สยามสแควร์ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2560)
สยามสแควร์ | |
---|---|
ใบปิดภาพยนตร์ | |
กำกับ | ไพรัช คุ้มวัน |
เขียนบท | |
อำนวยการสร้าง | จาตุศม เตชะรัตนประเสริฐ |
นักแสดงนำ | |
วันฉาย | 30 มีนาคม พ.ศ. 2560 |
ความยาว | 111 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 9.73 ล้านบาท (18 วัน)[1] |
ข้อมูลจากสยามโซน |
สยามสแควร์ (อังกฤษ: Siam Square) คือ ภาพยนตร์ไทยแนวกึ่งสยองขวัญกึ่งข้ามพ้นวัย[2] ของบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ออกฉายในปี พ.ศ. 2560 กำกับโดย ไพรัช คุ้มวัน เขียนบทโดย เอกราช มอญวัฒ, ธีปนันท์ เพ็ชรศรี, ชาญชนะ หอมทรัพย์ และไพรัช คุ้มวัน นำแสดงโดย อิษยา ฮอสุวรรณ, มรกต หลิว และพลอย ศรนรินทร์ เล่าเรื่องของวัยรุ่น 10 คนที่เข้าไปพัวพันกับเรื่องเล่าเกี่ยวกับวิญญาณเด็กสาว และต้องเผชิญกับเหตุการณ์ลึกลับน่าสะพรึงกลัว ที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ไฟดับในคืนหนึ่งที่สยามสแควร์
นักแสดง
[แก้]- อิษยา ฮอสุวรรณ แสดงเป็น เมธาวดี (เมย์)
- มรกต หลิว แสดงเป็น จุ๊บเล็ก / ดาว (วัยรุ่น)
- พลอย ศรนรินทร์ แสดงเป็น มณีรัตน์ แซ่จง (นิด)
- สุธีร์ รติวัฒน์บุญญา แสดงเป็น นิด (ตอนเป็นผี)
- ธนบดี ใจเย็น แสดงเป็น เติร์ก
- ณัฐสิทธิ์ โกฏิมนัสวนิชย์ แสดงเป็น ม่อน
- ปุริม รัตนเรืองวัฒนา แสดงเป็น หมูหวาน
- อติคุณ อดุลโภคาธร แสดงเป็น นิวตัน
- มนภัทร เตชะกำพุ แสดงเป็น ปอนด์
- ธัญญวีร์ ชุณหสวัสดิกุล แสดงเป็น เฟิร์น
- อนงค์นาถ ยูสานนท์ แสดงเป็น มีน
- สุนิตย์ นภาศรี แสดงเป็น ดาว (วัยผู้ใหญ่)
- สุทธิพงศ์ ทัดพิทักษ์กุล แสดงเป็น ดร. มานพ
เพลงประกอบ
[แก้]- "ในลิ้นชัก" – วงกอหญ้า
การผลิต
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยกลุ่ม "ฮิดเดนเอเจนดา" ซึ่งเป็นกลุ่มครีเอทีฟของสหมงคลฟิล์ม[2] และเป็นผลงานการกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกของไพรัช คุ้มวัน[3]
บทภาพยนตร์
[แก้]บทภาพยนตร์เรื่องนี้เขียนโดย เอกราช มอญวัฒ และธีปนันท์ เพ็ชรศรี โดยมีไพรัช คุ้มวัน และชาญชนะ หอมทรัพย์ ทำหน้าที่แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของบท โดยเฉพาะการเพิ่มเติมอารมณ์ร่วมและประสบการณ์ส่วนตัวที่ไพรัชมีต่อสยามสแควร์ทั้งในยุคของเขาและในยุคปัจจุบันลงไป จนได้เป็นบทฉบับสมบูรณ์[4]
"สยามสแควร์"
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามของสหมงคลฟิล์ม ถัดจาก สยามสแควร์ (ศุภักษร, พ.ศ. 2527) และ รักแห่งสยาม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, พ.ศ. 2550) ที่ใช้สยามสแควร์เป็นฉากหลังหลักในการดำเนินเรื่อง[2] โดยเรื่องนี้เลือกเล่าถึงสถานที่ดังกล่าวด้วยมิติของภาพยนตร์สยองขวัญภายใต้แนวคิดหลักที่ว่า "สยามสแควร์มีผี"[3] ด้วยการใช้ภาพและบรรยากาศของสยามสแควร์ยามค่ำคืนที่ทั้งเงียบเหงาและน่ากลัว ต่างจากตอนกลางวันที่มีสีสันและผู้คนพลุกพล่าน[4][5] นอกจากนี้ ผู้สร้างยังต้องการนำเสนอว่า สยามสแควร์มีการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนผ่านทั้งคนและสถานที่อยู่เสมอ ภาพยนตร์เรื่องนี้จึงเปรียบเสมือนการเติมเต็มไตรภาคสยามสแควร์ต่อจากอีกสองเรื่องที่กล่าวถึงข้างต้น ด้วยการทำหน้าที่เป็นสมุดบันทึกช่วงเวลาหนึ่งของสยามสแควร์ รวมถึงบรรยากาศและความคิดของผู้คนในอีกยุคสมัยที่ภาพยนตร์กล่าวถึงเอาไว้[2][3]
ตัวละคร
