สไบ
สไบ หรือ ผ้าแถบ เป็นผ้าผืนยาวแคบสำหรับคาดอกสตรีต่างเสื้อ พบได้ในภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะใน ไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ในขณะที่บริเวณชายฝั่งสุมาตรากับคาบสมุทรมลายูจะใช้คำนี้กับผ้าคลุมไหล่[1]:410 สไบมีที่มาจากส่าหรีอินเดีย ซึ่งคลุมทับไหล่ข้างหนึ่ง[1]:153 ในกลุ่มวัฒนธรรมอื่นนอกจากวัฒนธรรมไทย ผู้ชายยังใช้สไบในกิจกรรมทางศาสนา[2] สไบสามารถห่มได้หลายรูปแบบ เช่น คาดหน้าอก พาดเฉวียงบ่าปล่อยชาย ตะเบ็งมาน ผ้าห่ม เพลาะ และสะพายแพร เป็นอาทิ
ในราชสำนักไทย สไบเป็นเครื่องแต่งกายที่ใช้แสดงฐานานุศักดิ์ของเจ้านายฝ่ายใน (เจ้านายผู้หญิง) มาช้านาน โดยมีการบัญญัติการแต่งกายของฝ่ายในไว้มาตั้งแต่อาณาจักรอยุธยา[3][4] ตั้งแต่พระอัครมเหสี พระราชชายา พระราชธิดา หรือบาทบริจาริกา ล้วนห่มสไบ ต่อมาในยุคหลังมีการสวมเสื้อแขนกระบอกก็จะต้องห่มสไบทับอยู่ด้วยเสมอ[5] โดยการห่มสไบของหญิงฝ่ายในและชาววังจะคู่กับการนุ่งจีบ ส่วนหญิงสามัญชนจะห่มสไบคู่กับนุ่งโจงกระเบน[6] ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชนิยมให้ห่มสไบทับเสื้อแขนกระบอก คู่กับนุ่งโจงกระเบนแทน[5]
ศัพทมูลวิทยา
สไบ ในภาษาไทยเป็นคำนาม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้ความหมายไว้ว่า ผ้าผืนยาว ๆ แคบ ๆ ใช้ห่มคาดหน้าอกต่างเสื้อ รวมทั้งหมายถึง ผ้าสะพัก หรือผ้าทรงสะพัก[7] มีรากศัพท์เดิมมาจากคำในตระกูลภาษาโปรโต-ออสโตรนีเซียนว่า *cahebay[8] แปลว่า พาด แขวน ซึ่งกระจายเข้ามายังกลุ่มภาษาอื่น ๆ เมื่อ 4,000–3,500 ปีก่อนคริสตกาลมาแล้ว
หลักฐานเกี่ยวกับสไบในดินแดนประเทศไทยที่เก่าที่สุดคือ ปูนปั้นปัญจดุริยนารี เป็นปูนปั้นประดับสถูปสถานในศาสนาพุทธ สมัยทวารวดี กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 12–13 เป็นปูนปั้นสตรีทั้ง 5 คน สวมใส่สไบเล่นดนตรี[9] พบที่นอกโบราณสถานเมืองคูบัวทางทิศตะวันตก จังหวัดราชบุรี รวมทั้งประติมากรรมรูปคน เทวดา และนักดนตรีอายุสมัยทวารวดีพบที่รอบฐานสถูปเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐมแสดงให้เห็��ว่าสตรีสมัยทวารวดีสวมสไบหรือผ้าแถบคาดไหล่[10] เมื่อพิจารณาการไหลของวัฒนธรรมพบว่าเครื่องแต่งกายของไทยได้แบบอย่างจากส่าหรีของอินเดียมาประยุกต์ใช้เฉพาะส่วนบนของร่างกายผ่านมลายูขึ้นมาสู่ทวารวดีที่มีการห่มสไบระหว่างพุทธศตวรรษที่ 11–16[9][11][12] คำ สไบ ในภาษาไทยจึงน่าจะเป็นคำยืมมาจากคำภาษามลายูว่า sbai[13] หรือ sĕbai[14] ในกลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชียมากกว่า ในขณะที่ สไบ (spāi) ในภาษาเขมรที่ระบุชนิดเป็นผ้าคลุมไหล่และผ้าพันคอแบบสไบ พบในจารึกระเบียงนครวัด (Grande Inscription Moderne d'Angkor) หลักที่ IMA 39 อายุคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ค.ศ. 1747) เท่านั้น[15]
รากศัพท์เดิมของคำว่า สไบ กำเนิดมาจากตระกูลภาษาโปรโต-ออสโตรนีเซียนคือ *cahebay→*cahbay→*cahpay→*capay[16][8] แล้วกระจายเป็นคำยืมและคำแผลงตามกลุ่มภาษาอื่น ๆ เป็นทั้งคำนาม คำอกรรมกริยาและสกรรมกริยา ดังนี้
- กลุ่มภาษาออสโตรนีเซียน
- ภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม คือ *cahbay →łahpay, cahfay, cabfay[16] (คำแปล: น. คลุมทับไหล่)
- กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา
- ภาษาพุยุมา (Puyuma, Tamalakaw) ในไต้หวัน คือ *sapay[8][17] (คำแปล: ก. พาดบนราว)
- กลุ่มภาษามลายู-พอลินีเชีย
- ภาษามลายู sbai,[13] sĕbai,[14] sampai[8] (คำแปล: ก. พาด หรือแขวนอย่างหลวม ๆ น. ผ้าสำหรับพันรอบลำคอ)
- ภาษาตากาล็อกในฟิลิปปินส์ sampay[18][8] (คำแปล: ก. แขวงเสื้อบนราวเชือก)
- ภาษาราตาฮานในจังหวัดซูลาเวซีเหนือ sumpáy[8] (คำแปล: ก. แขวนเสื้อบนราว)
- ภาษาเซลาญาร์ sampe[8] (คำแปล: น. สิ่งของที่ห้อยอย่างหลวม ๆ) และคำว่า salampe[8] (คำแปล: ก. แขวนหรือห้อยอย่างหลวม ๆ)
- ภาษาทอนดาโน hafe-hafe[8] (คำแปล: ก. สวมทับไหล่)
- ภาษาฟิลิปปินส์ cave-[8] (คำแปล: ก. ดึงขึ้น ยกขึ้น)
- ภาษาโทบาบาตักในจังหวัดสุมาตราเหนือ sappɛ-sappɛ[8] (คำแปล: น. เสื้อผ้าที่สวมใส่ที่ไหล่)
