สีทอง (มุทราศาสตร์)
สีทอง หรือ ออร์ (อังกฤษ: Or (heraldry)) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่บรรยายลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีทอง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีอ่อนที่เรียกว่ากลุ่ม “โลหะ” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “ทอง” ก็จะเป็นลายประที่เป็นจุดห่างจากกันเท่าๆ กัน[1] “ออร์” มักจะปรากฏเป็นสีเหลือง แต่บางทีก็ใช้ทองคำเปลวถ้าเป็นภาพในหนังสือวิจิตร
หรืออาจจะจารึกด้วยอักษรย่อ “Or (heraldry)” ของคำว่า “Or (heraldry)”
คำว่า “Or” มาจากภาษาฝรั่งเศส ว่า “Or” ที่แปลว่า “ทอง” บางครั้งก็จะใช้คำว่า “Gold” แทนที่จะใช้คำว่า “Or” ในการให้นิยามของตรา บางครั้งเพื่อป้องกันการใช้คำว่า “Or” ซ้ำกันหลายครั้ง หรือเพราะเป็นคำที่นิยมใช้กันเมื่อทำการบันทึก หรือเจ้าหน้าที่ผู้บันทึกนิยามอาจจะนิยมใช้คำว่า “Gold” มากกว่า
อักษร “O” ของ “Or” มักจะสะกดด้วยอักษรตัวใหญ่ เช่นในคำนิยาม Gules, a fess Or (พื้นตราสีแดง, แถบขวางสีทอง) เพื่อไม่ให้สับสนกับคำว่า “or” (ที่แปลว่าหรือ) ที่เป็นคำสันธานในภาษาอังกฤษ
รงคตราสีทองเป็นสัญลักษณ์ของ:
- เพชรพลอย - บุษราคัม
- เทพ - พระอาทิตย์
- โลหะ - ทอง
- คุณธรรม - ความศรัทธา[2] หรือ ความเชื่อฟัง และ ความนุ่มนวล[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ This form of hatching is part of a scheme of indicating heraldic tinctures developed by Silvester Petra Sancta in his Terrerae Gentilitia (1638), according to Woodcock & Robinson (1988), p. 53.
- ↑ See the table in Woodcock & Robinson (1988), p. 54, compiled from G. Leigh's Accedence of Armory (1562) and Sir John Ferne's The Glory of Generositie (1586).
- ↑ Woodcock & Robinson (1988), p. 54, attributed to De Bado Aureo.
- Woodcock, Thomas and John Martin Robinson (1988). The Oxford Guide to Heraldry. Oxford: University Press. ISBN 0192116584