)
- คอนเสิร์ต HBD 54th มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต (รับเชิญ) (28 มีนาคม 2563)
- คอนเสิร์ต HBD 54th มันส์หรอย เพื่อชีวิต...ต่อชีวิต ครั้งที่ 2 (รับเชิญ) (8 สิงหาคม 2563)
- คอนเสิร์ต ครบรอบ 1 ปี ไวพจน์ เพชรสุพรรณ (12 มกราคม 2566)
- คอนเสิร์ต แลคตาซอย ภูมิใจเสนอ ไรอัล ซัน ฟอร์ม คอนเสิร์ต (รับเชิญ) (1 มิถุนายน 2567)
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2553 – รางวัลเทพทอง ครั้งที่ 11
- พ.ศ. 2553 – บุคคลที่น่ายกย่องที่สุดแห่งปี 2553 ด้านการสู้ชีวิต จนประสบความสำเร็จ อันดับที่ 1
- พ.ศ. 2554 – รางวัลคนดีศรีอีสาน
- พ.ศ. 2565 – รางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ประเภท บุคคลดีเด่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สาขาทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ยโสธรเตรียมประกาศตั้ง 'หม่ำ จ๊กมก' นั่งแท่นประธานสโมสรคนใหม่". ThaiLive.com. 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-23. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
และ|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- หม่ำ จ๊กมก ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- เพ็ชรทาย วงษ์คำเหลา (หม่ำ) เรียกดูวันที่ 2 มี.ค. 2550
- ส่อง 'เพชร' อารมณ์ดี 'เพ็ชรทาย วงศ์คำเหลา' โดย คมชัดลึก
- หม่ำ จ๊กมก ที่อินสตาแกรม
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2508
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอเมืองยโสธร
- บุคคลจาก กศน.
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- นักร้องลูกทุ่งชายชาวไทย
- นักร้องชายชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทย
- นักแสดงตลกชายไทย
- นักแสดงภาพยนตร์ชายชาวไทย
- นักแสดงละครโทรทัศน์ชายชาวไทย
- พิธีกรชาวไทย
- นักเขียนชาวไทย
- นักพากย์ชาวไทย
- ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 20
- นักแสดงชายชาวไทยในศตวรรษที่ 21
- บทความเกี่ยวกับ ดารา ที่ยังไม่สมบูรณ์