- ภาษางายู sampay-an[8] (คำแปล: น. สิ่งที่ใช้แขวนสิ่งของ) และ *salampay[17] (คำแปล: น. เสื้อทับไหล่)
- ภาษาบูกิซ sappɛ[8] (คำแปล: ก. แขวน พาด)
- ภาษามูนา sampe-lao[8] (คำแปล: ก. แขวนหรือพาดห้อยลงมา)
- ภาษามาลากาซี mi-sampy[8] (คำแปล: ก. แขวน พาด) และ sampazana[8] (คำแปล: น. เชือกหรือราวเชือกซึ่งใช้สำหรับแขวง หรือ สก. ถูกแขวนบนราว)
- ภาษามากัซซาร์ sampe[8] (คำแปล: สก. ถูกแขวนหรือพาดห้อยลงมา)
- กลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน
- ภาษาซังกิซารี *səmpay[8] (คำแปล: ก. แขวนบนราว)
- กลุ่มภาษาขร้า–ไท
- ภาษาไทย สไบย (จารึกเจ้าเถรศรีเทพคิริมานนท์ 1 พ.ศ. 1956 ภาษาไทย อักษรไทสมัยอยุธยา)[19] สไบ
- กลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติก
- ภาษากูย phìai
- ภาษามอญโบราณสมัยทวารวดีและภาษาญัฮกุร *lɓak[20]
- ภาษามอญสมัยกลาง cambāy
- ภาษามอญสมัยใหม่ *jbaay หยาดฮะหริ่มโต่ะ[21]
- ภาษาเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครและสมัยเมืองพระนคร spāi, spāiphyah (คำปริวรรตภาษาฝรั่งเศส: spāy) พบในแผ่นศิลาจารึกปราสาทพระโค หมายเลข K.713B อายุ ค.ศ. 893 และจารึกเกาะแกร์ หมายเลข 188 บรรทัด 3 อายุ ค.ศ. 929 สมัยก่อนเมืองพระนคร[22] ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นผ้าคลุมไหล่ชนิดใด[23]
- ภาษาเขมรสมัยหลังเมืองพระนคร spāi[15] (ស្បៃ, spāi, คำแปล: ผ้าคลุมไหล หรือผ้าพันคอแบบสไบ) พบในจารึกระเบียงนครวัด (Grande Inscription Moderne d'Angkor) หลักที่ IMA 39 บรรทัด 68 อายุ ค.ศ. 1747[24] ระบุชนิดว่าเป็นผ้าคลุมไหล่และผ้าพันคอแบบสไบ
- ภาษาเขมรสมัยใหม่ spiey (ស្ពាយ)[25]
- กลุ่มภาษาอินโด-อิเรเนียน
- ภาษาสันสกฤต spāy (spāy phyah) พบคำจารึกภาษาสันสกฤตปะปนกับภาษาเขมรสมัยก่อนเมืองพระนครบนหม้อทองเหลือง Tāmrakumbha หมายเลข K.669C บรรทัดที่ 18 อายุ ค.ศ. 972[26] พบที่ปราสาทพระวิหารแต่ไม่สามารถระบุว่าเป็นผ้าคลุมไหล่ชนิดใด[23]
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ยังระบุไว้ว่าเป็นคำยืมมาจากภาษาเขมรว่า "ไสฺบ" (ស្បៃ) มีความหมายว่า "ผ้าแถบ ผ้าคาดอกผู้หญิง" ขณะที่สุพัฒน์ เจริญสรรพพืช (2563) อธิบายว่าคำดังกล่าวอาจมีที่มาหรือมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า ซาปัย (Sapay) อันเป็นคำในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนดั้งเดิม ซึ่งมีความหมายว่า "การพาดแขวนบนบ่า" หรือ "ราวเชือก"[27] นอกจากนี้ในไทยยังเรียกสไบอีกชื่อว่า ผ้ากะแสง, กระแสง หรือกรรแสง[28] และบัญญัติการห่มผ้าแถบอีกแบบหนึ่งเรียกว่า "ตะเบ็งมาน" หรือ "ตะแบงมาน" แปลว่า "วิธีห่มผ้าแถบแบบหนึ่ง โดยคาดผ้าอ้อมตัวจากด้านหลังไขว้ขึ้นมาด้านหน้า แล้วเอาชายทั้ง ๒ ไขว้ไปผูกที่ต้นคอ"
สไบอีกชนิดหนึ่งสำหรับสตรีชั้นสูงในราชสำนักไทย เรียกว่า "ผ้าสะพัก" หรือ "ผ้าทรงสะพัก" มีลักษณะเป็นผ้าแพรหรือผ้าสไบอย่างหนาใช้คลุมทับสไบหรือเสื้ออีกชั้นหนึ่ง[29] ต่อมาราชสำนักกัมพูชานำไปใช้ เรียกว่า "พระสุภาก"[30] และมีสไบอีกอย่างหนึ่งคือ "ผ้าห่ม" มีวิธีห่มหลากหลาย เช่น ห่มผ้าคล้องไหล่ ห่มผ้าคล้องคอ หรือห่มคลุมซึ่งใช้ในฤดูหนาว มีการต่อผ้าให้หน้ากว้างขึ้นจะเรียกว่า "เพลาะ" ใช้ห่มไหล่กันลมหนาว หรือห่มนอนก็ได้[31] ส่วนผ้าห่มอย่างสไบ จะเป็นสไบหน้าแคบกลายเป็นผ้าเฉวียงซ้าย[4]
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการพัฒนาการการห่มสไบเป็นการ "สะพายแพร" คือการนำผ้าแพรจีบขวางเอวมาจีบตามยาวอีกครั้ง จนเหลือผืนแคบ แล้วตรึงให้แน่น สะพายบนบ่าซ้าย รวบชายไว้ที่เอวด้านขวาเพื่อสะดวกแก่การเดินทาง[32] หากเป็นผ้าโปร่งบางไม่จับจีบ จะเรียกว่า "แพรฝรั่ง"[33] และการสะพายแพรถูกยกเลิกไปในรัชกาลถัดมา[34]
การแบ่งกลุ่ม
ชาวกวย
ในอดีตชาวกวยในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานใต้ของประเทศไทย จะคล้องผ้าสไบและนุ่งโจงกระเบนเป็นเครื่องแต่งกายพื้นเมือง ปัจจุบันชาวกวยจะสวมเครื่องแต่งกายเช่นนี้ในช่วงประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อเท่านั้น[35]
ชาวเขมร