[แก้]สำหรับการเล่าเรื่องของตัวละครวัยรุ่นทั้งสิบคน ซึ่งเป็นตัวละครหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้ ไพรัชให้สัมภาษณ์กับไบโอสโคปทางเว็บไซต์เอ็มไทยว่า ตนได้วิธีการมาจากภาพยนตร์วัยรุ่นญี่ปุ่นเรื่อง เดอะคิริชิมะทิง (ไดฮะจิ โยะชิดะ, พ.ศ. 2555) ที่สามารถเล่าเรื่องตัวละครหลาย ๆ ตัวให้มีความสำคัญเท่า ๆ กันได้เป็นอย่างดี โดยตัวละครทุกตัวต่างก็มีเส้นเรื่องเป็นของตัวเอง[4]
การเข้าฉาย
[แก้]ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้าฉายในประเทศไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560[6] (โดยมีการจัดฉายรอบพิเศษ "เด็กสยามดูก่อน" ในวันที่ 25 มีนาคม ของปีเดียวกัน ณ โรงภาพยนตร์ลิโด้ กรุงเทพมหานครฯ[7]) และเข้าฉายในระดับนานาชาติครั้งแรกในสายประกวดของเทศกาลภาพยนตร์ตะวันออกไกลครั้งที่ 19 ณ เมืองอูดิเน ประเทศอิตาลี[8] และภาพยนตร์เรื่องนี้ได้กลับมาฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้งจากการโหวตของเว็บไซต์ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ โดยจะเข้าฉายในวันที่ 29 กันยายน 2560 ที่โรงภาพยนตร์ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ โดยเข้าฉายเพียงแค่วันเดียวและรอบเดียว
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "รายได้ภาพยนตร์ ประจำสุดสัปดาห์ (13 - 16 เมษายน 2560)". เพจ ชมรมวิจารณ์บันเทิง - Flickz ใน Facebook. 17 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2560.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Parinyaporn Pajee. "Horror in the square เก็บถาวร 2017-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The Nation. 28 March 2017. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2560.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 ภาณุพันธ์ วีรวภูษิต. "การเติบโตของ ไพรัช คุ้มวัน คนทำหนังคลื่นลูกใหม่ผู้กระโดดสู่งานกำกับภาพยนตร์ยาวเรื่องแรก 'สยามสแควร์' เก็บถาวร 2017-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". a day magazine. 29 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2560.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Bioscope Magazine. "(interview) ผี / วัยรุ่น / ‘สยามสแควร์’ และการทำหนังในสตูดิโอ ของ ไพรัช คุ้มวัน เก็บถาวร 2017-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". MThai. 21 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560.
- ↑ สราลี อุรุพงศา. "บัญญัติ 7 ประการแห่งผู้กำกับที่แหวกทุกขนบของการเป็นผู้กำกับไทย –ไพรัช คุ้มวัน, สยามสแควร์ เก็บถาวร 2017-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". The Hollywood Reporter Thailand. 29 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560.
- ↑ "รวมวัยรุ่นในเรื่องลึกลับ รสชาติใหม่ของ สยามสแควร์". Siam Zone. 13 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560.
- ↑ สยามสแควร์. "ข้อมูลการฉายภาพยนตร์รอบ 'เด็กสยามดูก่อน'". Facebook. 22 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2560.
- ↑ "All the films at a glance". Far East Film 19. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2560.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- สยามสแควร์ ที่เว็บไซต์สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
- สยามสแควร์ ที่เฟซบุ๊ก
- สยามสแควร์ ที่สยามโซน