โอลิมปิกฤดูร้อน 2008
ไฟล์:2008 Summer Olympics logo.svg | |
เมืองเจ้าภาพ | ปักกิ่ง จีน |
---|---|
คำขวัญ | หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน (同一个世界 同一个梦想; Tóng yīge shìjìe tóng yīge mèngxiǎng) |
ประเทศเข้าร่วม | 204 |
นักกีฬาเข้าร่วม | 10,899 (6,290 ชาย, 4,609 หญิง) |
ชนิด | 302 รายการ ใน 28 ชนิดกีฬา (41 สาขา) |
พิธีเปิด | 8 สิงหาคม 2008 |
พิธีปิด | 24 สิงหาคม 2008 |
ประธานพิธีเปิด | |
ผู้จุดคบเพลิง | |
สนามกีฬา | สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง |
ฤดูร้อน ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 |
โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 |
---|
IOC · COC · SF&OCHK · BOCOG |
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 (จีน: 2008年夏季奥运会; พินอิน: Èr Líng Líng Bā Nián Xiàjì Àoyùnhuì, เอ้อร์หลิงหลิงปาเหนียน เซี่ยจี้อ้าวหลินผี่เค่อยวื่นต้งฮุ่ย; อังกฤษ: 2008 Summer Olympics) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 29 (จีน: 第二十九届夏季奥林匹克运动会; พินอิน: Dì Èrshíjiǔ Jiè Xiàjì Àolínpǐkè Yùndònghuì; อังกฤษ: Games of the XXIX Olympiad) หรือรู้จักกันในชื่อ ปักกิ่ง 2008 (จีน: 北京2008; พินอิน: Běijīng èr líng líng bā; อังกฤษ: Beijing 2008) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ฮ่องกง ชิงเต่า ชิงหวงเต่า เซี่ยงไฮ้ และเฉิ่นหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม (การแข่งขันฟุตบอลจัดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม) ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ตามมาด้วยพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 17 กันยายน การแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันครั้งที่สามที่มีเจ้าภาพอยู่ในทวีปเอเชีย (ครั้งที่หนึ่ง ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2507 และครั้งที่สอง ณ โซล ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ. 2531) โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในเวลา 20 นาฬิกา (8 นาฬิกาตอนกลางคืน) 8 นาทีตามเวลากรุงปักกิ่ง (19 นาฬิกา 8 นาที ตามเวลาแห่งประเทศไทย) โดยเลข 8 นี้เป็นเลขนำโชคของชาวจีนซึ่งเชื่อกันว่าเลข 8 เป็นเลขมงคลมากที่สุด เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่า ฟา (發/发) ที่หมายถึง ร่ำรวย 12 สิงหาคม 2551 - 31 ตุลาคม 2551
นายหวัง ฉีซัน นายกเทศมนตรีนครปักกิ่งกล่าวเสริมว่า หากพิธีเปิดงานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ถือว่าการจัดงานกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว โดยทางจีนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของตนให้ปรากฏแก่ชาวโลก ซึ่งอาจเรียกกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้ว่าเป็น "อภิมหาโอลิมปิก"[2] เลยก็ว่าได้
กีฬาโอลิมปิก 2008 เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 3 ล้านคน รวมถึงนักกีฬาประมาณ 20,000 คนและผู้สื่อข่าวอีกราว 30,000 ชีวิตเดินทางมาร่วมงานนี้
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
[แก้]ปักกิ่งได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาโอลิมปิกในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 112 ณ กรุงมอสโก สหพันธรัฐรัสเซีย เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2544
คะแนนผลการตัดสินคัดเลือกประเทศเจ้าภาพ | |||