ราชสำนักกัมพูชายุคหลังมีการรับอิทธิพลจากสยามไปค่อนข้างมาก โดยนำวิธีการห่มผ้าทรงสะพักในราชสำนักสยามไปใช้ด้วย เรียกว่า "พระสุภาก"[30] ในรัชสมัยของสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี มีการแต่งตั้งให้ภรรยาของขุนนางจตุสดมภ์และขุนนางที่ถือศักดินา 9,000 ไร่เป็นต้นไป ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น "ชุมท้าว" (ជំទាវ, จ็อมเตียว) เทียบท่านผู้หญิงของไทย ทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สตรีเหล่านี้นุ่งผ้าลาย���ีเชิง และห่มสไบมีสีตามฐานานุศักดิ์[36]
ส่วนผู้ชายชาวไทยเชื้อสายเขมรในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานใต้ของประเทศไทย จะคล้องผ้าขาวม้ายกขิต เรียกว่า สไบรือเจียร์ คู่กับนุ่งผ้าโสร่งหรือนุ่งผ้าสมปรต ส่วนผู้หญิงจะห่มสไบทอยกดอกลายลูกแก้วคู่กับนุ่งซิ่นซึ่งได้ต้นแบบมาจากผ้าไทย เรียกว่า อันลุยซีม[35]
ในงานแต่งงานของชาวเขมรในปัจจุบัน จะให้เจ้าสาวใส่ชุดนางนาค และเจ้าบ่าวใส่ชุดพระทอง ตามอย่างตำนานท้องถิ่นเรื่อง พระทองนางนาค ซึ่งมีเนื้อหาว่า "นางนาคชื่อทาวดีเป็นลูกนาคราชอาศัยอยู่ใต้บาดาล และพระทองเป็นเจ้าชายจากแดนไกล วันหนึ่งนางนาคแปลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นมาเล่นน้ำ เป็นจังหวะที่พระทองเดินทางมาพบจึงเกิดหลงรักนางนาคและแต่งงานกัน บิดานางนาคจึงเนรมิตเมืองขึ้นให้ชื่อว่า ‘กัมพูชา’ ให้แก่พระทองและลูกสาวของตน พระทองจึงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกัมพูชา ต่อมาพระทองต้องการลงไปเมืองบาดาลแต่เป็นมนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปได้ นางนาคจึงให้พระทองจับสไบเพื่อจะสามารถตามไปยังถ้ำใต้บาดาลได้" ด้วยเหตุนี้ในงานแต่ง เจ้าบ่าวจะต้องจับสไบของเจ้าสาวตามความเชื่อดังกล่าวด้วย[37]
ชาวไทย
คนสามัญ
ในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีบันทึกเรื่องราวการแต่งกายของชาวสยามในสมัยนั้นโดยซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ราชทูตชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีเมื่อ พ.ศ. 2230 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ความว่า "นอกจากผ้านุ่งแล้ว ผู้หญิงก็ปล่อยล่อนจ้อน ด้วยธรรมเนียมสตรีไม่มีเสื้อครุย (ฝรั่งเรียกเสื้อเชิ้ต) ชั่วแต่คนที่มั่งมีศรีสุขจึ่งจะใช้สะไบห่มอีกผืนหนึ่ง บางที่ห่มคาดนมปัดชายสะไบเฉียงบ่า แต่สตรีที่สุภาพราบเรียบ มักใช้สะไบตะแบงมานพันขนองกลางสะไบ ปัดชายทั้งสองมาสพักอุระ พาดสองบ่าปล่อยชายห้อยเฟื้อยปลิวลงไปข้างหลัง (อย่างผ้าห่มนางละครรำ)" โดยผู้หญิงจะนุ่งผ้านุ่งปล่อยผ้ายาวมาถึงหน้าแข้งคล้ายกระโปรง ปกปิดแต่ส่วนอุจาดด้วยการ "ปกสะเอวและขาลงไปกระทั่งหัวเข่าด้วยท่อนผ้าผืนลาย ๆ ยาวราว 5 แขน" เดินเท้าเปล่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนชาติอื่น ๆ ก็แทบจะเหมือนคนเปลือยกาย ส่วนเด็ก ๆ จะเปลือยกายจนถึงอายุ 4-5 ขวบ จึงจะใส่จะปิ้ง[38] เมื่อครั้งออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) เป็นราชทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีที่ประเทศฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2229 ขณะที่ออกพระวิสุทธสุนทรร่วมการประชุมที่สำนักเดอแบร์นี ขณะนั้นมีผู้ร่วมประชุมท่านหนึ่งขอความเห็นออกพระวิสุทธสุนทรเกี่ยวกับการแต่งกายของหญิงตะวันตก ออกพระวิสุทธสุนทรก็ตอบว่า "เครื่องแบบแหม่มนี้เหมาะดีมาก แต่ว่าถ้าแหม่มแต่งอย่างผู้หญิงไทย แล้วจะเพิ่มความสวยงามอีกเป็นกอง" ผู้ร่วมประชุมรายนั้นจึงถามว่าอีกว่า "เออ อย่างนั้นเจียวหรือ ? ก็ผู้หญิงชาวสยามเขาแต่งกันอย่างไร ?" ออกพระวิสุทธสุนทรจึงตอบว่า "หญิงเมืองไทยนั้นหรือท่าน [...] เขาผิดกันกับแหม่มตรงที่ว่าแหม่มนั้นช่างปิดตัวมิดชิด แทบจะไม่แลเห็นผิวเนื้อเลย นอกจากวงหน้านิดหน่อย แต่ผู้หญิงเมืองไทยนั้น หาเป็นเช่นนั้นไม่ แทนที่เขาจะนุ่งห่มปกปิดร่างกายให้มิดชิด ตั้งแต่เท้าขึ้นไปถึงศีรษะนั้น เขาห่มปิดแต่บางส่วนของร่างกายเท่านั้น อีกบางส่วนเขาทิ้งให้ปรากฏเปิดเผย ฉะนี้ลักษณะงดงามของสตรีในเมืองไทยจึงมีภาษีกว่าในเมืองนี้ ถ้าแหม่มจะเอาอย่างนี้บ้างแล้วก็เข้าใจว่าผู้หญิงเมืองฝรั่งนี้จะงามขึ้นอีกเป็นหลายเท่า"[39]
