สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ | |
---|---|
สุพัฒนพงษ์ ใน พ.ศ. 2560 | |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (3 ปี 27 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ประวิตร วงษ์สุวรรณ วิษณุ เครืองาม สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อนุทิน ชาญวีรกูล จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ |
ถัดไป | ภูมิธรรม เวชยชัย สมศักดิ์ เทพสุทิน ปานปรีย์ พหิทธานุกร อนุทิน ชาญวีรกูล พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน | |
ดำรงตำแหน่ง 5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566 (3 ปี 27 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ |
ถัดไป | พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2566 (0 ปี 163 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รวมไทยสร้างชาติ (2566–2567) |
คู่สมรส | ฐิติมา พันธุ์มีเชาว์ (สมรส 2529) |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (เกิด 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2503) เป็นนักธุรกิจแล���นักการเมืองชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ จากการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2566
ประวัติ
[แก้]สุพัฒนพงษ์ เป็นบุตรนายสง่า นางนิภา พันธุ์มีเชาว์ จบการศึกษาปริญญาตรี จาก ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทจาก ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรต่างๆมากมาย อาทิเช่น ปริญญาบัตร วปอ. 50 และปริญญาบัตร ปรอ. 20 จาก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน รุ่นที่ 4 (วพน. 4) จาก สถาบันวิทยาการพลังงาน หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง (วตท.) รุ่นที่ 23/2559 จาก สถาบันวิทยาการตลาดทุน หลักสูตร Oxford Energy Seminar 2013, สหราชอาณาจักร และ Advance Management Program, INSEAD University, ประเทศฝรั่งเศส[1]
การทำงาน
[แก้]สุพัฒนพงษ์ เคยเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ของพีทีที โกลบอล เคมิคอล ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2557 ถึง กันยายน พ.ศ. 2562 อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อดีตประธานกรรมการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) อดีตประธานกรรมการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) อดีตนายกสมาคมสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อดีตอุปนายกสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย อดีตรองประธานมูลนิธิพลังแห่งการเรียนรู้ อดีตกรรมการอำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย อดีตกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันวิทยสิริเมธี
ในวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2562 เขาได้รับตำแหน่ง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านบริหารธุรกิจ) ในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[2] และพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 โดยผู้ดำรงตำแหน่งต่อจากเขาคือ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
เมื่อ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้สุพัฒนพงษ์เป็นหนึ่งใน 6 ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โดยเข้ามาช่วยดูเรื่องเศรษฐกิจ การลงทุน และโครงสร้างพื้นฐาน[3]
เมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 สุพัฒนพงษ์ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการและกรรมการกำกับดูแลกิจการของบริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล พร้อมทั้งลาออกจากตำแหน่งกรรมการและกรรมการความเสี่ยงองค์กร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557 โดยมีการคาดหมายว่าเขาเตรียมพร้อมที่จะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[4] กระทั่งเมื่อ 6 สิงหาคม ในปีเดียวกัน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เขาเป็นรองนายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[5] ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 สุพัฒนพงษ์ได้เปิดตัวเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) พร้อมกับทำหน���าที่เป็นทีมเศรษฐกิจของพรรค[6] ต่อมาเขาสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อสังกัด รทสช. ลำดับที่ 2[7] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก แต่ในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคและเป็นประธานยุทธศาสตร์ของพรรค โดยระบุสาเหตุที่ลาออกเพราะต้องการช่วยงานพรรคอย่างเต็มที่[8]
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 เขาได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 6 เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ท.ภ.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ กรรมการ / กรรมการกำกับดูแลกิจการ". บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-08. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 27 กุมภาพันธ์ 2562. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นายกฯ เซ็นตั้ง 6 กุนซือ ช่วยขับเคลื่อนนโยบาย เพิ่มประสิทธิภาพงาน รบ". thairath.co.th. กรุงเทพฯ: ไทยรัฐ. 21 มีนาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ""สุพัฒนพงษ์"ลาออกบอร์ดปตท.สผ". dailynews.co.th. กรุงเทพฯ: เดลินิวส์. 24 กรกฎาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี". ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 6 สิงหาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "สุพัฒนพงษ์" รับลงปาร์ตี้ลิสต์รวมไทยสร้างชาติ เป็นไปได้ ทำ "คนละครึ่ง" ต่อ
- ↑ "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรครวมไทยสร้างชาติ"". pptvhd36.com.
- ↑ 'สุพัฒนพงษ์' ไขก๊อกสส.รทสช. 'แม่เลี้ยงติ๊ก' ขยับนั่งแทน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๔, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
ก่อนหน้า | สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ | รองนายกรัฐมนตรี (ครม.62) (5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค | ||
สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (5 สิงหาคม พ.ศ. 2563 – 1 กันยายน พ.ศ. 2566) |
พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- วิศวกรชาวไทย
- พนักงานรัฐวิสาหกิจชาวไทย
- นักธุรกิจชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- รองนายกรัฐมนตรีไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นิสิตเก่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ท.ภ.