---|---|---|---|
เมือง | ประเทศ | รอบ 1 | รอบ 2 |
ปักกิ่ง | สาธารณรัฐประชาชนจีน | 44 | 56 |
โตรอนโต | แคนาดา | 20 | 22 |
ปารีส | ฝรั่งเศส | 15 | 18 |
อิสตันบูล | ตุรกี | 17 | 9 |
โอซากา | ญี่ปุ่น | 6 | - |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การพัฒนาและการเตรียมการ
[แก้]สถานที่
[แก้]นอกจากการก่อสร้างกลุ่มสนามกีฬา และหมู่บ้านนักกีฬาแล้ว ยังมีการก่อสร้างวนอุทยานโอลิมปิก (Olympic Forest Park) บนพื้นที่ด้านเหนือของกลุ่มสนามกีฬา (Sport Complex) บนพื้นที่ราว 4,000 ไร่ รวมทั้งพื้นที่สวนโอลิมปิกสีเขียว บนแนวแกนเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียว อันประกอบด้วยการจัดภูมิทัศน์ เป็นลานเอนกประสงค์, สวนประติมากรรม, สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน, เวทีกลางแจ้ง ฯลฯ
ภูมิทัศน์ริมถนน ได้รับการออกแบบเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปลูกต้นไม้ ชุมชนแออัดสองข้างถนนสายหลักมีการรื้อถอน อาคารเก่าๆได้รับการปรับปรุงรวมทั้งทาสีใหม่ เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้
สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง
[แก้]ศูนย์กลางการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 อยู่ที่สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ซึ่งมีชื่อเล่นว่า "รังนก" เนื่องจากรูปแบบโครงสร้างที่คล้ายรังนก [3] การสร้างสนามกีฬาเริ่มขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เดิมทีทางการจีนมีแผนที่จะใช้สนามกีฬาแห่งชาติกวางตุ้งเป็นสถานที่แข่งขันโอลิมปิก ดังนั้นสนามกีฬาแห่งนี้จึงถูกสร้างขึ้นและเสร็จในปี พ.ศ. 2544 ทว่าทางการจีนเปลี่ยนการตัดสินใจและสร้างสนามกีฬาแห่งชาติใหม่ในปักกิ่ง[4] ต่อมาทางการจีนเปิดการแข่งขันออกแบบสนามกีฬาแห่งชาติที่จะสร้างขึ้นใหม่ในปักกิ่ง บริษัทสัญชาติสวิส Herzog & de Meuron Architekten AG ในความร่วมมือกับกลุ่มออกแบบและค้นคว้าสถาปัตยกรรมจีนชนะการประกวด โดยสนามกีฬามีลักษณะเป็นโครงคอนกรีตคล้ายตาข่ายและจะสามารถจุผู้คนได้ถึง 90,000 คนในระหว่างการแข่งขันโอลิมปิก โดยเดิมสถาปนิกพรรณาถึงลักษณะการออกแบบที่คล้ายคลึงกับรังนกพร้อมด้วยรูโล่งอันใหญ่โตที่มีเพดานสนามที่หดตัวด้วยเหนือสนามกีฬา อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2547 ความคิดที่ให้มีเพดานสนามที่หดตัวได้ถูกยกเลิกไปเพราะเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและความปลอดภัย สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่งจะเป็นสถานที่ที่ทำพิธีเปิดและปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 เช่นเดียวกับเป็นสถานที่แข่งขันกรีฑาและฟุตบอลรอบชิงชนะเลิศ ผู้ออกแบบสนามกีฬา อ้าย เหวยเหว่ย ถอนตัวจากการสนับสนุนจีนสำหรับโอลิมปิก พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า "เขาไม่ต้องการที่จะยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพรรค์นี้อีกแล้ว"[5][6]
ขณะที่หมู่บ้านโอลิมปิกปักกิ่งเปิดขึ้นแล้ว ณ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และเปิดสำหรับสาธารณชนในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2551
การคมนาคม
[แก้]การเตรียมการทางด้านการคมนาคมของกรุงปักกิ่งเพื่อรองรับกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ได้แก่ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 3, รถไฟฟ้าใต้ดินสายสีเขียวซึ่งมีจุดหมายปลายทางที่วนอุทยานโอลิมปิก (Olympic Forest Park) และสายรถไฟฟ้าใต้ดินเพื่อเชื่อมต่อไปยังสายเขียว