รัตนโกสินทร์ตอนต้น สตรีไทยนุ่งผ้าจีบและห่มสไบ เมื่ออยู่บ้านจะห่มเหน็บแบบผ้าแถบ เมื่อออกจากบ้านจึงเปลี่ยนเป็นสไบเฉียง หากทำงานจะเปลี่ยนเป็นตะแบงมานทั้งแบบปล่อยชายหรือผูกชาย ครั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวก็จะห่มผ้าแพรเพลาะคลุมไหล่ ในกรณีที่เป็นหญิงสมรสแล้วเวลาอยู่บ้านจะไม่ห่มสไบ สตรีที่มีฐานะดีจะนุ่งผ้ายกทอด้วยไหม มีสีสันสวยงาม หากเป็นสตรีที่มีอายุแล้วก็จะห่มผ้าสีเรียบเป็นพื้น โดยเฉพาะผ้าตาดขาวดำ เพราะเป็นสีสุภาพเหมาะกับวัย[40]
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หญิงชาวบ้านทั่วไปยังนุ่งโจงกระเบนและห่มผ้าแถบอยู่กับบ้าน[41] สตรีในราชสำนักเริ่มการสะพายแพรที่พัฒนาการจากการห่มสไบ คือการนำผ้าแพรจีบขวางเอวมาจีบตามยาวอีกครั้ง จนเหลือผืนแคบ แล้วตรึงให้แน่น สะพายบนบ่าซ้าย รวบชายไว้ที่เอวด้านขวาเพื่อสะดวกแก่การเดินทาง[32] และเพื่อเผยให้เห็นเสื้อลูกไม้ซึ่งอยู่ภายใน[42] โดยในงานเขียนของนายแพทย์ มัลคอล์ม สมิท ได้กล่าวถึงเครื่องแต่งกายของหญิงสยามในช่วงเวลาดังกล่าวไว้ว่า
"เครื่องแต่งกายประจำชาติของสตรีในสมัยนั้นมีอยู่เพียงสองชิ้น คือ ผ้านุ่ง เป็นผ้าผืนยาวปกปิดช่วงท้องกับสะโพก ใช้นั่งแบบเดียวกับโธตี (Dhoti) ของอินเดียซึ่งเป็นต้นกำเนิดอย่างไม่ต้องสงสัย กับอีกผืนหนึ่งคือ ผ้าห่ม หรือ ผ้าสไบเฉียง ชิ้นหลังเป็นผ้าคลุมง่าย ๆ ใช้พาดหน้าอกและทำให้อยู่กับที่ด้วยการพับชาย เป็นเครื่องแต่งกายที่เปลี่ยนแปลงไปได้ร้อยแปดพันเก้า เพราะจะแก้ออกเมื่อไรก็ได้ จนลุล่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ การนุ่งห่มแบบนี้ก็ไม่ได้กำหนดไว้เป็นการตายตัว เครื่องแต่งตัวสองชิ้นนี้ใช้กับสตรีไม่ว่าจะอยู่ในฐานะอะไร..."[43]
แต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สตรียังนุ่งโจงกระเบน ต่อมาได้เปลี่ยนไปนุ่งซิ่นและสวมเสื้ออย่างฝรั่งตามสมัยนิยม การสะพายแพรที่พัฒนาจากการห่มสไบเฉียงถูกยกเลิกไปโดยปริยาย[34] ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกที่จำหน่ายโดยห้างชาวยุโรปในกรุงเทพมหานครก็เริ่มแพร่หลายสู่คนสามัญชนแล้ว[44]
ในรัฐบาลจอมพล แปลก พิบูลสงคราม มีการจัดระเบียบการแต่งกายของประชาชนตามรูปแบบรัฐนิยม ใน พ.ศ. 2484 คือผู้หญิงควรไว้ผมยาว สวมเสื้อชั้นนอกให้สะอาดเรียบร้อย นุ่งผ้าถุงยาว รวมทั้งให้สวมหมวก โดยมิให้สตรีเปลือยท่อนบนหรือใช้ผ้าแถบคาดอกในที่สาธารณะ[45][46] และครั้นเมื่อเลิกใช้กฎหมายดังกล่าวไปแล้ว ประชาชนเลิกสวมหมวก แต่ชนนิยมแต่งกายอย่างตะวันตกไปแล้ว คือผู้ชายนิยมนุ่งกางเกง และผู้หญิงนิยมนุ่งกระโปรง แม้จะมีบางส่วนยังนุ่งโจงกระเบนอยู่บ้าง[44] แต่สตรีก็นิยมนุ่งผ้าถุงมากกว่าโจงกระเบนเพราะราคาถูกกว่า[45] ส่วนผ้าแถบหรือสไบนั้นไม่ใคร่ปรากฏผู้ใช้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่ ๆ แต่พอหลงเหลือคนห่มผ้าแถบและโจงกระเบนบ้างบางท้องถิ่น[47]
ส่วนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกสในกรุงเทพมหานคร หญิงจะนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อเข้ารูป คล้องผ้าคลุมไหล่ซึ่งเป็นผ้าแพรปังลิ้นมาอัดกลีบอย่างสไบ และจะดึงผ้าคลุมไหล่ดังกล่าวมาคลุมศีรษะเมื่อมีการรับศีลในโบสถ์คริสต์ แต่ปัจจุบันไม่มีใครแต่งกายเช่นนี้แล้ว[48][49]
ราชสำนักไทย
ในราชสำนักไทย ปรากฏหลักฐานการห่มสไบและห่มผ้าสะพักทับอีกทีหนึ่งมาตั้งแต่ยุคกรุงศรีอยุธยา เพราะมีหลักฐานการนุ่งบัญญัติไว้สำหรับการแต่งกายในราชสำนัก[3][4] มีการประเมินค่าจากลวดลาย เนื้อผ้า กรรมวิธีการผลิต โดยมากเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ และทำมาจากวัสดุมีค่าราคาแพง[50] บ่งบอกถึงฐานานุศักดิ์ของผู้นุ่ง ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับเจ้านายฝ่ายในและสตรีชั้นสูงในสมัยนั้น[3] ซึ่งจะห่มสะพักก็ต่อเมื่อเข้าร่วมในพระราชพิธีสำคัญที่มีการแต่งกายเต็มยศเท่านั้น เพราะเป็นธรรมเนียมที่แสดงถึงความสุภาพต่อธารกำนัลมาแต่โบราณ[51] เจ้านายฝ่ายในและหญิงชาววังจะมีธรรมเนียมว่าจะเป็นสาวเองไม่ได้ แต่จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลเสียก่อน หลังพระราชพิธีโสกันต์ ผู้ดูแลจะมีรับสั่งให้เปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นผ้าสะพัก เพราะฉะนั้นการห่มผ้าทรงสะพักจึงเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นสาวของหญิงชาววัง[52]
