สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต)
สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 สิงหาคม พ.ศ. 2400 (71 ปี 52 วัน ปี) |
มรณภาพ | 11 ตุลาคม พ.ศ. 2471 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | เปรียญธรรม 7 ประโยค |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | พ.ศ. 2420 |
พรรษา | 51 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เจ้าคณะใหญ่หนใต้ |
สมเด็จพระวันรัต นามเดิม จ่าย ฉายา ปุณฺณทตฺโต เป็นสมเด็จพระราชาคณะ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร[1] และอดีตเจ้าคณะใหญ่หนใต้
ประวัติ
[แก้]วัยเยาว์
[แก้]สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า จ่าย เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2400 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง เป็นบุตรนายยัง กับนางทรัพย์[2] ภูมิลำเนาอยู่บ้านรั้��ใหญ่ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่ออายุได้ 11 ปี ได้ย้ายมาอยู่วัดสามพระยา เพื่อศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีกับพระมหาฑิต อุทโย ผู้เป็นญาติ
อุปสมบทและศึกษาปริยัติธรรม
[แก้]เมื่ออายุ 16 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วไปศึกษาธรรมบทกับพระยาโหราธิบดี (บัว) ต่อมาในปี พ.ศ. 2420 ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดกำแพง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระปลัดพูนเป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดแฟงและพระอาจารย์สอนเป็นคู่พระกรรมวาจาจารย์ บวชแล้วกลับมาเรียนกับพระมหาฑิตต่อ และเรียนมังคลัตถทีปนีกับพระปริยัติธรรมธาดา (ชัง) เมื่อพระมหาฑิตได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารและวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารตามลำดับ ท่านก็ได้ย้ายตามไปอยู่ด้วยด้วยทั้งสองอาราม[3]
เปรียญธรรม
[แก้]- พ.ศ. 2427 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค
- พ.ศ. 2433 สอบเพิ่มได้อีก 3 ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม 7 ประโยค[4]
ศาสนกิจ
[แก้]หลังจบการศึกษาท่านยังคงอยู่วัดมหาธาตุฯ ต่อมา จนถึงปีชวด พ.ศ. 2443 โปรดให้อาราธนาไปครองวัดเบญจมบพิตร ต่อมาวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2470 โปรดตั้งเป็นเจ้าคณะมณฑลพายัพ[5] วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2456 ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการคณะมณฑลราชบุรี[6] และวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2458 จึงโปรดให้บัญชาคณะสงฆ์ฝ่ายเหนือแทนสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต)[7]
ลำดับสมณศักดิ์
[แก้]- พ.ศ. 2436 เป็นพระราชาคณะที่ พระราชโมลี[8]
- พ.ศ. 2438 เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระราชโมลี ศรีปาวจนาภรณ์[9]
- พ.ศ. 2443 เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระเทพมุนี ศรีวิสุทธิศีลาจารย์ญาณนายก ติปิฎกธรา มหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[10]
- พ.ศ. 2443 เลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ญาณปรีชาปรินายก ติปิฎกธรา มหาคฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[11]
- พ.ศ. 2445 ได้รับสถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายใต้ที่ พระธรรมวโรดม บรมญาณอดุล สุนทรนายก ตรีปิฎกคุณาลังการภูษิต ทักษิณทิศคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี[12]
- พ.ศ. 2458 ย้ายมาเป็นเจ้าคณะรองหนเหนือ[13]
- พ.ศ. 2465 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสีที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ อเนกสถานปรีชา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ นิพัทธธุตคุณสิริสุนทรพรตจาริก ��รัญญิกคณฤศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ สรรพสมณคุณ วิบุลยประสิทธิ์ บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี มหาสังฆนายก[14]
- พ.ศ. 2466 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่หนใต้ที่ สมเด็จพระวันรัต ปริยัติพิ��ัฒนพงศ์ วิสุทธิสงฆปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณสุนทร มหาทักษิณคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี มหาสังฆนายก[15]
มรณภาพ