การตลาด
[แก้]สัญลักษณ์ประจำโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ถูกเรียกว่า ปักกิ่งร่ายรำ (จีน: 舞动的北京, ‘Dancing Beijing’) สัญลักษณ์รวมตราสัญลักษณ์จีนดั้งเดิมและตัวละครจากพู่กันจีน จิง (京 ที่แปลว่า "เมืองหลวง" ซึ่งอยู่ในคำว่า "เป่ยจิง" ชื่อปักกิ่งภาษาจีน) ในลักษณะของนักกรีฑา แขนที่เปิดอ้าของคำว่า จิง มีความหมายเสมือนการเชื้อเชิญจากประเทศจีนไปทั่วโลกในการที่จะแบ่งปันวัฒนธรรมจีน ประธานของ IOC ฌาคส์ รอกก์ ดีใจมากกับสัญลักษณ์ และให้สัมภาษณ์ว่า "สัญลักษณ์ใหม่ของคุณนำพาไปยังความสวยงามที่ดีเยี่ยมและพลังของประเทศจีนซึ่งอยู่ในมรดกและคนของคุณในทันที"[7]
สโลแกนของโอลิมปิก 2008 คือ "One World One Dream" (จีนตัวย่อ: 同一个世界 同一个梦想; จีนตัวเต็ม: 同一個世界 同一個夢想; พินอิน: tóng yīgè shìjiè tóng yīgè mèngxiǎng, ถงอีเก้อซื่อจีเย่ ถงอีเก้อม่งเสี่ยง) [8] แปลว่า หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน สโลแกนนี้ถูกเลือกจากการเสนอมากกว่า 210,000 รายการจากทั่วโลก[3] มีความหมายเป็นการเรียกร้องให้ทั้งโลกเข้าร่วมจิตวิญญาณแห่งโอลิมปิกและสร้างอนาคตที่ดีขึ้นเพื่อมวลมนุษยชน
การถ่ายทอด
[แก้]กีฬาเหล่านี้จะมีการถ่ายทอดสดในรูปแบบของโทรทัศน์ความละเอียดสูงทั้งหมดเป็นครั้งแรก และมีตัวเลขประมาณการณ์ผู้เข้าชมมากกว่า 4 สิบล้านคน [9] ในระหว่างการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี พ.ศ. 2544 ปักกิ่งยืนยันว่าจะ "ไม่มีการเข้มงวดในการรายงานข่าวและการเคลื่อนไหวของนักข่าวที่เกี่ยวกับโอลิมปิก 2008" [10] แต่ตามรายงานของ The New York Times กล่าวว่า "การให้สัญญาดังกล่าวไม่เป็นจริง โดยมีระเบียบวีซ่าที่เข้มงวดมาก กระบวนการสมัครที่ยาวนาน และความกังวลเกี่ยวกับการเซ็นเซอร์ข้อมูล
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ปัญหาของเมือง
[แก้]การเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดงาน
[แก้]คณะกรรมการจัดงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิกสากลประกาศเลื่อนการจัดมหกรรมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปักกิ่งปี 2008 ออกไปอีก 2 สัปดาห์ เป็นวันที่ 8-24 สิงหาคม
ทางคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้ต้องตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันออกไปว่า เนื่องจากกำหนดการแข่งขันเดิมคือ ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคมนั้น นครปักกิ่งจะมีอุณหภูมิสูงมาก จนหลายฝ่ายวิตกว่าจะส่งผลกระทบต่อการแข่งขันของนักกีฬา
ภายหลังจากที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลปรึกษากับคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศของแต่ละชาติ และคณะกรรมการการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแห่งปักกิ่งแล้ว ก็ได้บรรลุข้อตกลงเลื่อนการแข่งขันออกไปอีก 2 สัปดาห์
นายหวัง เหว่ย รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกปักกิ่ง แสดงความพอใจกับผลสรุปครั้งนี้ แต่ก็ชี้ว่า หากมีการเลื่อนการแข่งขันฯออกไปอีก 1 สัปดาห์เป็นราวกลางเดือนสิงหาคมไปถึงต้นกันยายน ก็จะยิ่งเป็นเงื่อนไขที่ดีต่อการแข่งขันของนักกีฬา
ปัญหาอื่น ๆ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สัญลักษณ์โอลิมปิก 2008