โดยการห่มสะพักหรือห่มสไบซึ่งทำจากผ้าแพรหรือผ้าไหม มีวิธีการห่มสองรูปแบบคือ[31]
- ผ้าสะพักหรือสไบห่มเฉียง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหน้าแคบ พันรอบอกหนึ่งรอบ แล้วเฉวียงขึ้นบ่าปล่อยชายไว้หลัง แลเห็นรอยต่อระหว่างผ้าห่มกับผ้านุ่ง ใช้สวมในงานพระราชพิธีต่าง ๆ
- ผ้าสะพักหรือสไบแบบสองบ่า ผ้าจะมีลักษณะยาวกว่าสไบห่มเฉียง พันรอบอกหนึ่งรอบ ทับเฉียงไขว้ที่อก แล้วจึงสะพักบนไหล่ทั้งสอง ปล่อยชายไปข้างหลังทั้งสองชาย สำหรับพระภรรยาเจ้าและนางบาทบริจาริกาสวมใส่ในพระราชพิธี โดยพระภรรยาเจ้าจะทรงสะพักที่ทำจากไหมทองทั้งผืน หรืออาจใช้ผ้าตาดหรือผ้ากรองทอง
ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการห่มสไบให้มีความประณีตซับซ้อนขึ้น กลายเป็นเครื่องแสดงสถานะทางสังคมอย่างหนึ่ง ได้แก่ การห่มสไบสองชั้น เรียกว่า ผ้าทรงสะพัก รวมไปถึงการอัดกลีบสไบให้มีความสวยงาม[5] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สตรีในราชสำนักจะห่มสไบตามโฉลกสีและมงคลฤกษ์ และเริ่มการนุ่งยกห่มตาด[4] โดยมากจะห่มสไบคู่กับนุ่งจีบหน้านาง ส่วนการห่มสไบพร้อมกับนุ่งโจงกระเบนไม่ต้องพระราชนิยม[5] ต่อมาราชสำนักกัมพูชาในยุคหลังจึงนำวิธีการห่มผ้าทรงสะพักไปใช้ด้วย เรียกว่า "พระสุภาก"[30] ต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชนิยมให้สตรีในราชสำนักสวมเสื้อผ้าแพรแขนกระบอกแล้วห่มสไบทับ และมีพระราชนิยมให้นุ่งโจงกระเบนแทนนุ่งจีบ[5] โดยเจ้านายฝ่ายในขณะนั้นจึงมีการดัดแปลงฉลองพระองค์โดยมีการสะพักไว้อยู่ เช่น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงฉลองพระองค์แขนหมูแฮม และห่มสะพักตาดทับฉลองพระองค์ ส่วนสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงฉลองพระองค์แขนกระบอกห่มด้วยสะพักตาดปัก เป็นต้น[50]
ครั้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีการฟื้นฟูธรรมเนียมการแต่งกายโบราณขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประยุกต์การห่มสไบเป็นชุดไทยพระราชนิยมสามแบบ คือ ชุดไทยจักรพรรดิ ชุดไทยจักรี และชุดไทยศิวาลัย[50]
ชาวมลายู
ชาวมลายูในประเทศมาเลเซีย เรียกผ้าอย่างเดียวกันนี้ว่า "เซอไบ" (มลายู: Sebai, سباي) ใช้พาดบริเวณลำคอเพื่อปิดไหล่โดยให้ปลายทั้งสองข้างปิดบริเวณหน้าอก ลักษณะคล้ายกับผ้าพันคอ[53] ส่วนชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย จะใช้ผ้าปล่อยที่เรียกว่าผ้าชายรามูลักษณะคล้ายผ้าขาวม้า หญิงมุสลิมใช้คลุมศีรษะหรือไหล่ (ทำนองเดียวกับผ้าห่มของไทย) บ้างก็ทำเป็นสไบคล้องคอ ส่วนกลุ่มที่นับถือศาสนาพุทธจะทำเป็นผ้าพาดเฉียงสำหรับไปทำบุญที่วัด[54]
ชาวมอญ
ชาวมอญเรียกสไบว่า "หยาดโด๊ด" (มอญ: ယာတ္ေဍာတ္) ชาวมอญในจังหวัดสมุทรสาครเรียก "หยาดฮะเหริ่มโตะ" (ယာတ္ဓရုီတု္) หรือ "หยาดหมิ่นโตะ" (ယာတ္မိန္တု္)[55] ถือเป็นอัตลักษณ์หนึ่งของคนมอญ[56] ใช้สำหรับพาดไหล่เมื่อเข้าไปยังพุทธศาสนสถาน ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ผ้ามีขนาดกว้างหนึ่งศอก ยาวสี่ศอก[55] ซึ่งชุมชนมอญแต่ละกลุ่มจะมีลวดลายตกแต่งแตกต่างกันออก เช่น ลักษณะการใช้ผ้าซ���่งในประเทศไทยมีอยู่หกรูปแบบ คือ แบบผ้าแพรเรียบ, แบบสไบจีบ, แบบไหมพรมถัก, แบบลูกไม้, แบบผ้าขาวม้า และแบบสไบปัก[56]
วิธีการห่มคือนำผ้ามาพับตามยาวให้ได้สี่ทบให้เหลือเศษหนึ่งส่วนสี่ของความกว้างผืนผ้า จากนั้นให้พาดจากไหล่ซ้ายไปด้านหลัง อ้อมรักแร้ขวา แล้วขึ้นไปพับบนไหล่ซ้าย เอาด้านที่มีลวดลายออก หากไปเที่ยวงานรื่นเริงก็จะคล้องคอหรือพาดตรงบนไหล่ซ้าย[55] โดยการคล้องมี 4 ลักษณะคือ[56]
- คล้องให้ชายทั้งสองห้อยมาข้างหน้า ใช้สำหรับงานรื่นเริงที่ไม่เกี่ยวกับศาสนาพุทธ เช่น ขบวนแห่หางหงส์ธงตะขาบ และสงกรานต์
- แบบสไบเฉียง พาดจากแขนซ้ายอ้อมใต้รักแร้ขวา เอาปลายทับบนไหล่ซ้ายอีกที ใช้สำหรับการทำบุญในศาสนาพุทธ ใช้ได้ทั้งหญิงชาย
- พาดปล่อยชายสองข้าง พาดสไบไว้ด้านหลัง สำหรับผู้ชายในงานรื่นเริง