[แก้]สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) เริ่มอาพาธด้วยโรคชรามาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2470 อาการทรงกับทรุดเรื่อยมา จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2471 เวลา 07:55 น. สิริอายุได้ 71 ปี 52 วัน พรรษา 51 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ โกศไม้สิบสองบรรจุศพ ตั้งบำเพ็ญกุศลศพที่ศาลาบัณณรศภาค ภายในวัดเบญจมบพิตร และโปรดให้พระสวดอภิธรรม 15 วัน[16]
วันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 เจ้าพนักงานจัดเตรียมสถานที่ วันต่อมา เวลา 16.00 น. เปลื้องโกศ เชิญลองในออกจากศาลา ขึ้นเสลี่ยง เวียนรอบเมรุแล้วยกขึ้นตั้งเหนือจิตกาธาน ถึงเวลา 17.30 น. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าบังสุกุลและพระราชทานเพลิงศพแล้วเสด็จกลับ วันรุ่งขึ้นเจ้าภาพเก็บอัฐิตามประเพณี[17]
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม, ทำเนียบเจ้าอาวาส เก็บถาวร 2014-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และสมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์, หน้า 54-60
- ↑ เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑, หน้า 151-4
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, จำนวนพระสงฆ์สามเณรที่สอบไล่พระปริยัติธรรมได้ในปี ๑๐๙ ปี ๑๑๐, เล่ม 8, ตอน 13, 28 มิถุนายน 2434, หน้า 105
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ เรื่อง ตั้งเจ้าคณะมณฑลพายัพ, เล่ม 44, ตอน 0 ง, 24 เมษายน 2470, หน้า 259
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งผู้บัญชาการคณะมณฑลราชบุรี, เล่ม 30, ตอน 0 ก, 31 สิงหาคม 2456, หน้า 229
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมธรรมการ ย้ายตำแหน่งเจ้าคณะ, เล่ม 32, ตอน 0 ง, 19 มีนาคม 2458, หน้า 3170
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 10, หน้า 402
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระสงฆ์ที่ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรแลเลื่อนตำแหน่งยศ, เล่ม 13, หน้า 15
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 17, 25 พฤศจิกายน 2443, หน้า 490
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 17, หน้า 727-8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม 19, วันที่ 25 พฤษภาคม ร.ศ. 121, หน้า 126
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี พระราชทานตราตำแหน่งย้ายเจ้าคณะรอง, เล่ม 32, ตอน 0 ง, วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458, หน้า 2826
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระธรรมวโรดมเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์, เล่ม 39, 7 มกราคม 2465, หน้า 543-7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม 40, 25 พฤศจิกายน 2466, หน้า 2587-90
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวมรณภาพ, เล่ม 45, ตอน ง, 21 ตุลาคม 2461, หน้า 2096-7
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๓/๒๔๗๓ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ที่เมรุวัดเบญจมบพิตดุสิตวนาราม พุทธศักราช ๒๔๗๓, เล่ม 47, ตอน 0 ง, 18 พฤษภาคม 2473, หน้า 549-550
- บรรณานุกรม
- ธนิต อยู่โพธิ์. ตำนานสมณศักดิ์ พระวันรัต และสมเด็จพระราชาคณะผู้ทรงสมณศักดิ์สมเด็จพระวันรัตในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : ศิวพร, 2516. 219 หน้า. หน้า 54-60.
- สมมอมรพันธุ์, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2545. 428 หน้า. หน้า 151-4. ISBN 974-417-530-3
ก่อนหน้า | สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) | เจ้าคณะใหญ่หนใต้ (พ.ศ. 2466 - พ.ศ. 2471) |
สมเด็จพระวันรัต (แพ ติสฺสเทโว) | ||
พระพุฒาจารย์ (มา อินฺทสโร) | เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายอรัญวาสี (พ.ศ. 2465 - พ.ศ. 2466) |
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (แพ ติสฺสเทโว) | ||
พระพิมลธรรม (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณฉนฺโท) |
เจ้าคณะรองหนเหนือ (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2465) |
พระธรรมวโรดม (เข้ม ธมฺมสโร) | ||
พระธรรมวโรดม (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) | เจ้าคณะรองฝ่ายใต้ (พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2458) |
พระพรหมมุนี (แพ ติสฺสเทโว) |