[แก้]สัญลักษณ์ดังกล่าวถูกตั้งชื่อว่า 'ปักกิ่งร่ายรำ' [11] จำลองรูปแบบจากตราประทับจีนโบราณ ซึ่งตราประทับนี้ส่วนพื้นเป็นสีแดง ส่วนอักษรแกะสลักเป็นตัว ‘จิง’ (京) ซึ่งอยู่ในคำว่า เป่ยจิง (ปักกิ่ง) อีกทั้งมีลักษณะคล้ายตัวอักษร "เหวิน" ซึ่งหมายถึงอารยธรรมที่สืบทอดมายาวนานของชนชาติจีน นอกจากนั้น ตัวอักษรที่ปรากฏยังเป็นลักษณะท่าทางของคนที่วิ่งไปข้างหน้าขณะกำลังยินดีที่ได้รับชัยชนะ
ด้านล่างตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่เขียนจากปลายพู่กันจีน คำว่า ‘Beijing 2008 ’ถัดลงไปเป็นสัญลักษณ์ 5 ห่วงของโอลิมปิก
ภายหลังที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์โอลิมปิก ปักกิ่งร่ายรำ บรรดาผู้ผลิตต่างใช้สัญลักษณ์ดังกล่าวประทับอยู่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย เช่น เสื้อยืด หมวก แสตมป์พวกกุญแจ และเหรียญที่ระลึก เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าดังกล่าวกลายเป็นสินค้าที่ชาวเมืองปักกิ่งพากันแย่งเป็นเจ้าของ เพราะมีจำหน่ายในกรุงปักกิ่งแห่งเดียวเท่านั้น
คำขวัญประจำการแข่งขัน
[แก้]การประกาศสโลแกนมหกรรมกีฬาโลก โอลิมปิกปี 2008 มีขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2548 ณ สนามกีฬากรรมาชนกรุงปักกิ่ง บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกครื้น สโลแกนที่พิชิตใจกรรมการได้แก่ “One World One Dream” หรือในภาษาจีน 同一个世界 同一个梦想 ถงอีเก้อซื่อจีเย่ ถงอีเก้อม่งเสี่ยง ซึ่งหมายถึง หนึ่งโลก หนึ่งความฝัน
สโลแกนดังกล่าวสะท้อนถึงอุดมคติของชาวจีนในการร่วมแบ่งปันแก่ประชาคมโลก และอารยธรรม และร่วมต่อสู้เพื่อสร้างสรรค์อนาคตอันสดใสของโลก นอกจากนี้ สโลแกนดังกล่าวยังสอดคล้องกับแนวคิด 3 ประการของโอลิมปิกปี 2008 ได้แก่ เป็นโอลิมปิกสีเขียว เป็นโอลิมปิกที่ทันสมัย และเป็นโอลิมปิกของประชาชน และคุณค่าสากลของความเคลื่อนไหวโอลิมปิก
การวิ่งคบเพลิง
[แก้]เส้นทางวิ่งส่งต่อคบเพลิง เริ่มจากกรุงเอเธนส์ สาธารณรัฐเฮเลน เดินทางโดยเครื่องบินถึงกรุงปักกิ่งในเดือนมีนาคม แล้วส่งต่อผ่าน 22 เมือง 5 ทวีป และอีก 113 เมืองของจีนเอง รวมระยะทาง 137,000 กิโลเมตร นอกจากนี้เส้นทางวิ่งคบเพลิงจะวกเข้าไปในธิเบต และขึ้นสู่ยอดเขา “จูมูลังมา” (เอเวอเรสต์) ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกด้วย
ตารางการแข่งขัน
[แก้]OC | พิธีเปิด | ● | วันที่มีการแข่งขัน | 1 | ชิงเหรียญทอง | EG | รอบการกุศล | CC | พิธีปิด |
สิงหาคม 2008 | 6th พ |
7th พฤ |
8th ศ |
9th ส |
10th อา |
11th จ |
12th อ |
13th พ |
14th พฤ |
15th ศ |
16th ส |
17th อา |
18th จ |
19th อ |
20th พ |
21st พฤ |
22nd ศ |
23rd ส |
24th อา |
จำนวน เหรียญทอง |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Ceremonies | OC | CC | ||||||||||||||||||
ยิงธนู | ● | 1 | 1 | ● | ● | 1 | 1 | 4 | ||||||||||||
กรีฑา | 2 | 4 | 6 | 6 | 5 | 3 | 6 | 7 | 7 | 1 | 47 | |||||||||
แบดมินตัน | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 2 | 2 | 5 | ||||||||||
เบสบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ||||||||||
บาสเกตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||
มวยสากลสมัครเล่น | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 4 | 6 | 11 | ||||
เรือแคนู | ● | 2 | ● | ● | 2 | ● | ● | ● | ● | 6 | 6 | 16 | ||||||||
จักรยาน | 1 | 1 | 2 | 1 | 3 | 1 | 2 | 3 | ● | 2 | 2 | 18 | ||||||||
กระโดดน้ำ | 1 | 1 | 1 | 1 | ● | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | ● | 1 | 8 | ||||||