- พาดไหล่ซ้าย พาดสไบที่ไหล่ซ้ายแล้วทิ้งชายทั้งสองข้าง ใช้สำหรับการร่ายรำ หรือเซ่นสรวง
ชาวไทยวน
ชาวไทยวนเป็นประชากรหลักของอาณาจักรล้านนา ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน จะเรียกสไบว่า "ผ้าสะหว้ายแล่ง" หรือ "ผ้าเบี่ยงบ้าย" มีลักษณะเป็นผ้าพันหน้าอกและพาดบ่าเฉียง นุ่งซิ่นลายขวางเกือบกรอมเท้า มีผ้าผืนหนึ่งคล้องคอ และเกล้ามวยผมกลางศีรษะแล้วเอาปิ่นปักและยังแต่งกายเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชนิยมให้สตรีสวมเสื้อ ชาวไทยวนเมืองเชียงใหม่จึงสวมเสื้อแล้วห่มผ้าสะหว้ายแล่งทับ แต่ยังคงนุ่งซิ่นอย่างโบราณ[57]
ชาวลาว
ชาวลาวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักของประเทศลาว และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เรียกสไบว่า "ผ้าเบี่ยง" (ลาว: ຜ້າບ່ຽງ) หรือ "ผ้าเบี่ยงบ้าย" เช่นเดียวกับชาวไทยวน ใช้สวมใส่หรือใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา[58] ใช้ได้ทั้งชายและหญิงในงานพิธีสำคัญ โดยเป็นผ้าสำหรับพาดไหล่หรือห่มพาดเฉียงหรือเฉวียงบ่าอย่างสไบ ถือเป็นเครื่องแต่งกายที่แสดงความสุภาพและความเคารพอย่างสูงของสตรี ปัจจุบันนิยมห่มทับเสื้ออีกชั้นหนึ่ง หรืออาจใช้เป็นผ้ากราบพระด้วย[59]
ผ้าเบี่ยงทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าไหม มีลวดลายทั้งแบบจกและขิด ตกแต่งด้วยลวดลายมงคล หรือสัตว์หิมพานต์ต่าง ๆ[59]
นุ่งผ้าสีมงคลประจำวัน
หญิงชาววังในราชสำนักไทยช่วงต้นรัตนโกสินทร์มีการเลือกสีผ้านุ่งและผ้าห่มให้ตัดกันสวยงาม และอบร่ำให้ผ้ามีกลิ่นหอม โดยถือเป็นคติสีมงคลประจำวัน ดังนี้[60]
- วันจันทร์ นุ่งเหลืองอ่อนห่มน้ำเงินอ่อนหรือบานเย็น, นุ่งน้ำเงินนกพิราบห่มจำปาแดง
- วันอังคาร นุ่งสีปูนหรือม่วงเม็ดมะปรางห่มโศก, นุ่งโศกหรือเขียวอ่อนห่มม่วงอ่อน
- วันพุธ นุ่งสีถั่วหรือสีเหล็กห่มจำปา
- วันพฤหัสบดี นุ่งเขียวใบไม้ห่มแดงเลือดนก หรือ นุ่งแสดห่มเขียวอ่อน
- วันศุกร์ นุ่งน้ำเงินแก่ห่มเหลือง
- วันเสาร์ นุ่งเม็ดมะปรางห่มโศก หรือนุ่งผ้าลายพื้นม่วงห่มโศก
- วันอาทิตย์ แต่งเหมือนวันพฤหัสบดี หรือ นุ่งผ้าลายพื้นสีลิ้นจี่หรือเลือดหมู แล้วห่มโศก
ส่วนใน สวัสดิรักษาคำกลอน อธิบายเกี่ยวกับการนุ่งห่มผ้าตามสีมงคลประจำวัน ดังนี้[61]
๏ อนึ่ง��ูษาผ้าทรงณรงค์รบ | ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี | |
วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี | เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล |
เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว | จะยืนยาวชันษาสถาพร | |
อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน | เป็นมงคลขัตติยาเข้าราวี |
เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด | กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี | |
วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี | วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม |
วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ | แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม | |
หนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม | ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย ฯ |
ระเบียงภาพ
-
หญิงสยามห่มผ้าแถบคาดอก
-
นักดนตรีมโหรีเครื่องสี่ห่มสไบ
-
เจ้าบ่าวเกาะสไบเจ้าสาวตามคติกัมพูชา
-
หญิงไทยห่มสไบและนุ่งซิ่น
-
หญิงไทยคาดผ้าแถบและห่มผ้าห่ม
-
หญิงบาหลีห่มผ้าอย่างเดียวกับสไบ
-
หญิงมอญคาดผ้าแถบ
-
เจ้าจอมเอื้อนห่มสไบ
-
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงสไบตามพระราชนิยมรัชกาลที่ 5
-
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงชุดไทยจักรี
-
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงชุดไทยศิวาลัย
-
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงชุดไทยจักรี
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Maxwell, Robyn J.; Gittinger, Mattiebelle (2003). Textiles of Southeast Asia: Tradition, Trade and Transformation. Periplus Editions. ISBN 9780794601041.