ขี่ม้า | ● | ● | ● | 2 | ● | 1 | ● | ● | ● | 1 | 1 | 1 | 6 | |||||||
ฟันดาบ | 1 | 1 | 1 | 1 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 10 | ||||||||||
ฮอกกี้ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||||
ฟุตบอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | ||||||
ยิมนาสติก | ● | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | ● | 4 | 4 | 4 | EG | ● | ● | 1 | 1 | 18 | ||||
แฮนด์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 2 | |||
ยูโด | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 14 | ||||||||||||
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||
เรือพาย | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 7 | 7 | 14 | |||||||||||
เรือใบ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 3 | 2 | 2 | 2 | 2 | 11 | |||||||
ยิงปืน | 2 | 2 | 2 | 2 | 1 | 2 | 1 | 2 | 1 | 15 | ||||||||||
ซอฟท์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ||||||||||
ว่ายน้ำ | ● | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 4 | 1 | 1 | 34 | ||||||||
ระบำใต้น้ำ | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | ||||||||||||||
เทเบิลเทนนิส | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | ● | ● | ● | 1 | 1 | 4 | ||||||||
เทควันโด | 2 | 2 | 2 | 2 | 8 | |||||||||||||||
เทนนิส | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 3 | 4 | |||||||||||
ไตรกีฬา | 1 | 1 | 2 | |||||||||||||||||
วอลเลย์บอล | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | 1 | 1 | 1 | 4 | |||
โปโลน้ำ | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | ● | 1 | ● | 1 | 2 | |||||
ยกน้ำหนัก | 1 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 1 | 1 | 1 | 1 | 15 | |||||||||
มวยปล้ำ | 2 | 2 | 3 | 2 | 2 | 2 | 2 | 2 | 18 | |||||||||||
จำนวนเหรียญแต่ละวัน | 7 | 14 | 13 | 19 | 17 | 15 | 18 | 27 | 37 | 18 | 20 | 11 | 21 | 21 | 32 | 12 | 302 | |||
เหรียญสะสมแต่ละวัน | 7 | 21 | 34 | 53 | 70 | 85 | 103 | 130 | 167 | 185 | 205 | 216 | 237 | 258 | 290 | 302 | ||||
สิงหาคม 2008 | 6th พ |
7th พฤ |
8th ศ |
9th ส |
10th อา |
11th จ |
12th อ |
13th พ |
14th พฤ |
15th ศ |
16th ส |
17th อา |
18th จ |
19th อ |
20th พ |
21st พฤ |
22nd ศ |
23rd ส |
24th อา |
จำนวน เหรียญทอง |
สรุปเหรียญการแข่งขัน
[แก้]- ตารางสรุปเหรียญรางวัล 10 อันดับแรก
อันดับ | ประเทศ | ทอง | เงิน | ทองแดง | รวม |
---|---|---|---|---|---|
1 | จีน | 51 | 21 | 28 | 100 |
2 | สหรัฐ | 36 | 38 | 36 | 110 |
3 | รัสเซีย | 23 | 21 | 28 | 72 |
4 | สหราชอาณาจักร | 19 | 13 | 15 | 47 |
5 | เยอรมนี | 16 | 10 | 15 | 41 |
6 | ออสเตรเลีย | 14 | 15 | 17 | 46 |
7 | เกาหลีใต้ | 13 | 10 | 8 | 31 |
8 | ญี่ปุ่น | 9 | 6 | 10 | 25 |
9 | อิตาลี | 8 | 10 | 10 | 28 |
10 | ฝรั่งเศส | 7 | 16 | 17 | 40 |
พิธีเปิด
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ชนิดกีฬาที่แข่งขัน
[แก้]ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนเหรียญทองที่ชิงชัย ส่วนภาพแสดงสัญลักษณ์ของการแข่งขันกีฬาชนิดนั้น ๆ
|
|
ประเทศที่ร่วมแข่งขัน