- ↑ "លក្ខណៈពិសេសនៃពណ៌ស្បង់ចីវររបស់ព្រះសង្ឃពុទ្ធសាសនា". Radio Free Asia (ภาษาเขมร). 2015-01-21. สืบค้นเมื่อ 2019-09-07.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "การห่มผ้าสะพัก". Thai Style Studio 1978. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 ""ผ้ากับชีวิตในราชสำนักฝ่ายใน" ย้อนที่มาการ "นุ่งโจง" และทำไมต้อง "นุ่งห่ม"". ศิลปวัฒนธรรม. 20 มิถุนายน 2562. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "เล่าเรื่องเจ้านายกับชุดไทย ชุดแต่ละสมัยรับอิทธิพลมาจากไหนบ้าง". ศิลปวัฒนธรรม. 30 มีนาคม 2565. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประวัติแต่งกายสุภาพ เปลือยอกถึง "เสื้อลูกไม้" และที่มาสมัยร.3 "สวมเสื้อเข้ามาก็ไม่โปรด"". ศิลปวัฒนธรรม. 1 กันยายน 2564. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สงวน อั้นคง. (2507). ราชาศัพท์ ฉบับสมบูรณ์. พระนคร: ก้าวหน้า. หน้า 68. OCLC 880720845
- ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 Wolff, John U et al. (2010). Proto-Austronesian Phonology with Glossary Vol. II. Ithaca, NY: Cornell Southeast Asia Program Publications. p. 838. ISBN 978-087727-533-6
- ↑ 9.0 9.1 องค์ บรรจุน. "สังวาล สายสะพาย และสไบมอญ," ศิลปวัฒนธรรม 39(6)(เมษายน 2561): 44.
- ↑ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. (2531). ผ้าไทย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา. หน้า 14. ISBN 978-974-0-05026-1 :— "แสดงให้เห็นว่าคนในสมัยทวารวดีนุ่งผ้ายาวกรอมเท้า ไม่สวมเสื้อ ถ้าเป็นหญิงจะมีผ้าสไบหรือผ้าแถบคาดไหล่ แต่ถ้าเป็นรูปเทวดาซึ่งอาจจะปั้นเลียนแบบมาจากการแต่งกายของชนชั้นสูงจะนุ่งผ้าเป็นริ้วแบบพันกาย ๆ"
- ↑ โคริน เฟื่องเกษม และคณะ. (2540). การสัมมนาทางวิชาการเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับอินเดียในทศวรรษปัจจุบันและลู่ทางความร่วมมือในอนาคต. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์และศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 97. OCLC 773418285
- ↑ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาศิลปะกับสังคมไทย หน่วยที่ 6-10: ศิลปะกับสังคมไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. หน้า 270. ISBN 978-974-6-13354-8
- ↑ 13.0 13.1 Shellabear, William Girdlestone. (1916). An English-Malay Dictionary. Singapore: Methodist Publishing House. p. 446.:— "Scarf (skarf), s. (round the neck) sapu-targan lehir, sbai;* (round the waist) bngkorg; (over shoulder to carry children) ambin,* slendang."
- Raffles, Thomas Stamford. (1817). "APPENDIX E. No. I. A Comparative Vocabulary of The Malàyu, Jàvan, Madurese, Bàli, and Lampùng Languages, arranged under the following heads, viz.," The History of Java Volume II: With a Map and Plates. London: Cox and Bailey Limited. p. 97.:— "(ENGLISH) Linen robe or cloth, (MALÁYU) slindang ; sbai, (Jáva) kemben, (Bása kráma) kasemékan, (Súnda) karémbong, (Madúra) ..........., (Sumenáp) sa-ung-sa-ung, (BÁLI) tangkálong, (LAMPUNG) kakámban".
- ↑ 14.0 14.1 Wilkinson, Richard James. (1908). An Abridged Malay-English Dictionary (Romanized). Kuala Lumpur: The F.M.S. Government Press. p. 194.:— "sĕbai, a kind of scarf passing behind the neck and with the ends hanging down over the chest."
- ↑ 15.0 15.1 POU, Saveros. "Couverture fascicule Inscriptions modernes d'Angkor 35, 36, 37 et 39," Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 61(1974): 321. doi:10.3406/befeo.1974.5198
- ↑ 16.0 16.1 Wolff, John U et al. (2010). Proto-Austronesian Phonology with Glossary Vol. I. Ithaca, NY: Cornell Southeast Asia Program Publications. pp. 215, 217, 522. ISBN 978-087727-532-9
- ↑ 17.0 17.1 Blust, Robert. (2022). A Dictionary of Austronesian Monosyllabic Roots (Submorphemes). Berlin ; Boston: De Gruyter Mouton. p. 210. ISBN 978-311-0-78169-4
- ↑ Wolff, John U. "PROTO-AUSTRONESIAN *c, *z, *g, AND *T," Pacific Linguistics Series C (75). in Halim, A., Carrington, L. and Wurm, S.A. Papers from the Third International Conference on Austronesian Linguistics, Vol. 2: Tracking the travellers. Pacific Linguistics, The Australian National University, 1982. doi:10.15144/PL-C75. p. 14.:— "M; sampai 'hang loose',..."
- ↑ สุพัฒน์ เจริญสรรพพืช. (2563) ‘สไบ’ คำเขมร ที่ (อาจ) ไม่เขมร. GotoKnow. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2567.
- ↑ Diffloth, Gérard. (1984). The Dvaravati Old Mon language and Nyah Kur. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. p. 166. ISBN 9789745637832 :— "V42. *lɓak NyK: to wear (cloth) across the shoulder [v.tr]; /ne̫ec - /: cloth for bathing, wrapping around the head... Mon: to wear around the neck; (Ri): to hang (cloth) on shoulder, on a line, in order to dry…"
- ↑ องค์ บรรจุน. "ความงามตามอุดมคติของผู้หญิงมอญ จีน ยุโรป และอื่นๆ," ศิลปวัฒนธรรม 37(4) (กุมภาพันธ์ 2559): 32.
- ↑ Coedès, George. (1937). Inscriptions du Cambodge Vol. 1," Collection de textes et documents sur l'Iodochine. Hanoi: École française d'Extrême-Orient. p. 50. "{3} añ z lo 1 gāyatriya vnak 1 śveta 1 spāiphyah".
- ↑ 23.0 23.1 "ស្បៃ". SEAlang Dictionary. Retrieved on 9 November 2024.
- ↑ Chevance, Jean-Baptiste. "[Inscriptions du Phnom Kulen Corpus existant et inscriptions inédites, une mise en contexte]," Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient 100(2014): 212, footnote 37. doi:10.3406/befeo.2014.6173
- ↑ Headley Robert K., Rath Chim, and Ok Soeum. (1997). Modern Cambodian-English Dictionary. Kensington, MD: Dunwoody Press. p. 1,385. ISBN 978-093-1-74578-2
- ↑ Soutif, Dominique and Estève, Julia. "TEXTS AND OBJECTS Exploiting the Literary Sources of Medieval Cambodia," in Hendrickson, Mitch ; Stark, Miriam T. ; and Evans, Damian. (2023). The Angkorian World. London ; New York, NY: Routledge. p. 31. ISBN 978-081-5-35595-3, 978-135-1-12894-0 doi:10.4324/9781351128940
- ↑ สุพัฒน์ เจริญสรรพพืช (29 มิถุนายน 2563). "'สไบ' คำเขมร ที่ (อาจ) ไม่เขมร". Academia. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "การจำแนกลักษณะของผ้าที่ใช้ในกลุ่มบุคคลชั้นสูงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์". สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-24. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""ผ้าทอง" เจ้าจอมเอี่ยม ในรัชกาลที่ 5". ฐานข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดเพชรบุรี. 10 พฤศจิกายน 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 30.0 30.1 30.2 ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 181.
- ↑ 31.0 31.1 "ข้อกำหนดของการใช้ฉลองพระองค์สำหรับฝ่ายในและชนชั้นสูงในราชสำนัก". สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-06. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 32.0 32.1 กองจดหมายเหต��แห่งชาติ กรมศิลปากร (2525). สมุดภาพ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์. p. 48. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร (2525). สมุดภาพ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์. p. 58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ 34.0 34.1 สมุดภาพ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. 2525. p. 33. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ 35.0 35.1 "ผ้าทอพื้นเมืองอีสานในจังหวัดสุรินทร์". คลังเอกสารสาธารณะ. 31 กรกฎาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2566.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ เรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนรัชต์), พันตรี หลวง. ราชพงษาวดารกรุงกัมพูชา. กรุงเทพฯ : ไทยควอลิตี้บุ๊คส์ (2006), 2563, หน้า 270
- ↑ "พิธีแต่งงานชาวกัมพูชา ความสัมพันธ์กับตำนานเขมรโบราณ "พระทอง-นางนาค"". ศิลปวัฒนธรรม. 31 มกราคม 2564. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ค้นหลักฐาน "ชุดไทย" สมัยพระนารายณ์ สตรีเปิดหน้าอก หรือแต่งอย่างไร ?". ศิลปวัฒนธรรม. 30 เมษายน 2563. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ มองซิเออร์ เดอ วีเซ (เขียน) เจษฎาจารย์ ฟ. ฮีแลร์ (แปล). จดหมายเหตุโกศาปานไปฝรั่งเศส. นนทบุรี : ศรีปัญญา. 2560, หน้า 51-52
- ↑ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร (2525). สมุดภาพ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์. p. 4-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร (2525). สมุดภาพ วิวัฒนาการการแต่งกายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์. p. 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-09. สืบค้นเมื่อ 2021-06-09.
- ↑ "เล่าเรื่องเจ้านายกับชุดไทย แต่ละสมัยรับอิทธิพลจากไหนกันบ้าง". ศิลปวัฒนธรรม. 17 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ มัลคอล์ม สมิธ (เขียน), พิมาน แจ่มจรัส (แปล). หมอฝรั่งในวังสยาม. กรุงเทพฯ : แสงดาว, 2566, หน้า 137
- ↑ 44.0 44.1 "วัฒนธรรมการแต่งกาย". Museum Thailand. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 45.0 45.1 "ย้อนดู "การแต่งกาย" สมัยจอมพล ป. รณรงค์ให้นุ่งผ้าถุง ชี้ทั่วโลกกำลังนิยม". ศิลปวัฒนธรรม. 1 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "บทบาทสตรี และ New Normal ฉบับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม". สารคดี. มิถุนายน 2557. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผ้าขาว (ผ้าขาวม้า)". ชุมชนวัฒนธรรมไทยเบิ้งบ้านโคกสลุง. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Spirit of Asia : มะละกา และกุฏีจีน สายเลือดลูกผสมโปรตุเกส". ไทยพีบีเอส. 15 เมษายน 2561. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "มรดกแห่งความหลัง ณ ชุมชนกุฎีจีน". ไทยพีบีเอส. 1 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 50.0 50.1 50.2 อนุชา ทีรคานนท์, ดร. (11 สิงหาคม 2563). "ย้อนรอยประวัติศาสตร์การใช้ 'ผ้านุ่งผ้าห่ม' วัฒนธรรมบ่งบอกฐานะแห่งราชสำนักไทยโบราณ". Vogue Thailand. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ห่มสะพัก : อาภรณ์กินชีวิต". Minimore. 30 กรกฎาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ธรรมเนียมการเป็นสาวของสตรีชาววัง". ศิลปวัฒนธรรม. 12 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Carian Umum - Sebai". prpm.dbp.gov.my (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 2020-11-15.
- ↑ "ผ้าจวนปัตตานี". กระทรวงวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 55.0 55.1 55.2 องค์ บรรจุน. "ภูมิปัญญาชาวไทยเชื้อสายมอญ". องค์การบริหารส่วนตำบลบางขันหมาก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 56.0 56.1 56.2 "ถักสไบมอญ". สถานที่ท่องเที่ยวในบางกระดี่. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-23. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "เอกลักษณ์การแต่งกายของคนเมืองล้านนา". เชียงใหม่นิวส์. 7 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ผ้าไทลาวในอาณาจักรล้านช้าง". ธนาคารแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 59.0 59.1 "ผ้าเบี่ยง : ผ้าทอที่แสดงออกซึ่งความเคารพ ในวัฒนธรรมชาวอีสาน". ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "จากบ้านสู่วัง เรียนรู้ขนบชาววังผ่าน 'สี่แผ่นดิน'". Helena. สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สวัสดิรักษาคำกลอน". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 31 พฤษภาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น
- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สไบ