[แก้]โอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน 204 ประเทศ ยกเว้นประเทศบรูไนที่ไม่ได้ร่วมเข้าแข่งขัน (รวมทั้งหมดเป็น 205 ประเทศในประวัติการณ์) รายชื่อประเทศที่เข้าสู่สนามในพิธีเปิดได้เรียงตามลำดับขีดจากน้อยไปมากของอักษรจีนตัวย่อ เว้นแต่ประเทศกรีซซึ่งจัดให้เป็นอันดับแรกเนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของกีฬาโอลิมปิก จึงทำให้ประเทศกินี (几内亚) ได้เข้าสู่สนามเป็นอันดับแรกถัดจากกรีซ (2 ขีด) และประเทศออสเตรเลีย (澳大利亚) ต่อด้วยประเทศแซมเบีย (赞比亚) เป็นอันดับสุดท้ายตามลำดับ (15 และ 16 ขีด) และปิดท้ายด้วยประเทศจีนในฐานะประเทศเจ้าภาพ
สนามแข่งขัน
[แก้]การเตรียมงานของเจ้าภาพจีนในโอลิมปิกเกมส์นั้น ได้เตรียมสนามแข่งขันรวมทั้งหมด 31 แห่ง เป็นการสร้างใหม่ 15 แห่ง รื้อถอนปรับปรุงใหม่ 16 แห่ง ในการแข่งขันนี้กีฬาทางน้ำจะถูกจัดที่เมืองชายหาดที่เมืองชิงเต่า และกีฬาแข่งม้าจะถูกจัดที่ฮ่องกง
-
สเตเดียมรังนกตอนกลางคืน
-
สระว่ายน้ำฟองน้ำตอนกลางคืน
-
แบบจำลองสระว่ายน้ำที่แข่งขันกีฬาทางน้ำ
-
แบบจำลองสเตเดียมรูปรังนก ที่ใช้เป็นสนามกีฬาหลัก
-
สนามกีฬาหลักรูปรังนก มองจากจุดชมวิว ขณะกำลังก่อสร้าง
-
สนามกีฬาอีกแห่ง ขณะกำลังก่อสร้าง
-
นาฬิกานับถอยหลังถึงพิธีเปิด
-
แบบจำลอง��ี่ตั้งส่วนสนามกีฬา
-
แผนที่ตำแหน่งแสดงสนามแข่งขัน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Factsheet - Opening Ceremony of the Games of the Olympiad" (PDF) (Press release). International Olympic Committee. 9 October 2014. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2018.
- ↑ วิภา อุตมฉันท์, บทความ: จีนที่กำลังเปลี่ยน: อภิมหาโอลิมปิก!, มติชนสุดสัปดาห์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1411 วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ 3.0 3.1 "The Olympic Games en route for Beijing". International Olympic Committee. 2007-07-13. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16. (อังกฤษ)
- ↑ ArchitectureWeek - Design - China's Banner Stadium - 2002.0501 เก็บถาวร 2009-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
- ↑ "Stadium designer blasts China Olympics". Aljazeera. 2007-08-12. สืบค้นเมื่อ 2007-07-16. (อังกฤษ)
- ↑ "Chinese architect slams Olympic 'pretend smile'". Reuters. สืบค้นเมื่อ 2007-08-16. (อังกฤษ)
- ↑ "Rogge's Message for Beijing Olympics Emblem Unveiling". People's Daily Online. 2003-08-03. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19. (อังกฤษ)
- ↑ "'One World One Dream' selected as the Theme Slogan for Beijing 2008 Olympic Games". BOCOG. 2005-12-25. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-08. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) (อังกฤษ) - ↑ "Seeing clearly: Panasonic ushers in first HDTV Game". China Daily. 2007-07-06. สืบค้นเมื่อ 2008-03-24. (อังกฤษ)
- ↑ Report เก็บถาวร 2003-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน of the IOC Evaluation Commission for the Games of the XXIX Olympiad in 2008, pg.73 (อังกฤษ)
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อเล่มโปรด
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
โอลิมปิกฤดูร้อน 2004 (เอเธนส์ กรีซ) |
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน (8 สิงหาคม - 24 สิงหาคม ค.ศ. 2008) |
โอลิมปิกฤดูร้อน 2012 (ลอนดอน สหราชอาณาจักร) |